ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มียุทธศาสตร์ทางพลังงานอย่างชัดเจนในการที่จะไปบุกและสัมปทานพลังงานใต้ผิวดินและท้องทะเลในชาติอื่นเพื่อเร่งสูบทรัพยากรธรรมชาติของชาติอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จึงได้ทุ่มสรรพกำลังแทบทุกด้านทั้งในด้านทางการทหาร และการแทรกแซงการเมืองในชาติอื่นมาโดยตลอด
เราจึงไม่แปลกใจเลยสำหรับสงครามบุกอัฟกานิสถาน ทั้งๆที่เบื้องลึกก่อนหน้านี้ในปี 2540 “ผู้นำกลุ่มตาลีบัน” ได้เคยบินมายังเมืองฮูสตัน มลรัฐเทคซัส สหรัฐอเมริกา โดยนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช (ผู้ว่าการมลรัฐเทคซัสในขณะนั้น) ให้การต้อนรับเพื่อให้เข้าพบเจรจากับ บริษัท ยูโนแคล เพื่อก่อสร้างท่อส่งก๊าซจากเตอร์กเมนิสถาน ผ่านอัฟกานิสถาน ไปสู่ปากีสถาน และมหาสมุทรอินเดีย
นอกจากนั้น ยังได้มีการลงนามอีกข้อตกลงหนึ่งซึ่งเป็นการขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลแคสเปียน ก็คือ นายดิก เชนีย์ แห่งบริษัทฮารีเบอร์ตัน ในขณะนั้น (ซึ่งก็คือรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา)
สงครามที่สหรัฐอเมริกาบุกโจมตีอัฟกานิสถานเมื่อปี 2554 ซึ่งมีประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทพลังงานในสหรัฐอเมริกา จึงจบด้วยการโค่นล้มรัฐบาลตาลีบัน พร้อมการวางกำลังและฐานทัพในประเทศใกล้เคียงเพื่อคุ้มครองท่อส่งพลังงานจากทะเลแคสเปียน
เดาเรื่องนี้ได้เหมือนนวนิยายสุดท้ายอัฟกานิสถานก็ได้ประธานาธิบดีคนแรก คือ นายฮามิด คาร์ไซย์ ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างบริษัท ยูโนแคลในฐานะที่ปรึกษาของบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกา !!
ไม่ต้องพูดถึงข้อสงสัยของ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช และ จอร์จ บุชผู้พ่อซึ่งมีสายสัมพันธ์กับตระกูล “บินลาดิน”อย่างลึกซึ้ง โดยนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ยังเคยเป็นกรรมการในบริษัทของครอบครัวบินลาดินที่สหรัฐอเมริกา จนแม้กระทั่งวันก่อวินาศกรรม วันที่ 11 กันยายน 2554 สหรัฐอเมริกายังจัดเครื่องบินบริการพิเศษขนส่งให้กับครอบครัวบินลาดิน 24 คน ออกนอกสหรัฐอเมริกา ทั้งๆที่สนามบินสหรัฐอเมริกาปิดตัวลงและห้ามใช้การทั้งหมด
ที่อินโดนีเซีย ก็เช่นกัน เมื่อปีพ.ศ. 2518 สหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด สนับสนุนประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูฮาร์โต เข้ายึดติมอร์ตะวันออก ด้วยความโหดเหี้ยม ตาต่อตาฟันต่อฟัน จนมีชาวติมอร์ล้มตายไปประมาณ 230,000 คน
หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาก็เข้าไปตักตวงผลประโยชน์ทางธุรกิจพลังงานทั้งในอินโดนีเซีย และต่อมาในเขตติมอร์ตะวันออกโดยร่วมมือกับประธานาธิบดี ซูฮาร์โตอย่างแนบแน่น
อเมริกาก็ตักตวงประโยชน์มาเรื่อยในทะเลอินโดนีเซีย จนกระทั่งเกิดเหตุที่ ออสเตรเลีย ทวงหาความเป็นธรรมในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อหวังจะแบ่งผลประโยชน์น้ำมันดิบในทะเลบริเวณติมอร์ เมื่อปี 2532
จากนั้นสหรัฐอเมริกาเจ้าเดิมก็หนุนหลังให้แยกติมอร์ตะวันออกเป็นอิสระ และให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาดูแลติมอร์ หลังจากนั้นกลุ่มทุนพลังงานของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก็หักหลังอินโดนีเซียเข้าทำประโยชน์น่านน้ำติมอร์อย่างเต็มที่แทน และในท้ายที่สุดสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก็จับมือกันทำมาหากินด้านพลังงานในทะเลของติมอร์ตะวันออกจนถึงทุกวันนี้
สายสัมพันธ์เรื่องผลประโยชน์ทางพลังงานกับอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาถือว่าแนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับอเมริกาจึงไม่มีมิตรแท้ และไม่มีศัตรูถาวรนอกจาก “ผลประโยชน์อย่างเดียว” เท่านั้น
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันพ.ศ. 2505 ยูโนแคล สัญชาติอเมริกัน ที่เดิมชื่อว่าบริษัท Union Oil Company of California ได้รับสิทธิ์สำรวจ-ขุดเจาะในภาคอีสาน ถือเป็นเอกชนรายแรก แม้ต่อมา ยูโนแคลประสบปัญหาทางการเงิน ทางบริษัทของจีนพยายามเข้ามาลงทุนซื้อกิจการของยูโนแคล แต่ในที่สุดสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ยินยอมจึงให้ เชฟรอน บริษัสัญชาติเดียวกันเข้าซื้อกิจการแทน
เชฟรอน เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคล จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการ พบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบ 66% และก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับ ทั้งๆที่ประเทศไทยได้ค่าภาคหลวง 12.5% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้
และกรณีล่าสุดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ขีดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับประชิดเกาะกูด เป็นการรุกล้ำทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลนั้น พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้เปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ว่า “นายพลลอนนอน ได้แจ้งว่าเส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอนไม่มีความมุ่งประสงค์ใดๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมจะมีการปรับปรุงดังกล่าว”
ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยยังจะไปยอมรับ ใน MOU 2544 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากขึ้นมาในปี พ.ศ. 2515 ในการพิจารณาการจัดสรรผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทยว่าเป็นเส้นที่กำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลร่วมไปกับเส้นเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ซึ่งลากขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการและกฎหมายระหว่างประเทศในการแบ่งครึ่งมุมและเส้นมัธยะใช้แบ่งระยะทางเท่ากันระหว่างไทย-กัมพูชา
ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงจะมีดูเรื่องแปลกๆอยู่เสมอที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น มีการขบวนการหน่วยสืบราชการลับ ซีไอเอ ของสหรัฐอเมริกาฝังตัวอยู่ภาคใต้ในหลายรูปแบบซึ่งมาพร้อมกับการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่องที่ภาคใต้ เพื่ออ้างเรื่องการแยกดินแดนโดยมีแหล่งพลังงานในทะเลอ่าวไทยและทะเลไทย-มาเลเซีย เป็นเดิมพัน หรือแม้กระทั่งมีขบวนการร่วมก่อความไม่สงบจากต่างชาติมาผสมโรงเลือกข้างทางการเมืองที่จะเอื้อผลประโยชน์ทางพลังงานให้กับชาติเหล่านั้น
ในขณะที่ประเทศไทยแม้ผ่านมาหลายรัฐบาลก็ไม่มีรัฐบาลไหนที่คิดจะยกเลิก “พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนเกินความเป็นจริง” ใน MOU 2544 ให้เป็นรูปธรรมได้เลย!?
กัมพูชาเสียอีกกลับเรียกพวกจากนานาชาติมากกว่าเพราะด้านหนึ่งเจรจาผลประโยชน์ส่วนตัวกับนายฮุน เซน คนเดียวจบและง่าย อีกทั้งกัมพูชาขุดน้ำมันและพลังงานในอ่าวไทยช้ากว่าประเทศไทย และไม่ยอมให้มีชาติใดชาติหนึ่งผูกขาดเป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกความสนใจจากนานาชาติต่างๆเข้ามาสัมปทานเพื่อสร้างพวกและอำนาจต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้มากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยที่ผ่านมา “คิดสั้น” เพราะมัวแต่เห็นประโยชน์เฉพาะหน้าเร่งสัมปทานและเร่งขุดโดยผลประโยชน์ส่วนใหญ่กับตกอยู่กับบริษัทสัญชาติอเมริกา (ซึ่งคิดแต่ผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง) เมื่อพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกสัมปทานไปเป็นจำนวนมากแล้ว จึงขาดความน่าสนใจและขาดความสมดุลในการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแร่ธาตุและพลังงานอันมหาศาล เราเคยสูญเสียดีบุก และแทนทาลั่มในราคาเศษดิน และถูกสูบพลังงานใต้ผิวดินออกไปให้ต่างชาติในราคาถูกๆ โดยที่ประชาชนคนไทยในประเทศไม่ได้อะไรเลย นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายทางพลังงานในการดำรงชีวิตในราคาแพงให้กับบริษัทพลังงานได้รับประโยชน์สูงสุด และนักการเมืองก็สามารถทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมหาศาล
ประเทศไทยจึงยังไม่รวยมั่งคั่งกันจริงๆ สักที !!!?
