ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.ทำประเมินความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจหนี้สินที่ยุโรปและสหรัฐฯ ชี้ผลกระทบน้อย เพราะปตท.มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มองเป็นโอกาสดีในการเข้าไปลงทุน M&A ในต่างประเทศมากขึ้น ชี้ไตรมาส 3 นี้ขาดทุนสต็อกน้ำมันในธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีเล็กน้อย ไม่ส่งผลกระทบต่อผลดำเนินงานทั้งปี ยันออกหุ้นกู้ 2 หมื่นล้านบาทในเดือนพ.ย.นี้แน่นอน
มั่นใจไม่มีปัญหาการขายหุ้นกู้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้มีการทำประเมินความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนโดยเฉพาะปัญหาหนี้สินในยุโรปและสหรัฐฯ ว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานหรือไม่ โดยใช้วิธีการประเมินเหมือนครั้งที่เกิดปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์ที่สหรัฐฯ พบว่าผลกระทบต่อปตท.ค่อนข้างน้อย เพราะปตท.มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปมาจากภาระหนี้สินสาธารระของภาครัฐเป็นสำคัญ ไม่กระทบต่อภาคธุรกิจ แต่คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนบริษัทในเครือปตท.ก็จะมีการทำประเมินความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนจะทำให้ราคาหุ้นปตท.ปรับลดลงอย่างมาก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ปัจจัยพื้นฐานปตท.ยังแข็งแกร่งอยู่ และเป็นโอกาสดีที่กลุ่มปตท.จะเข้าไปลงทุนซื้อกิจการหรือร่วมทุน (M&A)ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีหลายบริษัทพลังงานที่ประสบปัญหาในขณะนี้ ขณะที่ปตท.มีความพร้อมในการลงทุนโดยปตท.มองลู่ทางการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และธุรกิจถ่านหิน โดยมองประเทศที่จะเข้าไปลงทุนทั้งในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และกาตาร์เป็นต้น
ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงนี้ ปตท.ได้รับผลกระทบไม่มาก เนื่องจากบริษัทได้มีการบริหารความเสี่ยงบาลานซ์ระหว่างกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) กับหนี้สินไว้แล้ว
"ตอนนี้ถือเป็นจังหวะโอกาสการลงทุนสำหรับกลุ่มปตท. เพราะเศรษฐกิจแย่โอกาสลงทุนมีมากขึ้นหลายกิจการอาจประสบปัญหาด้านการเงินขณะที่เรามีความพร้อมทางการเงินซึ่ง M&A เติบโตได้เร็วกว่า แต่ไม่อยากให้ตกใจกับวิกฤติ เพราะปตท.ยังแข็งแกร่งและเชื่อว่าจะผ่านวิกฤตไปได้หรือแม้แต่บริษัทจดทะเบียนอื่นในตลาดหุ้นก็ตาม"นายเทวินทร์ กล่าว
นายเทวินทร์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทยังคงแผนการออกหุ้นกู้ในเดือน พ.ย. นี้วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ถึงแม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ตาม เนื่องจากการออกหุ้นกู้ดังกล่าวเพื่อทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จึงไม่น่าจะมีการขายหุ้นกู้ดังกล่าว ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2554 คาดว่าจะขาดทุนสต็อกน้ำมันจากราคาน้ำมันที่ผันผวนไม่เกิน 10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี เนื่องจากราคาน้ำมันต้นไตรมาส 3 ยังอยู่ในระดับ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ปลายไตรมาส3 อยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จึงไม่กระทบการดำเนินงานทั้งปีของบริษัท
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาพลังงานได้รับผลกระทบแน่นอนจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ และส่งผลต่อความต้องการใช้ลดลงด้วย ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดิบคาดเดาได้ยาก ราคาน้ำมันดิบผันผวนมากครั้งละ 4-5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ไม่มีผลกระทบต่อแผนการดำเนินธุรกิจของปตท.
