ASTVผู้จัดการรายวัน- “วรรณรัตน์”ส่งสัญญาณนิคมฯภาคตะวันออกรับมือภาวะน้ำท่วมโดยเฉพาะด่านแรกนิคมฯลาดกระบังและบางชัน ขณะที่กนอ.เผยโรงงานในนิคมฯ2แห่งหยุดชั่วคราวเกือบหมดแล้ว เจ้าของโรงงานกุลธรเคอร์ยัวะรัฐบาลปูถ้าลาดกระบังเอาไม่อยู่รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้และถ้าจัดการไม่ได้ก็ออกไป อย่าให้ต้องไล่
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการเดินทางไปตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกของกรุงเทพมหาคร พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม วานนี้(20ต.ค.) ว่า ได้มอบหมายให้ทุกฝ่ายพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำเร่งด่วนโดยเฉพาะนิคมฯลาดกระบังและบางชันที่จะเป็นด่านแรกในการรับน้ำโดยให้ทำแผนอพยพไว้ล่วงหน้าเพราะยอมรับว่าหากคลองหกวาไม่สามารถต้านทานแรงน้ำได้จะกระทบโดยตรง
นายสุรพร สิมะกุลธร กรรมการผู้จัดการใหญ่บ.กุลธรเคอร์บี้ จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์รายใหญ่ของประเทศกล่าวว่า บ.ได้ดำเนินธุรกิจมานานหลายสิบปีในนิคมฯลาดกระบังยอมรับว่าศึกครั้งนี้ใหญ่มากโดยเห็นว่าหากรัฐบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2 เมตรในนิคมฯลาดกระบังก็จะสามารถอยู่รอดโดยต้องเฉลี่ยน้ำไปยังพื้นที่กรุงเทพฯบ้างและนี่ถือเป็นนิคมฯด่านสุดท้ายที่รัฐบาลจะรักษาไว้หากทำไม่ได้รัฐบาลก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน
“รัฐบาลถ้าบริหารจัดการไม่ได้ก็ควรจะออกไปซะอย่าให้ถึงกับต้องออกมาไล่เลย ที่ผ่านมานิคมฯล่มไปหมดแล้วถ้าลาดกระบังล่มอีกผลเสียหายจะมหาศาลจากที่อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่รัฐบอกว่าจะโต 5% วันนี้ผมบอกเลยว่าติดลบ 5% “นายสุรพรกล่าว
นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทฮอนด้าแมนูแฟคเทอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ฮอนด้ากล่าวว่า โรงงานที่ลาดกระบังเป็นแห่งใหญ่สุดในการผลิตรถจักรยานยนต์จากการผลิตทั้งสิ้นรวม 1.3 ล้านคันบริษัทฯจะสู้ต่อไป “เราน่าจะค่อยๆ ปล่อยน้ำกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ แล้วมีการบริหารควบคุมแต่ที่ผ่านมาเราไปกักไว้เมื่อน้ำมารวมจึงทำให้มีแรงดันสูงแถมยังระบายออกสู่เจ้าพระยาได้น้อย”นายพงษ์เดชกล่าว
นางมณฑา ปนุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า ขณะนี้กนอ.ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการในนิคมฯลาดกระบัง และบางชัน หยุดประกอบกิจการและอพยพแรงงานแล้วเนื่องจากเพื่อความไม่ประมาทแต่ยอมรับว่ามีเอกชนไม่น้อยที่ไม่ยอมขนย้ายเครื่องจักรเพราะประเมินภาวะน้ำท่วมค่อนข้างต่ำ
นายสมคิด แท่นวัฒนกุล รองกนอ.กล่าวว่า กนอ.ออกหนังสือเวียน เพื่อขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังและบางชัน ให้หยุดประกอบกิจการชั่วคราวแล้ว คาดว่าหากน้ำจะมาคงจะมาในช่วง 1-2 วันนี้จึงต้องเตรียมพร้อมไว้ ซึ่งนิคมฯลาดกระบังมีโรงงาน 231 แห่ง มูลค่าลงทุน 8.9 หมื่นล้านบาท มีแรงงาน 4.8 หมื่นคน ส่วนนิคมฯบางชันมีโรงงาน 93 แห่ง เงินลงทุน 1.9 หมื่นล้านบาท แรงงาน 1.3 หมื่นคน
“นิคมฯบางชันนั้นเป็นนิคมฯแห่งแรกของไทยตั้งแต่ปี 2512 จะไม่มีแนวคันกันดินแต่มีแนวรั้วของโรงงานแต่ละแห่งยาวต่อเนื่องกันไปสูงเฉลี่ย 2.50 เมตร มีจุดรวมพลอพยพบริเวณหน้าสถานีดับเพลิงบางชัน ส่วนลาดกระบังนั้นมีแนวคันกั้นน้ำสูง 2.20 เมตรของเดิมแต่ได้เสริมอีก 1 เมตรแต่ยอมรับว่าที่เสริมไม่แข็งแรงนักแต่ภายในนิคมฯได้มีคลองภายในรองรับได้ 1 แสนลูกบาศก์เมตรก็จะติดตั้งเครื่องสูบลงคลองลำแตงโมเพื่อลดระดับน้ำอีกทาง แต่หากมวลน้ำมามากก็ยอมรับว่าคงเอาไม่อยู่ “นายสมคิดกล่าว
