-1-
ด้วยใจจริง ในภาวการณ์อย่างนี้ผมไม่อยากซ้ำเติมท่านนายกฯปูรณาการของผมแม้แต่น้อย ทั้งนี้ด้วยความรับรู้ความเข้าใจส่วนตัวของผมที่ว่า...ปรากฏการณ์มหาวิบัติภัยหนนี้แท้จริงแล้ว มันคือวิบากกรรมรวมหมู่ของมนุษย์ชาติ ของคนไทยทั้งประเทศที่ปล่อยให้ประเทศชาติ เป็นมาอย่างนี้...สุดท้ายมันก็เข้าทางกฎแห่งกรรม กฎธรรมชาติ...ส่วนจะเข้ากฎอิทิปปัจจยาตา กฎตถตา..ด้วยหรือไม่ก็เชิญวิสัชชนากันเอาเองก็แล้วกัน...
แต่อย่างไรก็ตามในฐานะคนไทยที่เสียภาษีให้รัฐ ในฐานะคนที่พำนักอยู่ในเขตกทม.เขตคันนายาว ไม่ใกล้ไม่ไกลจากคลองหกวา ทำให้อยู่ในภาวะหลังแอ่นเอวเคล็ดเพราะแม่บ้าน ภรรยาและลูกสาวบัญชาการให้ย้ายขนข้าวของในบ้าน และในฐานะพลเมืองที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจำเป็นที่จะต้องขอใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการประเทศในภาวะวิกฤตของนายกฯปูรณาการว่า แม้จะมองเห็นถึงความมุ่งมั่นขยันขันแข็งในการทำงาน แต่เมื่อมองภาพรวมทั้งหมดแล้วต้องบอกว่า สอบตก..สอบไม่ผ่าน...ความเป็นผู้นำที่อ่อนด้อยทั้งภูมิปัญญา บารมี และประสบการณ์ของท่านมีส่วนซ้ำเติมวิกฤติให้เป็นมหาวิกฤติ...
ยิ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล บริหารวิกฤตน้ำท่วมกันด้วยเหลี่ยมคูทางการเมือง เอาผลประโยชน์ทางการเมืองมาเป็นตัวตั้งด้วยแล้ว มันยิ่งซ้ำเติมให้นายกฯปูแดงของผมกลายเป็นปูเดี้ยง อย่างน่าอดสูใจยิ่ง...
-2-
เขตอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมที่ทยอยกันแตกยะย่ายพ่ายจะแจ และหมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่า ตำบลแล้วตำบลเล่า อำเภอแล้วอำเภอเล่าที่ทยอยกันจมน้ำ..มันคือโศกนาฏกรรม แต่ใช่หรือไม่ว่ามีหลายพื้นที่หลายกรณีหากมีการบริหารจัดการที่ถูกต้องมันจะลดความรุนแรง ลดความเสียหายไปได้ไม่น้อย..
กรณีนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ที่มีก๊วนบิ๊กสีเขียวจปร.10 -จปร11 ดูแลอยู่ น่าจะเป็นกรณีศึกษาได้เป็นอย่างดีกรณีหนึ่งว่าหากมีการตัดสินใจที่ถูกต้อง นสพ.กรอบเช้าวันที่ 18 ต.ค.2554 คงไม่ต้องพาดหัวว่า “นวนครแตกแล้ว”...อาจจะมีน้ำขังน้ำท่วมบ้างแต่ไม่น่าเสียหายมากมายขนาดนั้น
ก่อนหน้านวนครแตก...ผมติดตามการสัมภาษณ์ร้องขอต่อรัฐบาลของพล.อ.วิชา ศิริธรรม ที่ปรึกษาและประธานอนุกรรมการบางชุดของนวนคร 3-4 ประการ แต่เช้าวันที่ 18 ต.ค.พล.อ.วิชาให้สัมภาษณ์ด้วยเสียงเครียดเข้มว่ารัฐบาลฃ่วยเหลือก็จริง แต่ช่วยเหลือข้อ2,ข้อ3 ...ไม่ได้ช่วยเหลือข้อ1 ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุด คือขอให้เปิดประตูระบายน้ำสองด้านซ้ายขวา...โดยขอเวลาแค่4-5 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งไม่ทราบว่าติดปัญหาอะไรกันแน่...
