กาญจนบุรี - 2 เขื่อนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี “ศรีนครินทร์-วชิราลงกรณ” ยืนยันยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก
วันนี้ (22 ก.ย.) นายวนิช แสงสุวรรณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์-บริหาร เปิดเผยว่า จากกรณีที่ปัจจุบันเริ่มมีปริมาณฝนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2554) น้ำที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณ 15,315 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 2,429 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณที่เก็บกักได้สูงสุด 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ ปริมาณน้ำปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2554) มีปริมาณ 7,160 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรองรับน้ำได้อีก 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณเก็บกักสูงสุด 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับแผนการระบายน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองนั้น มีคณะกรรมการลุ่มน้ำแม่กลองร่วมกันพิจารณากำหนดการระบายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนทั้งสองเขื่อน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี, กาญจนบุรี และ สมุทรสงคราม รวมทั้งตัวแทนภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัด พร้อมทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาคและนครหลวง ร่วมกันพิจารณา
โดยการพิจารณาจะให้ความสำคัญเรื่องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ก่อน จึงจะพิจารณาเรื่องการท่องเที่ยว การคมนาคม และการใช้น้ำเพื่อระบบประปานครหลวง ทั้งนี้ ในการระบายน้ำคณะกรรมการลุ่มน้ำฯจะต้องต้องมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำไม่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้ประชาชนท้ายน้ำ ไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากทั้งสองเขื่อนยังสามารถรองรับได้อีกมาก
วันนี้ (22 ก.ย.) นายวนิช แสงสุวรรณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์-บริหาร เปิดเผยว่า จากกรณีที่ปัจจุบันเริ่มมีปริมาณฝนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2554) น้ำที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณ 15,315 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 2,429 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณที่เก็บกักได้สูงสุด 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ ปริมาณน้ำปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2554) มีปริมาณ 7,160 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรองรับน้ำได้อีก 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณเก็บกักสูงสุด 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับแผนการระบายน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองนั้น มีคณะกรรมการลุ่มน้ำแม่กลองร่วมกันพิจารณากำหนดการระบายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนทั้งสองเขื่อน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี, กาญจนบุรี และ สมุทรสงคราม รวมทั้งตัวแทนภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัด พร้อมทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาคและนครหลวง ร่วมกันพิจารณา
โดยการพิจารณาจะให้ความสำคัญเรื่องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ก่อน จึงจะพิจารณาเรื่องการท่องเที่ยว การคมนาคม และการใช้น้ำเพื่อระบบประปานครหลวง ทั้งนี้ ในการระบายน้ำคณะกรรมการลุ่มน้ำฯจะต้องต้องมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำไม่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้ประชาชนท้ายน้ำ ไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากทั้งสองเขื่อนยังสามารถรองรับได้อีกมาก