ในฐานะบริษัทพลังงานของชาติที่มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยมองเห็นโอกาสที่กลุ่มปตท.ได้เข้าไปลงทุนด้านพลังงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
จากนโยบายรัฐที่ประกาศทยอยปรับขึ้นราคาพลังงานทั้งก๊าซหุงต้มในภาคขนส่ง(แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)ในต้นปีหน้า เพื่อสะท้อนต้นทุนพลังงานที่แท้จริงรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 นับเป็นนโยบายพลังงานที่ถูกต้อง และเป็นการส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวด้วย หากไม่เร่งปรับโครงสร้างราคาพลังงานจะทำให้ไทยต้องอุดหนุนราคาพลังงานให้กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาพลังงานถูกกว่า โดยยืนยันว่าราคาพลังงานของไทยถือว่าต่ำสุดประเทศหนึ่งของโลก ดังนั้นอยากเรียกร้องให้ภาคเอกชนยอมรับสภาพการแข่งขันภายใต้AEC ไม่ควรยึดติดว่าจะต้องได้รับการอุดหนุนราคาพลังงาน มิฉะนั้นไทยจะเข้าสู่จุดอันตรายได้
มั่นใจไม่มีปัญหาการขายหุ้นกู้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้มีการทำประเมินความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนโดยเฉพาะปัญหาหนี้สินในยุโรปและสหรัฐฯ ว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานหรือไม่ โดยใช้วิธีการประเมินเหมือนครั้งที่เกิดปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์ที่สหรัฐฯ พบว่าผลกระทบต่อปตท.ค่อนข้างน้อย เพราะปตท.มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปมาจากภาระหนี้สินสาธารระของภาครัฐเป็นสำคัญ ไม่กระทบต่อภาคธุรกิจ แต่คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนบริษัทในเครือปตท.ก็จะมีการทำประเมินความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนจะทำให้ราคาหุ้นปตท.ปรับลดลงอย่างมาก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ปัจจัยพื้นฐานปตท.ยังแข็งแกร่งอยู่ และเป็นโอกาสดีที่กลุ่มปตท.จะเข้าไปลงทุนซื้อกิจการหรือร่วมทุน (M&A)ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีหลายบริษัทพลังงานที่ประสบปัญหาในขณะนี้ ขณะที่ปตท.มีความพร้อมในการลงทุนโดยปตท.มองลู่ทางการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และธุรกิจถ่านหิน โดยมองประเทศที่จะเข้าไปลงทุนทั้งในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และกาตาร์เป็นต้น
ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงนี้ ปตท.ได้รับผลกระทบไม่มาก เนื่องจากบริษัทได้มีการบริหารความเสี่ยงบาลานซ์ระหว่างกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) กับหนี้สินไว้แล้ว
"ตอนนี้ถือเป็นจังหวะโอกาสการลงทุนสำหรับกลุ่มปตท. เพราะเศรษฐกิจแย่โอกาสลงทุนมีมากขึ้นหลายกิจการอาจประสบปัญหาด้านการเงินขณะที่เรามีความพร้อมทางการเงินซึ่ง M&A เติบโตได้เร็วกว่า แต่ไม่อยากให้ตกใจกับวิกฤติ เพราะปตท.ยังแข็งแกร่งและเชื่อว่าจะผ่านวิกฤตไปได้หรือแม้แต่บริษัทจดทะเบียนอื่นในตลาดหุ้นก็ตาม"นายเทวินทร์ กล่าว
นายเทวินทร์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทยังคงแผนการออกหุ้นกู้ในเดือน พ.ย. นี้วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ถึงแม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ตาม เนื่องจากการออกหุ้นกู้ดังกล่าวเพื่อทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน จึงไม่น่าจะมีการขายหุ้นกู้ดังกล่าว ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2554 คาดว่าจะขาดทุนสต็อกน้ำมันจากราคาน้ำมันที่ผันผวนไม่เกิน 10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี เนื่องจากราคาน้ำมันต้นไตรมาส 3 ยังอยู่ในระดับ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ปลายไตรมาส3 อยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จึงไม่กระทบการดำเนินงานทั้งปีของบริษัท
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาพลังงานได้รับผลกระทบแน่นอนจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ และส่งผลต่อความต้องการใช้ลดลงด้วย ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันดิบคาดเดาได้ยาก ราคาน้ำมันดิบผันผวนมากครั้งละ 4-5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ไม่มีผลกระทบต่อแผนการดำเนินธุรกิจของปตท.
ในฐานะบริษัทพลังงานของชาติที่มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยมองเห็นโอกาสที่กลุ่มปตท.ได้เข้าไปลงทุนด้านพลังงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
จากนโยบายรัฐที่ประกาศทยอยปรับขึ้นราคาพลังงานทั้งก๊าซหุงต้มในภาคขนส่ง(แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)ในต้นปีหน้า เพื่อสะท้อนต้นทุนพลังงานที่แท้จริงรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558 นับเป็นนโยบายพลังงานที่ถูกต้อง และเป็นการส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวด้วย หากไม่เร่งปรับโครงสร้างราคาพลังงานจะทำให้ไทยต้องอุดหนุนราคาพลังงานให้กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาพลังงานถูกกว่า โดยยืนยันว่าราคาพลังงานของไทยถือว่าต่ำสุดประเทศหนึ่งของโลก ดังนั้นอยากเรียกร้องให้ภาคเอกชนยอมรับสภาพการแข่งขันภายใต้AEC ไม่ควรยึดติดว่าจะต้องได้รับการอุดหนุนราคาพลังงาน มิฉะนั้นไทยจะเข้าสู่จุดอันตรายได้