ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์กรวิชาชีพวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ สื่อมวลชน และกลุ่มภาคประชาชน ดูจะมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับวิกฤติของน้ำอย่างชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ศปภ.เสียด้วยซ้ำ
ฝ่ายรัฐบาลโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ออกมายอมรับเป็นครั้งแรกว่าปัญหาทั้งหมดเริ่มต้นมาจากการสะสมน้ำในเขื่อนมากจนเกินไป ซึ่งแม้จะยังไม่ต้องหาสาเหตุแต่อย่างน้อยก็ทำให้ทราบได้ว่าได้ตระหนักและมองเห็นปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ฝ่ายกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่จากเดิมประกาศว่าจะไม่ยอมให้กรุงเทพมหานครท่วม แม้ว่าจะเป็นการสร้างกระแสความเชื่อมั่นต่อตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรืออาจส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปีหน้า แต่อย่างน้อยก็ได้มีการปรับท่าทียอมให้ใช้คลองในกรุงเทพมหานครเพื่อผันน้ำออกอ่าวไทยให้มากขึ้น
จึงขอพักเรื่องการเมืองเอาไว้ก่อนว่า ใครเดินผิดพลาด ใครเห็นแก่ตัว หรือที่ผ่านมาใครเล่นการเมืองกันจนประชาชนต้องเดือดร้อนกันขนาดไหน? เพราะเขียนไปในเวลานี้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น นอกจากความ “สะอิดสะเอียน”!!!
เอาเป็นว่าเรื่องของน้ำในเวลานี้ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องทำงานแข่งกับการเวลา ถ้าคิดขัดขวางมาก ก็ยิ่งสะสมระดับน้ำมาก ยิ่งสะสมระดับน้ำมากแรงดันของน้ำก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ถึงเวลานี้จึงต้องหาทาง “ส่งน้ำกลับบ้านไปยังมหาสมุทรให้เร็วที่สุด” แบบมีการเตรียมตัวและการจัดการในยามวิกฤติ !!!
ความจริงแล้วกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ต่ำ น้ำจากทางภาคเหนือจึงไหลมาผ่านกรุงเทพมหานครผ่านลงทะเลในอ่าวไทย แต่กรุงเทพมหานครมีการสร้างถนนวงแหวนโดยรอบเป็นพนังกั้นน้ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็สร้างพนังกั้นน้ำมีความสูง 2.5 - 3 เมตร จึงมีสภาพเสมือนอ่างขนาดใหญ่ที่มีพนังกั้นน้ำที่ป้องกันน้ำไม่ให้ท่วมตัวเมือง และหากน้ำท่วมก็จะระบายน้ำจะออกได้ก็โดยการใช้ระบบคลอง และอุโมงค์ การปิดเปิดประตูน้ำ และการสูบน้ำออกไปนอกพนังกั้นน้ำเท่านั้น
ตอนนี้กรุงเทพมหานครต้องเผชิญศึกน้ำ 2 ด้าน คือด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา กับด้านตะวันตกฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาต้องรับกับน้ำเหนือที่ไหลบ่าด้วยปริมาณที่มาก มีความเสี่ยงข้ามพนังกั้นน้ำทิศเหนือซึ่งเป็นถนนสายไหม และปัจจุบันคลองเปรมประชากรบริเวณดอนเมืองน้ำเอ่อล้นตลิ่ง และการผันน้ำผ่านคลองรังสิตและเขตสายไหมไปยังตะวันออกจำนวนมากทำให้น้ำเพิ่มขึ้นอยู่ระดับสูงและทำให้น้ำดันกลับเข้ามาในพนังกั้นน้ำผ่านท่อระบายน้ำ และน้ำวิ่งเข้ามาในตัวเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามภาพแสดงระดับน้ำในคลองเปรมประชากร เมื่อวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ก็จะเห็นชัดเจนว่าสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง +1.53 เมตร (ตลิ่งด้านซ้ายสูง 1.03เมตร ตลิ่งด้านขวาสูง 1.47 เมตร) เกิดขึ้นบริเวณดอนเมืองบริเวณเดียว แต่เมื่อคลองเปรมประชากรถูกตัดผ่านด้วยคลองบางเขน คลองบางซื่อ และคลองสามเสน ซึ่งเป็นคลองที่ส่งน้ำไปยังสถานีสูบน้ำลงไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะพบว่า “ระดับน้ำในคลองเปรมประชากรลดระดับต่ำกว่าตลิ่งทันทีที่ถูกคลองบางเขนตัดผ่าน” และลดระดับลงไปเรื่อยๆ เมื่อถูกคลองบางซื่อ และสามเสน ตัดผ่านอีกตามลำดับ จนถึงบริเวณถนนพระรามที่ 5 ระดับน้ำในคลองเปรมประชากรลดลง ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเลปานกลางที่ -1.05 เมตร (หมายความว่าระดับน้ำในคลองเปรมประชากรลดลงจากดอนเมืองไปถึง 2.58 เมตร)
ในขณะที่สถานีสูบน้ำในคลองบางเขน บางซื่อ และสามเสน ก็อยู่ในระดับที่ต่ำเพียงพอที่จะสามารถรับน้ำได้มากกว่านี้อีกอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลนี้การทะลักล้นตลิ่งของคลองเปรมประชากร จึงเกิดจากน้ำไหลเข้ามากเกินไปประการหนึ่ง และยังไปไม่ถึงสถานีสูบน้ำตามคลองต่างๆอีกประการหนึ่ง (ซึ่งความจริงมีความสามารถรับน้ำได้อีกและอยู่ที่การบริหารจัดการ) ทำให้น้ำจากคลองเปรมประชากรบริเวณดอนเมืองล้นตลิ่งไหลทะลักลามไปเรื่อยๆจากที่สูง “เขตดอนเมือง-สายไหม” ลงไปทิศใต้เข้าตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะต้องผ่านถนนซึ่งเป็นคันกั้นน้ำในด่านสำคัญ เช่น ถนนรามอินทรา ถนน ประเสริฐมนูกิจ-งามวงศ์วาน และถนนลาดพร้าว หลังจากนั้นก็จะมีการรับน้ำจาก “คลองแสนแสบ” ซึ่งถือว่าเป็นคลองหลักในการผันน้ำในตัวเมืองกรุงเทพมหานคร
คลองแสนแสบตลอดเส้นทางอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำทะเลปานกลางทั้งสิ้น และน้ำยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตลิ่งตลอดแนว สามารถรับน้ำได้อีกมาก และประการสำคัญก็คือเมื่อคลองแสนแสบมาบรรจบกับคลองลาดพร้าว ก็จะมีอาคารรับน้ำ ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตรเมตร ฝังใต้ดินเพื่อส่งน้ำตรงไปยังสถานีสูบน้ำที่พระโขนง ด้วยความเร็ว 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ยังไม่นับเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำพระโขนงที่ยังใช้งานได้จริงอีกไม่ต่ำกว่า 30-40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
กำลังความสามารถของอุโมงค์น้ำที่ระบายได้อย่างรวดเร็วเช่นนี้ ทำให้คลองแสนแสบจึงอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา และถึงแม้ว่าน้ำเหนือที่ทะลักมาจากคลองเปรมประชากรจะดูมีมาก แต่ความจริงน้ำเหล่านั้น “เคลื่อนตัวช้ากว่ามาก”เมื่อเทียบกับระบบสูบน้ำ
ดังนั้นหนทางที่ถูกต้องจึงไม่ใช่เอาหินคลุกมาขวางทางน้ำตามถนนแล้วเพื่อสะสมน้ำให้มากขึ้นอันเป็นการเสียเวลาระบายน้ำไปอีก แต่จะต้องหาหนทางเร่งทยอยผันน้ำให้เข้าสู่คลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวให้มากขึ้น เพื่อเร่งระบายน้ำสู่อ่าวไทยให้มากขึ้นโดยเร็วที่สุดก่อนน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้น
จริงอยู่ที่ว่าการระบายน้ำในกรุงเทพมหานคร เหมือนเอาหลอดกาแฟมาดูดสระน้ำที่มีมากมายมหาศาลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่ความจริงกรณีนี้คือหลอดกาแฟก็สามารถดูดน้ำในสระน้ำที่เพิ่งเริ่มมีน้ำ “ไหลซึม”เข้ามาในสระยังไม่มาก หลอดกาแฟก็มีโอกาสใช้ดูดให้สระน้ำให้แห้งได้เช่นกัน หากสระน้ำนั้นมีการซ่อมแซมส่วนที่มีรอยรั่วซึมได้ทันท่วงที
อย่างไรก็ตามฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงถือว่ามีความเสี่ยงน้ำท่วมในระดับปานกลางอยู่ เกิดขึ้นได้มากที่สุดก็คือน้ำไหลมีจำนวนมากแล้วข้ามพนังกั้นน้ำ (Over Flow) จนระบบสูบน้ำของกรุงเทพมหานครรองรับไม่ไหว (ซึ่งปัจจุบันกำลังต้านมวลน้ำส่วนนี้ด้วยการเบี่ยงไปทางตะวันออก) รองลงมาคือการปล่อยน้ำผ่านคลองในกรุงเทพมหานครปริมาณมากอย่างไร้การควบคุมหรือควบคุมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วที่คลองเปรมประชากร) ประการถัดมาคือพนังกั้นน้ำพังทลายหรือรั่วซึมแล้วซ่อมแซมกลับคืนมาได้ไม่ทัน (ยังไม่เกิดในฝั่งพระนคร) ส่วนประเด็นน้ำขังจากฝนตกน่าจะเป็นความเสี่ยงที่ลดลงไปแล้ว
ส่วนด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) ถูกน้ำจากทิศเหนือผันมาด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานครมากขึ้น พื้นที่จำนวนมากของฝั่งธนบุรีอยู่นอกคันกั้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงต่อน้ำท่วม อีกทั้งระบบเครือข่ายคลอง และระบบสูบน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับฝั่งพระนคร และยังต้องรับการผันน้ำจากจังหวัดนนทบุรีผ่านคลองทวีวัฒนา และคลองมหาสวัสดิ์อีก
จุดที่เป็นอันตรายยิ่งกว่าก็คือพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตบางพลัด บริเวณซอยตามถนนจรัญสนิทวงศ์บางจุดเป็นพนังกั้นน้ำชั่วคราว เมื่อทางกรุงเทพมหานครจะเข้าไปทำการสร้างพนังกั้นน้ำถาวรเหมือนฝั่งพระนคร ก็กลับถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เป็นผลทำให้มีการสร้างพนังกั้นน้ำแบบชั่วคราวที่ทำจากอิฐบล็อคซึ่งไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ แม้ในสัปดาห์ที่แล้วคณะทำงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้สำรวจและตั้งข้อสังเกตุในบริเวณเขตบางพลัดว่าจะต้องมีการสร้างพนังกั้นน้ำแบบถาวร ก็ถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่นั้นอีกเหมือนกัน
จนในที่สุดพนังกั้นน้ำเขตบางพลัดก็แตกพังทลายลง ทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าท่วมเขตบางพลัดอย่างรวดเร็ว และจะลามไปเรื่อยๆหากยังหาทางแก้ไขไม่ได้!!!
ฝั่งด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานครจึงมีความเสี่ยงและมีความน่าเป็นห่วงมากกว่าฝั่งตะวันออกเพราะเหมือนเผชิญศึก 2 ด้านตีขนาบ ด้านตะวันออกพนังกั้นน้ำริมเจ้าพระยาพังทลาย ด้านตะวันตกถูกตีโอบล้อมเข้ามา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ 27 – 28 - 29 ตุลาคม 2554 จะเป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูง และเป็นผลทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดถึง 2.7 เมตร!!!
นั่นหมายความว่าในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครหลายจุดก็จะมีน้ำล้นตลิ่งออกมาแน่นอน
แต่ที่หนักกว่าคือฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครหากยังแก้ไขพนังกั้นน้ำไม่ทัน ช่วงเวลาน้ำขึ้นสูงสุดในเขตบางพลัดบางจุดที่ต่ำจะท่วมได้ถึงประมาณ 2.7 เมตร – 3 เมตร
นั่นคือสถานการณ์เลวร้ายที่สุด
การเกิดน้ำท่วมย่อมสร้างความเสียหายอยู่แล้วแน่นอน แต่หากมีการเตรียมตัวล่วงหน้าให้ดี เราก็จะสามารถรับมือกับวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ได้แบบเสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนที่เสียหายไปแล้วก็ปล่อยวางดีกว่า เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรเพราะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ สู้มองไปข้างหน้าดีกว่า
ซึ่งจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 1 เดือนเท่านั้นเพื่อส่งน้ำกลับบ้านไปยังมหาสมุทร เดี๋ยวเวลาก็จะผ่านไป ขอให้อดทนกันหน่อย แล้วคนไทยจะฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน!!!
ฝ่ายรัฐบาลโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ออกมายอมรับเป็นครั้งแรกว่าปัญหาทั้งหมดเริ่มต้นมาจากการสะสมน้ำในเขื่อนมากจนเกินไป ซึ่งแม้จะยังไม่ต้องหาสาเหตุแต่อย่างน้อยก็ทำให้ทราบได้ว่าได้ตระหนักและมองเห็นปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ฝ่ายกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่จากเดิมประกาศว่าจะไม่ยอมให้กรุงเทพมหานครท่วม แม้ว่าจะเป็นการสร้างกระแสความเชื่อมั่นต่อตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรืออาจส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปีหน้า แต่อย่างน้อยก็ได้มีการปรับท่าทียอมให้ใช้คลองในกรุงเทพมหานครเพื่อผันน้ำออกอ่าวไทยให้มากขึ้น
จึงขอพักเรื่องการเมืองเอาไว้ก่อนว่า ใครเดินผิดพลาด ใครเห็นแก่ตัว หรือที่ผ่านมาใครเล่นการเมืองกันจนประชาชนต้องเดือดร้อนกันขนาดไหน? เพราะเขียนไปในเวลานี้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น นอกจากความ “สะอิดสะเอียน”!!!
เอาเป็นว่าเรื่องของน้ำในเวลานี้ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องทำงานแข่งกับการเวลา ถ้าคิดขัดขวางมาก ก็ยิ่งสะสมระดับน้ำมาก ยิ่งสะสมระดับน้ำมากแรงดันของน้ำก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ถึงเวลานี้จึงต้องหาทาง “ส่งน้ำกลับบ้านไปยังมหาสมุทรให้เร็วที่สุด” แบบมีการเตรียมตัวและการจัดการในยามวิกฤติ !!!
ความจริงแล้วกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ต่ำ น้ำจากทางภาคเหนือจึงไหลมาผ่านกรุงเทพมหานครผ่านลงทะเลในอ่าวไทย แต่กรุงเทพมหานครมีการสร้างถนนวงแหวนโดยรอบเป็นพนังกั้นน้ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็สร้างพนังกั้นน้ำมีความสูง 2.5 - 3 เมตร จึงมีสภาพเสมือนอ่างขนาดใหญ่ที่มีพนังกั้นน้ำที่ป้องกันน้ำไม่ให้ท่วมตัวเมือง และหากน้ำท่วมก็จะระบายน้ำจะออกได้ก็โดยการใช้ระบบคลอง และอุโมงค์ การปิดเปิดประตูน้ำ และการสูบน้ำออกไปนอกพนังกั้นน้ำเท่านั้น
ตอนนี้กรุงเทพมหานครต้องเผชิญศึกน้ำ 2 ด้าน คือด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา กับด้านตะวันตกฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาต้องรับกับน้ำเหนือที่ไหลบ่าด้วยปริมาณที่มาก มีความเสี่ยงข้ามพนังกั้นน้ำทิศเหนือซึ่งเป็นถนนสายไหม และปัจจุบันคลองเปรมประชากรบริเวณดอนเมืองน้ำเอ่อล้นตลิ่ง และการผันน้ำผ่านคลองรังสิตและเขตสายไหมไปยังตะวันออกจำนวนมากทำให้น้ำเพิ่มขึ้นอยู่ระดับสูงและทำให้น้ำดันกลับเข้ามาในพนังกั้นน้ำผ่านท่อระบายน้ำ และน้ำวิ่งเข้ามาในตัวเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามภาพแสดงระดับน้ำในคลองเปรมประชากร เมื่อวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ก็จะเห็นชัดเจนว่าสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง +1.53 เมตร (ตลิ่งด้านซ้ายสูง 1.03เมตร ตลิ่งด้านขวาสูง 1.47 เมตร) เกิดขึ้นบริเวณดอนเมืองบริเวณเดียว แต่เมื่อคลองเปรมประชากรถูกตัดผ่านด้วยคลองบางเขน คลองบางซื่อ และคลองสามเสน ซึ่งเป็นคลองที่ส่งน้ำไปยังสถานีสูบน้ำลงไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะพบว่า “ระดับน้ำในคลองเปรมประชากรลดระดับต่ำกว่าตลิ่งทันทีที่ถูกคลองบางเขนตัดผ่าน” และลดระดับลงไปเรื่อยๆ เมื่อถูกคลองบางซื่อ และสามเสน ตัดผ่านอีกตามลำดับ จนถึงบริเวณถนนพระรามที่ 5 ระดับน้ำในคลองเปรมประชากรลดลง ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเลปานกลางที่ -1.05 เมตร (หมายความว่าระดับน้ำในคลองเปรมประชากรลดลงจากดอนเมืองไปถึง 2.58 เมตร)
ในขณะที่สถานีสูบน้ำในคลองบางเขน บางซื่อ และสามเสน ก็อยู่ในระดับที่ต่ำเพียงพอที่จะสามารถรับน้ำได้มากกว่านี้อีกอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลนี้การทะลักล้นตลิ่งของคลองเปรมประชากร จึงเกิดจากน้ำไหลเข้ามากเกินไปประการหนึ่ง และยังไปไม่ถึงสถานีสูบน้ำตามคลองต่างๆอีกประการหนึ่ง (ซึ่งความจริงมีความสามารถรับน้ำได้อีกและอยู่ที่การบริหารจัดการ) ทำให้น้ำจากคลองเปรมประชากรบริเวณดอนเมืองล้นตลิ่งไหลทะลักลามไปเรื่อยๆจากที่สูง “เขตดอนเมือง-สายไหม” ลงไปทิศใต้เข้าตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะต้องผ่านถนนซึ่งเป็นคันกั้นน้ำในด่านสำคัญ เช่น ถนนรามอินทรา ถนน ประเสริฐมนูกิจ-งามวงศ์วาน และถนนลาดพร้าว หลังจากนั้นก็จะมีการรับน้ำจาก “คลองแสนแสบ” ซึ่งถือว่าเป็นคลองหลักในการผันน้ำในตัวเมืองกรุงเทพมหานคร
คลองแสนแสบตลอดเส้นทางอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำทะเลปานกลางทั้งสิ้น และน้ำยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตลิ่งตลอดแนว สามารถรับน้ำได้อีกมาก และประการสำคัญก็คือเมื่อคลองแสนแสบมาบรรจบกับคลองลาดพร้าว ก็จะมีอาคารรับน้ำ ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตรเมตร ฝังใต้ดินเพื่อส่งน้ำตรงไปยังสถานีสูบน้ำที่พระโขนง ด้วยความเร็ว 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ยังไม่นับเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำพระโขนงที่ยังใช้งานได้จริงอีกไม่ต่ำกว่า 30-40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
กำลังความสามารถของอุโมงค์น้ำที่ระบายได้อย่างรวดเร็วเช่นนี้ ทำให้คลองแสนแสบจึงอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา และถึงแม้ว่าน้ำเหนือที่ทะลักมาจากคลองเปรมประชากรจะดูมีมาก แต่ความจริงน้ำเหล่านั้น “เคลื่อนตัวช้ากว่ามาก”เมื่อเทียบกับระบบสูบน้ำ
ดังนั้นหนทางที่ถูกต้องจึงไม่ใช่เอาหินคลุกมาขวางทางน้ำตามถนนแล้วเพื่อสะสมน้ำให้มากขึ้นอันเป็นการเสียเวลาระบายน้ำไปอีก แต่จะต้องหาหนทางเร่งทยอยผันน้ำให้เข้าสู่คลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวให้มากขึ้น เพื่อเร่งระบายน้ำสู่อ่าวไทยให้มากขึ้นโดยเร็วที่สุดก่อนน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้น
จริงอยู่ที่ว่าการระบายน้ำในกรุงเทพมหานคร เหมือนเอาหลอดกาแฟมาดูดสระน้ำที่มีมากมายมหาศาลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่ความจริงกรณีนี้คือหลอดกาแฟก็สามารถดูดน้ำในสระน้ำที่เพิ่งเริ่มมีน้ำ “ไหลซึม”เข้ามาในสระยังไม่มาก หลอดกาแฟก็มีโอกาสใช้ดูดให้สระน้ำให้แห้งได้เช่นกัน หากสระน้ำนั้นมีการซ่อมแซมส่วนที่มีรอยรั่วซึมได้ทันท่วงที
อย่างไรก็ตามฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงถือว่ามีความเสี่ยงน้ำท่วมในระดับปานกลางอยู่ เกิดขึ้นได้มากที่สุดก็คือน้ำไหลมีจำนวนมากแล้วข้ามพนังกั้นน้ำ (Over Flow) จนระบบสูบน้ำของกรุงเทพมหานครรองรับไม่ไหว (ซึ่งปัจจุบันกำลังต้านมวลน้ำส่วนนี้ด้วยการเบี่ยงไปทางตะวันออก) รองลงมาคือการปล่อยน้ำผ่านคลองในกรุงเทพมหานครปริมาณมากอย่างไร้การควบคุมหรือควบคุมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วที่คลองเปรมประชากร) ประการถัดมาคือพนังกั้นน้ำพังทลายหรือรั่วซึมแล้วซ่อมแซมกลับคืนมาได้ไม่ทัน (ยังไม่เกิดในฝั่งพระนคร) ส่วนประเด็นน้ำขังจากฝนตกน่าจะเป็นความเสี่ยงที่ลดลงไปแล้ว
