นายโอบามาเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ พร้อมเสียงข้างมากของ ส.ส. ส.ว. ในทั้งสองสภา ท่านนำเสนอกฎหมายสำคัญฉบับแรก (กฎหมายการเงินอุ้มบริษัทรถยนต์ที่กำลังจะล้มละลาย) ปรากฏว่าแพ้โหวตในสภา เนื่องเพราะ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลโหวตค้าน ส่วน ส.ส.ฝ่ายค้านกลับโหวตให้เสียก็มาก (ทำให้แพ้เสียงไม่มากนัก)
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเกิดกลับตาลปัตร ทำให้พรรคฝ่ายค้านได้เสียงข้างมากทั้งในสภาสูงและสภาล่าง ถ้าเป็นเมืองไทยเราก็ทำงานไม่ได้แล้วเพราะรัฐบาลจะไม่มีเสถียรภาพ แต่พอนายโอบามาเสนอ พ.ร.บ.สำคัญที่สุดเข้าสภาคือ พ.ร.บ.เพิ่มเพดานวงเงินกู้ กลับปรากฏว่าฝ่ายค้านเทคะแนนให้เขามาก จนชนะโหวต
ส.ส.ฝรั่งเขาโหวตกันตามจิตสำนึกอย่างมีเอกภาพเฉพาะตน โดยฟังเสียงประกอบจากประชาชนในเขตเลือกตั้ง และนโยบายพรรค (จากใกล้ไปหาไกล)
ส่วน ส.ส.ไทยเราโหวตตามที่นายสั่ง...จบ
ระบบ ปชต.ไทย กำลังเป็น “โรคคานอำนาจบกพร่อง” อย่างร้ายแรง เพราะรัฐสภาไม่ได้ทำหน้าที่คานอำนาจกับฝ่ายบริหารดังเจตนารมณ์ของ ปชต.เลยแม้แต่น้อย แต่กลับทำหน้าที่ “เสริมอำนาจ” ให้กับฝ่ายบริหารเสียอีก ด้วยการโหวตด้วยเสียงข้างมากให้พรรครัฐบาลอยู่ร่ำไป ไม่ว่าสิ่งที่รัฐบาลเสนอจะผิดหรือถูกก็ตาม ส่วนฝ่ายค้านก็ยกมือค้านตะบันราดในทุกญัตติเหมือนกัน..ก็บ้าบอพอกันทั้งคู่
ประเด็นนี้ร้ายแรงมากหากไม่เร่งแก้ไขอนาคตชาติไทยคงเหลวแน่ ส.ว.เป็นกลไกที่อาจช่วยได้ กล่าวคือ ส.ว.ต้องเป็นกลาง ต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง และต้องไม่มาจากการเลือกตั้งด้วย เพราะถ้ามาจากการเลือกตั้งก็จะสังกัดพรรคการเมืองโดยปริยาย (ดังที่เห็นเต็มสภาในวันนี้)
พอเสนอว่า ส.ว.ไม่มาจากการเลือกตั้ง หลายท่านจะค้านทันทีว่า “ไม่เป็นประชาธิปไตย” ... แต่ช้าก่อน ปชต.มีได้หลายทาง เช่น การเลือกตั้ง ถือเป็นทางตรง (ซึ่งอาจตรงดิ่งไปสู่นรกอย่างรวดเร็วก็เป็นได้นะ) และประชาธิปไตยแบบธรรมชาติ ที่ไม่ต้องมีการเลือกตั้งแบบสายตรง เพราะมีการคัดสรรกันอย่างดีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ซึ่งวิธีธรรมชาตินี้ส่วนใหญ่มันเที่ยงแท้แน่นอนกว่าวิธีตรงเสียอีก เพราะมันมีการคัดสรรหลายรอบหลายชั้นที่ใช้เวลายาวนาน (บางทีตลอดชีวิต) แต่การเลือกตั้งแบบทางตรงนั้นบางคนตรงแน่วมาจากรูไหนก็ไม่รู้ จู่ๆ ก็เข้ามาชุบมือ..เปิบกินบ้านกินเมืองกันได้ง่ายๆ ซะงั้น
ต้องมีวิธีที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเพื่อคัดสรร ส.ว.ที่เป็นกลางทางการเมือง มีความรู้รอบด้าน เข้ามาทำหน้าที่ วิธีที่ขอเสนอคือให้กำหนดตำแหน่ง ส.ว.โดยรัฐธรรมนูญ เช่น
