xs
xsm
sm
md
lg

คลังปัดใช้หนี้FIDF30ปี ชี้เกิดภาระ-ผลาญงบพัฒนาประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เสนอให้กระทรวงการคลังตั้งงบประมาณเพื่อชำระคืนเงินต้นของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) เวลา30 ปี ว่าคงไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งข้อจำกัดเรื่องวงเงินงบประมาณรายจ่ายและข้อกฎหมายที่กำหนดให้ธปท.เป็นผู้รับภาระหนี้เงินต้นอย่างชัดเจน เนื่องจากการตั้งงบชำระหนี้ในแต่ละปีงบประมาณนั้นได้ปรับลดลงต่อเนื่องจากสัดส่วนของงบประจำที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2553 มีการตั้งงบชำระหนี้ไว้ทั้งสิ้น 1.89 แสนล้านบาทบาท ปี 2554 ตั้งงบชำระหนี้ไว้ 1.7 แสนล้านบาท
ล่าสุดปี 2555 มีการตั้งงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ไว้ 1.2 แสนล้านบาท เนื่องจากไม่มีภาระชำระคืนเงินต้นมีเพียงการจ่ายภาระดอกเบี้ยเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้เป็นดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 6 หมื่นล้านบาท และที่ไม่สามารถตั้งงบชำระหนี้ได้สูงกว่านี้เพราะจะไปเบียดงบลงทุนจนไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจได้
"ปีงบประมาณก่อนหน้านี้มีการตั้งงบชำระหนี้สูงเพราะมีภาระต้องจ่ายคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแต่ในปี 55 นี้ไม่มีหนี้ที่ถึงกำหนดชำระคืนจึงตั้งงบลดลง และไม่มีเหตุผลใดที่รัฐบาลจะต้องตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นของหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เพราะตามกฎหมายกำหนดชัดเจนว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยและธปท.เป็นผู้รับภาระหนี้เงินต้น ที่ผ่านมาคลังรับผิดชอบหนี้ก้อนนี้มาตลอดแต่ธปท.ไม่เคยดำเนินการตามกฎหมาย หากจะให้คลังรับภาระเงินต้นก็ต้องออกกฎหมายใหม่ซึ่งคลังยินดี แต่อยากถามว่าธปท.พร้อมจะเข้ามารับภาระดอกเบี้ยแต่ละปีแทนหรือไม่ " นายจักรกฤศฎิ์ กล่าวและว่าที่ผ่านมาสบน.เสนอแนวทางแก้ไขหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ หลายแนวทางทั้งการรวมบัญชีของแบงก์ชาติและการออกซีโร่คูปองบอนด์แต่ธปท.ก็ไม่เห็นด้วย มาโดยตลอด
สำหรับ แนวทางการโอนสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯ มาชำระหนี้บางส่วนหนั้น กระทรวงการคลังได้เคยพิจารณาแล้ว แต่เห็นว่าหากจะโอนภายในปี 2555 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมที่กองทุนจะต้องยุติบทบาทภายในปี 2556 นั้นต้องมีการออกกฎหมายมารองรับ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้เร็ว อีกทั้งสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ขณะนี้มีประมาณ 2-3 แสนล้านบาท เช่น หลักทรัพย์ของธนาคารกรุงไทยประมาณ 1 แสนล้านบาท และสินทรัพย์ที่อยู่ใน บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด อีกประมาณ 2 แสนล้านบาท รวมกันแล้วก็ยงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของหนี้คงค้างปัจจุบัน 1.14 แสนล้านบาท หากจะโอนสินทรัพย์เข้ามาจริงก็ต้องมีแนวทางอื่นแก้ไขปัหาหนี้สินเพิ่มอยู่ดี ซึ่งธปท.ต้องมีความจริงใจจะร่วมแก้ไขด้วย
ทั้งนี้ หนี้ในส่วนของกองทุนฟื้นฟูฯ 1 (FIDF1) ที่ธปท.เป็นผู้รับภาระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยปัจจุบันเหลือ 4.6 แสนล้านบาท หนี้ FIDF 2 ชำระคืนเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือเป็นของFIDF 3 ที่กำหนดให้คลังรับภาระดอกเบี้ยและธปท.รับภาระเงินต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น