เรียนตามตรงว่า ผมรู้สึกเกร็งที่จะเสนอความคิดเห็นใดๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมในช่วงเวลาที่ภัยกำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เพราะเกรงจะไปทำลายกำลังใจของคนที่กำลังแก้ปัญหาอยู่ แต่ถ้าไม่นำเสนอในตอนนี้เดี๋ยวคนก็ไม่สนใจอีก
อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังคงเชื่อในบทสรุปของ ศาสตราจารย์นอม ชอมส์กี แห่งเอ็มไอทีที่ว่า “หน้าที่ของนักวิชาการคือพูดความจริงและชี้ให้เห็นการโกหก” เพียงแต่ผมได้เพิ่มการคำนึงถึงกาลเทศะด้วย
ประเด็นที่จะกล่าวถึงในวันนี้คือ ปัญหา “เรือดันน้ำ” ที่มีการนำมาใช้เพื่อดันน้ำจากแม่น้ำให้ไหลลงสู่ทะเลเร็วขึ้นกว่าเดิม แม้ผมพอจะมีความรู้อยู่บ้างแต่ก็ไม่ลึกซึ้งมากพอจนเกิดความมั่นใจได้ ผมจึงใช้วิธีการหาความรู้ด้วยการสดับตรับฟังนักวิชาการผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสอบถามความเห็นจากเพื่อนๆ ในแวดวงที่เกี่ยวข้อง ในที่สุดผมได้ความเห็นออกมาเป็นสองฝ่าย ผมขอประมวลให้เห็นทั้งสองฝ่ายครับ
ฝ่ายที่เห็นว่าเรือดันน้ำมีประสิทธิภาพและนำไปใช้แล้วก็คือรัฐบาลในนามของ “ศปภ.” พร้อมกับคุยโวว่า “จะเป็นกองเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ทำนองเดียวกับครกส้มตำ กระทะผัดไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นอกจากคนในรัฐบาลแล้วยังมีกลุ่มชาวบ้านแม่กลองที่บอกว่า เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้กันมานานแล้ว โดยเฉพาะชาวสวน ดูหน้าตาของชาวบ้านที่ให้สัมภาษณ์แล้วเธอมั่นใจมาก
ชาวบ้านท่านนี้บอกว่า เคยมีการทดลองแล้วพบว่า ทำให้น้ำไหลได้เร็วขึ้นกว่าเดิมจริง พร้อมบอกตัวเลขซึ่งผมฟังได้ว่าเร็วเพิ่มขึ้น 0.45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ไม่ได้บอกว่าความเร็วเดิมเป็นเท่าใด พร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางกรมชลประทานได้นำไปใช้แล้ว
ขณะเดียวกัน ชาวบ้านอีกท่านหนึ่งก็พูดเชิงขอร้องต่อประชาชนทั่วไปว่า “ไม่ควรจอดเรือซ้อนลำเพราะจะขัดขวางการไหลของน้ำ” ผมรู้สึกว่าคำขอร้องนี้น่าจะขัดแย้งกันเองกับสิ่งที่กำลังทำ เพราะการนำเรือมาดันน้ำก็เป็นการขัดขวางการไหลของน้ำด้วยส่วนหนึ่ง
ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ข่าวจาก “ไทยพีบีเอส” บอกว่าคลองในลุ่มน้ำท่าจีน (ซึ่งความกว้างน้อยกว่าแม่น้ำเจ้าพระยามาก) ใช้เรือ 3 ลำใช้น้ำมันวันละ 6 พันบาท นายก อบต.บางระกำย้ำในเรื่องนี้ว่า “การพร่องน้ำได้ผลดีมาก” อย่างไรก็ตามชาวบ้านอีกคนหนึ่งเสริมว่า “แต่ต้องดันในช่วงที่น้ำทะเลกำลังลงนะ”
ผมได้คุยกับนักวิชาการที่เป็นวิศวกรที่เคยนำงานกับองค์กรระดับโลกอีกท่านหนึ่ง ท่านเห็นว่า “ก็คล้ายๆ กับพัดลม ที่ทำให้ลมเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น” สรุปก็คือท่านเห็นด้วยครับ
