จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในตอนนี้ทำให้เราตื่นตัวและเล็งเห็นว่าภัยธรรมชาติเริ่มมาใกล้ตัวของเราขึ้นทุกที ซึ่งเราหลายๆคนต่างทราบกันดีอยู่เเล้วว่าปัญหาเรื่องน้ำไม่ใช่ปัญหาใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ว่ากี่สมัยที่ผ่านมาได้พยายามเเก้ปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาทางด้านการบริหารจัดการน้ำนับวันเริ่มจะมีความรุนเเรงขึ้น เนื่องจากการจัดการน้ำที่ขาดความเป็นเอกภาพของหน่วยงานต่างๆ
ดร.อังสนา โตกิจกล้า นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยเเห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องน้ำที่เกิดขึ้นกับประเทศของเรา คือ การกักเก็บน้ำเพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้ส่งผลกระทบในเรื่องของปัญหา ภัยเเล้ง ปัญหาอุทกภัย เป็นต้น จากการสำรวจปริมาณน้ำฝนของกรมชลประทานที่ผ่านมา เรากักเก็บน้ำได้เพียงเเค่ 10% ของปริมาณฝนที่ตก อีกจำนวน 90% ไหลลงทะเล และซึมลงใต้ดิน จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถกักเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้
จากปัญหาดังกล่าวทาง วช. จึงได้มีพันธกิจในการรวบรวมผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงปี 2546-2551 มีการประชุมคณะรัฐมนตรี 347 ครั้ง และมีจำนวนวาระที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด 573 วาระ ซึ่งเเต่ละปีงบประมาณถูกจัดสรรเพื่อการจัดการน้ำและระบบชลประทานประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท และมีเเนวโน้มที่จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20%ของทุกปี นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเเห่งชาติฉบับที่ 9 และ 10 ได้กำหนดเเนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน เช่น มีการบริหารจัดการกลุ่มน้ำอย่างบูรณาการ 25 ลุ่มน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่า 8 แสนไร่ พัฒนาระบบโครงข่ายเชื่อมโยงแหล่งน้ำและองค์กรชุมชน เพิ่มบทบาทชุมชนในการอนุรักษ์ป้องกันเเละฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้มีการสร้างเขื่อนกระจายอยู่ทั่วประเทศ (ปัจจุบันมีเขื่อจำนวนทั้งสิ้น 682 เขื่อน) องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำได้มีการจัดทำแผนเเม่บทต่างๆการจัดทำ พ.ร.บ น้ำหรือการบริหารจัดการน้ำของชาติแต่ดูเหมือนว่าแผนเหล่านั้นเป็นแผนการจัดการน้ำเฉพาะหน้า ทำให้ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากน้ำได้
จากที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำของหน่วยงานต่างๆ พบว่า มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำงานวิจัยในช่วงระหว่างปี 2546-2551 รวมทั้งสิ้น 107 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 22 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยต่างๆจำนวน 66 หน่วยงาน ที่เหลือเป็นสถาบัน องค์การ เครือข่ายกลุ่มต่างๆ และนักวิจัยอิสระรวมจำนวน 19 หน่วยงาน โดยหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำมากที่สุด คือ กรมชลประทานและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดเป็น12.72% และ 12.59% ของโครงการวิจัยทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการวิจัยด้านคุณภาพน้ำ คิดเป็น 33.75% ของโครงการวิจัยทั้งหมด
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยเเห่งชาติ (วช.) จึงได้มีเร่งส่งเสริมพัฒนา รวมถึงการบูรณาการการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับด้านการจัดการน้ำในทิศทางที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ในภาพรวม และแนวทางในการทำวิจัยเรื่องน้ำและสามารถวางเเผนการวิจัยเพื่อตอบประเด็นปัญหาที่ยังไม่มีการเเก้ไขหรือเพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สุดท้ายนี้ดร.อังสนา ยังได้ฝากแง่คิดให้เเก่ นักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วยว่าในการทำวิจัยที่ดีและมีคุณภาพควรทำงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศชาติ และเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเเละนำมาใช้ในการเเก้ปัญหาได้จริงหรือเพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด .
ดร.อังสนา โตกิจกล้า นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยเเห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องน้ำที่เกิดขึ้นกับประเทศของเรา คือ การกักเก็บน้ำเพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้ส่งผลกระทบในเรื่องของปัญหา ภัยเเล้ง ปัญหาอุทกภัย เป็นต้น จากการสำรวจปริมาณน้ำฝนของกรมชลประทานที่ผ่านมา เรากักเก็บน้ำได้เพียงเเค่ 10% ของปริมาณฝนที่ตก อีกจำนวน 90% ไหลลงทะเล และซึมลงใต้ดิน จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถกักเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้
จากปัญหาดังกล่าวทาง วช. จึงได้มีพันธกิจในการรวบรวมผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงปี 2546-2551 มีการประชุมคณะรัฐมนตรี 347 ครั้ง และมีจำนวนวาระที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด 573 วาระ ซึ่งเเต่ละปีงบประมาณถูกจัดสรรเพื่อการจัดการน้ำและระบบชลประทานประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท และมีเเนวโน้มที่จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20%ของทุกปี นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเเห่งชาติฉบับที่ 9 และ 10 ได้กำหนดเเนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน เช่น มีการบริหารจัดการกลุ่มน้ำอย่างบูรณาการ 25 ลุ่มน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่า 8 แสนไร่ พัฒนาระบบโครงข่ายเชื่อมโยงแหล่งน้ำและองค์กรชุมชน เพิ่มบทบาทชุมชนในการอนุรักษ์ป้องกันเเละฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้มีการสร้างเขื่อนกระจายอยู่ทั่วประเทศ (ปัจจุบันมีเขื่อจำนวนทั้งสิ้น 682 เขื่อน) องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำได้มีการจัดทำแผนเเม่บทต่างๆการจัดทำ พ.ร.บ น้ำหรือการบริหารจัดการน้ำของชาติแต่ดูเหมือนว่าแผนเหล่านั้นเป็นแผนการจัดการน้ำเฉพาะหน้า ทำให้ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากน้ำได้
จากที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำของหน่วยงานต่างๆ พบว่า มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำงานวิจัยในช่วงระหว่างปี 2546-2551 รวมทั้งสิ้น 107 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 22 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยต่างๆจำนวน 66 หน่วยงาน ที่เหลือเป็นสถาบัน องค์การ เครือข่ายกลุ่มต่างๆ และนักวิจัยอิสระรวมจำนวน 19 หน่วยงาน โดยหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำมากที่สุด คือ กรมชลประทานและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดเป็น12.72% และ 12.59% ของโครงการวิจัยทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการวิจัยด้านคุณภาพน้ำ คิดเป็น 33.75% ของโครงการวิจัยทั้งหมด
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยเเห่งชาติ (วช.) จึงได้มีเร่งส่งเสริมพัฒนา รวมถึงการบูรณาการการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับด้านการจัดการน้ำในทิศทางที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ในภาพรวม และแนวทางในการทำวิจัยเรื่องน้ำและสามารถวางเเผนการวิจัยเพื่อตอบประเด็นปัญหาที่ยังไม่มีการเเก้ไขหรือเพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สุดท้ายนี้ดร.อังสนา ยังได้ฝากแง่คิดให้เเก่ นักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วยว่าในการทำวิจัยที่ดีและมีคุณภาพควรทำงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศชาติ และเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเเละนำมาใช้ในการเเก้ปัญหาได้จริงหรือเพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด .