นายสกลธี ภัททิยกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจากที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือให้ผ่านสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วมไปด้วยดี ซึ่งทุกฝ่ายพร้อมให้การช่วยเหลืออยู่ แต่รู้สึกเหมือนนายกฯ ปากว่าตาขยิบ เรียกร้องทุกฝ่ายให้ร่วมมือ แต่คนของตัวเองกลับนำการเมืองมาปะปน นายกฯไม่รู้หรืออย่างไรว่า แกนนำพรรคเพื่อไทย ภาคกทม. ได้มีการประชุมส.ส.ในเขตที่ประสบภัยพิบัติ คือ มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา และลาดกระบัง โดยมีลักษณะให้ทำการขัดแข้งขัดขากับผู้ว่าฯกทม. เช่น ให้ทีมงานใช้หอกระจายข่าวสาร พูดตำหนิการทำงานของกทม. ให้ข้อมูลบิดเบือน สร้างความเกลียดชัง เช่น กรณีน้ำเอ่อล้นคลองประปา ก็ระบุว่าเป็นฝีมือผู้ว่าฯกทม. ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม. จึงเรียกร้องให้รู้กาลเทศะบ้าง ตอนนี้ประชาชนเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อย่าเล่นการเมืองมากไป ไม่ใช่สถานการณ์ให้ใครมาเล่นบทวีรสตรี เพื่อหวังลงสมัครผู้ว่าฯกทม.ในปีหน้า
นายสกลธี กล่าวว่า ตลอดช่อง 3 สัปดาห์ ที่มีการแต่งตั้ง ศปภ. การทำงานยังเหมือนพายเรือในอ่าง มีปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาความน่าเชื่อถือในเรื่องการให้ข่าว สร้างความแตกตื่นมากมาย และมีความขัดแย้งภายใน ศปภ. ทั้งรัฐมนตรีในแถวสาม สี ห้า กับคนไม่มีอำนาจ ในบ้านเลขที่ 111 ที่เตรียมจะกลับมาปีหน้า มีการแย่งซีนกัน ทำให้การทำงานของ ศปภ.ไม่ลื่นไหล รวมถึงส.ส.เพื่อไทย ก็ขัดแย้งกันเอง สิ่งเหล่านี้นายกฯ ต้องเข้ามาจัดการ เพราะสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นมากสุดคือ ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมายังได้ไม่แสดงภาวะผู้นำอย่างเพียงพอ และจากการลงพื้นที่ของทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ พบว่าประชาชนอยากเห็นรัฐบาลพูดความจริง แถลงอย่างตรงไปมา ไม่ใช่พอถามนายกฯ ถึงสถานการณ์น้ำว่าเป็นอย่างไร ก็ตอบอย่างเดียวว่า ยังไม่ทราบ ให้ไปถามผู้เกี่ยวข้อง ถ้าคนระดับนายกฯ ไม่รู้แล้วจะให้ไปถามใคร
" ตอนนี้ประชาชนเลิกกลัวน้ำท่วม กลับกลัวการแถลงของศปภ. มากกว่า ว่าจะบิดเบือนความจริง ถ้าพูดความจริงคนกทม. รับได้ จะได้มีการเตรียมรับสถานการณ์ เพียงแต่อยากรู้ว่า จะท่วมตรงไหนบ้าง ท่วมเท่าไหร่ ถ้านายกฯไม่สามารถให้คำตอบได้ ทั้งมีข้อมูลที่จะประมาณการได้อยู่แล้ว ก็วังเวง "
อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องต่อนายกฯ 7 ข้อ คือ
1. นายกฯ ต้องเร่งทำให้ประชาชนเบาใจ ด้วยการแสดงภาวะผู้นำจริงจัง แถลงความจริงอย่างรวดเร็ว เพื่อรับต่อสถานการณ์ และปรับปรุงรูปแบบการแถลงของ ศปภ. หาโฆษกที่พูดจารู้เรื่องกว่านี้
2. ต้องเตือนลูกหาบ และผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่าเอาความเดือดร้อนของประชาชนมาเป็นตัวประกัน เพื่อหวังหาเสียงเก็บคะแนน หรือเตรียมตัวสมัครผู้ว่าฯกทม. สมัยหน้า
3. ตักเตือน ส.ส.ที่ไม่เกี่ยวข้อง มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ ออกมามาบริภาษผู้เกี่ยวข้องทั้งที่คนเหล่านี้ได้ทำงานอย่างเต็มที่
