วานนี้ (3 ต.ค.)นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าวันที่3 ต.ค. กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดประชุมภายใน โดยมีนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานหารือถึงการดำเนินการเกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ.2544 ซึ่งเดิมมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 52 ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศยกเลิกไว้ โดยคาดว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศจะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม. ในวันที่ 18 ต.ค.นี้ เพื่อให้พิจารณาถึงแนวทางการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่า ในหลักการ เอ็มโอยู ปี 2544 มีประโยชน์อยู่ หากผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว จะต้องนำเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐบาล ตามมาตรา 190 ต่อไป
"ในส่วนของแนวทางการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชา เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทย คงต้องยึดถือตามกรอบการทำงานของเอ็มโอยูปี 2544 ตามที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เคยแถลงไว้ก่อนหน้านี้ ตามที่ได้หารือไว้กับทางการกัมพูชาระหว่างที่ได้เยือนกัมพูชา เมื่อกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา โดยเน้นในเรื่องความโปร่งใสและรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ" นายธานี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การการเจรจาเอ็มโอยู ปี 44 ยังยึดกลไกการเจรจาเดิม ตามที่มติ ครม. ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นายสุรพงษ์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคระหว่างไทย-กัมพูชา และแต่งตั้งนายพรชัย ด่านวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมอาเซียน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย และมีนายวศิน ธีรเวชญาณ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นผู้นำทีมทำหน้าที่เจรจา เพื่อยกร่างความตกลงเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติ (น้ำมันและก๊าซ) ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วม และยกร่างความตกลงเกี่ยวกับการปักปันเส้นเขตทะเล
โดยนายธานี กล่าวยืนยันว่า หลังจากที่การเจรจาภายใต้กรอบเอ็มโอยู ปี 44 ได้หยุดชะงักไปเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางคณะอนุกรรมการฯ ก็ยังไม่ได้มีการเจรจาใดๆ กันอีก
"ในส่วนของแนวทางการเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชา เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทย คงต้องยึดถือตามกรอบการทำงานของเอ็มโอยูปี 2544 ตามที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เคยแถลงไว้ก่อนหน้านี้ ตามที่ได้หารือไว้กับทางการกัมพูชาระหว่างที่ได้เยือนกัมพูชา เมื่อกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา โดยเน้นในเรื่องความโปร่งใสและรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ" นายธานี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การการเจรจาเอ็มโอยู ปี 44 ยังยึดกลไกการเจรจาเดิม ตามที่มติ ครม. ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นายสุรพงษ์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคระหว่างไทย-กัมพูชา และแต่งตั้งนายพรชัย ด่านวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมอาเซียน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย และมีนายวศิน ธีรเวชญาณ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นผู้นำทีมทำหน้าที่เจรจา เพื่อยกร่างความตกลงเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติ (น้ำมันและก๊าซ) ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วม และยกร่างความตกลงเกี่ยวกับการปักปันเส้นเขตทะเล
โดยนายธานี กล่าวยืนยันว่า หลังจากที่การเจรจาภายใต้กรอบเอ็มโอยู ปี 44 ได้หยุดชะงักไปเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางคณะอนุกรรมการฯ ก็ยังไม่ได้มีการเจรจาใดๆ กันอีก