ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังรุกแบงก์ชาติร่วมใช้หนี้กองทุนฟื้นฟู เสนอ 4 แนวทางหารายได้ ด้าน "รองฯ เกริก" แอ่นอกพร้อมจ่ายดอกเบี้ย แต่ถ้า ธปท.ขาดทุนเพิ่ม จะกระทบความเชื่อมั่นแน่ ยันที่ผ่านมาจะโทษ ธปท.ฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะรัฐบาลกับ ธปท.รู้เห็นกันทั้ง 2 ฝ่าย
กรณีที่มีกระแสข่าว กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และ สศช. มีข้อสรุปร่วมกันว่าจะมีการสลับหน้าที่ในการรับผิดชอบภาระหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท โดย ธปท.จะรับภาระดอกเบี้ยปีละ 60,000 ล้านบาท แทน ขณะที่กระทรวงการคลังจะตั้งงบประมาณ เพื่อรับผิดชอบในส่วนของเงินต้นนั้น วานนี้ (21 ก.ย.) นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวว่า สวค.ได้เสนอแนวทางการหารายได้เพื่อลดภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.4 ล้านล้านบาทให้กับ ธปท. ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังต้องรับภาระในการชำระดอกเบี้ยถึงปีละ 6.6 หมื่นล้านบาท เพราะ ธปท.ลงบัญชีในลักษณะเป็นเงินบาทส่งผลให้ประสบปัญหาขาดทุนทางบัญชี จึงไม่สามารถช่วยชำระนี้ได้
แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1.การหารายได้จากการดูแลบริหารจัดการทรัพย์สินให้มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนที่ ธปท.บริหารจัดการเอง หรือกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ 2.หลีกเลี่ยงการลงบันทึกตามมูลค่าทางบัญชี 3.การหารายได้จากการบริหารจัดการสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯ และ 4.การหารายได้จากการบริหารจัดการสินทรัพย์ในบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
หาก ธปท.ดำเนินการตามข้อเสนอทั้ง 4 แนวทางดังกล่าวเชื่อว่าจะมีรายได้เข้ามาลดภาระได้ถึงปีละ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งมูลนิธิ สงค.ได้นำเสนอต่อ รมว.คลัง ไว้แล้ว ส่วนจะมีการหยิบยกขึ้นมาดำเนินการหรือไม่คงต้องรอให้ รมว.คลัง ได้หารือกับผู้ว่าการ ธปท.เพื่อจุดสมดุลย์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อน
ด้านนายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้อำนวยการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงที่มีการแก้ปัญหาหนี้สินครั้งแรกนั้น เหตุผลที่แบ่งกันรับภาระหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เนื่องจากรัฐบาลรับทราบการทำงาน และการให้สภาพคล่องของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กับสถาบันการเงินในช่วงวิกฤตปี 2540มาตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อมีภาระหนี้สินจึงแบ่งกันรับภาระ โดยให้รัฐบาลแบ่งไปรับภาระในส่วนดอกเบี้ย และ ธปท.รับภาระเงินต้น ด้วยการส่งกำไรล้างหนี้
อย่างไรก็ตาม ธปท.มีผลขาดทุนสะสมจากการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และในปีที่ผ่านมา ธปท.ไม่ได้ขาดทุนเฉพาะทางบัญชี แต่เป็นการขาดทุนจริงทั้งอัตราแลกเปลี่ยนฯ และขาดทุนจากการดำเนินงาน และการขาดทุนเป็นผลจากการดูแลเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้นในสถานะที่ ธปท.ต้องดูแลค่าเงินบาทต่อไป ยังมีความเป็นไปได้ที่ ธปท.จะขาดทุนต่อเนื่อง ซึ่งหากกระทรวงการคลังต้องการเปลี่ยนภาระหนี้ให้ธปท.รับภาระดอกเบี้ยแทน ปีละ 60,000 ล้านบาท ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระขาดทุนให้กับ ธปท.มากขึ้น ซึ่งคงต้องพิจารณาว่าจะกระทบกับความเชื่อมั่นที่มีต่อ ธปท.ในสายตาต่างประเทศหรือไม่ ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาหนี้สินที่มีต่อไทยก็อาจจะลดลง
"ครั้งที่ผ่านมา การกำหนดให้ธปท.จ่ายเงินต้น คลังจ่ายดอกเบี้ย ออกเป็นพระราชกำหนด ถ้าครั้งนี้คลังจะเปลี่ยน ก็ทำได้ด้วยการเสนอแก้กฎหมายซึ่งเป็นอำนาจของคลังอยู่แล้ว แต่ทำแล้ว ธปท.จะหารายได้เพิ่มเพียงพอมาจ่ายหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งอย่างมากก็ทำให้ภาระขาดทุนของ ธปท.ที่เกิดขึ้นจริงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี" รองผู้ว่าธปท.กล่าว.