1. ปลัดกระทรวงเกษียณอายุ ที่อายุไม่เกิน 65 ปี (พวกท่านเป็นผู้ทรงความรู้ทางราชการทุกด้าน จะช่วยให้ความเห็นดีๆ ได้มากในการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อบริหารประเทศ)
2. นายกฯ/ประธาน สมาคม/องค์กร ภาคประชาชน การค้า อุตสาหกรรม วิชาชีพที่สำคัญ
3. นักวิจารณ์สังคมภาคประชาชนที่โดดเด่น เป็นกลาง อิสระ 20 คน (คัดสรรโดยคณะตุลาการที่กำหนดโดย รธน. (ศาล รธน. ศาลปกครอง ศาลฎีกา) และราชบัณฑิต)
4. นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ สาธารณสุข
ส.ว. มีหน้าที่ตามที่ รธน.กำหนด รวมทั้ง 1) ให้ความเห็นชอบ รมต. ตามที่ นรม. เสนอชื่อ 2) ให้การโหวตไว้หรือไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามคำอภิปรายของ ส.ส. (ส.ส.ไม่มีสิทธิโหวต)
ข้อดีของวิธีนี้คือ 1) รมต.ยี้จะหมดไป เพราะนรม.จะส่งแต่คนเก่งดีขึ้นไปบริหารกระทรวงต่างๆ เพราะหากส่งชื่อไม่ดีขึ้นไปก็คงไม่ผ่านความเห็นชอบของ ส.ว. 2) รัฐบาลที่ดีจะมีเสถียรภาพสูงแม้เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย หรือเสียงข้างมากที่ไม่มากนัก เช่น ในวันนี้พรรคเพื่อไทยพรรคเดียวก็เป็นรัฐบาลได้ ไม่ต้องไปผสมกับพรรคอื่นเพื่อ “เสถียรภาพ” อีกต่อไป ทำให้มีเอกภาพมากในด้านนโยบายบริหารประเทศ
ระบบนี้จึงเป็นการคานอำนาจกันอย่างสร้างสรรค์ระหว่างการเลือกตั้งสายตรงและการเลือกตั้งระบบธรรมชาติ พ.ร.บ.ต่างๆ ที่ผ่านสภาล่างขึ้นไปก็จะได้รับการกลั่นกรองจากสภาสูงอย่างเป็นกลาง เพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติอย่างแท้จริง มิใช่เพียงเพราะ “นายสั่งมา”
ระบบนี้เป็น ปชต.เสียยิ่งกว่าระบบปัจจุบัน เพราะ ส.ว.ที่กำหนดโดยวิธีนี้กว่าที่เขาจะไต่เต้าเข้าไปเป็นหัวขององค์กรต่างๆ (หรือเป็นนักคิดนักเขียนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง) เขาก็ต้องได้รับการ “เลือกตั้ง” แบบไต่เต้า สะสมคะแนนการยอมรับมานาน จาก “ประชาชน” ในองค์กรนั้นๆ อยู่แล้ว (หรือประชาชนทั่วไปในกรณีของนักคิดนักเขียน) มันจึงเป็นประชาธิปไตยธรรมชาติที่แม่นแท้แน่นอนกว่า ปชต.ทางตรงเสียอีก เพราะปชต.ทางตรงของเรานั้นมันซื้อกันได้ด้วยเงินในเวลาสั้นๆ ดังที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้ว
เชื่อว่าข้อเสนอนี้คงมิอาจเป็นที่ยอมรับได้ของนักการเมืองส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เห็นแก่ประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ชาติ ส่วนนักการเมืองส่วนน้อยบางคนคงจะแอบเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้อยู่บ้างดอก (ถ้ามี..ขออวยพรให้ท่านได้เป็นใหญ่เป็นโตในภายภาคหน้าด้วยเทอญ)
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเกิดกลับตาลปัตร ทำให้พรรคฝ่ายค้านได้เสียงข้างมากทั้งในสภาสูงและสภาล่าง ถ้าเป็นเมืองไทยเราก็ทำงานไม่ได้แล้วเพราะรัฐบาลจะไม่มีเสถียรภาพ แต่พอนายโอบามาเสนอ พ.ร.บ.สำคัญที่สุดเข้าสภาคือ พ.ร.บ.เพิ่มเพดานวงเงินกู้ กลับปรากฏว่าฝ่ายค้านเทคะแนนให้เขามาก จนชนะโหวต
ส.ส.ฝรั่งเขาโหวตกันตามจิตสำนึกอย่างมีเอกภาพเฉพาะตน โดยฟังเสียงประกอบจากประชาชนในเขตเลือกตั้ง และนโยบายพรรค (จากใกล้ไปหาไกล)
ส่วน ส.ส.ไทยเราโหวตตามที่นายสั่ง...จบ
ระบบ ปชต.ไทย กำลังเป็น “โรคคานอำนาจบกพร่อง” อย่างร้ายแรง เพราะรัฐสภาไม่ได้ทำหน้าที่คานอำนาจกับฝ่ายบริหารดังเจตนารมณ์ของ ปชต.เลยแม้แต่น้อย แต่กลับทำหน้าที่ “เสริมอำนาจ” ให้กับฝ่ายบริหารเสียอีก ด้วยการโหวตด้วยเสียงข้างมากให้พรรครัฐบาลอยู่ร่ำไป ไม่ว่าสิ่งที่รัฐบาลเสนอจะผิดหรือถูกก็ตาม ส่วนฝ่ายค้านก็ยกมือค้านตะบันราดในทุกญัตติเหมือนกัน..ก็บ้าบอพอกันทั้งคู่
ประเด็นนี้ร้ายแรงมากหากไม่เร่งแก้ไขอนาคตชาติไทยคงเหลวแน่ ส.ว.เป็นกลไกที่อาจช่วยได้ กล่าวคือ ส.ว.ต้องเป็นกลาง ต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง และต้องไม่มาจากการเลือกตั้งด้วย เพราะถ้ามาจากการเลือกตั้งก็จะสังกัดพรรคการเมืองโดยปริยาย (ดังที่เห็นเต็มสภาในวันนี้)
พอเสนอว่า ส.ว.ไม่มาจากการเลือกตั้ง หลายท่านจะค้านทันทีว่า “ไม่เป็นประชาธิปไตย” ... แต่ช้าก่อน ปชต.มีได้หลายทาง เช่น การเลือกตั้ง ถือเป็นทางตรง (ซึ่งอาจตรงดิ่งไปสู่นรกอย่างรวดเร็วก็เป็นได้นะ) และประชาธิปไตยแบบธรรมชาติ ที่ไม่ต้องมีการเลือกตั้งแบบสายตรง เพราะมีการคัดสรรกันอย่างดีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ซึ่งวิธีธรรมชาตินี้ส่วนใหญ่มันเที่ยงแท้แน่นอนกว่าวิธีตรงเสียอีก เพราะมันมีการคัดสรรหลายรอบหลายชั้นที่ใช้เวลายาวนาน (บางทีตลอดชีวิต) แต่การเลือกตั้งแบบทางตรงนั้นบางคนตรงแน่วมาจากรูไหนก็ไม่รู้ จู่ๆ ก็เข้ามาชุบมือ..เปิบกินบ้านกินเมืองกันได้ง่ายๆ ซะงั้น
ต้องมีวิธีที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเพื่อคัดสรร ส.ว.ที่เป็นกลางทางการเมือง มีความรู้รอบด้าน เข้ามาทำหน้าที่ วิธีที่ขอเสนอคือให้กำหนดตำแหน่ง ส.ว.โดยรัฐธรรมนูญ เช่น
