เมื่อหลายสิบปีก่อน มีเรื่องโด่งดังมากเรื่องหนึ่งคือ มี ส.ส.3 คนฟ้องจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งทำการปฏิวัติ ส.ส.3 คนนั้นมีความกล้าหาญมาก เพราะในยุคนั้นไม่มีใครกล้าออกมาคัดค้านต่อต้านเลย นักการเมืองพากันหลบหลีกซ่อนตัวหมด ส.ส.3 คนนั้นคือ อุทัย พิมพ์ใจชน บุญเกิด หิรัญคำ และอนันต์ ภักดิ์ประไพ ผลปรากฏว่าแทนที่จะระคายเคืองหัวหน้าคณะปฏิวัติ สามคนนี้กลับถูกจับไปติดคุกแทน ในสมัยนั้นเป็นเรื่องฮือฮามาก เพราะทหารทำปฏิวัติรัฐประหารง่ายๆ สบาย ปราศจากคนคัดค้านต่อต้าน
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ประชาชนโดยทั่วไปก็ยังมีความรู้สึกว่าตัวไม่มีความเกี่ยวข้องผูกพันกับกิจกรรมที่นักการเมืองทำ การเมืองเป็นเรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ ที่แก่งแย่งผลประโยชน์กันเอง ถึงจะมีรัฐประหารหรือไม่มีก็ไม่ใช่เรื่อง และในสมัยก่อน โลกเรายังไม่เหมือนยุคนี้ ต่างประเทศก็ไม่ให้ความสนใจ
แต่ที่น่ายกย่องและชื่นชมก็คือ ความกล้าหาญของคนสมัยก่อน ที่อาจหาญฟ้องคณะปฏิวัติ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเขาจะต้องจับกุมคุมขังแน่นอน แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ แต่ก็ไม่มีใครแคร์ที่จะออกมาแสดงความคิดเห็น บรรยากาศทางการเมืองในสมัยนั้นน่ากลัวกว่าในสมัยนี้มาก เพราะเพิ่งพ้นยุคจับนักการเมืองไปถ่วงน้ำ ไปยิงทิ้ง
ผมแปลกใจที่ยุคนี้คนนิยมออกมาประท้วงการปฏิวัติรัฐประหาร หลังจากที่มีการรัฐประหารไปแล้วเป็นเวลานาน นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองประเภทบันเทิงที่ไม่มีความเสี่ยง สำหรับนักวิชาการเช่นกัน ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การออกมาปฏิเสธการรัฐประหาร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดซึ่งนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพในหลายประเทศทำกัน ก็คือ จังหวะเวลา ของการเคลื่อนไหว จะมีประโยชน์หรือมีผลอะไรเมื่อเกิดรัฐประหารไปแล้ว 4-5 ปี จึงมีผู้ออกมาคัดค้าน เหตุไฉนคนเหล่านี้จึงมุดหัวเงียบหายอยู่เมื่อเกิดรัฐประหารห้าปีที่แล้ว การแสดงออกซึ่งเสรีภาพ มีความหมายก็ต่อเมื่อคนกำลังถูกจำกัดเสรีภาพอย่างมาก แต่ในยามที่มีการเปิดเสรีเช่นนี้ การต่อต้านสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ก็คือ การออกมาประณาม “ผี” นั่นเอง โดยไม่ต้องเกรงกลัวภยันตรายอะไร
เมื่อเรียนอยู่ชั้นปี 1 คณะรัฐศาสตร์ สิ่งที่เราเรียนรู้ก็คืออำนาจของรัฐที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งไม่ใช่อำนาจที่ถือว่า ถูกต้องชอบธรรม ตามหลักปรัชญาการเมือง ในทางรัฐศาสตร์แล้วอำนาจที่ชอบธรรมคือ อำนาจที่ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย แต่อำนาจที่มาจากการปฏิวัติไม่ใช่ มีเงื่อนไขอย่างเดียวว่าผู้ทำการปฏิวัติรัฐประหารสามารถควบคุมสถานการณ์ได้จริงหรือเปล่า หากสามารถควบคุมได้ ก็เท่ากับว่ามีอำนาจรัฐ การกระทำของผู้มีอำนาจรัฐออกมาในรูปของกฎหมาย แม้จะไม่ผ่านกระบวนการทางรัฐสภา เช่น ประกาศคณะปฏิวัติฉบับต่างๆ ก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย แม้เราจะเถียงในแง่ปรัชญาการเมืองก็ตามว่า อำนาจนั้นไม่ชอบธรรม แต่ อำนาจนั้นก็ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุที่ต้องถือเช่นนี้ก็เพราะการบริหารประเทศหลังภาวการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร ก็จำจะต้องดำเนินไป
มีข้อน่าสังเกตว่า อะไรบ้างที่คณะปฏิวัติออกมา เราสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ประเภทที่เป็นกฎหมายคำสั่ง โดยทั่วไปไม่มีอะไรแตกต่างไปจากกฎหมายอื่นๆ จะต่างกันก็ตรงที่มาคือผู้ออกกฎหมาย และกระบวนการออกกฎหมายเท่านั้น อีกประเภทหนึ่งก็คือ กฎหมายหรือคำสั่งใดๆ ที่ออกมาแล้วเน้นการขัดกับรัฐธรรมนูญ คือ กระทบต่อเสรีภาพของประชาชน กฎหมายหรือคำสั่งประเภทนี้ คณะปฏิวัติมักจะให้ใช้อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แล้วยกเลิกไป เช่น คำสั่งห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นต้น
การถกเถียงทางวิชาการในเรื่องนี้ควรลงลึกว่า เรากำลังพูดถึงผลของการกระทำประเภทไหน แต่สิ่งที่เกิดใหม่ในสมัยนี้ก็คือ การใช้อำนาจคณะปฏิวัติเพื่อจัดการกับ กรณีคอร์รัปชัน หรือกับการใช้อำนาจรัฐเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว จะเรียกได้ว่าต่อผู้ปกครองที่เคยเอาอำนาจรัฐให้กลายเป็นของส่วนตัวไปก็ได้
เราควรแยกประเภทว่า ผลของคณะปฏิวัติเรื่องใดที่กระทบต่อประชาชนโดยทั่วไป เช่น กระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และไม่ควรให้มีอยู่ต่อไป เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับการชุมนุม เป็นต้น หรือการจับกุมคุมขังผู้ที่ทำการเคลื่อนไหวต่อต้านคณะปฏิวัติ
แต่มาตรการและคำสั่งที่ออกมาเพื่อจัดการกับอาชญากรรมทางการเมืองเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ข้อเรียกร้องของนักนิติศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้เหวี่ยงแห ครอบคลุมจนเกินไปไม่ได้แยกแยะหรือจะให้เข้าใจว่านี่คือ “การรัฐประหารอีกรูปแบบหนึ่งที่แฝงมาในข้อเสนอทางวิชาการ” เพื่อยกเลิกความผิดทางอาชญากรรมการเมืองที่ถูกก่อขึ้น
ผมเห็นว่าการออกมาคัดค้านต่อต้านการรัฐประหารนั้น ถ้าจะทำก็ขอให้ออกมาต้านตอนมีรัฐประหาร อย่าออกมาภายหลังที่มันเกิดขึ้นแล้วหลายปี มันเป็นเรื่องที่ anti-climax นะครับ สิ่งที่เราควรสนใจก็คือ เราจะป้องกันไม่ให้เกิดสภาพการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดรัฐประหารได้อย่างไร เช่น ทำอย่างไรจึงจะป้องกันคอร์รัปชันได้ ผมไม่เคยได้ยินนักนิติศาสตร์รุ่นหลังๆ ออกมาต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นขบวนการเลย หรือแม้แต่ทำหน้าที่วิชาชีพ คือ ทำการวิจัยว่าอะไรคือสาเหตุแห่งการคอร์รัปชัน และจะมีมาตรการทั้งทางกฎหมาย และเชิงสถาบันอื่นๆ ในการแก้ไขอย่างไร
ความแน่แท้หรือ “ของจริง” ทางวิชาการนั้น อยู่ที่การมีความรู้จากการศึกษาวิจัยอย่างรู้จริง และทำหน้าที่ของนักวิชาการในการแก้ปัญหาของชาติ จะดีกว่า และเด่นดังกว่า การเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ที่ขาดความลุ่มลึกในทางวิชาการ
ผมรอติดตามข่าวอยู่ว่าเรื่องนี้จะมีอะไรมากไปกว่าการแสดงโวหาร และมีขบวนการชื่อใหม่ๆ เก๋ๆ บ้างหรือไม่ แต่ก็ผิดหวังครับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองควรจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การแสดงออกของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะเวลานี้คนร้านกาแฟกับคนขับแท็กซี่ กับอาจารย์มหาวิทยาลัยพูดแล้ว บางทีแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ประชาชนโดยทั่วไปก็ยังมีความรู้สึกว่าตัวไม่มีความเกี่ยวข้องผูกพันกับกิจกรรมที่นักการเมืองทำ การเมืองเป็นเรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ ที่แก่งแย่งผลประโยชน์กันเอง ถึงจะมีรัฐประหารหรือไม่มีก็ไม่ใช่เรื่อง และในสมัยก่อน โลกเรายังไม่เหมือนยุคนี้ ต่างประเทศก็ไม่ให้ความสนใจ
แต่ที่น่ายกย่องและชื่นชมก็คือ ความกล้าหาญของคนสมัยก่อน ที่อาจหาญฟ้องคณะปฏิวัติ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเขาจะต้องจับกุมคุมขังแน่นอน แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ แต่ก็ไม่มีใครแคร์ที่จะออกมาแสดงความคิดเห็น บรรยากาศทางการเมืองในสมัยนั้นน่ากลัวกว่าในสมัยนี้มาก เพราะเพิ่งพ้นยุคจับนักการเมืองไปถ่วงน้ำ ไปยิงทิ้ง
ผมแปลกใจที่ยุคนี้คนนิยมออกมาประท้วงการปฏิวัติรัฐประหาร หลังจากที่มีการรัฐประหารไปแล้วเป็นเวลานาน นับว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองประเภทบันเทิงที่ไม่มีความเสี่ยง สำหรับนักวิชาการเช่นกัน ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การออกมาปฏิเสธการรัฐประหาร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดซึ่งนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพในหลายประเทศทำกัน ก็คือ จังหวะเวลา ของการเคลื่อนไหว จะมีประโยชน์หรือมีผลอะไรเมื่อเกิดรัฐประหารไปแล้ว 4-5 ปี จึงมีผู้ออกมาคัดค้าน เหตุไฉนคนเหล่านี้จึงมุดหัวเงียบหายอยู่เมื่อเกิดรัฐประหารห้าปีที่แล้ว การแสดงออกซึ่งเสรีภาพ มีความหมายก็ต่อเมื่อคนกำลังถูกจำกัดเสรีภาพอย่างมาก แต่ในยามที่มีการเปิดเสรีเช่นนี้ การต่อต้านสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ก็คือ การออกมาประณาม “ผี” นั่นเอง โดยไม่ต้องเกรงกลัวภยันตรายอะไร
เมื่อเรียนอยู่ชั้นปี 1 คณะรัฐศาสตร์ สิ่งที่เราเรียนรู้ก็คืออำนาจของรัฐที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งไม่ใช่อำนาจที่ถือว่า ถูกต้องชอบธรรม ตามหลักปรัชญาการเมือง ในทางรัฐศาสตร์แล้วอำนาจที่ชอบธรรมคือ อำนาจที่ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย แต่อำนาจที่มาจากการปฏิวัติไม่ใช่ มีเงื่อนไขอย่างเดียวว่าผู้ทำการปฏิวัติรัฐประหารสามารถควบคุมสถานการณ์ได้จริงหรือเปล่า หากสามารถควบคุมได้ ก็เท่ากับว่ามีอำนาจรัฐ การกระทำของผู้มีอำนาจรัฐออกมาในรูปของกฎหมาย แม้จะไม่ผ่านกระบวนการทางรัฐสภา เช่น ประกาศคณะปฏิวัติฉบับต่างๆ ก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย แม้เราจะเถียงในแง่ปรัชญาการเมืองก็ตามว่า อำนาจนั้นไม่ชอบธรรม แต่ อำนาจนั้นก็ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุที่ต้องถือเช่นนี้ก็เพราะการบริหารประเทศหลังภาวการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร ก็จำจะต้องดำเนินไป
มีข้อน่าสังเกตว่า อะไรบ้างที่คณะปฏิวัติออกมา เราสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ประเภทที่เป็นกฎหมายคำสั่ง โดยทั่วไปไม่มีอะไรแตกต่างไปจากกฎหมายอื่นๆ จะต่างกันก็ตรงที่มาคือผู้ออกกฎหมาย และกระบวนการออกกฎหมายเท่านั้น อีกประเภทหนึ่งก็คือ กฎหมายหรือคำสั่งใดๆ ที่ออกมาแล้วเน้นการขัดกับรัฐธรรมนูญ คือ กระทบต่อเสรีภาพของประชาชน กฎหมายหรือคำสั่งประเภทนี้ คณะปฏิวัติมักจะให้ใช้อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แล้วยกเลิกไป เช่น คำสั่งห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ เป็นต้น
การถกเถียงทางวิชาการในเรื่องนี้ควรลงลึกว่า เรากำลังพูดถึงผลของการกระทำประเภทไหน แต่สิ่งที่เกิดใหม่ในสมัยนี้ก็คือ การใช้อำนาจคณะปฏิวัติเพื่อจัดการกับ กรณีคอร์รัปชัน หรือกับการใช้อำนาจรัฐเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว จะเรียกได้ว่าต่อผู้ปกครองที่เคยเอาอำนาจรัฐให้กลายเป็นของส่วนตัวไปก็ได้
เราควรแยกประเภทว่า ผลของคณะปฏิวัติเรื่องใดที่กระทบต่อประชาชนโดยทั่วไป เช่น กระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และไม่ควรให้มีอยู่ต่อไป เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับการชุมนุม เป็นต้น หรือการจับกุมคุมขังผู้ที่ทำการเคลื่อนไหวต่อต้านคณะปฏิวัติ
แต่มาตรการและคำสั่งที่ออกมาเพื่อจัดการกับอาชญากรรมทางการเมืองเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ข้อเรียกร้องของนักนิติศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้เหวี่ยงแห ครอบคลุมจนเกินไปไม่ได้แยกแยะหรือจะให้เข้าใจว่านี่คือ “การรัฐประหารอีกรูปแบบหนึ่งที่แฝงมาในข้อเสนอทางวิชาการ” เพื่อยกเลิกความผิดทางอาชญากรรมการเมืองที่ถูกก่อขึ้น
ผมเห็นว่าการออกมาคัดค้านต่อต้านการรัฐประหารนั้น ถ้าจะทำก็ขอให้ออกมาต้านตอนมีรัฐประหาร อย่าออกมาภายหลังที่มันเกิดขึ้นแล้วหลายปี มันเป็นเรื่องที่ anti-climax นะครับ สิ่งที่เราควรสนใจก็คือ เราจะป้องกันไม่ให้เกิดสภาพการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดรัฐประหารได้อย่างไร เช่น ทำอย่างไรจึงจะป้องกันคอร์รัปชันได้ ผมไม่เคยได้ยินนักนิติศาสตร์รุ่นหลังๆ ออกมาต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นขบวนการเลย หรือแม้แต่ทำหน้าที่วิชาชีพ คือ ทำการวิจัยว่าอะไรคือสาเหตุแห่งการคอร์รัปชัน และจะมีมาตรการทั้งทางกฎหมาย และเชิงสถาบันอื่นๆ ในการแก้ไขอย่างไร
ความแน่แท้หรือ “ของจริง” ทางวิชาการนั้น อยู่ที่การมีความรู้จากการศึกษาวิจัยอย่างรู้จริง และทำหน้าที่ของนักวิชาการในการแก้ปัญหาของชาติ จะดีกว่า และเด่นดังกว่า การเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ที่ขาดความลุ่มลึกในทางวิชาการ
ผมรอติดตามข่าวอยู่ว่าเรื่องนี้จะมีอะไรมากไปกว่าการแสดงโวหาร และมีขบวนการชื่อใหม่ๆ เก๋ๆ บ้างหรือไม่ แต่ก็ผิดหวังครับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองควรจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การแสดงออกของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะเวลานี้คนร้านกาแฟกับคนขับแท็กซี่ กับอาจารย์มหาวิทยาลัยพูดแล้ว บางทีแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร