ในทันทีที่มีกระแสข่าว นายจตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำคนสำคัญของ นปช.ไม่ได้รับการรับรองการเป็น ส.ส.จาก กกต.ในขณะที่แกนนำคนอื่นๆ เช่น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้รับการรับรองการเป็น ส.ส.เรียบร้อยไปแล้ว สัญญาการเคลื่อนไหวกดดัน กกต.เริ่มตั้งเค้าให้เห็นว่าจะมีการจัดกิจกรรมเรียกร้องเชิงกดดัน กกต.ให้รีบรับรองนายจตุพร พรหมพันธุ์
แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาที่ว่านี้อาจฝ่อก่อนที่จะมีการเริ่มต้น เมื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ได้ออกมาพูดในทำนองว่าควรปล่อยให้ กกต.ทำหน้าที่ไปอย่างอิสระ ปราศจากการกดดัน
แต่ในที่สุด กกต.ก็ได้รับรองการเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา ด้วยมติ 4 ต่อ 1 จริงอยู่การปล่อยให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ เข้าไปทำหน้าที่ ส.ส.ไปก่อน และดำเนินการตรวจสอบตามกระบวนการทางกฎหมายทีหลัง จะเรียกว่ารับรองแบบมีเงื่อนไขก็ได้ และการรับรองในทำนองนี้ถ้ามองให้ลึกลงไปก็คงหนีไม่พ้นถูกสังคมมองว่า กกต.ปล่อยเพื่อหนีการกดดันนั่นเอง
การที่คนเสื้อแดงออกมาแสดงพลังเรียกร้องให้ กกต.ให้การรับรองนายจตุพร พรหมพันธุ์ และ กกต.ได้ให้การรับรอง ไม่ว่าจะปล่อยแบบมีเงื่อนไขใด ส่วนหนึ่งถือได้ว่ามาจากการออกมาแสดงพลังเรียกร้องของแกนนำคนเสื้อแดง และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศด้วยเสียงท่วมท้น ในฝ่ายนิติบัญญัติจะถูกสังคมมองว่ากำลังถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของคนเสื้อแดง และจะประสบความยุ่งยากยิ่งขึ้นถ้าคนกลุ่มนี้มีการผลักดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมให้แก่กลุ่มตนเอง และพ่วงการนิรโทษกรรมให้อดีตนายกฯ ทักษิณเข้าไปด้วย
อะไรทำให้คาดการณ์ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ถ้ามีการทำเช่นนี้จริง อะไรจะเกิดขึ้นเป็นผลตามมา
เพื่อให้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น และนำไปสู่การหาคำตอบให้ตรงประเด็น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูที่มาของกลุ่มคนเสื้อแดง ก็พอจะอนุมานถึงสาเหตุแห่งการคาดการณ์ได้ดังต่อไปนี้
1. เมื่อประมาณปลายปี 2548 ได้เกิดขบวนการต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามกลุ่มคนเสื้อเหลือง
ต่อมาได้เกิดขบวนการของคนเสื้อแดงในนามขบวนการ นปช.ได้ดำเนินกิจกรรมทั้งทางสังคม และการเมืองเพื่อให้การสนับสนุนรัฐบาลของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเรื่อยมาจนถึงรัฐบาลของนายกฯ สมัคร สุนทรเวช และนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลจากของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นขั้วพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีในปลายปี 2551 ก็เปลี่ยนบทบาทจากการทำกิจกรรมสนับสนุนรัฐบาลมาเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในหลายๆ รูปแบบ ตั้งแต่ตั้งเวทีปราศรัยไปจนถึงออกมาโจมตี (ทางสื่อ) และในที่สุดได้มีการชุมนุมยืดเยื้อที่สี่แยกราชประสงค์ และมีการสลายการชุมนุมเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว และนอกจากทำกิจกรรมทางการเมืองแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงยังมีการจัดตั้งที่ค่อนข้างเป็นระบบเพื่อรองรับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในทางภาคเหนือ และภาคอีสาน
ด้วยเหตุนี้จึงพูดได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงมีความผูกพันกับพรรคเพื่อไทย อันเป็นพรรคที่สืบทอดทางการเมืองมาจากพรรคไทยรักไทยในยุคที่อดีตนายกฯ ทักษิณเป็นหัวหน้าพรรค และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่มีกิจกรรมต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสาย เนื่องจากมีความผูกพันกับกลุ่มทุนทางการเมืองชนิดแยกกันไม่ออก
2. การที่พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเข้ามาด้วยคะแนนเกินครึ่ง และได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีส่วนแห่งชัยชนะนี้ ตรงกันข้าม ถ้าว่ากันด้วยความเป็นธรรมแล้ว พลังของคนเสื้อแดงผนวกกับพลังเงินของกลุ่มทุนเป็นส่วนสำคัญในการทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้
ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงโดยเฉพาะแกนนำที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเข้ามาจะต้องได้รับสมมนาคุณจากพรรคเพื่อไทยด้วยการให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี หรือไม่ก็ให้ผลตอบแทนในรูปของตัวเงินในกรณีที่พรรคเพื่อไทยไม่อยากให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยเกรงจะเสียภาพลักษณ์ในสายตาของประชาชนที่ไม่ชอบพฤติกรรมของคนเสื้อแดง
3. ในการเป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการออกมากดดันรัฐบาลของมวลชนที่ไม่พอใจผลงานของรัฐบาล หรือมวลชนที่ถูกจัดตั้งมาจากฝ่ายการเมืองตรงกันข้าม
ดังนั้นพรรคเพื่อไทยคงต้องพึ่งมวลชนคนเสื้อแดงในลักษณะม็อบคานอำนาจกับม็อบ และการดำเนินงานในทำนองนี้อาจถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทยด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพรรคเพื่อไทยที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์กับแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงไว้
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการดังกล่าวข้างต้น พรรคเพื่อไทยในฐานะเป็นรัฐบาลที่มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบของบ้านเมืองไปพร้อมกับปกป้องรักษาสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อาจต้องพบกับความหนักใจในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนเสื้อแดงมิให้มีส่วนในการก่อความไม่สงบ และละเว้นจากพฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะที่หมิ่นเหม่ต่อการเข้าข่ายที่เรียกได้ว่าจาบจ้วงสถาบันดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และกลายเป็นเหตุอ้างประการหนึ่งในการโค่นล้มรัฐบาลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 ก.ย. 2549
แต่อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้อาจเบาใจกว่าในอดีตเมื่อเห็นท่วงทำนองของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีลักษณะอ่อนโยน และรอบคอบในการแสดงออกทางคำพูด ก็จะอนุมานได้ว่ามีส่วนช่วยให้พฤติกรรมส่อความรุนแรงที่คาดว่าจะเกิดจากกลุ่มคนเสื้อแดงสงบลงได้ในระดับหนึ่ง ประกอบกับบทเรียนทางการเมืองที่ได้รับในระยะเวลาที่ผ่านมา ก็คงจะทำให้ทุกฝ่ายมีความอดทน อดกลั้น และสงบปากสงบคำมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม
แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาที่ว่านี้อาจฝ่อก่อนที่จะมีการเริ่มต้น เมื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ได้ออกมาพูดในทำนองว่าควรปล่อยให้ กกต.ทำหน้าที่ไปอย่างอิสระ ปราศจากการกดดัน
แต่ในที่สุด กกต.ก็ได้รับรองการเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา ด้วยมติ 4 ต่อ 1 จริงอยู่การปล่อยให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ เข้าไปทำหน้าที่ ส.ส.ไปก่อน และดำเนินการตรวจสอบตามกระบวนการทางกฎหมายทีหลัง จะเรียกว่ารับรองแบบมีเงื่อนไขก็ได้ และการรับรองในทำนองนี้ถ้ามองให้ลึกลงไปก็คงหนีไม่พ้นถูกสังคมมองว่า กกต.ปล่อยเพื่อหนีการกดดันนั่นเอง
การที่คนเสื้อแดงออกมาแสดงพลังเรียกร้องให้ กกต.ให้การรับรองนายจตุพร พรหมพันธุ์ และ กกต.ได้ให้การรับรอง ไม่ว่าจะปล่อยแบบมีเงื่อนไขใด ส่วนหนึ่งถือได้ว่ามาจากการออกมาแสดงพลังเรียกร้องของแกนนำคนเสื้อแดง และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศด้วยเสียงท่วมท้น ในฝ่ายนิติบัญญัติจะถูกสังคมมองว่ากำลังถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของคนเสื้อแดง และจะประสบความยุ่งยากยิ่งขึ้นถ้าคนกลุ่มนี้มีการผลักดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมให้แก่กลุ่มตนเอง และพ่วงการนิรโทษกรรมให้อดีตนายกฯ ทักษิณเข้าไปด้วย
อะไรทำให้คาดการณ์ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ถ้ามีการทำเช่นนี้จริง อะไรจะเกิดขึ้นเป็นผลตามมา
เพื่อให้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น และนำไปสู่การหาคำตอบให้ตรงประเด็น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูที่มาของกลุ่มคนเสื้อแดง ก็พอจะอนุมานถึงสาเหตุแห่งการคาดการณ์ได้ดังต่อไปนี้
1. เมื่อประมาณปลายปี 2548 ได้เกิดขบวนการต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามกลุ่มคนเสื้อเหลือง
