กาญจนบุรี - รอง ผวจ.กาญจนบุรี ลงพื้นที่ตรวจปริมาณน้ำจาก 2 เขื่อนใหญ่ “เขื่อนศรีนครินทร์-เขื่อนวชิราลงกรณ” เผย ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (26 ก.ย.) นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และสอบถามข้อมูลเพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ในลุ่มน้ำแม่กลอง โดยมี นายชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์ หัวหน้ากองบำรุงรักษาโยธา เขื่อนศรีนครินทร์ ให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2554)
ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์ หัวหน้ากองบำรุงรักษาโยธา เขื่อนศรีนครินทร์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันน้ำที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณ 15,449.78 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 2,295 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ 174.29 เมตร รทก.คิดเป็น 87% สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ์ ปริมาณน้ำปัจจุบัน (26 กันยายน 2554) มีปริมาณ 7,267 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรองรับน้ำได้อีก 1,593 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ 150.68 เมตร รทก.คิดเป็น 82.06%
สำหรับแผนการระบายน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองนั้น มีคณะกรรมการลุ่มน้ำแม่กลองร่วมกันพิจารณากำหนดการระบายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนทั้ง 2 เขื่อน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี, กาญจนบุรี และสมุทรสงคราม รวมทั้งตัวแทนภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัด พร้อมทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาคและนครหลวง ร่วมกันพิจารณา
โดยการพิจารณาจะให้ความสำคัญเรื่องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรก่อนจึงจะพิจารณาเรื่องการท่องเที่ยว การคมนาคม และการใช้น้ำเพื่อระบบประปานครหลวง ทั้งนี้ ในการระบายน้ำคณะกรรมการลุ่มน้ำฯจะต้องต้องมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำไม่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้ประชาชนท้ายน้ำ ไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากทั้งสองเขื่อนยังสามารถรองรับได้อีกมาก
ด้าน นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวภายหลังว่า ในการวางแผนการจัดการน้ำต้องพิจารณาทั้งปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำของทั้ง 2 เขื่อนใหญ่ รวมทั้ง น้ำที่อยู่ในลุ่มน้ำบริเวณท้ายเขื่อนของทั้ง 2 เขื่อนด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีการตรวจสอบแล้วก็ยังไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี สำหรับน้ำจากภาคเหนือที่มีปริมาณมากในขณะนี้ ไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง เนื่องจากปริมาณน้ำดังกล่าวเป็นน้ำที่ไหลลงสู่ลุ่มน้ำท่าจีน ทั้งนี้ คณะทำงานศูนย์สภาวะวิกฤตของ จ.กาญจนบุรี จะเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของปริมาณน้ำอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งมีการประสานงานการวางแผนการจัดการน้ำเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (26 ก.ย.) นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ และสอบถามข้อมูลเพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ในลุ่มน้ำแม่กลอง โดยมี นายชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์ หัวหน้ากองบำรุงรักษาโยธา เขื่อนศรีนครินทร์ ให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2554)
ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ มานะพันธุ์พงศ์ หัวหน้ากองบำรุงรักษาโยธา เขื่อนศรีนครินทร์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันน้ำที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณ 15,449.78 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 2,295 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ 174.29 เมตร รทก.คิดเป็น 87% สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ์ ปริมาณน้ำปัจจุบัน (26 กันยายน 2554) มีปริมาณ 7,267 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรองรับน้ำได้อีก 1,593 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ 150.68 เมตร รทก.คิดเป็น 82.06%
สำหรับแผนการระบายน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองนั้น มีคณะกรรมการลุ่มน้ำแม่กลองร่วมกันพิจารณากำหนดการระบายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนทั้ง 2 เขื่อน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี, กาญจนบุรี และสมุทรสงคราม รวมทั้งตัวแทนภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัด พร้อมทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาคและนครหลวง ร่วมกันพิจารณา
โดยการพิจารณาจะให้ความสำคัญเรื่องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรก่อนจึงจะพิจารณาเรื่องการท่องเที่ยว การคมนาคม และการใช้น้ำเพื่อระบบประปานครหลวง ทั้งนี้ ในการระบายน้ำคณะกรรมการลุ่มน้ำฯจะต้องต้องมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำไม่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้ประชาชนท้ายน้ำ ไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากทั้งสองเขื่อนยังสามารถรองรับได้อีกมาก
ด้าน นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวภายหลังว่า ในการวางแผนการจัดการน้ำต้องพิจารณาทั้งปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำของทั้ง 2 เขื่อนใหญ่ รวมทั้ง น้ำที่อยู่ในลุ่มน้ำบริเวณท้ายเขื่อนของทั้ง 2 เขื่อนด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีการตรวจสอบแล้วก็ยังไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี สำหรับน้ำจากภาคเหนือที่มีปริมาณมากในขณะนี้ ไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง เนื่องจากปริมาณน้ำดังกล่าวเป็นน้ำที่ไหลลงสู่ลุ่มน้ำท่าจีน ทั้งนี้ คณะทำงานศูนย์สภาวะวิกฤตของ จ.กาญจนบุรี จะเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของปริมาณน้ำอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งมีการประสานงานการวางแผนการจัดการน้ำเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน