“ซีพี” ซุ่มเงียบเปิดตัวน้ำมันปาล์ม “มิตร” ในต่างจังหวัด วงการน้ำมันปาล์มตรวจสอบด่วน พบนำเข้ามา 500 ลัง น้ำหนัก 6 ตันจากอินโดนีเซีย งงนำเข้ามาได้อย่างไร ในเมื่อเป็นสินค้าควบคุม ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติเสียก่อน
รายงานข่าวจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เปิดเผยว่า บริษัท ซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด ในเครือซีพี ได้เปิดตัวน้ำมันปาล์ม “มิตร” โดยขายผ่านยี่ปั๊วในราคา 430 บาท/ลัง (12 ขวด) เฉลี่ยขวดละ 36 บาท และร้านค้าปลีกขายผู้บริโภคขวดละ 42 บาท
“เป็นราคาที่ถูกมาก ทำให้ยี่ปั๊วมีกำไรมาก เพราะปกติได้เพียงขวดละ 3 บาทเท่านั้น การเปิดตัวจึงเป็นที่ฮือฮามาก”
แหล่งข่าวกล่าวว่า น่าจะเป็นการลองตลาดน้ำมันปาล์มของกลุ่มซีพี และใช้ต่างจังหวัดเป็นฐานในการเช็กข้อมูลตลาด ก่อนการทำตลาดอย่างจริงจังในภายหลัง
อย่างไรก็ดี น้ำมันปาล์ม “มิตร” ของซีพี กลายเป็นประเด็นใหญ่ ว่า ซีพีใช้น้ำมันปาล์มจากที่ไหน จากการตรวจสอบพบว่า มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสำเร็จรูปบรรจุขวดเรียบร้อยมาจากประเทศอินโดนีเซีย นำเข้าโดยบริษัท ซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด จำนวน 500 ลัง (12 ขวด) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554
วงการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มสำเร็จรูป ต่างแปลกใจไปตามๆ กัน เพราะไม่ทราบว่า เครือซีพี นำเข้ามาได้อย่างไร เนื่องจากน้ำมันปาล์มถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า เพื่อคุ้มครองเกษตรกร และผู้ผลิตภายในประเทศ ตั้งแต่ปี 2525 และนำเข้าได้โดยการเปิดตลาดภายใต้องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) และภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา)
การนำเข้าภายใต้อาฟตา กำหนดให้องค์การคลังสินค้า (อ.ค.ส.) เป็นผู้นำเข้า ส่วนการนำเข้าภายใต้องค์การค้าโลก แบ่งเป็นในโควตาที่ต้องเสียภาษี 20% และนอกโควตา โดยนำเข้าเพื่อการส่งออกนั้น ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตในประเทศ 1 ส่วนเท่ากับที่นำเข้า และต้องส่งออก 2 ส่วนภายใน 30 วัน
“ประเด็นของเครือซีพี คือ ไม่รู้ว่านำเข้าโดยใครอนุมัติ และโดยโควตาใด ภายใต้อาฟตาก็ไม่ใช่ เพราะ อ.ค.ส.เป็นผู้นำเข้า เช่นเดียวกับนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก ยกเว้นอย่างเดียวคือ นำเข้านอกโควตาองค์การการค้าโลก แต่มีเงื่อนไขว่านำเข้ามาเท่าไหร่ ต้องซื้อภายในประเทศเท่านั้น และต้องส่งออกทั้ง 2 ส่วนภายใน 30 วัน” แหล่งข่าวกล่าว
ที่ผ่านมา เคยมีการนำเข้าภายใต้อาฟตา โดย อ.ค.ส.แต่ภายใต้องค์การการค้าโลก เคยนำเข้ามาแล้วครั้งหนึ่งสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ได้ส่งออกกลับไป เพียงแต่มีการทำหลักฐานเท็จ และเป็นที่เข้าใจว่า น้ำมันปาล์มนั้นนำมาขายในประเทศไทย
รายงานข่าวจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เปิดเผยว่า บริษัท ซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด ในเครือซีพี ได้เปิดตัวน้ำมันปาล์ม “มิตร” โดยขายผ่านยี่ปั๊วในราคา 430 บาท/ลัง (12 ขวด) เฉลี่ยขวดละ 36 บาท และร้านค้าปลีกขายผู้บริโภคขวดละ 42 บาท
“เป็นราคาที่ถูกมาก ทำให้ยี่ปั๊วมีกำไรมาก เพราะปกติได้เพียงขวดละ 3 บาทเท่านั้น การเปิดตัวจึงเป็นที่ฮือฮามาก”
แหล่งข่าวกล่าวว่า น่าจะเป็นการลองตลาดน้ำมันปาล์มของกลุ่มซีพี และใช้ต่างจังหวัดเป็นฐานในการเช็กข้อมูลตลาด ก่อนการทำตลาดอย่างจริงจังในภายหลัง
อย่างไรก็ดี น้ำมันปาล์ม “มิตร” ของซีพี กลายเป็นประเด็นใหญ่ ว่า ซีพีใช้น้ำมันปาล์มจากที่ไหน จากการตรวจสอบพบว่า มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสำเร็จรูปบรรจุขวดเรียบร้อยมาจากประเทศอินโดนีเซีย นำเข้าโดยบริษัท ซีพี คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด จำนวน 500 ลัง (12 ขวด) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554
วงการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มสำเร็จรูป ต่างแปลกใจไปตามๆ กัน เพราะไม่ทราบว่า เครือซีพี นำเข้ามาได้อย่างไร เนื่องจากน้ำมันปาล์มถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า เพื่อคุ้มครองเกษตรกร และผู้ผลิตภายในประเทศ ตั้งแต่ปี 2525 และนำเข้าได้โดยการเปิดตลาดภายใต้องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) และภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา)
การนำเข้าภายใต้อาฟตา กำหนดให้องค์การคลังสินค้า (อ.ค.ส.) เป็นผู้นำเข้า ส่วนการนำเข้าภายใต้องค์การค้าโลก แบ่งเป็นในโควตาที่ต้องเสียภาษี 20% และนอกโควตา โดยนำเข้าเพื่อการส่งออกนั้น ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตในประเทศ 1 ส่วนเท่ากับที่นำเข้า และต้องส่งออก 2 ส่วนภายใน 30 วัน
“ประเด็นของเครือซีพี คือ ไม่รู้ว่านำเข้าโดยใครอนุมัติ และโดยโควตาใด ภายใต้อาฟตาก็ไม่ใช่ เพราะ อ.ค.ส.เป็นผู้นำเข้า เช่นเดียวกับนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก ยกเว้นอย่างเดียวคือ นำเข้านอกโควตาองค์การการค้าโลก แต่มีเงื่อนไขว่านำเข้ามาเท่าไหร่ ต้องซื้อภายในประเทศเท่านั้น และต้องส่งออกทั้ง 2 ส่วนภายใน 30 วัน” แหล่งข่าวกล่าว
ที่ผ่านมา เคยมีการนำเข้าภายใต้อาฟตา โดย อ.ค.ส.แต่ภายใต้องค์การการค้าโลก เคยนำเข้ามาแล้วครั้งหนึ่งสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ได้ส่งออกกลับไป เพียงแต่มีการทำหลักฐานเท็จ และเป็นที่เข้าใจว่า น้ำมันปาล์มนั้นนำมาขายในประเทศไทย