ส่วนด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) ถูกน้ำจากทิศเหนือผันมาด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานครมากขึ้น พื้นที่จำนวนมากของฝั่งธนบุรีอยู่นอกคันกั้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงต่อน้ำท่วม อีกทั้งระบบเครือข่ายคลอง และระบบสูบน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับฝั่งพระนคร และยังต้องรับการผันน้ำจากจังหวัดนนทบุรีผ่านคลองทวีวัฒนา และคลองมหาสวัสดิ์อีก
จุดที่เป็นอันตรายยิ่งกว่าก็คือพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตบางพลัด บริเวณซอยตามถนนจรัญสนิทวงศ์บางจุดเป็นพนังกั้นน้ำชั่วคราว เมื่อทางกรุงเทพมหานครจะเข้าไปทำการสร้างพนังกั้นน้ำถาวรเหมือนฝั่งพระนคร ก็กลับถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เป็นผลทำให้มีการสร้างพนังกั้นน้ำแบบชั่วคราวที่ทำจากอิฐบล็อคซึ่งไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ แม้ในสัปดาห์ที่แล้วคณะทำงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้สำรวจและตั้งข้อสังเกตุในบริเวณเขตบางพลัดว่าจะต้องมีการสร้างพนังกั้นน้ำแบบถาวร ก็ถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่นั้นอีกเหมือนกัน
จนในที่สุดพนังกั้นน้ำเขตบางพลัดก็แตกพังทลายลง ทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าท่วมเขตบางพลัดอย่างรวดเร็ว และจะลามไปเรื่อยๆหากยังหาทางแก้ไขไม่ได้!!!
ฝั่งด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานครจึงมีความเสี่ยงและมีความน่าเป็นห่วงมากกว่าฝั่งตะวันออกเพราะเหมือนเผชิญศึก 2 ด้านตีขนาบ ด้านตะวันออกพนังกั้นน้ำริมเจ้าพระยาพังทลาย ด้านตะวันตกถูกตีโอบล้อมเข้ามา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ 27 – 28 - 29 ตุลาคม 2554 จะเป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูง และเป็นผลทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดถึง 2.7 เมตร!!!
นั่นหมายความว่าในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครหลายจุดก็จะมีน้ำล้นตลิ่งออกมาแน่นอน
แต่ที่หนักกว่าคือฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครหากยังแก้ไขพนังกั้นน้ำไม่ทัน ช่วงเวลาน้ำขึ้นสูงสุดในเขตบางพลัดบางจุดที่ต่ำจะท่วมได้ถึงประมาณ 2.7 เมตร – 3 เมตร
นั่นคือสถานการณ์เลวร้ายที่สุด
การเกิดน้ำท่วมย่อมสร้างความเสียหายอยู่แล้วแน่นอน แต่หากมีการเตรียมตัวล่วงหน้าให้ดี เราก็จะสามารถรับมือกับวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ได้แบบเสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนที่เสียหายไปแล้วก็ปล่อยวางดีกว่า เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรเพราะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ สู้มองไปข้างหน้าดีกว่า
ซึ่งจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 1 เดือนเท่านั้นเพื่อส่งน้ำกลับบ้านไปยังมหาสมุทร เดี๋ยวเวลาก็จะผ่านไป ขอให้อดทนกันหน่อย แล้วคนไทยจะฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน!!!