ต่อมาได้เกิดขบวนการของคนเสื้อแดงในนามขบวนการ นปช.ได้ดำเนินกิจกรรมทั้งทางสังคม และการเมืองเพื่อให้การสนับสนุนรัฐบาลของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเรื่อยมาจนถึงรัฐบาลของนายกฯ สมัคร สุนทรเวช และนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลจากของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นขั้วพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีในปลายปี 2551 ก็เปลี่ยนบทบาทจากการทำกิจกรรมสนับสนุนรัฐบาลมาเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในหลายๆ รูปแบบ ตั้งแต่ตั้งเวทีปราศรัยไปจนถึงออกมาโจมตี (ทางสื่อ) และในที่สุดได้มีการชุมนุมยืดเยื้อที่สี่แยกราชประสงค์ และมีการสลายการชุมนุมเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว และนอกจากทำกิจกรรมทางการเมืองแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงยังมีการจัดตั้งที่ค่อนข้างเป็นระบบเพื่อรองรับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในทางภาคเหนือ และภาคอีสาน
ด้วยเหตุนี้จึงพูดได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงมีความผูกพันกับพรรคเพื่อไทย อันเป็นพรรคที่สืบทอดทางการเมืองมาจากพรรคไทยรักไทยในยุคที่อดีตนายกฯ ทักษิณเป็นหัวหน้าพรรค และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่มีกิจกรรมต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสาย เนื่องจากมีความผูกพันกับกลุ่มทุนทางการเมืองชนิดแยกกันไม่ออก
2. การที่พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเข้ามาด้วยคะแนนเกินครึ่ง และได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีส่วนแห่งชัยชนะนี้ ตรงกันข้าม ถ้าว่ากันด้วยความเป็นธรรมแล้ว พลังของคนเสื้อแดงผนวกกับพลังเงินของกลุ่มทุนเป็นส่วนสำคัญในการทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้
ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงโดยเฉพาะแกนนำที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเข้ามาจะต้องได้รับสมมนาคุณจากพรรคเพื่อไทยด้วยการให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี หรือไม่ก็ให้ผลตอบแทนในรูปของตัวเงินในกรณีที่พรรคเพื่อไทยไม่อยากให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยเกรงจะเสียภาพลักษณ์ในสายตาของประชาชนที่ไม่ชอบพฤติกรรมของคนเสื้อแดง
3. ในการเป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการออกมากดดันรัฐบาลของมวลชนที่ไม่พอใจผลงานของรัฐบาล หรือมวลชนที่ถูกจัดตั้งมาจากฝ่ายการเมืองตรงกันข้าม
ดังนั้นพรรคเพื่อไทยคงต้องพึ่งมวลชนคนเสื้อแดงในลักษณะม็อบคานอำนาจกับม็อบ และการดำเนินงานในทำนองนี้อาจถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทยด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพรรคเพื่อไทยที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์กับแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงไว้
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการดังกล่าวข้างต้น พรรคเพื่อไทยในฐานะเป็นรัฐบาลที่มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบของบ้านเมืองไปพร้อมกับปกป้องรักษาสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อาจต้องพบกับความหนักใจในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนเสื้อแดงมิให้มีส่วนในการก่อความไม่สงบ และละเว้นจากพฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะที่หมิ่นเหม่ต่อการเข้าข่ายที่เรียกได้ว่าจาบจ้วงสถาบันดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และกลายเป็นเหตุอ้างประการหนึ่งในการโค่นล้มรัฐบาลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 ก.ย. 2549
แต่อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้อาจเบาใจกว่าในอดีตเมื่อเห็นท่วงทำนองของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีลักษณะอ่อนโยน และรอบคอบในการแสดงออกทางคำพูด ก็จะอนุมานได้ว่ามีส่วนช่วยให้พฤติกรรมส่อความรุนแรงที่คาดว่าจะเกิดจากกลุ่มคนเสื้อแดงสงบลงได้ในระดับหนึ่ง ประกอบกับบทเรียนทางการเมืองที่ได้รับในระยะเวลาที่ผ่านมา ก็คงจะทำให้ทุกฝ่ายมีความอดทน อดกลั้น และสงบปากสงบคำมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม