ตามที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้แสดงความคิดเห็น ว่าต้องให้กฎหมายเกิดจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นโมฆะ แต่สร้างผลกระทบทางกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดกฎหมายหลายสิบฉบับที่เกิดขึ้นที่เกิดจากการรัฐประหารก่อน พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ทักษิณและญาติต้องรับโทษจากการทุจริตคอร์รัปชัน ต้องการใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่มี ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นกุนซือใหญ่ แม้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้วางกรอบป้องกันมิให้มีผู้ใดใช้ยึดครองประเทศได้ เพราะมีองค์กรอิสระมากมายควบคุมฝ่ายบริหาร แต่นักการเมืองอย่างทักษิณ ก็ใช้เงินและการสร้างภาพลวงตา เช่น ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ทักษิณพ้นโทษคดีซุกหุ้นครั้งแรก ด้วยกระแสที่ว่า “ประเทศไทยขาดผู้นำ ต้องใช้รัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์” เกิดสำนวน “ความบกพร่องที่สุจริต” ที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 15 ท่าน และทำให้ทักษิณพ้นผิดด้วยคะแนน 8 : 7
การเลือกคณะ ป.ป.ช.ชุดรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ ส.ว.ทำหน้าที่เลือกสรรครั้งแรก แต่ ส.ว.ถูกซื้อตัวหลายคน จนทำให้ ป.ป.ช.ชุดแรกนั้นเป็น ป.ป.ช.ของทักษิณ แต่กรรมตามทัน เกิดเส้นผมบังภูเขา ป.ป.ช.ชุดทักษิณขอขึ้นค่าตอบแทนให้ตัวเอง จึงถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 2 ปีตามฟ้อง
ป.ป.ช. ชุดนั้นมี พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ และคณะอีก 8 คนนั้น มีเรื่องเล่าว่าทักษิณตัดสินใจไม่เลือก พล.อ.ดร.ชัยศึก เกตุทัต ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีของทักษิณเอง เพราะ “พล.อ.ดร.ชัยศึก ควบคุมไม่ได้” เป็นที่รู้กันในหมู่ทหารว่า พล.อ.ดร.ชัยศึก เป็นคนตรง พูดจาโผงผาง จึงมีคำถามว่า ถ้า พล.อ.ดร.ชัยศึก ได้รับเลือกจาก ส.ว.และเป็นประธาน ป.ป.ช.แล้ว ผลทางการเมืองจะเกิดอะไรขึ้น จะมีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือไม่ อุดมการณ์ของท่านจะป้องปรามการทุจริตยุคทักษิณได้หรือไม่
พล.อ.ดร.ชัยศึก ได้คะแนน 39 เสียง จากวุฒิสมาชิกสายทหารทั้งสิ้น เพราะซื้อไม่ได้ และ พล.อ.ดร.ชัยศึก ไม่ได้รับเลือกเป็น ป.ป.ช. ทั้งๆ ที่มีเสียงลือกันทั่วว่าได้รับเลือกแน่ๆ
ความย่ามใจของทักษิณ ที่ใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างเต็มพิกัด สร้างอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพรรคพวก สร้างเสริมบารมีทุกหมู่ราชการ แทบไม่สนใจแบบธรรมเนียม หลักการ และวิธีการ ขจัดข้าราชการที่ควบคุมไม่ได้ออกจากตำแหน่ง แม้กระทั่ง ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ก็ไม่เว้น เพราะไม่ยอมยุติคดีโกงทางด่วน
มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทักษิณอย่างรุนแรงต่อเนื่องและเริ่มมีวิวาทะระหว่างทักษิณ กับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ การที่ พล.อ.เปรม ไปปราศรัยที่โรงเรียนเหล่าทั้งสาม มีสาระสำคัญคือ คนดีคือคนไม่ทุจริต รักชาติ และจงรักภักดี และสำนวนทำนองว่า “ถ้าจ๊อกกี้เป็นคนไม่ดี ม้าก็สะบัดให้ตกได้” ทำให้ทักษิณโกรธ
ในที่สุดจุดพลาดสำคัญของทักษิณที่กล่าวว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ได้มาเกี่ยวข้องกับการเมืองทำให้การเมืองวุ่นวาย” และประเด็นนี้นักวิชาการทั้งหลายตีความว่าทักษิณจาบจ้วงสถาบัน และในการชุมนุมคนเสื้อแดงมีการกล่าวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกันหลายวาระ
กองทัพจึงทำการรัฐประหารเพื่อยุติความรุนแรงทางการเมือง ที่เสื้อเหลืองและเสื้อแดงเริ่มมีการใช้อาวุธสงครามทำร้ายกัน รัฐบาลไม่สามารถจะควบคุมการชุมนุมได้อย่างสันติ นักการเมืองก็ใช้เงินจ้างซ่องสุมผู้คนจากต่างจังหวัด กลายเป็นการเผชิญหน้าของคน 2 กลุ่ม ไม่มีใครคิดขัดแย้งกับทักษิณ ทั้งๆ ที่ไม่ได้สังกัดพรรคไทยรักไทยมาก่อน แต่พรรคถูกซื้อแบบการควบบริษัทในระบบธุรกิจยกเว้นนายเสนาะ เทียนทองที่ถูกหักหลังจนออกมาโจมตีทักษิณในสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งๆ ที่ทักษิณได้จัดขบวนทัพไว้อย่างแน่นแฟ้น เพราะตัวเองเป็น นตท.รุ่นที่ 10 และเขาได้ฟูมฟักสัมพันธ์กับเพื่อนรุ่นเป็นอย่างดี และเมื่อประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ เขาก็ให้เงินรุ่นไว้เป็นกองทุนสวัสดิการมากมายหลายแสนบาทแต่ละครั้งแต่ละเหล่า ซึ่งเงินเหล่านั้นใช้หักภาษีเป็นงบประมาณรับรองของบริษัทได้อยู่แล้วและสามารถใช้คำนวณหักภาษีรายได้ของบริษัทได้อีกต่างหาก
ทหารกับทักษิณนั้นเป็นเนื้อเดียวกัน ทักษิณมี พ.อ.ศักดิ์ ชินวัตร บิดาของ พล.อ.อุทัย และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นลุง เห็นการเจริญเติบโตของ พล.อ.อุทัย นตท. รุ่นที่ 2 เหล่าปืนใหญ่ และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ นตท. รุ่นที่ 5 เหล่าช่าง แต่สองพี่น้องนี้มีความต่างตรงที่ พล.อ.อุทัย เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และไม่เรียกร้องตำแหน่งขณะที่ทักษิณเรืองอำนาจ และเห็นตรงข้ามกับทักษิณแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
ขณะที่พล.อ.ชัยสิทธิ์ มุ่งมั่นที่จะขจัดศัตรูของทักษิณซึ่งเข้าใจธรรมเนียมของทหารเรื่องรุ่นและพลังของรุ่น นตท.รุ่นที่ 10 ซึ่งมีครบทุกเหล่า แต่ตำรวจต่างกับทหารตรงที่มีกฎหมายในมือใช้ได้ตลอดเวลา ทหารจะมีอำนาจได้ต้องทำรัฐประหาร แต่เสี่ยงเป็นกบฏ และไม่ยั่งยืนอาจจะกลายเป็นทรราชย์เพราะยึดติดกับอำนาจเผด็จการ ดังที่เกิดขึ้น แต่จะมีอำนาจอย่างแท้จริง ต้องคุมมวลชนให้ได้ สัจธรรมนี้ทำให้ทักษิณต้องอดีตนักเคลื่อนไหวพรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่ม 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เป็นสมุน
เมื่อทักษิณลาออกจากราชการตำรวจแต่ยังแน่นแฟ้นและดูแลเพื่อนรุ่นเตรียมทหารเพื่อเป็นฐานอำนาจ เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ตั้งเพื่อน พล.ท.ปรีชา วรรณรัตน์ เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่หลักในการประสานกับกองทัพ และด้านการรักษาความปลอดภัย
เมื่ออำนาจนายกรัฐมนตรีตกผลึกในปี พ.ศ. 2545 เขาเริ่มปรับตำแหน่งในกองทัพด้วยการเอาเพื่อนนักเรียน ตท. รุ่นที่ 10 เข้าคุมกำลังทั้งสามเหล่าทัพ โดยให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ย้ายจาก ผบ.พล.2 รอ. ที่ครองตำแหน่งเพียง 1 ปี ให้มาดำรงตำแหน่ง ผบ.พล. 1 รอ. และต่อมาเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 มีพล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต เป็น ผบ.พล.1 รอ. พล.อ.ศานิต พรหมมาศ เป็นผบ.พล.ม. 2 รอ.และพล.อ.เรืองศักดิ์ ทองดี เป็นผบ.พล.ปตอ.คุมกำลังทหารในกทม.แบบเบ็ดเสร็จ แล้วฐานสร้างแนวตั้งให้ นตท.รุ่นที่ 5 ครองตำแหน่งสำคัญๆ และเตรียมถ่ายทอดอำนาจกัน เช่น ในกองทัพอากาศ และกองทัพเรือซึ่งนับถือเรื่องอาวุโสเป็นสำคัญ
การนี้มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้ามรุ่นกันอย่างมโหฬารและรวดเร็ว เช่น ในกองทัพอากาศ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศอัตราพลอากาศตรีเพียงปีเดียว แล้วขึ้นเป็นพลอากาศโท ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธการ เตรียมตัวเป็นเสนาธิการทหารอากาศ และผู้บัญชาการทหารอากาศ ข้ามรุ่น 9, 8 และ 7 ตัวอย่างนี้ต้องการให้สาธารณชนเห็นว่า นตท.รุ่นที่ 7, 8, 9 หรือรุ่นพี่อื่นๆ จะคิดอย่างไร เมื่อนักการเมืองใช้อำนาจรัฐสั่งการชี้นิ้วเอาคนของตัวเองเป็นใหญ่เพื่อประโยชน์ของตนเอง
เหตุนี้ทำให้กองทัพรวน เพราะว่ามีการแต่งตั้งข้ามกันถึง 3 รุ่น และขึ้นกันทั้งแผงมาเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารกองทัพ ทั้งๆ ที่ 3 ปีก่อนหน้านี้ยังต้องฟังคำสั่งรุ่นพี่กันอยู่เลย พอทักษิณได้เป็นนายกรัฐมนตรี รุ่นน้องขึ้นเป็นนาย แต่ในกองทัพเป็นคนละเรื่องกับการเมือง มีวัฒนธรรม หลักเกณฑ์ และหลักการในการโยกย้ายภายใต้ภาวะความเหมาะสม เช่น ความกล้าหาญ ความรู้ ภาวะผู้นำและคุณธรรม ถ้าผู้นำขาดความกล้าหาญแล้วจะปกครองทหารได้อย่างไร ความกล้าหาญมิได้หมายความถึงกล้าตาย แต่ต้องกล้าที่จะรับความผิด กล้าที่จะยอมเสียสละ กล้ารับผิดชอบต่างหาก
ทักษิณโกรธแค้นแน่นอนที่พล.อ.อนุพงษ์เพื่อนรุ่นประกาศเป็นฝ่ายตรงข้าม และพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ที่ตนตั้งขึ้นเองแต่ทำรัฐประหารโค่นอำนาจของเขาเพราะอำนาจเผด็จการทางรัฐสภาของเขา การทุจริตของเขาและความเหิมเกริมของเขาที่ดูเหมือนหมิ่นสถาบัน
ดังนั้นกุญแจสำคัญจึงต้องแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม 2551 ให้นักการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้งเหมือนดังที่เคยทำมาแล้ว ควบคุมมาแล้ว สร้างบุญคุณมาแล้ว และไม่สนใจหลักเกณฑ์ของกองทัพมาแล้ว