ผมนำประเด็นการทดลองมาเล่าให้พวกอาจารย์คณิตศาสตร์รุ่นใหม่ๆ (ซึ่งไม่ค่อยมีความรู้ทางกลศาสตร์ของไหล) ฟัง บางท่านตั้งข้อสงสัยว่า “เขาวัดความเร็วน้ำที่อยู่หลังใบพัดท้ายหรือก่อนที่จะถึงเรือ ถ้าเป็นความเร็วหลังใบพัดเรือ ก็จะเร็วขึ้นแน่นอน เพราะเป็นความเร็วที่ผิวน้ำ แต่ถ้าก่อนที่จะถึงเรือผลการทดลองน่าจะแตกต่างกัน”
ประเด็นการออกแบบการทดลอง ผมจะกลับมากล่าวถึงอีกครั้งครับ ต่อไปนี้เป็นความเห็นของฝ่ายที่ไม่ค่อยเห็นด้วยบ้าง
ท่านหนึ่งเป็นนักวิชาการระดับศาสตราจารย์คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผมสรุปมาจากทางโทรทัศน์ ท่านบอกอย่างเป็นรูปธรรมว่า “ได้ผลน้อยมาก ลองเปรียบเทียบกับการจราจรถ้ารถยนต์คันหน้ามันติดอยู่ เราจะเร่งความเร็วคันหลังไปก็ไม่มีประโยชน์ เรื่องประสิทธิภาพถ้ามีการหาสัดส่วนระหว่างส่วนที่ได้ประโยชน์กับส่วนที่ลงทุนไปจะต่ำมาก ควรจะนำเงินไปฟื้นฟูความเสียหายดีกว่า”
วิศวกรอีกท่านหนึ่ง (จากการสื่อสารส่วนตัว) วิจารณ์ว่า “การดันน้ำในคลองแคบๆ (เช่น คลองลัดโพธิ์) อาจจะได้ผล เพราะเป็นการช่วยลดแรงเสียดทานด้านข้างทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ แต่การดันในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความกว้างมาก จะไม่ได้ผล เสียเงินเปล่า”
ไม่มีใครอ้างถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอธิบาย (ยกเว้นศาสตราจารย์ที่เปรียบเทียบกับรถติดอย่างเห็นภาพ) ไม่ทราบว่าเป็นเพราะมันมีรายละเอียดมากเกินไปที่จะสื่อสารผ่านโทรทัศน์หรือไม่
ผมเองลองนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้คือ “สมการความต่อเนื่อง” ได้ข้อสรุปว่าถ้าน้ำไหลทางเดียวแล้ว “ผลคูณระหว่างพื้นที่หน้าตัดของแม่น้ำกับความเร็วเฉลี่ยของน้ำที่สองตำแหน่งใดๆ ย่อมเท่ากัน”
ถ้าพื้นที่หน้าตัด (ตามแนวดิ่ง) ของแม่น้ำคงที่หรือเท่ากัน จะได้ว่าความเร็วเฉลี่ยที่สองจุดใดๆ ย่อมเท่ากัน ปัญหามีอยู่ว่า ถ้าเราเร่งความเร็วของน้ำที่จุดใด มันจะส่งผลให้ความเร็วที่อีกจุดหนึ่ง (ซึ่งอยู่ห่างไปไม่มากนัก) จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ สิ่งที่ผมสงสัยก็คือ
ทำไมรัฐบาลไม่พยายามค้นหาความจริงโดยการลงมือทำการทดลองอย่างเป็นระบบซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะทำให้เสียเวลาเลย เพื่อค้นหาคำตอบว่า (1) การเร่งน้ำได้ผลจริงหรือไม่ (2) ถ้าได้ผลจริง ระยะห่างระหว่างเรือดันน้ำแต่ละชุดควรจะเป็นเท่าใดจึงจะส่งผลให้เกิดการเร่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพูดถึงเรื่องการทดลองและทฤษฎีทางวิชาการ ทำให้ผมคิดถึงคำพูดที่ติดอยู่หน้าห้องทำงานของเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำพูดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือ
“ทฤษฏีคือสิ่งที่ไม่มีใครเชื่อ ยกเว้นคนที่คิดมันขึ้นมา ผลการทดลองคือสิ่งที่ทุกคนเชื่อ ยกเว้นคนที่ทำการทดลองเอง (A theory is something nobody believes, except the person who made it. An experiment is something everybody believes, except the person who made it.)”
