ASTVผู้จัดการรายวัน-“ส.อ.ท.”ชง 2 แนวทางให้คณะกรรมการไตรภาคีพิจารณาขึ้นค่าจ้าง 300 บาทวันนี้ หนึ่งยึดคำว่ารายได้ ขึ้นทันที 7 จังหวัดนำร่อง สองยึดค่าจ้าง ขึ้นทันที 40% ทุกจังหวัด แต่ครึ่งหนึ่งของที่ขึ้นรัฐต้องอุดหนุนจนกว่าจะขึ้นครบใน 4 ปี ปลัดแรงงานมั่นใจแนวทางขึ้นค่าจ้าง 40% ฉลุยแน่ หลังทุกฝ่ายเห็นด้วย เตรียมเสนอบอร์ดประกันสังคม อนุมัติหมื่นล้าน พร้อมลดเงินสมทบลง 1.5% ช่วยธุรกิจ SMEs
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้สรุปแนวทางการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) ที่จะมีการหารือเพื่อวางกรอบแนวทางดำเนินงานในวันนี้ (5ต.ค.) แล้ว โดยการจัดทำข้อเสนอได้อิงเหตุผลสำคัญ คือ ลดแรงผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยจากปัญหาน้ำท่วม และเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะซบเซาและจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยปี 2555
สำหรับแนวทางที่เสนอประกอบด้วย 2 แนวทางดำเนินการ ได้แก่ 1.ยึดกรอบการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน แต่ต้องตีความหมายของคำว่าค่าจ้างเป็นรายได้ที่จะรวมกับเบี้ยเลี้ยง สวัสดิการต่างๆ และค่าล่วงเวลา (โอที) โดยให้ปรับขึ้นใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี และภูเก็ตได้ทันทีวันที่ 1 ม.ค.2555 ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่เหลือ จากการคำนวณพบว่ารายได้ของจังหวัดอื่นๆ เฉลี่ยจะอยู่ที่ 180 บาทต่อวันยังขาด 120 บาทต่อวันที่จะต้องปรับขึ้น ดังนั้น จึงเสนอให้ทำการทยอยปรับขึ้นในกรอบระยะเวลา 3 ปี โดยวันที่ 1 ม.ค.2555 ปรับขึ้นอีก 40 บาทต่อวันจนครบเป็น 300 บาทต่อวันในวันที่ 1 ม.ค.2557
ส่วนแนวทางที่ 2 หากคณะกรรมการไตรภาคียืนยันที่จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันมีผลทันทีวันที่ 1 ม.ค.2555 และไม่เกี่ยวกับคำว่ารายได้ ซึ่งหมายถึงค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเฉลี่ยจะปรับขึ้นจากปัจจุบันในแต่ละจังหวัด 40% เช่น กทม.ขณะนี้เฉลี่ยที่ 215 บาทต่อวัน เมื่อปรับขึ้นอีก 40% หมายถึงจะต้องปรับขึ้นอีก 86 บาทต่อวันก็จะเฉลี่ยที่ 301บาทต่อวัน ดังนั้น ส่วนที่ปรับขึ้น 40% หรือ 86 บาทต่อวันให้นำมาหาร 2 โดยครึ่งหนึ่งให้เอกชนรับภาระ แต่อีกครึ่งหนึ่งรัฐบาลจะต้องจัดหาเงินงบประมาณมาชดเชยให้และให้ทยอยปรับขึ้นค่าจ้างไปยังเอกชน เพื่อลดภาระการดูแลจากรัฐจนเอกชนจ่ายครบในระยะเวลา 4 ปี
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง คาดว่าน่าจะลงตัวในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะปรับเพิ่มขึ้น 40% ในทุกจังหวัดจากอัตราค่าจ้างในปัจจุบันของแต่ละจังหวัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 เนื่องจากก่อนหน้านี้ ได้หารือกับตัวแทนฝ่ายรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง ต่างก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้
ส่วนการเตรียมมาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทนั้น กระทรวงแรงงานได้เตรียมจัดทำโครงการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำขึ้นมาให้ความเหลือ โดยจะขออนุมัติงบลงทุนเพื่อสังคมวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทจากคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) เพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยสปส.ขอดอกเบี้ย 1% และธนาคารเอาไปปล่อยกู้ต่อในอัตราดอกเบี้ย 2.5% รวมทั้งจะเสนอให้ลดเงินสมทบประกันสังคม เพื่อลดภาระแก่นายจ้าง เนื่องจากเมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 40% จะทำให้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปัจจุบันฝ่ายรัฐบาลจ่ายอยู่ที่ 2.75% และฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจ่ายอยู่ที่ฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง โดยเสนอให้ลดเงินสมทบฝ่ายละ 1.5%