4. บอกลูกพรรคให้หยุดสร้างความแตกแยก แบ่งพวก แบ่งสี เช่น บังคับให้อาสาสมัครใส่เสื้อสีแดง หรือส่งของให้กับพวกตัวเอง หรือเช่นที่เขตดอนเมืองบางแห่ง น้ำท่วมครึ่งแข้ง ก็รีบเอาของไปแจกให้ทันที ทั้งที่พื้นที่อื่นที่ประสบความเดือดร้อนก่อนหน้านี้ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ
5. ให้ตักเตือนรื่องการขาดตลาดของสินค้าอุปโภค บริโภค ต้องจัดการผู้ที่กักตุนสินค้า และขึ้นราคาสินค้าอย่างเด็ดขาด
6. ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษากฏหมาย ดูแลทำงานให้เต็มที่ โดยเฉพาะการแต่งตั้งญาติขึ้นมาเป็น ผบ.ตร.แล้ว ก็ควรจะเร่งทำงาน เพราะเริ่มมีการซ้ำเติมประชาชน เช่น การโจรกรรม และกรณีเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างคนเมืองนนท์ กับ ดอนเมือง ซึ่งตัวคนทำผิดชัดเจน อยากให้แสดงฝีมืองเป็นงานแรก หลังจากรับตำแหน่ง
7. ขอให้นายกฯเลิกดื้อดึง และฟังความเห็นทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง และหยุดเล่นการเมืองสักพัก อย่ากีดกันคนที่ไม่ใช่พวกของตนเองออกไป
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะเรียกประชุมสภา ในวันที่ 26 -27 ต.ค.ว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องการความเห็นจากทุกภาคส่วน แต่อย่าอาศัยช่วงชุลมุน หมกเม็ดนำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าในระเบียวาระ โดยเฉพาะร่างแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม แม้ยืนยันว่า ไม่มีเรื่องนี้ในวาระ แต่ประธานสภา ก็มีสิทธิ์เลือกวาระเข้ามาประชุมในสภาได้
** ขู่ฟ้องนายกฯกรณีคนถูกไฟฟ้าดูดตาย
ด้านน.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจากนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามมาตรา 31 เพื่อรวบอำนาจสั่งการไว้ที่นายกรัฐมนตรี จากนั้นได้มีการระบายน้ำลงไปทาง จ.นนทบุรี ซึ่งนายกฯ รู้ทิศทางน้ำ รู้ข้อมูลทั้งหมด แต่บกพร่องอย่างร้ายแรง เมื่อทำให้ชาว จ.นนทบุรี โดนไฟดูดตายภายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในวันเดียวมากถึง 8 ศพ จึงขอเรียกร้องการไฟฟ้าร่วมรับผิดชอบ เพราะไม่ออกคำสั่งตัดไฟฟ้า หลังจากที่มีคำสั่งให้คนอพยพออกจากพื้น ที่เพราะระดับน้ำท่วมสูงเสี่ยงอันตราย หรือเตือนให้ชาวบ้านได้รู้ตัว และเตรียมการได้ จึงถือเป็นความบกพร่องอย่างร้ายแรง ของนายรัฐมนตรี แต่เพราะความไม่ประสาในการออกสั่งการตามอำนาจตัวเอง
" เรื่องนี้จะจบแค่คำว่า เสียใจ ไม่ได้ เพราะนี่ไม่ใช่เพียงทรัพย์สิน เงินทอง ของมีค่า แต่คือ ชีวิตของคนที่ต้องตายด้วยความบกพร่องของผู้นำ ทั้งที่มีสื่อประจำที่ศูนย์ ศปภ. สามารถแจ้งเตือนได้ ซึ่งทีมกฏหมายพรรค กำลังหารือถึงเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องศาลปกครองเอาผิดจากรัฐและนายกฯได้ "
น.ส.มัลลิกา กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้รับการร้องเรียนจากประชาชน และเหล่าอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยแพ็คสิ่งของบริจาค ที่ศูนย์ ศปภ.ว่า มีการกั๊กของบริจาคที่ทางศปภ.ได้รับบริจาคมาจากองค์กรต่างๆ ทำให้ส่งถุงยังชีพถึงมือผู้เดือดร้อนล่าช้า และไม่ทั่วถึง และเมื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณของ ศปภ. ก็พบว่าใช้งบประมาณไปแล้ว 1,700 ล้านบาท ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จากงบประมาณที่ ครม.อนุมัติให้ 2,000 ล้านบาท โดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดกับประเทศชาติ และประชาชนไทยเลยแม้แต่น้อย
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ครม"ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เพิ่งจะอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมให้ ศปภ. อีก 1,500 ล้านบาท รวมเป็นยอด 3,500 บาทที่ให้อำนาจกับ ศปภ. แต่ผลที่ออกมาคุ้มค่าหรือไม่ กับผลงานที่ออกมา
** จวกศปภ.กั๊กสิ่งของบริจาค
น.ส.มัลลิกา กล่าวต่อว่าที่บอกไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากวันนี้ ยังได้ยินเสียงร่ำไห้ของความทุกข์ระทม จากการ อดน้ำ อดข้าว ของประชาชนอยู่ บางแห่งรออพยพเป็นหมื่นๆ คน คนเฒ่าคนแก่ ลูกเล็กเด็กแดง ไม่ได้กินอิ่ม ทั้งที่มีของบริจาคจากชาวไทยกองโตเท่าภูเขา ที่ศูนย์ ศปภ. ดอนเมือง แต่สิทธิ์ขาดขึ้นอยู่กับคนอนุมัติ ซึ่งก็ไม่อยู่ประจำที่ เพราะต้องรอลายเซ็นของส.ส.เจ้าพ่อใหญ่คนหนึ่ง และเป็นคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์อนุมัติให้ของบริจาคกับชาวบ้าน ตาดำๆ ที่รอความช่วยเหลือจากศูนย์ ศปภ. จึงอยากขอร้องว่าขอให้ทำ ศปภ.เป็นศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยจริงๆ ไม่ใช่ทำให้กลายเป็น “ศูนย์ประจานภูมิปัญญาปู” เพราะเต็มไปด้วย “แกนนำคนเสื้อแดง” ที่เข้าไปชี้นิ้วสั่งการกันอย่างเอิกเกริก จนกลายเป็น “ศูนย์รวมสารพัดแดง” ทั้งที่แต่ละคนไม่ได้มีความรู้ความสามารถในเรื่องการบริหารจัดการน้ำแต่อย่างใด ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ทำให้ประชาชน ผู้คนต่างหมดศรัทธา จนเหล่าอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาชน เหลืออดในพฤติกรรมต่างๆ จึงได้มีการถอนตัวออกจากศูนย์ ศปภ. จำนวนมาก
นายสกลธี กล่าวว่า ตลอดช่อง 3 สัปดาห์ ที่มีการแต่งตั้ง ศปภ. การทำงานยังเหมือนพายเรือในอ่าง มีปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาความน่าเชื่อถือในเรื่องการให้ข่าว สร้างความแตกตื่นมากมาย และมีความขัดแย้งภายใน ศปภ. ทั้งรัฐมนตรีในแถวสาม สี ห้า กับคนไม่มีอำนาจ ในบ้านเลขที่ 111 ที่เตรียมจะกลับมาปีหน้า มีการแย่งซีนกัน ทำให้การทำงานของ ศปภ.ไม่ลื่นไหล รวมถึงส.ส.เพื่อไทย ก็ขัดแย้งกันเอง สิ่งเหล่านี้นายกฯ ต้องเข้ามาจัดการ เพราะสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นมากสุดคือ ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมายังได้ไม่แสดงภาวะผู้นำอย่างเพียงพอ และจากการลงพื้นที่ของทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ พบว่าประชาชนอยากเห็นรัฐบาลพูดความจริง แถลงอย่างตรงไปมา ไม่ใช่พอถามนายกฯ ถึงสถานการณ์น้ำว่าเป็นอย่างไร ก็ตอบอย่างเดียวว่า ยังไม่ทราบ ให้ไปถามผู้เกี่ยวข้อง ถ้าคนระดับนายกฯ ไม่รู้แล้วจะให้ไปถามใคร
" ตอนนี้ประชาชนเลิกกลัวน้ำท่วม กลับกลัวการแถลงของศปภ. มากกว่า ว่าจะบิดเบือนความจริง ถ้าพูดความจริงคนกทม. รับได้ จะได้มีการเตรียมรับสถานการณ์ เพียงแต่อยากรู้ว่า จะท่วมตรงไหนบ้าง ท่วมเท่าไหร่ ถ้านายกฯไม่สามารถให้คำตอบได้ ทั้งมีข้อมูลที่จะประมาณการได้อยู่แล้ว ก็วังเวง "
อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องต่อนายกฯ 7 ข้อ คือ
1. นายกฯ ต้องเร่งทำให้ประชาชนเบาใจ ด้วยการแสดงภาวะผู้นำจริงจัง แถลงความจริงอย่างรวดเร็ว เพื่อรับต่อสถานการณ์ และปรับปรุงรูปแบบการแถลงของ ศปภ. หาโฆษกที่พูดจารู้เรื่องกว่านี้
2. ต้องเตือนลูกหาบ และผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่าเอาความเดือดร้อนของประชาชนมาเป็นตัวประกัน เพื่อหวังหาเสียงเก็บคะแนน หรือเตรียมตัวสมัครผู้ว่าฯกทม. สมัยหน้า
3. ตักเตือน ส.ส.ที่ไม่เกี่ยวข้อง มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ ออกมามาบริภาษผู้เกี่ยวข้องทั้งที่คนเหล่านี้ได้ทำงานอย่างเต็มที่
4. บอกลูกพรรคให้หยุดสร้างความแตกแยก แบ่งพวก แบ่งสี เช่น บังคับให้อาสาสมัครใส่เสื้อสีแดง หรือส่งของให้กับพวกตัวเอง หรือเช่นที่เขตดอนเมืองบางแห่ง น้ำท่วมครึ่งแข้ง ก็รีบเอาของไปแจกให้ทันที ทั้งที่พื้นที่อื่นที่ประสบความเดือดร้อนก่อนหน้านี้ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ
5. ให้ตักเตือนรื่องการขาดตลาดของสินค้าอุปโภค บริโภค ต้องจัดการผู้ที่กักตุนสินค้า และขึ้นราคาสินค้าอย่างเด็ดขาด
6. ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษากฏหมาย ดูแลทำงานให้เต็มที่ โดยเฉพาะการแต่งตั้งญาติขึ้นมาเป็น ผบ.ตร.แล้ว ก็ควรจะเร่งทำงาน เพราะเริ่มมีการซ้ำเติมประชาชน เช่น การโจรกรรม และกรณีเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างคนเมืองนนท์ กับ ดอนเมือง ซึ่งตัวคนทำผิดชัดเจน อยากให้แสดงฝีมืองเป็นงานแรก หลังจากรับตำแหน่ง
7. ขอให้นายกฯเลิกดื้อดึง และฟังความเห็นทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง และหยุดเล่นการเมืองสักพัก อย่ากีดกันคนที่ไม่ใช่พวกของตนเองออกไป
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะเรียกประชุมสภา ในวันที่ 26 -27 ต.ค.ว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องการความเห็นจากทุกภาคส่วน แต่อย่าอาศัยช่วงชุลมุน หมกเม็ดนำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าในระเบียวาระ โดยเฉพาะร่างแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม แม้ยืนยันว่า ไม่มีเรื่องนี้ในวาระ แต่ประธานสภา ก็มีสิทธิ์เลือกวาระเข้ามาประชุมในสภาได้
** ขู่ฟ้องนายกฯกรณีคนถูกไฟฟ้าดูดตาย
ด้านน.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจากนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามมาตรา 31 เพื่อรวบอำนาจสั่งการไว้ที่นายกรัฐมนตรี จากนั้นได้มีการระบายน้ำลงไปทาง จ.นนทบุรี ซึ่งนายกฯ รู้ทิศทางน้ำ รู้ข้อมูลทั้งหมด แต่บกพร่องอย่างร้ายแรง เมื่อทำให้ชาว จ.นนทบุรี โดนไฟดูดตายภายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในวันเดียวมากถึง 8 ศพ จึงขอเรียกร้องการไฟฟ้าร่วมรับผิดชอบ เพราะไม่ออกคำสั่งตัดไฟฟ้า หลังจากที่มีคำสั่งให้คนอพยพออกจากพื้น ที่เพราะระดับน้ำท่วมสูงเสี่ยงอันตราย หรือเตือนให้ชาวบ้านได้รู้ตัว และเตรียมการได้ จึงถือเป็นความบกพร่องอย่างร้ายแรง ของนายรัฐมนตรี แต่เพราะความไม่ประสาในการออกสั่งการตามอำนาจตัวเอง
