xs
xsm
sm
md
lg

ปูกับน้ำท่วม, ภายใต้กฎอิทัปปัจจยตาบาป จะต้านไหวไหม

เผยแพร่:   โดย: ดร.ป. เพชรอริยะ

การแก้ปัญหาต้องสืบสาวไปหาเหตุ ปัญหาน้ำท่วมเหตุเกิดจากอะไร เรื่องน้ำท่วมเป็นปกติแต่ที่ไม่ปกติเพราะคนในพื้นที่ทำลายป่าเป็นเหตุใหญ่ สร้างบ้านเรือนถมคูคลองเป็นเหตุรอง ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการขาดจิตสำนึกของบุคคลทุกระดับ ไม่รักชาติ ไม่รักป่า เหตุแห่งปัญหานี้คือหากเราจะวิเคราะห์ตามกฎอิทัปปัจจยตา คือหลักและวิธีคิดที่สำคัญหรือกฎสัมพันธภาพระหว่างเหตุและผลอันเป็นกฎธรรมชาติพระพุทธองค์ ตรัสว่า “ธมฺโม หเว ปาตุรโหสิปุพฺเพ” กฎธรรมชาตินั้นมีอยู่ก่อนแล้ว พระองค์ทรงค้นพบแล้วนำมาสั่งสอน เป็นพลังทางปัญญาสำคัญให้แก่ประเทศชาติได้แก่

กฎอิทัปปัจจยตาคือกฎความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยระหว่างเหตุและผลอันเป็นกฎทั่วไป (General Law) ที่ครอบคลุมเหตุปัจจัยทั้งหมดทั้งฝ่ายกุศล กลางๆ และอกุศล ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต คือ

1) “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี” หรือเมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล คือถ้าเหตุดี ผลดี ถ้าเหตุชั่ว ผลชั่ว

2) “เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น” หรือเมื่อเหตุเกิดขึ้น ผลก็เกิดขึ้น คือถ้าเหตุดีเกิดขึ้น ผลดีก็เกิดขึ้น และถ้าเหตุชั่วเกิดขึ้น ผลชั่วก็เกิดขึ้น

3) “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี” หรือเมื่อเหตุไม่มี ผลก็ไม่มี (อพฺยากตาธมฺมา ธรรมที่เป็นกลางๆ)

4) “เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ” หรือเมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ (ด้วย)

พระพุทธองค์ ทรงนำมาอธิบายกับการปรุงแต่งของจิต ทรงเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ปฏิจจสมุปบาท”อันเป็นกฎลักษณะเฉพาะ (Individual law) เพราะการปรุงแต่งแต่ละคนต่างกัน ควบคุมเฉพาะจิตหรือนามธรรมเท่านั้น (ปฏิจจะ แปลว่าอาศัย, สมุปบาท แปลว่า เกิดขึ้นครบถ้วน) “กล่าวคือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ... ฯลฯ” ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แสดงให้เห็นถึงการเวียนว่ายตายเกิด ทางจิต เป็นขณะๆ จะดับทุกข์ก็สืบสาวไปหาเหตุ คือ อวิชชา

นอกจากนี้กฎปฏิจจสมุปบาท กับอริยสัจ 4 ก็เห็นชัดว่าทุกข์ ย่อมเป็นผลจากสมุทัย สมุทัย ย่อมเป็นเหตุของทุกข์ นิโรธ ความดับทุกข์ย่อมเป็นผลของมรรค (มรรคมีองค์ 8) หนทางปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ ย่อมเป็นเหตุนิโรธ กล่าวคือ สัมมาทิฐิ (เห็นชอบ) ย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาสังกัปปะ (คิดชอบ) ... เป็นเหตุเป็นผล เพราะเหตุดี ผลดีจึงเกิดขึ้น กระทั่งถึงสัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) ในระดับอริยบุคคลชั้นสูง สัมมาสมาธิย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาญาณ (รู้ชอบ) สัมมาญาณย่อมเป็นเหตุปัจจัยแก่สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ สู่พระอรหันตผลวิมุตติ) นี่คือรากฐานแห่งปัญญาอันเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) อันยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธศาสนาก่อให้เกิดปัญญาแจ้งชัดตามความเป็นจริงว่า

