ASTVผู้จัดการรายวัน - ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม หากโบรกเกอร์และระบบการซื้อขายได้รับความเสียหาย พร้อมปิดการซื้อขายในกรณีที่โบรกเกอร์ 12 แห่ง หรือ 1 ใน 3 ของโบรกเกอร์ทั้งหมดต้องไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ ตุนเสบียงรองรับพนักงาน 200 คนทำงาน 2 สัปดาห์หากน้ำท่วม พร้อมยืนยันวันนี้ (25 ต.ค.) เปิดซื้อขายปกติ ด้านเลขาฯ ก.ล.ต. “วรพล” มั่นใจระบบการซื้อขายไม่มีปัญหา และวิกฤตน้ำท่วมกระทบต่อการซื้อขายเล็กน้อยเท่านั้น
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึง มาตรการรองรับในกรณีบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ประสบปัญหาน้ำท่วมจนต้องหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนงานรับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายหลักทรัพย์ฯ โดยมีเกณฑ์หากโบรกเกอร์จำนวน 12 แห่ง หรือ 1ใน 3 ของโบรกเกอร์ทั้งหมด ไม่สามารถดำเนินงานได้ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามตลาดหลักทรัพย์ฯ จะหยุดให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจากที่ปัญหาน้ำท่วมได้ขยายวงกว้างจนอาจลามเข้าสู่กรุงเทพฯ ทางตลาดหลักทรัพย์ได้มีการซักซ้อมทำความเข้าใจกับโบรกเกอร์มาโดยตลอด
หากในกรณีที่น้ำท่วมทั้งสำนักงานใหญ่และศูนย์สำรองของโบรกเกอร์นั้น โดยปกติตลาดหลักทรัพย์ฯ และโบรกเกอร์จะให้ความสำคัญเรื่องระบบส่งคำสั่งซื้อขาย จะต้องมีระบบสำรองรองรับหากเกิดปัญหาเรื่องสายเคเบิล เพื่อไม่ให้กระทบต่อการส่งคำสั่งซื้อขาย รวมถึงกรณีการทำงานของพนักงานในกรณีไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ทำงานได้ จะมีแผนรับมืออย่างไร โดยในส่วนของตลาดหลักทรัพย์เองนั้นได้มีแผนรองรับไว้แล้ว
สำหรับกรณีที่น้ำท่วมและมีการตัดไฟทำให้มีผลกระทบให้ไม่สามารถทำงานปกติได้ จะมีพนักงานจำนวน 200 คน พร้อมเข้างานทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และศูนย์สำรอง ซึ่งเสบียงและไฟสำรองนั้นจะรองรับการพักอาศัยและทำงานของพนักงานตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และให้ผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแทน
“น้ำท่วมต่างจากไฟไหม้ เพราะอาจเข้าท่วมในพื้นที่ทั้งสำนักงานใหญ่และศูนย์สำรองด้วย ดังนั้นต้องคิดแผนรับมือขึ้น และในกรณีโบรกเกอร์ไม่สามารถทำงานน้อยกว่า 12 แห่ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยังคงเปิดให้การซื้อขาย แต่หากเกิน 12 แห่งเมื่อไหร่จึงจะหยุดให้บริการ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้” ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าว
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า จากการรายงานข้อมูลของบล.ที่มีการปิดสาขาลงจากปัญหาน้ำท่วมนั้นขณะนี้อยู่ที่กว่า 10 สาขา ซึ่งถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับสาขาทั้งหมดที่มีประมาณ 400 สาขา และบางจังหวัดก็มีการปิดสาขาไม่หมด ซึ่งจากปัญหาน้ำท่วมนั้นเชื่อว่าไม่น่ามีผลกระทบต่อการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวมมากนัก และมั่นใจว่าระบบการซื้อขายจะสามารถเปิดทำการได้เป็นปกติ
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) และในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดนั้นมีผลทำให้บล.จะต้องมีการปิดสาขาที่ถูกน้ำท่วมไป จากที่ไม่สามารถที่จะเข้าไปทำงานได้ ซึ่งแต่ละบล.ต้องกมีการบริหารจัดการ โดยอาจจะมีการย้ายไปทำงานสาขาใกล้เคียง หรือ ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้เจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) รับคำสั่งซื้อขายจากนักลงทุนผ่านอินเตอร์เน็ตได้แต่ต้องแจ้งชื่อกับรหัสกับทางตลาดหลักทรัพย์ฯ
“ปัญหาน้ำท่วมดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นเบาบางลงบ้างและยังมีปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ในต่างประเทศคือปัญหาหนี้ยุโรป ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศ”