1. ปลัดกระทรวงเกษียณอายุ ที่อายุไม่เกิน 65 ปี (พวกท่านเป็นผู้ทรงความรู้ทางราชการทุกด้าน จะช่วยให้ความเห็นดีๆ ได้มากในการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อบริหารประเทศ)
2. นายกฯ/ประธาน สมาคม/องค์กร ภาคประชาชน การค้า อุตสาหกรรม วิชาชีพที่สำคัญ
3. นักวิจารณ์สังคมภาคประชาชนที่โดดเด่น เป็นกลาง อิสระ 20 คน (คัดสรรโดยคณะตุลาการที่กำหนดโดย รธน. (ศาล รธน. ศาลปกครอง ศาลฎีกา) และราชบัณฑิต)
4. นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ สาธารณสุข
ส.ว. มีหน้าที่ตามที่ รธน.กำหนด รวมทั้ง 1) ให้ความเห็นชอบ รมต. ตามที่ นรม. เสนอชื่อ 2) ให้การโหวตไว้หรือไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามคำอภิปรายของ ส.ส. (ส.ส.ไม่มีสิทธิโหวต)
ข้อดีของวิธีนี้คือ 1) รมต.ยี้จะหมดไป เพราะนรม.จะส่งแต่คนเก่งดีขึ้นไปบริหารกระทรวงต่างๆ เพราะหากส่งชื่อไม่ดีขึ้นไปก็คงไม่ผ่านความเห็นชอบของ ส.ว. 2) รัฐบาลที่ดีจะมีเสถียรภาพสูงแม้เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย หรือเสียงข้างมากที่ไม่มากนัก เช่น ในวันนี้พรรคเพื่อไทยพรรคเดียวก็เป็นรัฐบาลได้ ไม่ต้องไปผสมกับพรรคอื่นเพื่อ “เสถียรภาพ” อีกต่อไป ทำให้มีเอกภาพมากในด้านนโยบายบริหารประเทศ
ระบบนี้จึงเป็นการคานอำนาจกันอย่างสร้างสรรค์ระหว่างการเลือกตั้งสายตรงและการเลือกตั้งระบบธรรมชาติ พ.ร.บ.ต่างๆ ที่ผ่านสภาล่างขึ้นไปก็จะได้รับการกลั่นกรองจากสภาสูงอย่างเป็นกลาง เพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติอย่างแท้จริง มิใช่เพียงเพราะ “นายสั่งมา”
ระบบนี้เป็น ปชต.เสียยิ่งกว่าระบบปัจจุบัน เพราะ ส.ว.ที่กำหนดโดยวิธีนี้กว่าที่เขาจะไต่เต้าเข้าไปเป็นหัวขององค์กรต่างๆ (หรือเป็นนักคิดนักเขียนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง) เขาก็ต้องได้รับการ “เลือกตั้ง” แบบไต่เต้า สะสมคะแนนการยอมรับมานาน จาก “ประชาชน” ในองค์กรนั้นๆ อยู่แล้ว (หรือประชาชนทั่วไปในกรณีของนักคิดนักเขียน) มันจึงเป็นประชาธิปไตยธรรมชาติที่แม่นแท้แน่นอนกว่า ปชต.ทางตรงเสียอีก เพราะปชต.ทางตรงของเรานั้นมันซื้อกันได้ด้วยเงินในเวลาสั้นๆ ดังที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้ว
เชื่อว่าข้อเสนอนี้คงมิอาจเป็นที่ยอมรับได้ของนักการเมืองส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เห็นแก่ประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ชาติ ส่วนนักการเมืองส่วนน้อยบางคนคงจะแอบเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้อยู่บ้างดอก (ถ้ามี..ขออวยพรให้ท่านได้เป็นใหญ่เป็นโตในภายภาคหน้าด้วยเทอญ)