จุดมุ่งหมาย ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือจุดมุ่งหมายต้องมาก่อน

ยุทธศาสตร์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของยุทธวิธี หรือยุทธศาสตร์ต้องมาก่อนยุทธวิธีเสมอไป

ธรรม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของการเมืองที่แท้จริง หรือมาก่อนการเมืองเสมอไปการเมืองคือหลักวิธีคิดโดยธรรมและวิธีการเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน

การเมือง (รัฐศาสตร์) ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของการปกครอง (นิติศาสตร์) หรือการเมืองต้องมาก่อนการปกครอง

รัฐศาสตร์ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยของนิติศาสตร์ (กฎหมาย) หรือรัฐศาสตร์ต้องมาก่อนกฎหมายเสมอไป ประเทศไทยขาดธรรม ขาดรัฐศาสตร์ มีแต่การถกเถียงกันเรื่องกฎหมายล้วนๆ “กูจะปกครองมึง มึงจะปกครองกู กูไม่ยอม” เริ่มต้นก็ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ พวกเขาบ้ากันจริงๆ คณะคนบ้าปกครองบ้านเมืองมายาวนาน 79 ปี เริ่มด้วยรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญ ... 18 ฉบับ ล้วนแล้วขัดแย้งกันเรื่องการปกครองและกฎหมายที่จะกดขี่กดหัวประชาชนให้ได้

จากมุมมอง กฎอิทัปปัจจยตาฝ่ายบาปอกุศลหรือฝ่ายทำลายน้ำท่วมหนักเพราะป่าไม้ถูกทำลาย ป่าไม้ถูกทำลายเพราะขาดจิตสำนึกต่อชาติ ขาดจิตสำนึกต่อชาติเพราะไม่มีหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (แท้จริง) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชนไม่มีเพราะหลักการปกครอง (ระบอบ) โดยธรรมไม่มี หลักการปกครอง (ระบอบ) โดยธรรมไม่มี เพราะอวิชชาของผู้ปกครองที่มีอำนาจมาก 18 ครั้ง เห็นผิดร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 18 ฉบับ จึงมีแต่รัฐธรรมนูญหรือมีแต่กฎหมายแล้วก็ขัดแย้งทำลายกันเองด้วยกฎหมายพวกมึงกับกฎหมายพวกกู

หยุดอิทัปปัจจยตาบาป ด้วยกฎอิทัปปัจจยตาฝ่ายบวกหรือฝ่ายเจริญก้าวหน้าโดยฝ่ายเดียว กล่าวคือ เพราะผู้เข้าถึงธรรมเป็นเหตุให้พระราชาดวงตาเห็นธรรม เพราะพระราชาดวงตาเห็นธรรมจึงได้ร่วมมือกับนักปราชญ์ราชบัณฑิต และแกนนำประชาชนสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม เพราะสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม จึงมีหลักการปกครอง 9 ข้อคือ (1) หลักธรรมาธิปไตย (2) หลักพระมหากษัตริย์ เป็นผู้นำและประมุขของประเทศ (3) หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (4) หลักเสรีภาพเพื่อสร้างสรรค์

(5) หลักความเสมอภาคทางโอกาส (6) หลักภราดรภาพ (7) หลักเอกภาพ (8) หลักดุลยภาพ (9) หลักนิติธรรม เพราะมีหลักการปกครองโดยธรรมทั้ง 9 จึงมีรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องของแผ่นดินที่มีองค์ประกอบที่ถูกต้องเฉกเช่นเดียวกับสัมพันธภาพระหว่างนิพพานกับ 84,000 พระธรรมขันธ์ ฯลฯ

หากปวงชนยังถูกครอบงำด้วยกฎอิทัปปัจจยตาบาป ไม่คิดแก้ไขเหตุวิกฤตชาติให้ถูกต้อง ต่อให้ 100 มาร์ค 100 ปู ก็แก้ไขไม่ได้จ้า
กำลังโหลดความคิดเห็น