ไม่ว่านายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาทักษิณ ออกมาแก้ข่าวว่าทักษิณไม่ได้วิจารณ์นายทหารว่าเป็นบุคคลที่หลงอำนาจ และห้ามทหารทำรัฐประหารผ่านสื่อออสเตรเลีย แต่ให้เข้าใจว่าสื่อนั้นวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ที่ให้กับหนังสือพิมพ์ BANGKOK POST
ความจริงแล้วทักษิณรู้จักทหารเป็นอย่างดี และใช้ทหารมาตลอด สร้างกองทัพให้เป็นกองทัพส่วนตัว โดยอาศัยเพื่อนทหารที่ได้เคยขุนกันมา แต่ทหารบางคนเขารู้ไส้ตัวเองก็อย่าโกรธเขาเลย
การเลือกคณะ ป.ป.ช.ชุดรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ ส.ว.ทำหน้าที่เลือกสรรครั้งแรก แต่ ส.ว.ถูกซื้อตัวหลายคน จนทำให้ ป.ป.ช.ชุดแรกนั้นเป็น ป.ป.ช.ของทักษิณ แต่กรรมตามทัน เกิดเส้นผมบังภูเขา ป.ป.ช.ชุดทักษิณขอขึ้นค่าตอบแทนให้ตัวเอง จึงถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 2 ปีตามฟ้อง
ป.ป.ช. ชุดนั้นมี พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ และคณะอีก 8 คนนั้น มีเรื่องเล่าว่าทักษิณตัดสินใจไม่เลือก พล.อ.ดร.ชัยศึก เกตุทัต ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีของทักษิณเอง เพราะ “พล.อ.ดร.ชัยศึก ควบคุมไม่ได้” เป็นที่รู้กันในหมู่ทหารว่า พล.อ.ดร.ชัยศึก เป็นคนตรง พูดจาโผงผาง จึงมีคำถามว่า ถ้า พล.อ.ดร.ชัยศึก ได้รับเลือกจาก ส.ว.และเป็นประธาน ป.ป.ช.แล้ว ผลทางการเมืองจะเกิดอะไรขึ้น จะมีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือไม่ อุดมการณ์ของท่านจะป้องปรามการทุจริตยุคทักษิณได้หรือไม่
พล.อ.ดร.ชัยศึก ได้คะแนน 39 เสียง จากวุฒิสมาชิกสายทหารทั้งสิ้น เพราะซื้อไม่ได้ และ พล.อ.ดร.ชัยศึก ไม่ได้รับเลือกเป็น ป.ป.ช. ทั้งๆ ที่มีเสียงลือกันทั่วว่าได้รับเลือกแน่ๆ
ความย่ามใจของทักษิณ ที่ใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างเต็มพิกัด สร้างอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพรรคพวก สร้างเสริมบารมีทุกหมู่ราชการ แทบไม่สนใจแบบธรรมเนียม หลักการ และวิธีการ ขจัดข้าราชการที่ควบคุมไม่ได้ออกจากตำแหน่ง แม้กระทั่ง ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ก็ไม่เว้น เพราะไม่ยอมยุติคดีโกงทางด่วน
มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทักษิณอย่างรุนแรงต่อเนื่องและเริ่มมีวิวาทะระหว่างทักษิณ กับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ การที่ พล.อ.เปรม ไปปราศรัยที่โรงเรียนเหล่าทั้งสาม มีสาระสำคัญคือ คนดีคือคนไม่ทุจริต รักชาติ และจงรักภักดี และสำนวนทำนองว่า “ถ้าจ๊อกกี้เป็นคนไม่ดี ม้าก็สะบัดให้ตกได้” ทำให้ทักษิณโกรธ
ในที่สุดจุดพลาดสำคัญของทักษิณที่กล่าวว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ได้มาเกี่ยวข้องกับการเมืองทำให้การเมืองวุ่นวาย” และประเด็นนี้นักวิชาการทั้งหลายตีความว่าทักษิณจาบจ้วงสถาบัน และในการชุมนุมคนเสื้อแดงมีการกล่าวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกันหลายวาระ
กองทัพจึงทำการรัฐประหารเพื่อยุติความรุนแรงทางการเมือง ที่เสื้อเหลืองและเสื้อแดงเริ่มมีการใช้อาวุธสงครามทำร้ายกัน รัฐบาลไม่สามารถจะควบคุมการชุมนุมได้อย่างสันติ นักการเมืองก็ใช้เงินจ้างซ่องสุมผู้คนจากต่างจังหวัด กลายเป็นการเผชิญหน้าของคน 2 กลุ่ม ไม่มีใครคิดขัดแย้งกับทักษิณ ทั้งๆ ที่ไม่ได้สังกัดพรรคไทยรักไทยมาก่อน แต่พรรคถูกซื้อแบบการควบบริษัทในระบบธุรกิจยกเว้นนายเสนาะ เทียนทองที่ถูกหักหลังจนออกมาโจมตีทักษิณในสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งๆ ที่ทักษิณได้จัดขบวนทัพไว้อย่างแน่นแฟ้น เพราะตัวเองเป็น นตท.รุ่นที่ 10 และเขาได้ฟูมฟักสัมพันธ์กับเพื่อนรุ่นเป็นอย่างดี และเมื่อประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ เขาก็ให้เงินรุ่นไว้เป็นกองทุนสวัสดิการมากมายหลายแสนบาทแต่ละครั้งแต่ละเหล่า ซึ่งเงินเหล่านั้นใช้หักภาษีเป็นงบประมาณรับรองของบริษัทได้อยู่แล้วและสามารถใช้คำนวณหักภาษีรายได้ของบริษัทได้อีกต่างหาก
ทหารกับทักษิณนั้นเป็นเนื้อเดียวกัน ทักษิณมี พ.อ.ศักดิ์ ชินวัตร บิดาของ พล.อ.อุทัย และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นลุง เห็นการเจริญเติบโตของ พล.อ.อุทัย นตท. รุ่นที่ 2 เหล่าปืนใหญ่ และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ นตท. รุ่นที่ 5 เหล่าช่าง แต่สองพี่น้องนี้มีความต่างตรงที่ พล.อ.อุทัย เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และไม่เรียกร้องตำแหน่งขณะที่ทักษิณเรืองอำนาจ และเห็นตรงข้ามกับทักษิณแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
ขณะที่พล.อ.ชัยสิทธิ์ มุ่งมั่นที่จะขจัดศัตรูของทักษิณซึ่งเข้าใจธรรมเนียมของทหารเรื่องรุ่นและพลังของรุ่น นตท.รุ่นที่ 10 ซึ่งมีครบทุกเหล่า แต่ตำรวจต่างกับทหารตรงที่มีกฎหมายในมือใช้ได้ตลอดเวลา ทหารจะมีอำนาจได้ต้องทำรัฐประหาร แต่เสี่ยงเป็นกบฏ และไม่ยั่งยืนอาจจะกลายเป็นทรราชย์เพราะยึดติดกับอำนาจเผด็จการ ดังที่เกิดขึ้น แต่จะมีอำนาจอย่างแท้จริง ต้องคุมมวลชนให้ได้ สัจธรรมนี้ทำให้ทักษิณต้องอดีตนักเคลื่อนไหวพรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่ม 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เป็นสมุน
เมื่อทักษิณลาออกจากราชการตำรวจแต่ยังแน่นแฟ้นและดูแลเพื่อนรุ่นเตรียมทหารเพื่อเป็นฐานอำนาจ เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ตั้งเพื่อน พล.ท.ปรีชา วรรณรัตน์ เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่หลักในการประสานกับกองทัพ และด้านการรักษาความปลอดภัย