ส่วนนิคมฯภาคตะวันออกที่เหลือเช่น นิคมฯบางปู บางพลี เวลโกร์ว อัญธานี ผู้ประกอบการบางส่วนก็ได้มีการเตรียมพร้อมในการขนย้ายเครื่องจักรที่สำคัญไปแล้ว
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการเดินทางไปตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกของกรุงเทพมหาคร พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม วานนี้(20ต.ค.) ว่า ได้มอบหมายให้ทุกฝ่ายพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำเร่งด่วนโดยเฉพาะนิคมฯลาดกระบังและบางชันที่จะเป็นด่านแรกในการรับน้ำโดยให้ทำแผนอพยพไว้ล่วงหน้าเพราะยอมรับว่าหากคลองหกวาไม่สามารถต้านทานแรงน้ำได้จะกระทบโดยตรง
นายสุรพร สิมะกุลธร กรรมการผู้จัดการใหญ่บ.กุลธรเคอร์บี้ จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์รายใหญ่ของประเทศกล่าวว่า บ.ได้ดำเนินธุรกิจมานานหลายสิบปีในนิคมฯลาดกระบังยอมรับว่าศึกครั้งนี้ใหญ่มากโดยเห็นว่าหากรัฐบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2 เมตรในนิคมฯลาดกระบังก็จะสามารถอยู่รอดโดยต้องเฉลี่ยน้ำไปยังพื้นที่กรุงเทพฯบ้างและนี่ถือเป็นนิคมฯด่านสุดท้ายที่รัฐบาลจะรักษาไว้หากทำไม่ได้รัฐบาลก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน
“รัฐบาลถ้าบริหารจัดการไม่ได้ก็ควรจะออกไปซะอย่าให้ถึงกับต้องออกมาไล่เลย ที่ผ่านมานิคมฯล่มไปหมดแล้วถ้าลาดกระบังล่มอีกผลเสียหายจะมหาศาลจากที่อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่รัฐบอกว่าจะโต 5% วันนี้ผมบอกเลยว่าติดลบ 5% “นายสุรพรกล่าว
นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทฮอนด้าแมนูแฟคเทอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ฮอนด้ากล่าวว่า โรงงานที่ลาดกระบังเป็นแห่งใหญ่สุดในการผลิตรถจักรยานยนต์จากการผลิตทั้งสิ้นรวม 1.3 ล้านคันบริษัทฯจะสู้ต่อไป “เราน่าจะค่อยๆ ปล่อยน้ำกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ แล้วมีการบริหารควบคุมแต่ที่ผ่านมาเราไปกักไว้เมื่อน้ำมารวมจึงทำให้มีแรงดันสูงแถมยังระบายออกสู่เจ้าพระยาได้น้อย”นายพงษ์เดชกล่าว
นางมณฑา ปนุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า ขณะนี้กนอ.ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการในนิคมฯลาดกระบัง และบางชัน หยุดประกอบกิจการและอพยพแรงงานแล้วเนื่องจากเพื่อความไม่ประมาทแต่ยอมรับว่ามีเอกชนไม่น้อยที่ไม่ยอมขนย้ายเครื่องจักรเพราะประเมินภาวะน้ำท่วมค่อนข้างต่ำ
นายสมคิด แท่นวัฒนกุล รองกนอ.กล่าวว่า กนอ.ออกหนังสือเวียน เพื่อขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังและบางชัน ให้หยุดประกอบกิจการชั่วคราวแล้ว คาดว่าหากน้ำจะมาคงจะมาในช่วง 1-2 วันนี้จึงต้องเตรียมพร้อมไว้ ซึ่งนิคมฯลาดกระบังมีโรงงาน 231 แห่ง มูลค่าลงทุน 8.9 หมื่นล้านบาท มีแรงงาน 4.8 หมื่นคน ส่วนนิคมฯบางชันมีโรงงาน 93 แห่ง เงินลงทุน 1.9 หมื่นล้านบาท แรงงาน 1.3 หมื่นคน
“นิคมฯบางชันนั้นเป็นนิคมฯแห่งแรกของไทยตั้งแต่ปี 2512 จะไม่มีแนวคันกันดินแต่มีแนวรั้วของโรงงานแต่ละแห่งยาวต่อเนื่องกันไปสูงเฉลี่ย 2.50 เมตร มีจุดรวมพลอพยพบริเวณหน้าสถานีดับเพลิงบางชัน ส่วนลาดกระบังนั้นมีแนวคันกั้นน้ำสูง 2.20 เมตรของเดิมแต่ได้เสริมอีก 1 เมตรแต่ยอมรับว่าที่เสริมไม่แข็งแรงนักแต่ภายในนิคมฯได้มีคลองภายในรองรับได้ 1 แสนลูกบาศก์เมตรก็จะติดตั้งเครื่องสูบลงคลองลำแตงโมเพื่อลดระดับน้ำอีกทาง แต่หากมวลน้ำมามากก็ยอมรับว่าคงเอาไม่อยู่ “นายสมคิดกล่าว
ส่วนนิคมฯภาคตะวันออกที่เหลือเช่น นิคมฯบางปู บางพลี เวลโกร์ว อัญธานี ผู้ประกอบการบางส่วนก็ได้มีการเตรียมพร้อมในการขนย้ายเครื่องจักรที่สำคัญไปแล้ว