ASTVผู้จัดการรายวัน-แฉครม."ปู" สั่งปิดข่าว บัวแก้วขอให้กำหนดท่าทีกรอบเจรจาจีบีซี 21 ต.ค.นี้ ฟัดกันเละ ทั้งหนุนทั้งค้าน สุดท้ายไล่ให้ไปเสนอสภาฯ พิจารณา แถมถูกทหารขู่กลางวงประชุม "ไม่มีมติครม. ไม่ผ่านสภาฯ ไม่คุย ไม่ไป"
แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. เมื่อวันอังคารที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมครม. ได้พิจารณาเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศ ขอความเห็นจากครม. เกี่ยวกับกรอบการเจรจาไทย-กัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ที่จะมีการประชุมในวันที่ 21 ต.ค.นี้ โดยที่ประชุมได้สั่งกำชับทีมโฆษกรัฐบาลไม่ให้มีการแถลงข่าว และเก็บเอกสารกลับคืน เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และที่ประชุมครม.ได้มีการถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียดตลอดระยะเวลาในการหารือกว่า 1 ชั่วโมง
โดยครม. มีความเห็นแตกต่างแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน โดยฝ่ายนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ (กต.) และนายธีรกุล นิยม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และนายอิทธิพร อธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ได้พยายามชี้แจงโน้มน้าวเพื่อขอให้ครม. มีความเห็นเป็นกรอบในการเจรจาว่า กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ต้องมีกรอบการเจรจาอย่างไรบ้าง ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยประกอบด้วย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ และนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข อดีตประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ ต่างยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้ครม.ต้องมีความเห็น หรือไปกำหนดกรอบ แต่เห็นว่า ควรจะนำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการอภิปรายโดยไม่ลงมติ ให้ออกมาเป็นความเห็นของสภา
ในช่วงนี้ มีการโต้เถียงกันอย่างดุเดือด โดยนายต่อพงษ์ ได้ซักถามด้วยท่าทีที่หงุดหงิดว่า กระทรวงการต่างประเทศจะมาสอบถามความเห็นจากครม. เพื่ออะไร เพื่อให้ครม.ให้ความเห็น หรือทางกต. มีความเห็นอยู่แล้ว ตนมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาแล้ว และเห็นว่า เรื่องนี้เราไม่ได้เป็นความผิดของเราเลย แต่เป็นความผิดของรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่ไปทำจนกัมพูชาส่งเรื่องไปให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาของศาลโลก ปีพ.ศ. 2505 ดังนั้น จะมาขอความเห็นจากครม. ไม่ได้ ต้องไปขอความเห็นจากสภาฯ เลย แล้วทำไมเรื่องนี้ต้องรีบร้อนเอามาถามความเห็นครม. ทั้งที่ต้องศึกษาให้รอบครอบ ตนไม่เข้าใจ มันจะเป็นข้อผูกมัดพันธสัญญาที่จำเป็นแค่ไหน และคำสั่งของศาลโลกเราไม่ทำตามก็ได้
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแย้งว่า ไม่ได้เราต้องทำตามคำสั่งศาลโลก ขณะที่นายวรวัจน์ กล่าวขึ้นว่า ก็นี้ไงถึงต้องเอาเรื่องเข้าสภา เพราะพรรคประชาธิปัตย์เคยเอาเรื่องนี้มาด่าพรรคเพี่อไทย ก็ต้องเอาไปเข้าสภาฯ เพื่อจะได้พูดกัน ขณะที่นายปลอดประสพ ก็สนับสนุนให้ส่งเรื่องไปที่สภาฯ ประชาชนจะได้รู้ว่า พรรคประชาธิปัตย์นั้นแหละที่เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหา ไม่ใช่เราไปมุบหมิบทำกันข้างนอก
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า จะต้องมาขอกรอบอะไร ที่จริงไม่ต้องมาถามครม. เลย แต่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศก็ยังยืนยันที่จะขอกรอบและท่าทีของรัฐบาลในการเจรจา ทำให้ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวแย้งกลับไปว่า ท่าทีรัฐบาลไม่มีอะไรเลย รัฐบาลมีท่าทีอย่างเดียว คือ จะทำอะไรก็ทำไปเลย แต่อย่างเสียเปรียบกัมพูชาก็แล้วกัน แต่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก็ยังกล่าวแย้งว่า การเจรจาไม่ให้ไทยเสียเปรียบแน่นอน แต่มันเป็นระเบียบปฎิบัติทางราชการ หากครม. ไม่ให้ความเห็นก็ต้องไปเข้ามาตรา 179 ขณะที่นายสุรพงษ์ก็ตอบโต้ว่า ตนไม่ได้รีบร้อน เสนอเรื่องนี้ แต่เนื่องจากกลไกราชการมันช้า เมื่อถึงเวลาก็ต้องมาเสนอขอความเห็นจากครม.
