นายสาธิต วรรณศิลปิน รองกรรมการผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรม สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ หรือ ATI เปิดเผยว่า ATI จะรับมอบงานบางส่วนที่ TSI ดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะการจัดอบรมและสัมมนาเพื่อเพิ่มเติมทักษะและความรู้ให้กับบุคลากรในตลาดทุนโดยเฉพาะ และการเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานความรู้ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจะทำให้ ATI มีบทบาทและหน้าที่หลักในการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านการลงทุน ทั้งในหลักทรัพย์และการลงทุนในประเภทอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความรู้ด้านการวางแผนด้านการเงินด้วยเครื่องมือและนวตกรรมด้านการเงินต่างๆ ให้กับบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพในธุรกิจหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน นักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการพัฒนาด้านความรู้และทักษะต่างๆในทิศทางที่สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจ และการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต
การพัฒนาบุคลากรในแวดวงตลาดทุน ถือว่าเป็นพันธกิจที่สำคัญของ ATI เนื่องจากบุคลากรในแวดวงตลาดทุน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจตลาดทุนให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน จนกระทั่งผลักดันให้เกิดการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมไปถึงมีทักษะด้านการลงทุนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะนวตกรรมด้านการลงทุนที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำด้านการลงทุนกับนักลงทุนได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
" การมีบุคลากรในแวดวงที่มีคุณภาพและศักยภาพ ถือว่าเป็นไปตามนโยบายการขยายฐานนักลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีบุคลากรในแวดวงที่ให้คำแนะนำ รวมไปถึงนักลงทุนทั่วไปก็สามารถเข้าอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการลงทุน ให้เป็นนักลงทุนคุณค่าได้เช่นกัน " นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นด้านบุคลากรในแวดวงตลาดทุน คือความพร้อมในการให้บริการด้านการลงทุนไม่เพียงพอ ส่วนหนึ่งเกิดจากบุคลากรยังไม่ได้รับใบอนุญาตในการแนะนำหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆซึ่งนอกเหนือจากการเพิ่มจำนวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจแล้ว ความรู้ความเข้าใจ และความชำนาญการของบุคลากร ถือว่าเป็นเรื่องที่จำต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากเห็นว่าตลาดทุนของไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ซึ่งมีความเฉพาะตัวมากขึ้น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาและฝึกอบรมความรู้ความสามารถของบุคลากรให้สามารถรองรับได้ในอนาคต
ทั้งนี้ เป้าหมายของ ATI ในปี 54 นี้ คือการจัดระบบและกระบวนการทำงานให้มีความพร้อมที่จะรับโอนงานจาก TSI ทั้งในด้านงานเป็นศูนย์ทดสอบ การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการฝึกอบรม สำหรับอบรมให้เจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ และธนาคารให้มีความรู้ด้านการลงทุนอย่างรอบด้าน รวมไปถึงสรรหาบุคคลากรที่มีคุณภาพเพื่อเข้าขยายองค์กรให้สามารถรองรับงานพัฒนาหลักสูตรอบรม และการจัดอบรมให้ความรู้และสัมมนาที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในแวดวงตลาดทุนไทย
สำหรับการให้บริการของ ATI นั้น จะให้เน้นการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาให้กับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตลาดเงิน และนักลงทุนที่สนใจเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการลงทุน ซึ่ง ATI จะมีหลักสูตรการอบรมที่หลากหลายให้เหมาะสมกับบุคลากรในแต่ละด้านที่มีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งหลักสูตรต่างๆจะมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมไปถึงนวตกรรมด้านการเงินใหม่ที่มีเพิ่มขึ้นในธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบอนุญาตในการขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นลักษณะติวเข้มเจาะลึกเทคนิคการทำข้อสอบ
รวมไปถึงการเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานความรู้แก่บุคลากรในตลาดในตลาดเงินและตลาดทุนไทย ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ให้ทำหน้าที่จัดทดสอบใบอนุญาตด้วยการให้บริการ ทดสอบผ่านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Digital Testing Center) ที่ทันสมัยและครบวงจร นับตั้งแต่การสมัคร การทดสอบ รวมไปถึงการประมวลและรายงานผล ผู้เข้าสอบจึงได้รับความสะดวกและประโยชน์มากมาย
