คณะศิษย์หลวงตามหาบัว ชี้ข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูของ ธปท. กระทบคลังหลวง เผยการกำหนดเพดานเงินจะทำให้บัญชีไม่เติบโต ลั่นต้องให้ ปชช.และนักวิชาการเข้าร่วมหาแนวทางแก้ปัญหา
วันนี้ (7 ต.ค.) ที่บ้านพระอาทิตย์ คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อผู้สื่อข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาภาระหนี้ที่เกี่ยวโยงกับกองทุนฟื้นฟู ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีผลกระทบต่อคลังหลวง
สำหรับแนวคิดดังกล่าวคือ การปรับวิธีบันทึกบัญชีของทุนของทุนสำรองเงินตราในการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนเพื่อลดข้อจำกัดทางบัญชี ซึ่งจะเอื้อต่อการมีเงินนำส่งกำไรเพื่อชำระคืนหนี้ได้มากขึ้น และรัฐบาลควรกำหนดระดับขั้นต่ำของบัญชีสำรองพิเศษของทุนสำรองเงินตราที่ต้องมีเหลือไว้ เพื่อให้ทุนสำรองเงินตรายังคงมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ คณะศิษย์หลวงตามหาบัว แสดงความคิดเห็นว่า 2 แนวคิดดังกล่าวเป็นการรบกวนคลังหลวงจนทำให้ทุนสำรองเงินตราไม่มีเสถียรภาพอีกต่อไป และการปรับวิธีบันทึกบัญชีดังกล่าวก็ไม่สามารถนำไปชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูได้ทั้งหมด เหมือนเป็นการทุบกระปุกเงินของประเทศ รวมถึงการกำหนดเพดานจะทำให้บัญชีไม่มีการเติบโต
นอกจากนี้ คณะศิษย์หลวงตามหาบัว ยังได้เปิดเผยอีกว่า ได้มีการเดินทางไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ผู้ว่าการ ธปท. ผ่าน นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารสัมพันธ์ ธปท. เพื่อขอความอนุเคราะห์ ธปท.และรัฐบาล ให้โอกาสแก่ประชาชนและนักวิชาการในการหาแนวทางอื่นในการแก้ปัญหาภาระหนี้เกี่ยวโยงกับกองทุนฟื้นฟู ที่นอกเหนือจากข้อเสนอของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยขอให้มีการแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากประชาชน ในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะและการลงทุนภาครัฐ
สำหรับข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาภาระหนี้ที่เกี่ยวโยงกับกองทุนฟื้นฟู ที่ผู้ว่าการ ธปท.เสนอ รมว.คัลง เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา มีสารสำคัญดังนี้
ประการแรก ภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเกิดจากการรับประกันผู้ฝากเงินและการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินตามมติของคณะรัฐมนตรีในช่วงปี 2540-2541 ซึ่งมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรักษาเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของประชาชนในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงิน
ประการที่สอง กองทุนฟื้นฟูเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ธปท. เป็นกลไกของภาครัฐที่มีหน้าที่ช่วยเหลือระบบสถาบันการเงิน คณะกรรมการจัดการกองทุนจึงมีผู้ว่าการ ธปท. และ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานและรองประธานโดยตำแหน่ง สะท้อนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของภาครัฐ ดังนั้น หนี้กองทุนฟื้นฟูจึงเป็นภาระหนี้สาธารณะที่ภาครัฐต้องเข้ามาดูแล และไม่ใช่ภาระเฉพาะของ ธปท.
ประการที่สาม ความพยายามแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาเป็นแนวทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกับหลักสากล กล่าวคือ ภาคการคลังรับภาระการแก้ไขปัญหา โดยในปี 2541 และ 2545 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อออกพันธบัตรกู้เงินมาชดใช้ความเสียหาย ยอดหนี้คงค้างปัจจุบันมีรวมกัน 1.14 ล้านล้านบาท ซึ่งแม้จะเป็นจำนวนเงินที่มาก แต่ภาระสุทธิทางการคลังที่เกิดจากการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศก็อยู่ในระดับสูงเช่นกัน โดยบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สูงเกินกว่าร้อยละ 50 ของ GDP (ของไทยประมารร้อยละ 35 ของ GDP)
ประการที่สี่ ธนาคารกลางไม่สามารถรับภาระหนี้ดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่มีอำนาจเก็บภาษี และที่สำคัญหากธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้ จะเป็นการผิดวินัยทางการเงิน กระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่หลักของธนาคารกลาง และส่งผลเสียหายต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศในภาพรวม
ประการที่ห้า การนำส่งกำไรของ ธปท. เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการดำเนินการปกติทั่วไปที่หน่วยงานของรัฐต้องนำส่งกำไรต่อรัฐอยู่แล้ว เพียงแต่ระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินนำส่งนั้นให้ชัดเจน และไม่ถือเป็นการพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้
สำหรับแนวทางอื่นที่เป็นไปได้ คือ (1) การโอนสินทรัพย์คงเหลือภายหลังการปิดกองทุนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว (2) การปรับวิธีบันทึกบัญชีของทุนของทุนสำรองเงินตราในการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนเพื่อลดข้อจำกัดทางบัญชี ซึ่งจะเอื้อต่อการมีเงินนำส่งกำไรเพื่อชำระคืนหนี้ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรทำความเข้าใจกับสาธารณชนและควรกำหนดระดับขั้นต่ำของบัญชีสำรองพิเศษของทุนสำรองเงินตราที่ต้องมีเหลือไว้ เพื่อให้ทุนสำรองเงินตรายังคงมีเสถียรภาพ
วันนี้ (7 ต.ค.) ที่บ้านพระอาทิตย์ คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อผู้สื่อข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาภาระหนี้ที่เกี่ยวโยงกับกองทุนฟื้นฟู ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีผลกระทบต่อคลังหลวง
สำหรับแนวคิดดังกล่าวคือ การปรับวิธีบันทึกบัญชีของทุนของทุนสำรองเงินตราในการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนเพื่อลดข้อจำกัดทางบัญชี ซึ่งจะเอื้อต่อการมีเงินนำส่งกำไรเพื่อชำระคืนหนี้ได้มากขึ้น และรัฐบาลควรกำหนดระดับขั้นต่ำของบัญชีสำรองพิเศษของทุนสำรองเงินตราที่ต้องมีเหลือไว้ เพื่อให้ทุนสำรองเงินตรายังคงมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ คณะศิษย์หลวงตามหาบัว แสดงความคิดเห็นว่า 2 แนวคิดดังกล่าวเป็นการรบกวนคลังหลวงจนทำให้ทุนสำรองเงินตราไม่มีเสถียรภาพอีกต่อไป และการปรับวิธีบันทึกบัญชีดังกล่าวก็ไม่สามารถนำไปชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูได้ทั้งหมด เหมือนเป็นการทุบกระปุกเงินของประเทศ รวมถึงการกำหนดเพดานจะทำให้บัญชีไม่มีการเติบโต
นอกจากนี้ คณะศิษย์หลวงตามหาบัว ยังได้เปิดเผยอีกว่า ได้มีการเดินทางไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ผู้ว่าการ ธปท. ผ่าน นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารสัมพันธ์ ธปท. เพื่อขอความอนุเคราะห์ ธปท.และรัฐบาล ให้โอกาสแก่ประชาชนและนักวิชาการในการหาแนวทางอื่นในการแก้ปัญหาภาระหนี้เกี่ยวโยงกับกองทุนฟื้นฟู ที่นอกเหนือจากข้อเสนอของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยขอให้มีการแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากประชาชน ในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะและการลงทุนภาครัฐ
สำหรับข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาภาระหนี้ที่เกี่ยวโยงกับกองทุนฟื้นฟู ที่ผู้ว่าการ ธปท.เสนอ รมว.คัลง เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา มีสารสำคัญดังนี้
ประการแรก ภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเกิดจากการรับประกันผู้ฝากเงินและการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินตามมติของคณะรัฐมนตรีในช่วงปี 2540-2541 ซึ่งมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรักษาเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของประชาชนในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงิน
ประการที่สอง กองทุนฟื้นฟูเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ธปท. เป็นกลไกของภาครัฐที่มีหน้าที่ช่วยเหลือระบบสถาบันการเงิน คณะกรรมการจัดการกองทุนจึงมีผู้ว่าการ ธปท. และ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานและรองประธานโดยตำแหน่ง สะท้อนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของภาครัฐ ดังนั้น หนี้กองทุนฟื้นฟูจึงเป็นภาระหนี้สาธารณะที่ภาครัฐต้องเข้ามาดูแล และไม่ใช่ภาระเฉพาะของ ธปท.
ประการที่สาม ความพยายามแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาเป็นแนวทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกับหลักสากล กล่าวคือ ภาคการคลังรับภาระการแก้ไขปัญหา โดยในปี 2541 และ 2545 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อออกพันธบัตรกู้เงินมาชดใช้ความเสียหาย ยอดหนี้คงค้างปัจจุบันมีรวมกัน 1.14 ล้านล้านบาท ซึ่งแม้จะเป็นจำนวนเงินที่มาก แต่ภาระสุทธิทางการคลังที่เกิดจากการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศก็อยู่ในระดับสูงเช่นกัน โดยบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สูงเกินกว่าร้อยละ 50 ของ GDP (ของไทยประมารร้อยละ 35 ของ GDP)
ประการที่สี่ ธนาคารกลางไม่สามารถรับภาระหนี้ดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่มีอำนาจเก็บภาษี และที่สำคัญหากธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้ จะเป็นการผิดวินัยทางการเงิน กระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่หลักของธนาคารกลาง และส่งผลเสียหายต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศในภาพรวม
ประการที่ห้า การนำส่งกำไรของ ธปท. เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการดำเนินการปกติทั่วไปที่หน่วยงานของรัฐต้องนำส่งกำไรต่อรัฐอยู่แล้ว เพียงแต่ระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินนำส่งนั้นให้ชัดเจน และไม่ถือเป็นการพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้
สำหรับแนวทางอื่นที่เป็นไปได้ คือ (1) การโอนสินทรัพย์คงเหลือภายหลังการปิดกองทุนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว (2) การปรับวิธีบันทึกบัญชีของทุนของทุนสำรองเงินตราในการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนเพื่อลดข้อจำกัดทางบัญชี ซึ่งจะเอื้อต่อการมีเงินนำส่งกำไรเพื่อชำระคืนหนี้ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรทำความเข้าใจกับสาธารณชนและควรกำหนดระดับขั้นต่ำของบัญชีสำรองพิเศษของทุนสำรองเงินตราที่ต้องมีเหลือไว้ เพื่อให้ทุนสำรองเงินตรายังคงมีเสถียรภาพ