กรุณาพิจารณาข้อความดังกล่าวด้วยวิจารญาณครับ ผมเองอยู่ในวงการนี้มานานพอสมควร ผมพอจะทราบว่าเขาหลอกกันอย่างไร แม้แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังถูกนักการเมืองสั่งแก้ไขมาแล้ว
ถ้าทุกอย่างตรงไปตรงมา แล้วผลการทดลองออกมาว่ามีประสิทธิภาพจริง รัฐบาลก็จะต้องเร่งดันน้ำกันอย่างเต็มที่ให้เป็นข่าวระบือไปทั่วโลก แต่นี่เห็นทำครั้งเดียวแล้วก็หยุด
คุณอานันท์ ปันยารชุน ได้เคยสะท้อนทัศนคติของคนไทยผ่านรายการเปลี่ยนประเทศไทย 2563 ว่า คนไทยเรามีลักษณะน่าเป็นห่วง 3 ประการ คือ (1) คนไทยขวนขวายหาความจริงน้อยไป เชื่อข่าวลือมากเกินไป (2) เคารพความคิดเห็นของกันและกันน้อยไป และ (3) นับถือปริญญาบัตรมากกว่าความรู้
หนึ่งในหลักฐานที่ตอกย้ำคำสะท้อนดังกล่าวก็คือความเห็นของท่านผู้อ่านท้ายบทความสองชิ้นสุดท้ายของผมในเว็บไซต์คือ คิดใหม่เถอะ…เรื่องเขื่อน! และ น้ำฝน น้ำท่า ภัยพิบัติ: ความสัมพันธ์ที่คาดไม่ถึงครับ
อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังคงเชื่อในบทสรุปของ ศาสตราจารย์นอม ชอมส์กี แห่งเอ็มไอทีที่ว่า “หน้าที่ของนักวิชาการคือพูดความจริงและชี้ให้เห็นการโกหก” เพียงแต่ผมได้เพิ่มการคำนึงถึงกาลเทศะด้วย
ประเด็นที่จะกล่าวถึงในวันนี้คือ ปัญหา “เรือดันน้ำ” ที่มีการนำมาใช้เพื่อดันน้ำจากแม่น้ำให้ไหลลงสู่ทะเลเร็วขึ้นกว่าเดิม แม้ผมพอจะมีความรู้อยู่บ้างแต่ก็ไม่ลึกซึ้งมากพอจนเกิดความมั่นใจได้ ผมจึงใช้วิธีการหาความรู้ด้วยการสดับตรับฟังนักวิชาการผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสอบถามความเห็นจากเพื่อนๆ ในแวดวงที่เกี่ยวข้อง ในที่สุดผมได้ความเห็นออกมาเป็นสองฝ่าย ผมขอประมวลให้เห็นทั้งสองฝ่ายครับ
ฝ่ายที่เห็นว่าเรือดันน้ำมีประสิทธิภาพและนำไปใช้แล้วก็คือรัฐบาลในนามของ “ศปภ.” พร้อมกับคุยโวว่า “จะเป็นกองเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ทำนองเดียวกับครกส้มตำ กระทะผัดไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นอกจากคนในรัฐบาลแล้วยังมีกลุ่มชาวบ้านแม่กลองที่บอกว่า เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้กันมานานแล้ว โดยเฉพาะชาวสวน ดูหน้าตาของชาวบ้านที่ให้สัมภาษณ์แล้วเธอมั่นใจมาก
ชาวบ้านท่านนี้บอกว่า เคยมีการทดลองแล้วพบว่า ทำให้น้ำไหลได้เร็วขึ้นกว่าเดิมจริง พร้อมบอกตัวเลขซึ่งผมฟังได้ว่าเร็วเพิ่มขึ้น 0.45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ไม่ได้บอกว่าความเร็วเดิมเป็นเท่าใด พร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางกรมชลประทานได้นำไปใช้แล้ว