เมื่อพินิจมองการบริหารจัดการมหาอุทกภัยหนนี้ของรัฐบาลตั้งแต่เริ่มต้นที่พยายามจุดประเด็น “บางระกำโมเดล” (ที่ท้ายสุดกลายเป็นสุดระกำโมเดลไปแล้ว) มาจนถึงวันนี้ แม้จะมีส่วนที่น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย แต่ด้านหลักมันคือความไร้ภาวะผู้นำ ไร้ประสิทธิภาพ...ปรารถนาดีแต่ไม่มีปัญญา...ไม่มีบารมี ไม่มีความเฉียบขาด ขาดการ “บูรณาการ”ที่แท้จริง การตัดสินใจที่ไม่เด็ดขาด และคลาดเคลื่อนในหลายครั้ง ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรม “ตายหมู่” เพราะสุดท้ายแล้วไม่มีใครที่จะยอมให้น้ำท่วมบ้านหรือหมู่บ้านตำบลอำเภอของตัวเอง...
ผมเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนให้ประกาศพรก.ฉุกเฉินมาร่วม 3 สัปดาห์แล้ว แต่ก็อย่างที่รู้ ๆกันดีว่าต่อให้ในส่วนลึกนายกฯปูรณาการอาจจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะ “พี่ชาย”ของเธอคงไม่ยอม คนเสื้อแดงไม่เอา ด้วยเหตุผลร้อยแปด...ไม่เอายังไม่พอการณ์กลับเป็นว่ามีนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยหลายคนที่ประกาศชักธงรบจะแก้พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม 2551 ราวกับว่าถ้าแก้กฎหมายฉบับนี้แล้วน้ำจะเลิกท่วม...บ้านเมืองจะดีขึ้นในบัดดล....
บ้ากันเกินจินตนาการจริง ๆ...
ครับ ผมเชื่อว่า...ถ้าประกาศภาวะฉุกเฉินตั้งแต่แรก แม้น้ำจะท่วมแต่ประเทศก็คงไม่เสียหายยับเยินขนาดนี้...
-3-
ด้วยข้อจำกัด-เงื่อนปมทางการเมือง แบบบ้านเรา แม้นายกฯปูรณาการของผมจะเป็นปูเดี้ยงขนาดไหนก็ตาม แต่ดูเหมือนว่ายากที่ใครจะเอาเธอลงจากเก้าอี้ได้ ยกเว้นพวกเดียวกันเอง...
แต่ไม่ว่าใครจะไปใครจะมาก็ตาม จากภาวะน้ำท่วมมหาวิบัติภัยหนนี้หากมองในอีกมุมนี่คือ บทเรียนบทพิสูจน์ที่สมบูรณ์แบบว่าการพัฒนาประเทศของเราผิดพลาด บกพร้องอย่างมหันต์ในหลาย ๆเรื่อง..ทั้งเรื่องการบริหารจัดการน้ำ,การจัดรูปที่ดิน การวางผังเมือง การกำหนดเขตอุสาหกรรมที่จัดการกันอย่างมักง่ายสะเปะสะปะ...