กรณีที่มีกระแสข่าว กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และ สศช. มีข้อสรุปร่วมกันว่าจะมีการสลับหน้าที่ในการรับผิดชอบภาระหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท โดย ธปท.จะรับภาระดอกเบี้ยปีละ 60,000 ล้านบาท แทน ขณะที่กระทรวงการคลังจะตั้งงบประมาณ เพื่อรับผิดชอบในส่วนของเงินต้นนั้น วานนี้ (21 ก.ย.) นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวว่า สวค.ได้เสนอแนวทางการหารายได้เพื่อลดภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.4 ล้านล้านบาทให้กับ ธปท. ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังต้องรับภาระในการชำระดอกเบี้ยถึงปีละ 6.6 หมื่นล้านบาท เพราะ ธปท.ลงบัญชีในลักษณะเป็นเงินบาทส่งผลให้ประสบปัญหาขาดทุนทางบัญชี จึงไม่สามารถช่วยชำระนี้ได้
แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1.การหารายได้จากการดูแลบริหารจัดการทรัพย์สินให้มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยอาจจัดตั้งเป็นกองทุนที่ ธปท.บริหารจัดการเอง หรือกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ 2.หลีกเลี่ยงการลงบันทึกตามมูลค่าทางบัญชี 3.การหารายได้จากการบริหารจัดการสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯ และ 4.การหารายได้จากการบริหารจัดการสินทรัพย์ในบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
หาก ธปท.ดำเนินการตามข้อเสนอทั้ง 4 แนวทางดังกล่าวเชื่อว่าจะมีรายได้เข้ามาลดภาระได้ถึงปีละ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งมูลนิธิ สงค.ได้นำเสนอต่อ รมว.คลัง ไว้แล้ว ส่วนจะมีการหยิบยกขึ้นมาดำเนินการหรือไม่คงต้องรอให้ รมว.คลัง ได้หารือกับผู้ว่าการ ธปท.เพื่อจุดสมดุลย์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อน
ด้านนายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้อำนวยการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงที่มีการแก้ปัญหาหนี้สินครั้งแรกนั้น เหตุผลที่แบ่งกันรับภาระหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เนื่องจากรัฐบาลรับทราบการทำงาน และการให้สภาพคล่องของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กับสถาบันการเงินในช่วงวิกฤตปี 2540มาตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อมีภาระหนี้สินจึงแบ่งกันรับภาระ โดยให้รัฐบาลแบ่งไปรับภาระในส่วนดอกเบี้ย และ ธปท.รับภาระเงินต้น ด้วยการส่งกำไรล้างหนี้
อย่างไรก็ตาม ธปท.มีผลขาดทุนสะสมจากการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และในปีที่ผ่านมา ธปท.ไม่ได้ขาดทุนเฉพาะทางบัญชี แต่เป็นการขาดทุนจริงทั้งอัตราแลกเปลี่ยนฯ และขาดทุนจากการดำเนินงาน และการขาดทุนเป็นผลจากการดูแลเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้นในสถานะที่ ธปท.ต้องดูแลค่าเงินบาทต่อไป ยังมีความเป็นไปได้ที่ ธปท.จะขาดทุนต่อเนื่อง ซึ่งหากกระทรวงการคลังต้องการเปลี่ยนภาระหนี้ให้ธปท.รับภาระดอกเบี้ยแทน ปีละ 60,000 ล้านบาท ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระขาดทุนให้กับ ธปท.มากขึ้น ซึ่งคงต้องพิจารณาว่าจะกระทบกับความเชื่อมั่นที่มีต่อ ธปท.ในสายตาต่างประเทศหรือไม่ ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาหนี้สินที่มีต่อไทยก็อาจจะลดลง
"ครั้งที่ผ่านมา การกำหนดให้ธปท.จ่ายเงินต้น คลังจ่ายดอกเบี้ย ออกเป็นพระราชกำหนด ถ้าครั้งนี้คลังจะเปลี่ยน ก็ทำได้ด้วยการเสนอแก้กฎหมายซึ่งเป็นอำนาจของคลังอยู่แล้ว แต่ทำแล้ว ธปท.จะหารายได้เพิ่มเพียงพอมาจ่ายหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งอย่างมากก็ทำให้ภาระขาดทุนของ ธปท.ที่เกิดขึ้นจริงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี" รองผู้ว่าธปท.กล่าว.