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มียุทธศาสตร์ทางพลังงานอย่างชัดเจนในการที่จะไปบุกและสัมปทานพลังงานใต้ผิวดินและท้องทะเลในชาติอื่นเพื่อเร่งสูบทรัพยากรธรรมชาติของชาติอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จึงได้ทุ่มสรรพกำลังแทบทุกด้านทั้งในด้านทางการทหาร และการแทรกแซงการเมืองในชาติอื่นมาโดยตลอด
เราจึงไม่แปลกใจเลยสำหรับสงครามบุกอัฟกานิสถาน ทั้งๆที่เบื้องลึกก่อนหน้านี้ในปี 2540 “ผู้นำกลุ่มตาลีบัน” ได้เคยบินมายังเมืองฮูสตัน มลรัฐเทคซัส สหรัฐอเมริกา โดยนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช (ผู้ว่าการมลรัฐเทคซัสในขณะนั้น) ให้การต้อนรับเพื่อให้เข้าพบเจรจากับ บริษัท ยูโนแคล เพื่อก่อสร้างท่อส่งก๊าซจากเตอร์กเมนิสถาน ผ่านอัฟกานิสถาน ไปสู่ปากีสถาน และมหาสมุทรอินเดีย
นอกจากนั้น ยังได้มีการลงนามอีกข้อตกลงหนึ่งซึ่งเป็นการขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลแคสเปียน ก็คือ นายดิก เชนีย์ แห่งบริษัทฮารีเบอร์ตัน ในขณะนั้น (ซึ่งก็คือรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา)
สงครามที่สหรัฐอเมริกาบุกโจมตีอัฟกานิสถานเมื่อปี 2554 ซึ่งมีประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทพลังงานในสหรัฐอเมริกา จึงจบด้วยการโค่นล้มรัฐบาลตาลีบัน พร้อมการวางกำลังและฐานทัพในประเทศใกล้เคียงเพื่อคุ้มครองท่อส่งพลังงานจากทะเลแคสเปียน
เดาเรื่องนี้ได้เหมือนนวนิยายสุดท้ายอัฟกานิสถานก็ได้ประธานาธิบดีคนแรก คือ นายฮามิด คาร์ไซย์ ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างบริษัท ยูโนแคลในฐานะที่ปรึกษาของบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกา !!
ไม่ต้องพูดถึงข้อสงสัยของ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช และ จอร์จ บุชผู้พ่อซึ่งมีสายสัมพันธ์กับตระกูล “บินลาดิน”อย่างลึกซึ้ง โดยนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ยังเคยเป็นกรรมการในบริษัทของครอบครัวบินลาดินที่สหรัฐอเมริกา จนแม้กระทั่งวันก่อวินาศกรรม วันที่ 11 กันยายน 2554 สหรัฐอเมริกายังจัดเครื่องบินบริการพิเศษขนส่งให้กับครอบครัวบินลาดิน 24 คน ออกนอกสหรัฐอเมริกา ทั้งๆที่สนามบินสหรัฐอเมริกาปิดตัวลงและห้ามใช้การทั้งหมด
ที่อินโดนีเซีย ก็เช่นกัน เมื่อปีพ.ศ. 2518 สหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด สนับสนุนประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูฮาร์โต เข้ายึดติมอร์ตะวันออก ด้วยความโหดเหี้ยม ตาต่อตาฟันต่อฟัน จนมีชาวติมอร์ล้มตายไปประมาณ 230,000 คน
หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาก็เข้าไปตักตวงผลประโยชน์ทางธุรกิจพลังงานทั้งในอินโดนีเซีย และต่อมาในเขตติมอร์ตะวันออกโดยร่วมมือกับประธานาธิบดี ซูฮาร์โตอย่างแนบแน่น
อเมริกาก็ตักตวงประโยชน์มาเรื่อยในทะเลอินโดนีเซีย จนกระทั่งเกิดเหตุที่ ออสเตรเลีย ทวงหาความเป็นธรรมในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อหวังจะแบ่งผลประโยชน์น้ำมันดิบในทะเลบริเวณติมอร์ เมื่อปี 2532
จากนั้นสหรัฐอเมริกาเจ้าเดิมก็หนุนหลังให้แยกติมอร์ตะวันออกเป็นอิสระ และให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาดูแลติมอร์ หลังจากนั้นกลุ่มทุนพลังงานของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก็หักหลังอินโดนีเซียเข้าทำประโยชน์น่านน้ำติมอร์อย่างเต็มที่แทน และในท้ายที่สุดสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก็จับมือกันทำมาหากินด้านพลังงานในทะเลของติมอร์ตะวันออกจนถึงทุกวันนี้
สายสัมพันธ์เรื่องผลประโยชน์ทางพลังงานกับอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาถือว่าแนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับอเมริกาจึงไม่มีมิตรแท้ และไม่มีศัตรูถาวรนอกจาก “ผลประโยชน์อย่างเดียว” เท่านั้น
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันพ.ศ. 2505 ยูโนแคล สัญชาติอเมริกัน ที่เดิมชื่อว่าบริษัท Union Oil Company of California ได้รับสิทธิ์สำรวจ-ขุดเจาะในภาคอีสาน ถือเป็นเอกชนรายแรก แม้ต่อมา ยูโนแคลประสบปัญหาทางการเงิน ทางบริษัทของจีนพยายามเข้ามาลงทุนซื้อกิจการของยูโนแคล แต่ในที่สุดสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ยินยอมจึงให้ เชฟรอน บริษัสัญชาติเดียวกันเข้าซื้อกิจการแทน