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้สรุปแนวทางการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) ที่จะมีการหารือเพื่อวางกรอบแนวทางดำเนินงานในวันนี้ (5ต.ค.) แล้ว โดยการจัดทำข้อเสนอได้อิงเหตุผลสำคัญ คือ ลดแรงผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยจากปัญหาน้ำท่วม และเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะซบเซาและจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยปี 2555
สำหรับแนวทางที่เสนอประกอบด้วย 2 แนวทางดำเนินการ ได้แก่ 1.ยึดกรอบการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน แต่ต้องตีความหมายของคำว่าค่าจ้างเป็นรายได้ที่จะรวมกับเบี้ยเลี้ยง สวัสดิการต่างๆ และค่าล่วงเวลา (โอที) โดยให้ปรับขึ้นใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี และภูเก็ตได้ทันทีวันที่ 1 ม.ค.2555 ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่เหลือ จากการคำนวณพบว่ารายได้ของจังหวัดอื่นๆ เฉลี่ยจะอยู่ที่ 180 บาทต่อวันยังขาด 120 บาทต่อวันที่จะต้องปรับขึ้น ดังนั้น จึงเสนอให้ทำการทยอยปรับขึ้นในกรอบระยะเวลา 3 ปี โดยวันที่ 1 ม.ค.2555 ปรับขึ้นอีก 40 บาทต่อวันจนครบเป็น 300 บาทต่อวันในวันที่ 1 ม.ค.2557
ส่วนแนวทางที่ 2 หากคณะกรรมการไตรภาคียืนยันที่จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันมีผลทันทีวันที่ 1 ม.ค.2555 และไม่เกี่ยวกับคำว่ารายได้ ซึ่งหมายถึงค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเฉลี่ยจะปรับขึ้นจากปัจจุบันในแต่ละจังหวัด 40% เช่น กทม.ขณะนี้เฉลี่ยที่ 215 บาทต่อวัน เมื่อปรับขึ้นอีก 40% หมายถึงจะต้องปรับขึ้นอีก 86 บาทต่อวันก็จะเฉลี่ยที่ 301บาทต่อวัน ดังนั้น ส่วนที่ปรับขึ้น 40% หรือ 86 บาทต่อวันให้นำมาหาร 2 โดยครึ่งหนึ่งให้เอกชนรับภาระ แต่อีกครึ่งหนึ่งรัฐบาลจะต้องจัดหาเงินงบประมาณมาชดเชยให้และให้ทยอยปรับขึ้นค่าจ้างไปยังเอกชน เพื่อลดภาระการดูแลจากรัฐจนเอกชนจ่ายครบในระยะเวลา 4 ปี
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง คาดว่าน่าจะลงตัวในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะปรับเพิ่มขึ้น 40% ในทุกจังหวัดจากอัตราค่าจ้างในปัจจุบันของแต่ละจังหวัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 เนื่องจากก่อนหน้านี้ ได้หารือกับตัวแทนฝ่ายรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง ต่างก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้
ส่วนการเตรียมมาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทนั้น กระทรวงแรงงานได้เตรียมจัดทำโครงการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำขึ้นมาให้ความเหลือ โดยจะขออนุมัติงบลงทุนเพื่อสังคมวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทจากคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) เพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยสปส.ขอดอกเบี้ย 1% และธนาคารเอาไปปล่อยกู้ต่อในอัตราดอกเบี้ย 2.5% รวมทั้งจะเสนอให้ลดเงินสมทบประกันสังคม เพื่อลดภาระแก่นายจ้าง เนื่องจากเมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 40% จะทำให้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปัจจุบันฝ่ายรัฐบาลจ่ายอยู่ที่ 2.75% และฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจ่ายอยู่ที่ฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง โดยเสนอให้ลดเงินสมทบฝ่ายละ 1.5%