น่าจะสำเหนียกกันได้แล้วว่า ไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ตอนล่าง, ชัยนาท,สิงห์บุรี,อ่างทอง,อยุธยา,สุพรรณบุรี,ปทุมธานี....มันคือที่ที่ลุ่มน้ำคือแผ่นดินทองสำหรับเกษตรกรรม
น่าจะสำนึกกันได้แล้วว่า มากกว่าที่จะยึดหรือไม่ยึดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คืนมาจากคนชื่อบรรหาร ศิลปอาชา จะต้องมีการทบทวนครั้งใหญ่ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำที่ทุกวันนี้หน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องมากถึง 33 หน่วยงานจาก 7 กระทรวง และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำมากถึง 50 ฉบับ..และ การชลประทานที่เกิดการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ 45 เขื่อน,เขื่อนขนาดกลางและขนาดเล็ก 14,000 เขื่อน โครงการสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า 2,500 แห่ง...ฯลฯ...จะเดินหน้าถอยหลังกันอย่างไร...
นั่นยังไม่นับงานช้างภาคบังคับเฉพาะหน้า คือการฟื้นฟูเยียวยาประเทศชาติประชาชนหลังน้ำลด ซึ่งความเสียหายรอบนี้อย่าว่าแต่หลายแสนล้านบาทเลย ใครต่อหลายใครลายคนมองไปที่ 1 ล้านล้านบาทกันแล้ว...
แต่เอาเถอะเงินทองเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทน่าพอจะว่าๆกันไปได้ แต่โจทย์ใหญ่เฉพาะหน้าที่หลายคนหลายฝ่ายอึดอัดและคับข้องใจก็คือ นายกฯปูรณาการของผมจะมีปัญญามีแรงพอที่จะแบบกระสอบทรายแบกภาระกิจอันใหญ่หลวงนี้ต่อไปไหวหรือเปล่า...!!??
ผมเป็นเพียงหนึ่งเสียงที่จะบอกว่า...เสียดายที่ท่านไม่ได้พลิกวิกฤติเป็นโอกาส เสียดายที่สถานการณ์ไม่ได้สร้างวีระสตรีขี่ม้าขาว..
ไม่งั้นเสียงเพลงที่ว่า...รักยิ่งรัก..รักยิ่งรัก..รักยิ่ง..รักยิ่งลักษณ์..ของนปช.เสื้อแดงจะน่าฟังขึ้นอีกเยอะ!!
samr_rod@hotmail.com
ด้วยใจจริง ในภาวการณ์อย่างนี้ผมไม่อยากซ้ำเติมท่านนายกฯปูรณาการของผมแม้แต่น้อย ทั้งนี้ด้วยความรับรู้ความเข้าใจส่วนตัวของผมที่ว่า...ปรากฏการณ์มหาวิบัติภัยหนนี้แท้จริงแล้ว มันคือวิบากกรรมรวมหมู่ของมนุษย์ชาติ ของคนไทยทั้งประเทศที่ปล่อยให้ประเทศชาติ เป็นมาอย่างนี้...สุดท้ายมันก็เข้าทางกฎแห่งกรรม กฎธรรมชาติ...ส่วนจะเข้ากฎอิทิปปัจจยาตา กฎตถตา..ด้วยหรือไม่ก็เชิญวิสัชชนากันเอาเองก็แล้วกัน...
แต่อย่างไรก็ตามในฐานะคนไทยที่เสียภาษีให้รัฐ ในฐานะคนที่พำนักอยู่ในเขตกทม.เขตคันนายาว ไม่ใกล้ไม่ไกลจากคลองหกวา ทำให้อยู่ในภาวะหลังแอ่นเอวเคล็ดเพราะแม่บ้าน ภรรยาและลูกสาวบัญชาการให้ย้ายขนข้าวของในบ้าน และในฐานะพลเมืองที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจำเป็นที่จะต้องขอใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการประเทศในภาวะวิกฤตของนายกฯปูรณาการว่า แม้จะมองเห็นถึงความมุ่งมั่นขยันขันแข็งในการทำงาน แต่เมื่อมองภาพรวมทั้งหมดแล้วต้องบอกว่า สอบตก..สอบไม่ผ่าน...ความเป็นผู้นำที่อ่อนด้อยทั้งภูมิปัญญา บารมี และประสบการณ์ของท่านมีส่วนซ้ำเติมวิกฤติให้เป็นมหาวิกฤติ...