เชฟรอน เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคล จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการ พบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบ 66% และก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับ ทั้งๆที่ประเทศไทยได้ค่าภาคหลวง 12.5% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้
และกรณีล่าสุดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ขีดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับประชิดเกาะกูด เป็นการรุกล้ำทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลนั้น พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้เปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ว่า “นายพลลอนนอน ได้แจ้งว่าเส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอนไม่มีความมุ่งประสงค์ใดๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมจะมีการปรับปรุงดังกล่าว”
ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยยังจะไปยอมรับ ใน MOU 2544 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากขึ้นมาในปี พ.ศ. 2515 ในการพิจารณาการจัดสรรผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทยว่าเป็นเส้นที่กำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลร่วมไปกับเส้นเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ซึ่งลากขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการและกฎหมายระหว่างประเทศในการแบ่งครึ่งมุมและเส้นมัธยะใช้แบ่งระยะทางเท่ากันระหว่างไทย-กัมพูชา
ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงจะมีดูเรื่องแปลกๆอยู่เสมอที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น มีการขบวนการหน่วยสืบราชการลับ ซีไอเอ ของสหรัฐอเมริกาฝังตัวอยู่ภาคใต้ในหลายรูปแบบซึ่งมาพร้อมกับการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่องที่ภาคใต้ เพื่ออ้างเรื่องการแยกดินแดนโดยมีแหล่งพลังงานในทะเลอ่าวไทยและทะเลไทย-มาเลเซีย เป็นเดิมพัน หรือแม้กระทั่งมีขบวนการร่วมก่อความไม่สงบจากต่างชาติมาผสมโรงเลือกข้างทางการเมืองที่จะเอื้อผลประโยชน์ทางพลังงานให้กับชาติเหล่านั้น
ในขณะที่ประเทศไทยแม้ผ่านมาหลายรัฐบาลก็ไม่มีรัฐบาลไหนที่คิดจะยกเลิก “พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนเกินความเป็นจริง” ใน MOU 2544 ให้เป็นรูปธรรมได้เลย!?
กัมพูชาเสียอีกกลับเรียกพวกจากนานาชาติมากกว่าเพราะด้านหนึ่งเจรจาผลประโยชน์ส่วนตัวกับนายฮุน เซน คนเดียวจบและง่าย อีกทั้งกัมพูชาขุดน้ำมันและพลังงานในอ่าวไทยช้ากว่าประเทศไทย และไม่ยอมให้มีชาติใดชาติหนึ่งผูกขาดเป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกความสนใจจากนานาชาติต่างๆเข้ามาสัมปทานเพื่อสร้างพวกและอำนาจต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้มากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยที่ผ่านมา “คิดสั้น” เพราะมัวแต่เห็นประโยชน์เฉพาะหน้าเร่งสัมปทานและเร่งขุดโดยผลประโยชน์ส่วนใหญ่กับตกอยู่กับบริษัทสัญชาติอเมริกา (ซึ่งคิดแต่ผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง) เมื่อพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกสัมปทานไปเป็นจำนวนมากแล้ว จึงขาดความน่าสนใจและขาดความสมดุลในการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแร่ธาตุและพลังงานอันมหาศาล เราเคยสูญเสียดีบุก และแทนทาลั่มในราคาเศษดิน และถูกสูบพลังงานใต้ผิวดินออกไปให้ต่างชาติในราคาถูกๆ โดยที่ประชาชนคนไทยในประเทศไม่ได้อะไรเลย นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายทางพลังงานในการดำรงชีวิตในราคาแพงให้กับบริษัทพลังงานได้รับประโยชน์สูงสุด และนักการเมืองก็สามารถทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมหาศาล
ประเทศไทยจึงยังไม่รวยมั่งคั่งกันจริงๆ สักที !!!?