" เรื่องนี้จะจบแค่คำว่า เสียใจ ไม่ได้ เพราะนี่ไม่ใช่เพียงทรัพย์สิน เงินทอง ของมีค่า แต่คือ ชีวิตของคนที่ต้องตายด้วยความบกพร่องของผู้นำ ทั้งที่มีสื่อประจำที่ศูนย์ ศปภ. สามารถแจ้งเตือนได้ ซึ่งทีมกฏหมายพรรค กำลังหารือถึงเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องศาลปกครองเอาผิดจากรัฐและนายกฯได้ "
น.ส.มัลลิกา กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้รับการร้องเรียนจากประชาชน และเหล่าอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยแพ็คสิ่งของบริจาค ที่ศูนย์ ศปภ.ว่า มีการกั๊กของบริจาคที่ทางศปภ.ได้รับบริจาคมาจากองค์กรต่างๆ ทำให้ส่งถุงยังชีพถึงมือผู้เดือดร้อนล่าช้า และไม่ทั่วถึง และเมื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณของ ศปภ. ก็พบว่าใช้งบประมาณไปแล้ว 1,700 ล้านบาท ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จากงบประมาณที่ ครม.อนุมัติให้ 2,000 ล้านบาท โดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดกับประเทศชาติ และประชาชนไทยเลยแม้แต่น้อย
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ครม"ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เพิ่งจะอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมให้ ศปภ. อีก 1,500 ล้านบาท รวมเป็นยอด 3,500 บาทที่ให้อำนาจกับ ศปภ. แต่ผลที่ออกมาคุ้มค่าหรือไม่ กับผลงานที่ออกมา
** จวกศปภ.กั๊กสิ่งของบริจาค
น.ส.มัลลิกา กล่าวต่อว่าที่บอกไม่เกิดประโยชน์ เนื่องจากวันนี้ ยังได้ยินเสียงร่ำไห้ของความทุกข์ระทม จากการ อดน้ำ อดข้าว ของประชาชนอยู่ บางแห่งรออพยพเป็นหมื่นๆ คน คนเฒ่าคนแก่ ลูกเล็กเด็กแดง ไม่ได้กินอิ่ม ทั้งที่มีของบริจาคจากชาวไทยกองโตเท่าภูเขา ที่ศูนย์ ศปภ. ดอนเมือง แต่สิทธิ์ขาดขึ้นอยู่กับคนอนุมัติ ซึ่งก็ไม่อยู่ประจำที่ เพราะต้องรอลายเซ็นของส.ส.เจ้าพ่อใหญ่คนหนึ่ง และเป็นคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์อนุมัติให้ของบริจาคกับชาวบ้าน ตาดำๆ ที่รอความช่วยเหลือจากศูนย์ ศปภ. จึงอยากขอร้องว่าขอให้ทำ ศปภ.เป็นศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยจริงๆ ไม่ใช่ทำให้กลายเป็น “ศูนย์ประจานภูมิปัญญาปู” เพราะเต็มไปด้วย “แกนนำคนเสื้อแดง” ที่เข้าไปชี้นิ้วสั่งการกันอย่างเอิกเกริก จนกลายเป็น “ศูนย์รวมสารพัดแดง” ทั้งที่แต่ละคนไม่ได้มีความรู้ความสามารถในเรื่องการบริหารจัดการน้ำแต่อย่างใด ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ทำให้ประชาชน ผู้คนต่างหมดศรัทธา จนเหล่าอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาชน เหลืออดในพฤติกรรมต่างๆ จึงได้มีการถอนตัวออกจากศูนย์ ศปภ. จำนวนมาก