นอกจากนี้แล้ว ATI ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม ขึ้นจากเดิมที่ได้รับมาจาก TSI อีกจำนวนหลายหลักสูตร รวมทั้งยังมีแผนที่จะพัฒนาหลักสูตรอีกว่า 5 หลักสูตรและที่ผ่านมานั้นทาง ATI ได้จัดการอบรมไปแล้วกว่า 20 ครั้ง ผู้เข้าอบรมกว่า 1,400 คน ซึ่งกลุ่มผู้ที่เข้าอบรมส่วนใหญ่จะทาง กลุ่ม ธนคาร หลักทรัพย์
การพัฒนาบุคลากรในแวดวงตลาดทุน ถือว่าเป็นพันธกิจที่สำคัญของ ATI เนื่องจากบุคลากรในแวดวงตลาดทุน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจตลาดทุนให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน จนกระทั่งผลักดันให้เกิดการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมไปถึงมีทักษะด้านการลงทุนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะนวตกรรมด้านการลงทุนที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำด้านการลงทุนกับนักลงทุนได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
" การมีบุคลากรในแวดวงที่มีคุณภาพและศักยภาพ ถือว่าเป็นไปตามนโยบายการขยายฐานนักลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีบุคลากรในแวดวงที่ให้คำแนะนำ รวมไปถึงนักลงทุนทั่วไปก็สามารถเข้าอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการลงทุน ให้เป็นนักลงทุนคุณค่าได้เช่นกัน " นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นด้านบุคลากรในแวดวงตลาดทุน คือความพร้อมในการให้บริการด้านการลงทุนไม่เพียงพอ ส่วนหนึ่งเกิดจากบุคลากรยังไม่ได้รับใบอนุญาตในการแนะนำหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆซึ่งนอกเหนือจากการเพิ่มจำนวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจแล้ว ความรู้ความเข้าใจ และความชำนาญการของบุคลากร ถือว่าเป็นเรื่องที่จำต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากเห็นว่าตลาดทุนของไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ซึ่งมีความเฉพาะตัวมากขึ้น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาและฝึกอบรมความรู้ความสามารถของบุคลากรให้สามารถรองรับได้ในอนาคต
ทั้งนี้ เป้าหมายของ ATI ในปี 54 นี้ คือการจัดระบบและกระบวนการทำงานให้มีความพร้อมที่จะรับโอนงานจาก TSI ทั้งในด้านงานเป็นศูนย์ทดสอบ การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการฝึกอบรม สำหรับอบรมให้เจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ และธนาคารให้มีความรู้ด้านการลงทุนอย่างรอบด้าน รวมไปถึงสรรหาบุคคลากรที่มีคุณภาพเพื่อเข้าขยายองค์กรให้สามารถรองรับงานพัฒนาหลักสูตรอบรม และการจัดอบรมให้ความรู้และสัมมนาที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในแวดวงตลาดทุนไทย
สำหรับการให้บริการของ ATI นั้น จะให้เน้นการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาให้กับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตลาดเงิน และนักลงทุนที่สนใจเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการลงทุน ซึ่ง ATI จะมีหลักสูตรการอบรมที่หลากหลายให้เหมาะสมกับบุคลากรในแต่ละด้านที่มีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งหลักสูตรต่างๆจะมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมไปถึงนวตกรรมด้านการเงินใหม่ที่มีเพิ่มขึ้นในธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบอนุญาตในการขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นลักษณะติวเข้มเจาะลึกเทคนิคการทำข้อสอบ
รวมไปถึงการเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานความรู้แก่บุคลากรในตลาดในตลาดเงินและตลาดทุนไทย ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ให้ทำหน้าที่จัดทดสอบใบอนุญาตด้วยการให้บริการ ทดสอบผ่านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Digital Testing Center) ที่ทันสมัยและครบวงจร นับตั้งแต่การสมัคร การทดสอบ รวมไปถึงการประมวลและรายงานผล ผู้เข้าสอบจึงได้รับความสะดวกและประโยชน์มากมาย
นอกจากนี้แล้ว ATI ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม ขึ้นจากเดิมที่ได้รับมาจาก TSI อีกจำนวนหลายหลักสูตร รวมทั้งยังมีแผนที่จะพัฒนาหลักสูตรอีกว่า 5 หลักสูตรและที่ผ่านมานั้นทาง ATI ได้จัดการอบรมไปแล้วกว่า 20 ครั้ง ผู้เข้าอบรมกว่า 1,400 คน ซึ่งกลุ่มผู้ที่เข้าอบรมส่วนใหญ่จะทาง กลุ่ม ธนคาร หลักทรัพย์