ASTVผู้จัดการรายวัน - ซีพี.ซุ่มเงียบเปิดตัวน้ำมันปาล์ม “มิตร”ในต่างจังหวัด วงการน้ำมันปาล์มตรวจสอบด่วน พบนำเข้ามา 500 ลัง น้ำหนัก 6 ตันจากอินโดนีเซีย งงนำเข้ามาได้อย่างไร ในเมื่อเป็นสินค้าควบคุมต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติเสียก่อน
รายงานข่าวจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เปิดเผยว่า บริษัทซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด ในเครือซีพี ได้เปิดตัวน้ำมันปาล์ม “มิตร” โดยขายผ่านยี่ปั๊วในราคา 430 บาท/ลัง (12ขวด)เฉลี่ยขวดละ 36 บาทและร้านค้าปลีกขายผู้บริโภคขวดละ 42 บาท
“เป็นราคาที่ถูกมาก ทำให้ยี่ปั๊วมีกำไรมาก เพราะปกติได้เพียงขวดละ 3 บาทเท่านั้น การเปิดตัวจึงเป็นที่ฮือฮามาก”
แหล่งข่าวกล่าวว่า น่าจะเป็นการลองตลาดน้ำมันปาล์มของกลุ่มซีพี และใช้ต่างจังหวัดเป็นฐานในการเช็กข้อมูลตลาด ก่อนการทำตลาดอย่างจริงจังในภายหลัง
อย่างไรก็ดี น้ำมันปาล์ม “มิตร”ของซีพี กลายเป็นประเด็นใหญ่ว่า ซีพีใช้น้ำมันปาล์มจากที่ไหน จากการตรวจสอบพบว่า มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสำเร็จรูปบรรจุขวดเรียบร้อยมาจากประเทศอินโดนีเซีย นำเข้าโดยบริษัทซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด จำนวน 500 ลัง (12 ขวด) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554
วงการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มสำเร็จรูป ต่างแปลกใจไปตามๆกัน เพราะไม่ทราบว่า เครือซีพี นำเข้ามาได้อย่างไร เนื่องจากน้ำมันปาล์มถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า เพื่อคุ้มครองเกษตรกร และผู้ผลิตภายในประเทศ ตั้งแต่ปี 2525 และนำเข้าได้โดยการเปิดตลาดภายใต้องค์การค้าโลก(ดับบลิวทีโอ) และภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟต้า)
การนำเข้าภายใต้อาฟต้า กำหนดให้องค์การคลังสินค้า(อ.ค.ส.) เป็นผู้นำเข้า ส่วนการนำเข้าภายใต้องค์การค้าโลก แบ่งเป็นในโควต้าที่ต้องเสียภาษี 20% และนอกโควต้า โดยนำเข้าเพื่อการส่งออกนั้น ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตในประเทศ 1 ส่วนเท่ากับที่นำเข้า และต้องส่งออก 2 ส่วนภายใน 30 วัน
“ประเด็นของเครือซีพี คือไม่รู้ว่านำเข้าโดยใครอนุมัติ และโดยโควต้าใด ภายใต้อาฟต้าก็ไม่ใช่ เพราะอ.ค.ส.เป็นผู้นำเข้า เช่นเดียวกับนำเข้าภายใต้องค์การค้าโลก ยกเว้นอย่างเดียวคือนำเข้านอกโควต้าองค์การค้าโลก แต่มีเงื่อนไขว่านำเข้ามาเท่าไหร่ ต้องซื้อภายในประเทศเท่านั้น และต้องส่งออกทั้ง 2 ส่วนภายใน 30 วัน”แหล่งข่าวกล่าว
ที่ผ่านมา เคยมีการนำเข้าภายใต้อาฟต้า โดยอ.ค.ส. แต่ภายใต้องค์การค้าโลก เคยนำเข้ามาแล้วครั้งหนึ่งสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ได้ส่งออกกลับไป เพียงแต่มีการทำหลักฐานเท็จ และเป็นที่เข้าใจว่า น้ำมันปาล์มนั้นนำมาขายในประเทศไทย
*
รายงานข่าวจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เปิดเผยว่า บริษัทซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด ในเครือซีพี ได้เปิดตัวน้ำมันปาล์ม “มิตร” โดยขายผ่านยี่ปั๊วในราคา 430 บาท/ลัง (12ขวด)เฉลี่ยขวดละ 36 บาทและร้านค้าปลีกขายผู้บริโภคขวดละ 42 บาท
“เป็นราคาที่ถูกมาก ทำให้ยี่ปั๊วมีกำไรมาก เพราะปกติได้เพียงขวดละ 3 บาทเท่านั้น การเปิดตัวจึงเป็นที่ฮือฮามาก”
แหล่งข่าวกล่าวว่า น่าจะเป็นการลองตลาดน้ำมันปาล์มของกลุ่มซีพี และใช้ต่างจังหวัดเป็นฐานในการเช็กข้อมูลตลาด ก่อนการทำตลาดอย่างจริงจังในภายหลัง
อย่างไรก็ดี น้ำมันปาล์ม “มิตร”ของซีพี กลายเป็นประเด็นใหญ่ว่า ซีพีใช้น้ำมันปาล์มจากที่ไหน จากการตรวจสอบพบว่า มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสำเร็จรูปบรรจุขวดเรียบร้อยมาจากประเทศอินโดนีเซีย นำเข้าโดยบริษัทซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด จำนวน 500 ลัง (12 ขวด) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554
วงการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มสำเร็จรูป ต่างแปลกใจไปตามๆกัน เพราะไม่ทราบว่า เครือซีพี นำเข้ามาได้อย่างไร เนื่องจากน้ำมันปาล์มถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า เพื่อคุ้มครองเกษตรกร และผู้ผลิตภายในประเทศ ตั้งแต่ปี 2525 และนำเข้าได้โดยการเปิดตลาดภายใต้องค์การค้าโลก(ดับบลิวทีโอ) และภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟต้า)
การนำเข้าภายใต้อาฟต้า กำหนดให้องค์การคลังสินค้า(อ.ค.ส.) เป็นผู้นำเข้า ส่วนการนำเข้าภายใต้องค์การค้าโลก แบ่งเป็นในโควต้าที่ต้องเสียภาษี 20% และนอกโควต้า โดยนำเข้าเพื่อการส่งออกนั้น ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตในประเทศ 1 ส่วนเท่ากับที่นำเข้า และต้องส่งออก 2 ส่วนภายใน 30 วัน
“ประเด็นของเครือซีพี คือไม่รู้ว่านำเข้าโดยใครอนุมัติ และโดยโควต้าใด ภายใต้อาฟต้าก็ไม่ใช่ เพราะอ.ค.ส.เป็นผู้นำเข้า เช่นเดียวกับนำเข้าภายใต้องค์การค้าโลก ยกเว้นอย่างเดียวคือนำเข้านอกโควต้าองค์การค้าโลก แต่มีเงื่อนไขว่านำเข้ามาเท่าไหร่ ต้องซื้อภายในประเทศเท่านั้น และต้องส่งออกทั้ง 2 ส่วนภายใน 30 วัน”แหล่งข่าวกล่าว
ที่ผ่านมา เคยมีการนำเข้าภายใต้อาฟต้า โดยอ.ค.ส. แต่ภายใต้องค์การค้าโลก เคยนำเข้ามาแล้วครั้งหนึ่งสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ได้ส่งออกกลับไป เพียงแต่มีการทำหลักฐานเท็จ และเป็นที่เข้าใจว่า น้ำมันปาล์มนั้นนำมาขายในประเทศไทย
*