ขณะเดียวกัน ชาวบ้านอีกท่านหนึ่งก็พูดเชิงขอร้องต่อประชาชนทั่วไปว่า “ไม่ควรจอดเรือซ้อนลำเพราะจะขัดขวางการไหลของน้ำ” ผมรู้สึกว่าคำขอร้องนี้น่าจะขัดแย้งกันเองกับสิ่งที่กำลังทำ เพราะการนำเรือมาดันน้ำก็เป็นการขัดขวางการไหลของน้ำด้วยส่วนหนึ่ง
ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ข่าวจาก “ไทยพีบีเอส” บอกว่าคลองในลุ่มน้ำท่าจีน (ซึ่งความกว้างน้อยกว่าแม่น้ำเจ้าพระยามาก) ใช้เรือ 3 ลำใช้น้ำมันวันละ 6 พันบาท นายก อบต.บางระกำย้ำในเรื่องนี้ว่า “การพร่องน้ำได้ผลดีมาก” อย่างไรก็ตามชาวบ้านอีกคนหนึ่งเสริมว่า “แต่ต้องดันในช่วงที่น้ำทะเลกำลังลงนะ”
ผมได้คุยกับนักวิชาการที่เป็นวิศวกรที่เคยนำงานกับองค์กรระดับโลกอีกท่านหนึ่ง ท่านเห็นว่า “ก็คล้ายๆ กับพัดลม ที่ทำให้ลมเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น” สรุปก็คือท่านเห็นด้วยครับ
ผมนำประเด็นการทดลองมาเล่าให้พวกอาจารย์คณิตศาสตร์รุ่นใหม่ๆ (ซึ่งไม่ค่อยมีความรู้ทางกลศาสตร์ของไหล) ฟัง บางท่านตั้งข้อสงสัยว่า “เขาวัดความเร็วน้ำที่อยู่หลังใบพัดท้ายหรือก่อนที่จะถึงเรือ ถ้าเป็นความเร็วหลังใบพัดเรือ ก็จะเร็วขึ้นแน่นอน เพราะเป็นความเร็วที่ผิวน้ำ แต่ถ้าก่อนที่จะถึงเรือผลการทดลองน่าจะแตกต่างกัน”
ประเด็นการออกแบบการทดลอง ผมจะกลับมากล่าวถึงอีกครั้งครับ ต่อไปนี้เป็นความเห็นของฝ่ายที่ไม่ค่อยเห็นด้วยบ้าง
ท่านหนึ่งเป็นนักวิชาการระดับศาสตราจารย์คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผมสรุปมาจากทางโทรทัศน์ ท่านบอกอย่างเป็นรูปธรรมว่า “ได้ผลน้อยมาก ลองเปรียบเทียบกับการจราจรถ้ารถยนต์คันหน้ามันติดอยู่ เราจะเร่งความเร็วคันหลังไปก็ไม่มีประโยชน์ เรื่องประสิทธิภาพถ้ามีการหาสัดส่วนระหว่างส่วนที่ได้ประโยชน์กับส่วนที่ลงทุนไปจะต่ำมาก ควรจะนำเงินไปฟื้นฟูความเสียหายดีกว่า”
วิศวกรอีกท่านหนึ่ง (จากการสื่อสารส่วนตัว) วิจารณ์ว่า “การดันน้ำในคลองแคบๆ (เช่น คลองลัดโพธิ์) อาจจะได้ผล เพราะเป็นการช่วยลดแรงเสียดทานด้านข้างทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ แต่การดันในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความกว้างมาก จะไม่ได้ผล เสียเงินเปล่า”
ไม่มีใครอ้างถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอธิบาย (ยกเว้นศาสตราจารย์ที่เปรียบเทียบกับรถติดอย่างเห็นภาพ) ไม่ทราบว่าเป็นเพราะมันมีรายละเอียดมากเกินไปที่จะสื่อสารผ่านโทรทัศน์หรือไม่
ผมเองลองนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้คือ “สมการความต่อเนื่อง” ได้ข้อสรุปว่าถ้าน้ำไหลทางเดียวแล้ว “ผลคูณระหว่างพื้นที่หน้าตัดของแม่น้ำกับความเร็วเฉลี่ยของน้ำที่สองตำแหน่งใดๆ ย่อมเท่ากัน”
ถ้าพื้นที่หน้าตัด (ตามแนวดิ่ง) ของแม่น้ำคงที่หรือเท่ากัน จะได้ว่าความเร็วเฉลี่ยที่สองจุดใดๆ ย่อมเท่ากัน ปัญหามีอยู่ว่า ถ้าเราเร่งความเร็วของน้ำที่จุดใด มันจะส่งผลให้ความเร็วที่อีกจุดหนึ่ง (ซึ่งอยู่ห่างไปไม่มากนัก) จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ สิ่งที่ผมสงสัยก็คือ
ทำไมรัฐบาลไม่พยายามค้นหาความจริงโดยการลงมือทำการทดลองอย่างเป็นระบบซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะทำให้เสียเวลาเลย เพื่อค้นหาคำตอบว่า (1) การเร่งน้ำได้ผลจริงหรือไม่ (2) ถ้าได้ผลจริง ระยะห่างระหว่างเรือดันน้ำแต่ละชุดควรจะเป็นเท่าใดจึงจะส่งผลให้เกิดการเร่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อพูดถึงเรื่องการทดลองและทฤษฎีทางวิชาการ ทำให้ผมคิดถึงคำพูดที่ติดอยู่หน้าห้องทำงานของเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำพูดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือ
“ทฤษฏีคือสิ่งที่ไม่มีใครเชื่อ ยกเว้นคนที่คิดมันขึ้นมา ผลการทดลองคือสิ่งที่ทุกคนเชื่อ ยกเว้นคนที่ทำการทดลองเอง (A theory is something nobody believes, except the person who made it. An experiment is something everybody believes, except the person who made it.)”
กรุณาพิจารณาข้อความดังกล่าวด้วยวิจารญาณครับ ผมเองอยู่ในวงการนี้มานานพอสมควร ผมพอจะทราบว่าเขาหลอกกันอย่างไร แม้แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังถูกนักการเมืองสั่งแก้ไขมาแล้ว
ถ้าทุกอย่างตรงไปตรงมา แล้วผลการทดลองออกมาว่ามีประสิทธิภาพจริง รัฐบาลก็จะต้องเร่งดันน้ำกันอย่างเต็มที่ให้เป็นข่าวระบือไปทั่วโลก แต่นี่เห็นทำครั้งเดียวแล้วก็หยุด
คุณอานันท์ ปันยารชุน ได้เคยสะท้อนทัศนคติของคนไทยผ่านรายการเปลี่ยนประเทศไทย 2563 ว่า คนไทยเรามีลักษณะน่าเป็นห่วง 3 ประการ คือ (1) คนไทยขวนขวายหาความจริงน้อยไป เชื่อข่าวลือมากเกินไป (2) เคารพความคิดเห็นของกันและกันน้อยไป และ (3) นับถือปริญญาบัตรมากกว่าความรู้
หนึ่งในหลักฐานที่ตอกย้ำคำสะท้อนดังกล่าวก็คือความเห็นของท่านผู้อ่านท้ายบทความสองชิ้นสุดท้ายของผมในเว็บไซต์คือ คิดใหม่เถอะ…เรื่องเขื่อน! และ น้ำฝน น้ำท่า ภัยพิบัติ: ความสัมพันธ์ที่คาดไม่ถึงครับ