ยิ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล บริหารวิกฤตน้ำท่วมกันด้วยเหลี่ยมคูทางการเมือง เอาผลประโยชน์ทางการเมืองมาเป็นตัวตั้งด้วยแล้ว มันยิ่งซ้ำเติมให้นายกฯปูแดงของผมกลายเป็นปูเดี้ยง อย่างน่าอดสูใจยิ่ง...
-2-
เขตอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมที่ทยอยกันแตกยะย่ายพ่ายจะแจ และหมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่า ตำบลแล้วตำบลเล่า อำเภอแล้วอำเภอเล่าที่ทยอยกันจมน้ำ..มันคือโศกนาฏกรรม แต่ใช่หรือไม่ว่ามีหลายพื้นที่หลายกรณีหากมีการบริหารจัดการที่ถูกต้องมันจะลดความรุนแรง ลดความเสียหายไปได้ไม่น้อย..
กรณีนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ที่มีก๊วนบิ๊กสีเขียวจปร.10 -จปร11 ดูแลอยู่ น่าจะเป็นกรณีศึกษาได้เป็นอย่างดีกรณีหนึ่งว่าหากมีการตัดสินใจที่ถูกต้อง นสพ.กรอบเช้าวันที่ 18 ต.ค.2554 คงไม่ต้องพาดหัวว่า “นวนครแตกแล้ว”...อาจจะมีน้ำขังน้ำท่วมบ้างแต่ไม่น่าเสียหายมากมายขนาดนั้น
ก่อนหน้านวนครแตก...ผมติดตามการสัมภาษณ์ร้องขอต่อรัฐบาลของพล.อ.วิชา ศิริธรรม ที่ปรึกษาและประธานอนุกรรมการบางชุดของนวนคร 3-4 ประการ แต่เช้าวันที่ 18 ต.ค.พล.อ.วิชาให้สัมภาษณ์ด้วยเสียงเครียดเข้มว่ารัฐบาลฃ่วยเหลือก็จริง แต่ช่วยเหลือข้อ2,ข้อ3 ...ไม่ได้ช่วยเหลือข้อ1 ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุด คือขอให้เปิดประตูระบายน้ำสองด้านซ้ายขวา...โดยขอเวลาแค่4-5 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งไม่ทราบว่าติดปัญหาอะไรกันแน่...
เมื่อพินิจมองการบริหารจัดการมหาอุทกภัยหนนี้ของรัฐบาลตั้งแต่เริ่มต้นที่พยายามจุดประเด็น “บางระกำโมเดล” (ที่ท้ายสุดกลายเป็นสุดระกำโมเดลไปแล้ว) มาจนถึงวันนี้ แม้จะมีส่วนที่น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย แต่ด้านหลักมันคือความไร้ภาวะผู้นำ ไร้ประสิทธิภาพ...ปรารถนาดีแต่ไม่มีปัญญา...ไม่มีบารมี ไม่มีความเฉียบขาด ขาดการ “บูรณาการ”ที่แท้จริง การตัดสินใจที่ไม่เด็ดขาด และคลาดเคลื่อนในหลายครั้ง ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรม “ตายหมู่” เพราะสุดท้ายแล้วไม่มีใครที่จะยอมให้น้ำท่วมบ้านหรือหมู่บ้านตำบลอำเภอของตัวเอง...
ผมเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนให้ประกาศพรก.ฉุกเฉินมาร่วม 3 สัปดาห์แล้ว แต่ก็อย่างที่รู้ ๆกันดีว่าต่อให้ในส่วนลึกนายกฯปูรณาการอาจจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะ “พี่ชาย”ของเธอคงไม่ยอม คนเสื้อแดงไม่เอา ด้วยเหตุผลร้อยแปด...ไม่เอายังไม่พอการณ์กลับเป็นว่ามีนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยหลายคนที่ประกาศชักธงรบจะแก้พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม 2551 ราวกับว่าถ้าแก้กฎหมายฉบับนี้แล้วน้ำจะเลิกท่วม...บ้านเมืองจะดีขึ้นในบัดดล....