เมื่ออำนาจนายกรัฐมนตรีตกผลึกในปี พ.ศ. 2545 เขาเริ่มปรับตำแหน่งในกองทัพด้วยการเอาเพื่อนนักเรียน ตท. รุ่นที่ 10 เข้าคุมกำลังทั้งสามเหล่าทัพ โดยให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ย้ายจาก ผบ.พล.2 รอ. ที่ครองตำแหน่งเพียง 1 ปี ให้มาดำรงตำแหน่ง ผบ.พล. 1 รอ. และต่อมาเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 มีพล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต เป็น ผบ.พล.1 รอ. พล.อ.ศานิต พรหมมาศ เป็นผบ.พล.ม. 2 รอ.และพล.อ.เรืองศักดิ์ ทองดี เป็นผบ.พล.ปตอ.คุมกำลังทหารในกทม.แบบเบ็ดเสร็จ แล้วฐานสร้างแนวตั้งให้ นตท.รุ่นที่ 5 ครองตำแหน่งสำคัญๆ และเตรียมถ่ายทอดอำนาจกัน เช่น ในกองทัพอากาศ และกองทัพเรือซึ่งนับถือเรื่องอาวุโสเป็นสำคัญ
การนี้มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้ามรุ่นกันอย่างมโหฬารและรวดเร็ว เช่น ในกองทัพอากาศ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศอัตราพลอากาศตรีเพียงปีเดียว แล้วขึ้นเป็นพลอากาศโท ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธการ เตรียมตัวเป็นเสนาธิการทหารอากาศ และผู้บัญชาการทหารอากาศ ข้ามรุ่น 9, 8 และ 7 ตัวอย่างนี้ต้องการให้สาธารณชนเห็นว่า นตท.รุ่นที่ 7, 8, 9 หรือรุ่นพี่อื่นๆ จะคิดอย่างไร เมื่อนักการเมืองใช้อำนาจรัฐสั่งการชี้นิ้วเอาคนของตัวเองเป็นใหญ่เพื่อประโยชน์ของตนเอง
เหตุนี้ทำให้กองทัพรวน เพราะว่ามีการแต่งตั้งข้ามกันถึง 3 รุ่น และขึ้นกันทั้งแผงมาเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารกองทัพ ทั้งๆ ที่ 3 ปีก่อนหน้านี้ยังต้องฟังคำสั่งรุ่นพี่กันอยู่เลย พอทักษิณได้เป็นนายกรัฐมนตรี รุ่นน้องขึ้นเป็นนาย แต่ในกองทัพเป็นคนละเรื่องกับการเมือง มีวัฒนธรรม หลักเกณฑ์ และหลักการในการโยกย้ายภายใต้ภาวะความเหมาะสม เช่น ความกล้าหาญ ความรู้ ภาวะผู้นำและคุณธรรม ถ้าผู้นำขาดความกล้าหาญแล้วจะปกครองทหารได้อย่างไร ความกล้าหาญมิได้หมายความถึงกล้าตาย แต่ต้องกล้าที่จะรับความผิด กล้าที่จะยอมเสียสละ กล้ารับผิดชอบต่างหาก
ทักษิณโกรธแค้นแน่นอนที่พล.อ.อนุพงษ์เพื่อนรุ่นประกาศเป็นฝ่ายตรงข้าม และพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ที่ตนตั้งขึ้นเองแต่ทำรัฐประหารโค่นอำนาจของเขาเพราะอำนาจเผด็จการทางรัฐสภาของเขา การทุจริตของเขาและความเหิมเกริมของเขาที่ดูเหมือนหมิ่นสถาบัน
ดังนั้นกุญแจสำคัญจึงต้องแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม 2551 ให้นักการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้งเหมือนดังที่เคยทำมาแล้ว ควบคุมมาแล้ว สร้างบุญคุณมาแล้ว และไม่สนใจหลักเกณฑ์ของกองทัพมาแล้ว
ไม่ว่านายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาทักษิณ ออกมาแก้ข่าวว่าทักษิณไม่ได้วิจารณ์นายทหารว่าเป็นบุคคลที่หลงอำนาจ และห้ามทหารทำรัฐประหารผ่านสื่อออสเตรเลีย แต่ให้เข้าใจว่าสื่อนั้นวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ที่ให้กับหนังสือพิมพ์ BANGKOK POST
ความจริงแล้วทักษิณรู้จักทหารเป็นอย่างดี และใช้ทหารมาตลอด สร้างกองทัพให้เป็นกองทัพส่วนตัว โดยอาศัยเพื่อนทหารที่ได้เคยขุนกันมา แต่ทหารบางคนเขารู้ไส้ตัวเองก็อย่าโกรธเขาเลย