รัฐบาลไทยประกาศยกเลิกการขายข้าว 300,000 ตันให้อินโดนีเซีย ตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ถึงแม้หน่วยงานจัดซื้อของภาครัฐอินโดนีเซียออกมาแถลงในวันอังคาร(27)ว่า ยังไม่ได้รับแจ้งเรื่องนี้เลย ทางด้านผู้ส่งออกย้ำว่าความเคลื่อนไหวคราวนี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทย จะทำให้ข้าวไทยแพงจนส่งออกไม่ได้ ขณะที่พ่อค้าเวียดนามยิ้มร่าคาดหมายว่าจะได้ออร์เดอร์ใหม่ๆ รวมทั้งจากแดนอิเหนาด้วย
รัฐมนตรีพาณิชย์ของไทย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง แถลงว่าข้อตกลงขายข้าว 300,000 ตันนี้ องค์การคลังสินค้าได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เอาไว้กับทางฝ่ายอินโดนีเซียเมื่อกลางเดือนสิงหาคม โดยที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อรัฐมนตรีลงนามในสัญญา แต่ตัวเขาจะไม่เซ็น และข้อตกลงก็จะต้องล้มไป เพราะราคาที่ขายนี้ยังไม่ได้ราคาที่รัฐบาลจะรับจำนำจากเกษตรกร
ทางด้าน ซูตาร์โต อาลีโมเอโซ ซีอีโอขององค์การบูล็อก ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดซื้อของภาครัฐอินโดนีเซีย บอกว่าเขายังไม่ทราบเลยว่า ข้อตกลงซื้อข้าวในระดับรัฐต่อรัฐคราวนี้ได้ถูกล้มเลิกไปแล้ว
“เรายังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการยกเลิกนี้จากทางรัฐบาลไทย ในอีกด้านหนึ่ง เราก็ได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทย ขอทราบข้อมูลความคืบหน้าของข้อตกลงคราวนี้แล้ว” เขากล่าว
พวกพ่อค้าที่ใกล้ชิดกับการทำข้อตกลงครั้งนี้เปิดเผยในเดือนสิงหาคมว่า ตามข้อตกลงฝ่ายไทยจะขายข้าว 5% ในราคาตันละ 550 ดอลลาร์ (ราคาที่รวมต้นทุนบวกค่าระวางขนส่ง) หรือตันละ 515 ดอลลาร์ ในราคาเอฟโอบี (ยังไม่บวกค่าระวางขนส่ง)
รัฐมนตรีพาณิชย์ของไทย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง แถลงว่าข้อตกลงขายข้าว 300,000 ตันนี้ องค์การคลังสินค้าได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เอาไว้กับทางฝ่ายอินโดนีเซียเมื่อกลางเดือนสิงหาคม โดยที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อรัฐมนตรีลงนามในสัญญา แต่ตัวเขาจะไม่เซ็น และข้อตกลงก็จะต้องล้มไป เพราะราคาที่ขายนี้ยังไม่ได้ราคาที่รัฐบาลจะรับจำนำจากเกษตรกร
ทางด้าน ซูตาร์โต อาลีโมเอโซ ซีอีโอขององค์การบูล็อก ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดซื้อของภาครัฐอินโดนีเซีย บอกว่าเขายังไม่ทราบเลยว่า ข้อตกลงซื้อข้าวในระดับรัฐต่อรัฐคราวนี้ได้ถูกล้มเลิกไปแล้ว
“เรายังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการยกเลิกนี้จากทางรัฐบาลไทย ในอีกด้านหนึ่ง เราก็ได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทย ขอทราบข้อมูลความคืบหน้าของข้อตกลงคราวนี้แล้ว” เขากล่าว
พวกพ่อค้าที่ใกล้ชิดกับการทำข้อตกลงครั้งนี้เปิดเผยในเดือนสิงหาคมว่า ตามข้อตกลงฝ่ายไทยจะขายข้าว 5% ในราคาตันละ 550 ดอลลาร์ (ราคาที่รวมต้นทุนบวกค่าระวางขนส่ง) หรือตันละ 515 ดอลลาร์ ในราคาเอฟโอบี (ยังไม่บวกค่าระวางขนส่ง)