บ้ากันเกินจินตนาการจริง ๆ...
ครับ ผมเชื่อว่า...ถ้าประกาศภาวะฉุกเฉินตั้งแต่แรก แม้น้ำจะท่วมแต่ประเทศก็คงไม่เสียหายยับเยินขนาดนี้...
-3-
ด้วยข้อจำกัด-เงื่อนปมทางการเมือง แบบบ้านเรา แม้นายกฯปูรณาการของผมจะเป็นปูเดี้ยงขนาดไหนก็ตาม แต่ดูเหมือนว่ายากที่ใครจะเอาเธอลงจากเก้าอี้ได้ ยกเว้นพวกเดียวกันเอง...
แต่ไม่ว่าใครจะไปใครจะมาก็ตาม จากภาวะน้ำท่วมมหาวิบัติภัยหนนี้หากมองในอีกมุมนี่คือ บทเรียนบทพิสูจน์ที่สมบูรณ์แบบว่าการพัฒนาประเทศของเราผิดพลาด บกพร้องอย่างมหันต์ในหลาย ๆเรื่อง..ทั้งเรื่องการบริหารจัดการน้ำ,การจัดรูปที่ดิน การวางผังเมือง การกำหนดเขตอุสาหกรรมที่จัดการกันอย่างมักง่ายสะเปะสะปะ...
น่าจะสำเหนียกกันได้แล้วว่า ไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ตอนล่าง, ชัยนาท,สิงห์บุรี,อ่างทอง,อยุธยา,สุพรรณบุรี,ปทุมธานี....มันคือที่ที่ลุ่มน้ำคือแผ่นดินทองสำหรับเกษตรกรรม
น่าจะสำนึกกันได้แล้วว่า มากกว่าที่จะยึดหรือไม่ยึดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คืนมาจากคนชื่อบรรหาร ศิลปอาชา จะต้องมีการทบทวนครั้งใหญ่ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำที่ทุกวันนี้หน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องมากถึง 33 หน่วยงานจาก 7 กระทรวง และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำมากถึง 50 ฉบับ..และ การชลประทานที่เกิดการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ 45 เขื่อน,เขื่อนขนาดกลางและขนาดเล็ก 14,000 เขื่อน โครงการสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า 2,500 แห่ง...ฯลฯ...จะเดินหน้าถอยหลังกันอย่างไร...
นั่นยังไม่นับงานช้างภาคบังคับเฉพาะหน้า คือการฟื้นฟูเยียวยาประเทศชาติประชาชนหลังน้ำลด ซึ่งความเสียหายรอบนี้อย่าว่าแต่หลายแสนล้านบาทเลย ใครต่อหลายใครลายคนมองไปที่ 1 ล้านล้านบาทกันแล้ว...
แต่เอาเถอะเงินทองเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทน่าพอจะว่าๆกันไปได้ แต่โจทย์ใหญ่เฉพาะหน้าที่หลายคนหลายฝ่ายอึดอัดและคับข้องใจก็คือ นายกฯปูรณาการของผมจะมีปัญญามีแรงพอที่จะแบบกระสอบทรายแบกภาระกิจอันใหญ่หลวงนี้ต่อไปไหวหรือเปล่า...!!??
ผมเป็นเพียงหนึ่งเสียงที่จะบอกว่า...เสียดายที่ท่านไม่ได้พลิกวิกฤติเป็นโอกาส เสียดายที่สถานการณ์ไม่ได้สร้างวีระสตรีขี่ม้าขาว..
ไม่งั้นเสียงเพลงที่ว่า...รักยิ่งรัก..รักยิ่งรัก..รักยิ่ง..รักยิ่งลักษณ์..ของนปช.เสื้อแดงจะน่าฟังขึ้นอีกเยอะ!!
samr_rod@hotmail.com