***ยืนยันวันนี้เปิดซื้อขายหลักทรัพย์ปกติ
นายจรัมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประเมินสถานการณ์อุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และได้เตรียมความพร้อมของระบบงานและบุคลากร รวมทั้ง ได้ประสานกับบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกทุกรายแล้ว โดยพร้อมเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งของตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตลาดอนุพันธ์ และตลาดตราสารหนี้ ในวันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2554 นี้ตามปกติ
สำหรับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการเดินทางในเขตกรุงเทพฯ จึงแนะนำให้ผู้ลงทุนที่ยังไม่ได้นำใบหุ้นฝากไว้ในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) และประสงค์จะซื้อขายหลักทรัพย์รีบนำใบหุ้นมาฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ถือหุ้นจะสามารถส่งมอบหุ้นได้สะดวก เมื่อต้องการซื้อขายเปลี่ยนมือ
นอกจากนี้ ขอให้เตรียมการให้พร้อมสำหรับการโอนเงินอัตโนมัติหรือรับเงินผ่านธนาคารเมื่อมีการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเมื่อต้องเพิ่มหรือลดการนำเงินหรือทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันกับบริษัทหลักทรัพย์สมาชิก กรณีที่มีการปรับเพิ่มหรือลดมาร์จิ้น
จาการรวบรวมข้อมูลจังหวัดที่มีการน้ำท่วมหนักนั้นมีสาขาบล.อยู่ คือ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 8สาขาประกอบด้วย 1.บล.คันทรี่กรุ๊ป 2.บล.เคจีไอ (ประเทศไทย )3.บล.ซิกโก้ 4.บล.ธนชาต มี 2 สาขา 5.บล.โนมูระ พัฒนสิน และ 6.บล.เอเซีย พลัส จังหวัดปทุมธานีมี 6 สาขา ประกอบด้วย 1.บล.กสิกรไทย 2.บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) 3.บล.บัวหลวง 4.บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) 5.บล.ยูไนเต็ด 6.บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จังหวัดอยุธยา มี 2 สาขา คือ บล.ทรีนีตี้ และ บล.โนมูระ พัฒนสิน จังหวัดพิจิตร มี 1 สาขา ของบล.ซิกโก้ จังหวัดพิษณุโลก มี 7 สาขาประกอบด้วย 1.บล.กรุงศรีอยุธยา 2.บล.เกียรตินาคิน 3.บล.เคที ซีมิโก้ 4.บล.ธนชาต 6.บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) 7.บล.เอเซีย พลัส จังหวัดลพบุรี มี1 สาขาของ บล.ทรีนีตี้ จังหวัดสิงบุรี มี 1 สาขาของ บล.ธนชาต
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึง มาตรการรองรับในกรณีบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ประสบปัญหาน้ำท่วมจนต้องหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนงานรับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายหลักทรัพย์ฯ โดยมีเกณฑ์หากโบรกเกอร์จำนวน 12 แห่ง หรือ 1ใน 3 ของโบรกเกอร์ทั้งหมด ไม่สามารถดำเนินงานได้ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามตลาดหลักทรัพย์ฯ จะหยุดให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจากที่ปัญหาน้ำท่วมได้ขยายวงกว้างจนอาจลามเข้าสู่กรุงเทพฯ ทางตลาดหลักทรัพย์ได้มีการซักซ้อมทำความเข้าใจกับโบรกเกอร์มาโดยตลอด
หากในกรณีที่น้ำท่วมทั้งสำนักงานใหญ่และศูนย์สำรองของโบรกเกอร์นั้น โดยปกติตลาดหลักทรัพย์ฯ และโบรกเกอร์จะให้ความสำคัญเรื่องระบบส่งคำสั่งซื้อขาย จะต้องมีระบบสำรองรองรับหากเกิดปัญหาเรื่องสายเคเบิล เพื่อไม่ให้กระทบต่อการส่งคำสั่งซื้อขาย รวมถึงกรณีการทำงานของพนักงานในกรณีไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ทำงานได้ จะมีแผนรับมืออย่างไร โดยในส่วนของตลาดหลักทรัพย์เองนั้นได้มีแผนรองรับไว้แล้ว
สำหรับกรณีที่น้ำท่วมและมีการตัดไฟทำให้มีผลกระทบให้ไม่สามารถทำงานปกติได้ จะมีพนักงานจำนวน 200 คน พร้อมเข้างานทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และศูนย์สำรอง ซึ่งเสบียงและไฟสำรองนั้นจะรองรับการพักอาศัยและทำงานของพนักงานตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และให้ผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแทน
“น้ำท่วมต่างจากไฟไหม้ เพราะอาจเข้าท่วมในพื้นที่ทั้งสำนักงานใหญ่และศูนย์สำรองด้วย ดังนั้นต้องคิดแผนรับมือขึ้น และในกรณีโบรกเกอร์ไม่สามารถทำงานน้อยกว่า 12 แห่ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยังคงเปิดให้การซื้อขาย แต่หากเกิน 12 แห่งเมื่อไหร่จึงจะหยุดให้บริการ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้” ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าว
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า จากการรายงานข้อมูลของบล.ที่มีการปิดสาขาลงจากปัญหาน้ำท่วมนั้นขณะนี้อยู่ที่กว่า 10 สาขา ซึ่งถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับสาขาทั้งหมดที่มีประมาณ 400 สาขา และบางจังหวัดก็มีการปิดสาขาไม่หมด ซึ่งจากปัญหาน้ำท่วมนั้นเชื่อว่าไม่น่ามีผลกระทบต่อการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวมมากนัก และมั่นใจว่าระบบการซื้อขายจะสามารถเปิดทำการได้เป็นปกติ
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) และในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดนั้นมีผลทำให้บล.จะต้องมีการปิดสาขาที่ถูกน้ำท่วมไป จากที่ไม่สามารถที่จะเข้าไปทำงานได้ ซึ่งแต่ละบล.ต้องกมีการบริหารจัดการ โดยอาจจะมีการย้ายไปทำงานสาขาใกล้เคียง หรือ ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้เจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) รับคำสั่งซื้อขายจากนักลงทุนผ่านอินเตอร์เน็ตได้แต่ต้องแจ้งชื่อกับรหัสกับทางตลาดหลักทรัพย์ฯ
“ปัญหาน้ำท่วมดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นเบาบางลงบ้างและยังมีปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ในต่างประเทศคือปัญหาหนี้ยุโรป ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศ”
***ยืนยันวันนี้เปิดซื้อขายหลักทรัพย์ปกติ
นายจรัมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประเมินสถานการณ์อุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และได้เตรียมความพร้อมของระบบงานและบุคลากร รวมทั้ง ได้ประสานกับบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกทุกรายแล้ว โดยพร้อมเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งของตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตลาดอนุพันธ์ และตลาดตราสารหนี้ ในวันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2554 นี้ตามปกติ
สำหรับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการเดินทางในเขตกรุงเทพฯ จึงแนะนำให้ผู้ลงทุนที่ยังไม่ได้นำใบหุ้นฝากไว้ในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) และประสงค์จะซื้อขายหลักทรัพย์รีบนำใบหุ้นมาฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ถือหุ้นจะสามารถส่งมอบหุ้นได้สะดวก เมื่อต้องการซื้อขายเปลี่ยนมือ
นอกจากนี้ ขอให้เตรียมการให้พร้อมสำหรับการโอนเงินอัตโนมัติหรือรับเงินผ่านธนาคารเมื่อมีการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเมื่อต้องเพิ่มหรือลดการนำเงินหรือทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันกับบริษัทหลักทรัพย์สมาชิก กรณีที่มีการปรับเพิ่มหรือลดมาร์จิ้น
จาการรวบรวมข้อมูลจังหวัดที่มีการน้ำท่วมหนักนั้นมีสาขาบล.อยู่ คือ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 8สาขาประกอบด้วย 1.บล.คันทรี่กรุ๊ป 2.บล.เคจีไอ (ประเทศไทย )3.บล.ซิกโก้ 4.บล.ธนชาต มี 2 สาขา 5.บล.โนมูระ พัฒนสิน และ 6.บล.เอเซีย พลัส จังหวัดปทุมธานีมี 6 สาขา ประกอบด้วย 1.บล.กสิกรไทย 2.บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) 3.บล.บัวหลวง 4.บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) 5.บล.ยูไนเต็ด 6.บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จังหวัดอยุธยา มี 2 สาขา คือ บล.ทรีนีตี้ และ บล.โนมูระ พัฒนสิน จังหวัดพิจิตร มี 1 สาขา ของบล.ซิกโก้ จังหวัดพิษณุโลก มี 7 สาขาประกอบด้วย 1.บล.กรุงศรีอยุธยา 2.บล.เกียรตินาคิน 3.บล.เคที ซีมิโก้ 4.บล.ธนชาต 6.บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) 7.บล.เอเซีย พลัส จังหวัดลพบุรี มี1 สาขาของ บล.ทรีนีตี้ จังหวัดสิงบุรี มี 1 สาขาของ บล.ธนชาต