อย่างไรก็ตาม เมื่อนายกฯ และร.ต.อ.เฉลิม เห็นว่า เรื่องไม่สามารถหาข้อยุติได้ นายกฯ จึงได้หันไปขอความเห็นจากนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการรกฤษฎีกา ซึ่งนายอัชพรสรุปว่า เรื่องนี้สามารถเป็นความเห็นของนายกรัฐมนตรีที่จะส่งเรื่องไปที่สภาให้มีการอภิปรายโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 179 ก็ได้
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า เมื่อเรื่องทำท่าจะจบลง ปรากฏว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กลับแจ้งกับครม.ว่า “ผมได้รับจดหมายน้อยจากบุคคลสำคัญ คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้ความเห็นมาว่า ถ้าไม่มีมติครม. ไม่ผ่านสภา ก็ไม่คุย ไม่ไป”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม ได้พูดทันทีว่า ข้าราชการทุกคนไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงกลาโหม คุณไม่ต้องไปกลัว เพราะวันที่พรรคเพื่อไทยชนะเขาฉลองกันหมด คุณไปคุยได้เลย เชื่อตน คุยได้ไม่ยาก ไทยกับกัมพูชาไม่ใช่ศัตรูกัน ไม่มีการยิงแน่ เรื่องนี้ไม่ต้องไปกำหนดท่าทีรัฐบาลอะไร มีสิ่งเดียว คือ ทำอย่างไรก็ได้ที่ไม่ให้ไทยเสียเปรียบ และเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเอาเข้าสู่สภาฯ เพราะจะกลายเป็นเป้าทำให้พรรคประชาธิปัตย์มาถล่มเรา แต่ถ้ามีปัญหาอีก ก็เอาเข้าครม. มาครั้งหน้า ขอให้รมว.กลาโหมไปทำความเข้าใจฝ่ายทหาร
ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ว่า เราจะทำอะไรไม่ทำอะไร เราก็โดนด่าอยู่แล้ว เพราะตนใช้ทีมเจรจาต่างๆ เราก็ใช้ชุดเดิมทั้งหมด จะมาว่า ผมได้ยังไง ไม่ได้เปลี่ยนจุดยืน หรือเปลี่ยนวิธีคิดเลย แต่สุดท้ายปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก็ยังตื้อขอให้ครม. มีความเห็นท้ายเรื่อง แต่นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม. กล่าวตัดบทว่า ไม่ต้องแล้ว
แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. เมื่อวันอังคารที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมครม. ได้พิจารณาเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศ ขอความเห็นจากครม. เกี่ยวกับกรอบการเจรจาไทย-กัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ที่จะมีการประชุมในวันที่ 21 ต.ค.นี้ โดยที่ประชุมได้สั่งกำชับทีมโฆษกรัฐบาลไม่ให้มีการแถลงข่าว และเก็บเอกสารกลับคืน เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และที่ประชุมครม.ได้มีการถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียดตลอดระยะเวลาในการหารือกว่า 1 ชั่วโมง
โดยครม. มีความเห็นแตกต่างแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน โดยฝ่ายนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ (กต.) และนายธีรกุล นิยม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และนายอิทธิพร อธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ได้พยายามชี้แจงโน้มน้าวเพื่อขอให้ครม. มีความเห็นเป็นกรอบในการเจรจาว่า กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ต้องมีกรอบการเจรจาอย่างไรบ้าง ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยประกอบด้วย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ และนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข อดีตประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ ต่างยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้ครม.ต้องมีความเห็น หรือไปกำหนดกรอบ แต่เห็นว่า ควรจะนำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการอภิปรายโดยไม่ลงมติ ให้ออกมาเป็นความเห็นของสภา
ในช่วงนี้ มีการโต้เถียงกันอย่างดุเดือด โดยนายต่อพงษ์ ได้ซักถามด้วยท่าทีที่หงุดหงิดว่า กระทรวงการต่างประเทศจะมาสอบถามความเห็นจากครม. เพื่ออะไร เพื่อให้ครม.ให้ความเห็น หรือทางกต. มีความเห็นอยู่แล้ว ตนมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาแล้ว และเห็นว่า เรื่องนี้เราไม่ได้เป็นความผิดของเราเลย แต่เป็นความผิดของรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่ไปทำจนกัมพูชาส่งเรื่องไปให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาของศาลโลก ปีพ.ศ. 2505 ดังนั้น จะมาขอความเห็นจากครม. ไม่ได้ ต้องไปขอความเห็นจากสภาฯ เลย แล้วทำไมเรื่องนี้ต้องรีบร้อนเอามาถามความเห็นครม. ทั้งที่ต้องศึกษาให้รอบครอบ ตนไม่เข้าใจ มันจะเป็นข้อผูกมัดพันธสัญญาที่จำเป็นแค่ไหน และคำสั่งของศาลโลกเราไม่ทำตามก็ได้
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแย้งว่า ไม่ได้เราต้องทำตามคำสั่งศาลโลก ขณะที่นายวรวัจน์ กล่าวขึ้นว่า ก็นี้ไงถึงต้องเอาเรื่องเข้าสภา เพราะพรรคประชาธิปัตย์เคยเอาเรื่องนี้มาด่าพรรคเพี่อไทย ก็ต้องเอาไปเข้าสภาฯ เพื่อจะได้พูดกัน ขณะที่นายปลอดประสพ ก็สนับสนุนให้ส่งเรื่องไปที่สภาฯ ประชาชนจะได้รู้ว่า พรรคประชาธิปัตย์นั้นแหละที่เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหา ไม่ใช่เราไปมุบหมิบทำกันข้างนอก
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า จะต้องมาขอกรอบอะไร ที่จริงไม่ต้องมาถามครม. เลย แต่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศก็ยังยืนยันที่จะขอกรอบและท่าทีของรัฐบาลในการเจรจา ทำให้ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวแย้งกลับไปว่า ท่าทีรัฐบาลไม่มีอะไรเลย รัฐบาลมีท่าทีอย่างเดียว คือ จะทำอะไรก็ทำไปเลย แต่อย่างเสียเปรียบกัมพูชาก็แล้วกัน แต่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก็ยังกล่าวแย้งว่า การเจรจาไม่ให้ไทยเสียเปรียบแน่นอน แต่มันเป็นระเบียบปฎิบัติทางราชการ หากครม. ไม่ให้ความเห็นก็ต้องไปเข้ามาตรา 179 ขณะที่นายสุรพงษ์ก็ตอบโต้ว่า ตนไม่ได้รีบร้อน เสนอเรื่องนี้ แต่เนื่องจากกลไกราชการมันช้า เมื่อถึงเวลาก็ต้องมาเสนอขอความเห็นจากครม.
อย่างไรก็ตาม เมื่อนายกฯ และร.ต.อ.เฉลิม เห็นว่า เรื่องไม่สามารถหาข้อยุติได้ นายกฯ จึงได้หันไปขอความเห็นจากนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการรกฤษฎีกา ซึ่งนายอัชพรสรุปว่า เรื่องนี้สามารถเป็นความเห็นของนายกรัฐมนตรีที่จะส่งเรื่องไปที่สภาให้มีการอภิปรายโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 179 ก็ได้
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า เมื่อเรื่องทำท่าจะจบลง ปรากฏว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กลับแจ้งกับครม.ว่า “ผมได้รับจดหมายน้อยจากบุคคลสำคัญ คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้ความเห็นมาว่า ถ้าไม่มีมติครม. ไม่ผ่านสภา ก็ไม่คุย ไม่ไป”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม ได้พูดทันทีว่า ข้าราชการทุกคนไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงกลาโหม คุณไม่ต้องไปกลัว เพราะวันที่พรรคเพื่อไทยชนะเขาฉลองกันหมด คุณไปคุยได้เลย เชื่อตน คุยได้ไม่ยาก ไทยกับกัมพูชาไม่ใช่ศัตรูกัน ไม่มีการยิงแน่ เรื่องนี้ไม่ต้องไปกำหนดท่าทีรัฐบาลอะไร มีสิ่งเดียว คือ ทำอย่างไรก็ได้ที่ไม่ให้ไทยเสียเปรียบ และเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเอาเข้าสู่สภาฯ เพราะจะกลายเป็นเป้าทำให้พรรคประชาธิปัตย์มาถล่มเรา แต่ถ้ามีปัญหาอีก ก็เอาเข้าครม. มาครั้งหน้า ขอให้รมว.กลาโหมไปทำความเข้าใจฝ่ายทหาร
ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ว่า เราจะทำอะไรไม่ทำอะไร เราก็โดนด่าอยู่แล้ว เพราะตนใช้ทีมเจรจาต่างๆ เราก็ใช้ชุดเดิมทั้งหมด จะมาว่า ผมได้ยังไง ไม่ได้เปลี่ยนจุดยืน หรือเปลี่ยนวิธีคิดเลย แต่สุดท้ายปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก็ยังตื้อขอให้ครม. มีความเห็นท้ายเรื่อง แต่นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม. กล่าวตัดบทว่า ไม่ต้องแล้ว