รัฐตำรวจเป็นคำที่ถูกกล่าวถึงมากคำหนึ่งในการปกครองภายใต้ระบอบทักษิณที่ได้วางกลไก ทำให้เกิดความเชื่อว่ารัฐได้สั่งการให้มีการสอดส่อง สอดแนมหรือการเข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งการเข้าคุกคามในสิทธิส่วนบุคคลโดยอาศัยตำรวจหรือกลไกรัฐอื่นๆ อย่างการให้ พ.ต.อ.พีรพันธุ์ เปรมภูติ (ยศขณะนั้น) เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าตรวจสอบบัญชีเงินของนักหนังสือพิมพ์ในเครือเดอะเนชั่นไม่ว่าคุณสุทธิชัย หยุ่น คุณเทพชัย หย่อง คุณโสภณ องค์การ ฯลฯ หรือการสอบนักวิชาการภาคเอกชนที่อุทิศตนทำงานให้สังคมมาโดยตลอดอย่างคุณชัยพันธุ์ ประภาสะวัต คุณวนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ฯลฯ ซึ่งการกระทำนี้จะเห็นได้ว่าไม่ต่างจากคำนิยามในเรื่องรัฐตำรวจในต่างประเทศ ที่เข้าใจโดยรวมว่า
รัฐตำรวจ คือ รัฐที่มีความคิดการปกครองแบบตายตัว ไร้การยืดหยุ่นในการครอบครองอำนาจ พร้อมจะปราบปราม ทั้งควบคุมครอบงำสังคม เศรษฐกิจ และชีวิตทางการเมืองของประชาชน รัฐตำรวจเป็นรากฐานระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จและการควบคุมสังคม โดยปกติจะไม่มีความแตกต่างระหว่างกฎหมายและอำนาจทางการเมืองของผู้มีอำนาจ พูดง่ายๆ ก็คือ ข้าคืออำนาจ ข้าคือกฎหมาย
การศึกษาประวัติศาสตร์รัฐตำรวจไทย จึงเป็นการศึกษารากเหง้าของเรื่องราวที่เกิดมาในอดีต นับตั้งแต่ยุคแรกที่มี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นรัฐตำรวจไทยเกิดอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ถึงกล้าประกาศว่า “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้” ในยุคนี้เป็นยุครุ่งเรืองของตำรวจที่เรียกว่า “ยุคอัศวินแหวนเพชร” แต่นักหนังสือพิมพ์ หรือนักการเมืองเรียกว่า “ยุคทมิฬ” มีการนำ 4 รัฐมนตรีที่เป็นผู้นำทางการเมืองจากภาคอีสานอย่างนายเตียง ศิริขันธ์ (ส.ส.สกลนคร) ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าเสรีไทยในภาคอีสาน นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส.อุบลราชธานี) ถวิล อุดล (ส.ส.ร้อยเอ็ด) และจำลอง ดาวเรือง (ส.ส.มหาสารคาม) ไปฆ่าแถวทุ่งบางเขนเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2495 โดยอ้างว่าเป็นฝีมือของพวกแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้
ในขณะเดียวกันจับหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ บิดาของเด่น โต๊ะมีนา (ส.ส.ปัตตานี) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีมาฆ่าโดยจับถ่วงน้ำที่ทะเลสาบสงขลา หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์นี้หายตัวไปหลังจากที่ไปเข้ารายงานตัวกับตำรวจสันติบาลที่จังหวัดสงขลาในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ยุคของพล.ต.อ. เผ่า จึงเป็นยุคที่ได้สร้างบาดแผลในประวัติศาสตร์ให้ชาติไทย และความยิ่งใหญ่ของรัฐตำรวจไทยนี้ดูได้จากโครงสร้างตำรวจที่มีแผนแม่บทเหมือนกับกองทัพโดยมีตำรวจม้า ตำรวจรถถัง ตำรวจน้ำ ตำรวจพลร่ม ตำรวจป่าไม้ ตำรวจรถไฟ ทั้งยังมีการแบ่งชั้นการปกครองโดยคนที่ใกล้ชิดที่มีฝีมือในการจัดการได้ตามสั่ง รวมถึงการเป็นมือสังหารจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่าอัศวินแหวนเพชร ระบบให้แหวนนี้ได้มีการสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบมีลำดับชั้น โดยเริ่มต้นที่การมอบแหวนอัศวินให้นักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษาทุกๆ คนในแต่ละปี
ภายใต้รัฐตำรวจนี้ได้สร้างฐานะความร่ำรวยให้ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อยู่ในอันดับที่ 9 ใน 10 ของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของนิตยสารต่างประเทศ (www.oknation.net) แต่บั้นปลายชีวิตของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเสียชีวิตที่นั่น
เมื่อมาถึงยุคทักษิณ การเมืองไทยน่าจะไปได้ไกลกว่านี้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2544-2549 กลับติดกับดักวิธีคิดแบบรัฐตำรวจ วิถีทางการจัดการแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ว่ากับนักหนังสือพิมพ์ นักกิจกรรมเพื่อสังคม นักวิชาการที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับความไม่ถูกต้อง ฯลฯ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณอาจมีพวก แต่ก็ได้สร้างศัตรูไปทั่วสารทิศ และในยุคนี้ตำรวจก็ได้สยายปีกไปอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น
พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พ.ต.อ.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เป็นเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ต่อมาได้รับยศ พล.ต.ต. และเห็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในองค์กรอิสระอย่าง พล.ต.ท.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธานสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ และพล.ต.ต.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ เป็นกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ เป็นผู้อำนวยการกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่ง กองสลากกินแบ่งรัฐบาลนี้เป็นแหล่งเงินที่สำคัญที่ถูกนำมาใช้สำหรับการปฏิวัติรัฐประหาร มาตั้งแต่ยุคจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นอกจากนี้ยังแต่งตั้งนายตำรวจเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจที่สำคัญอีกหลายแห่ง
การวางฐานอำนาจของพ.ต.ท.ทักษิณ แม้ว่าแข็งแรงเพียงใด แต่แค่ผงบังตาของอำนาจก็ต้องระเห็จไปอยู่ต่างประเทศ และยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยอาศัยเงิน การจัดตั้งคนและที่สำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณ มีกลยุทธ์ร่วมกับใครก็ได้ที่ให้ได้อำนาจมาเพื่อการฟื้นสถานะที่สมบูรณ์แบบบูรณาการ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจที่มาถึงนายกรัฐมนตรีโคลนนิ่ง “ยิ่งลักษณ์”
ยุคยิ่งลักษณ์ พ.ศ. 2554 ในช่วงเดือนเดียวก็มีการโยกย้าย แต่งตั้ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เป็นเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็นเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย (อธิบดีกรมราชทัณฑ์) และแต่งตั้งพล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ กลับมาเป็นกรรมการกองสลากกินแบ่งรัฐบาล
การแต่งตั้งข้ารัฐบาลข้างต้นของนายกรัฐมนตรีโคลนนิ่งยิ่งลักษณ์ จะเห็นได้ว่ายังคงเป็นเกมทางการเมืองที่ต้องรักษาอำนาจและเสริมสร้างกำลังที่สะท้อนให้เห็นความเป็นรัฐตำรวจ จึงทำให้อดห่วงใยบ้านเมืองไม่ได้ อย่างความผิดพลาดของรัฐบาลทักษิณที่ยกเลิก ศอ.บต.ให้ตำรวจมีอำนาจเพียงฝ่ายเดียว มีการฆ่าสายข่าวของทางทหาร ทำให้สถานการณ์ในภาคใต้เลวลงเรื่อยๆ วันนี้ก็ปูนบำเหน็จให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นซี 11 ขึ้นเป็นผู้ดูแลศอ.บต. ถ้าเกิดความเสียหายกว่าเก่า ใครจะรับผิดชอบ นอกจากนี้ผู้ได้รับการปูนบำเหน็จครั้งนี้บางคนยังถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสอบสวนและตั้งข้อกล่าวหาว่าทุจริตในหน้าที่ จึงสะท้อนให้เห็นว่ารัฐไทยในยุคยิ่งลักษณ์ก็ไม่ต่างไปจากรัฐตำรวจไม่ว่าที่ไหนๆ ในโลกที่เป็นเครื่องมือของบรรดาเผด็จการ ที่มีไว้เพื่อรักษาอำนาจและเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้พวกพ้อง ซึ่งทำให้สังคมไทยไปสู่ยุคมืด สู่ทางตันหรือสู่การเผชิญหน้าที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ส่วนคนไทยจะทำอย่างไรนั้น ผู้เขียนใคร่ขอสรุปสั้นๆ ว่า
เมืองไทยวันนี้ คนไทยวันนี้จึงต้องยึดมั่นคำพระว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” หรือ “รวมกันเราอยู่ แยกกันชาติล่ม” ด้วยประการฉะนี้
รัฐตำรวจ คือ รัฐที่มีความคิดการปกครองแบบตายตัว ไร้การยืดหยุ่นในการครอบครองอำนาจ พร้อมจะปราบปราม ทั้งควบคุมครอบงำสังคม เศรษฐกิจ และชีวิตทางการเมืองของประชาชน รัฐตำรวจเป็นรากฐานระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จและการควบคุมสังคม โดยปกติจะไม่มีความแตกต่างระหว่างกฎหมายและอำนาจทางการเมืองของผู้มีอำนาจ พูดง่ายๆ ก็คือ ข้าคืออำนาจ ข้าคือกฎหมาย
การศึกษาประวัติศาสตร์รัฐตำรวจไทย จึงเป็นการศึกษารากเหง้าของเรื่องราวที่เกิดมาในอดีต นับตั้งแต่ยุคแรกที่มี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นรัฐตำรวจไทยเกิดอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ถึงกล้าประกาศว่า “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้” ในยุคนี้เป็นยุครุ่งเรืองของตำรวจที่เรียกว่า “ยุคอัศวินแหวนเพชร” แต่นักหนังสือพิมพ์ หรือนักการเมืองเรียกว่า “ยุคทมิฬ” มีการนำ 4 รัฐมนตรีที่เป็นผู้นำทางการเมืองจากภาคอีสานอย่างนายเตียง ศิริขันธ์ (ส.ส.สกลนคร) ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าเสรีไทยในภาคอีสาน นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส.อุบลราชธานี) ถวิล อุดล (ส.ส.ร้อยเอ็ด) และจำลอง ดาวเรือง (ส.ส.มหาสารคาม) ไปฆ่าแถวทุ่งบางเขนเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2495 โดยอ้างว่าเป็นฝีมือของพวกแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้
ในขณะเดียวกันจับหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ บิดาของเด่น โต๊ะมีนา (ส.ส.ปัตตานี) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีมาฆ่าโดยจับถ่วงน้ำที่ทะเลสาบสงขลา หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์นี้หายตัวไปหลังจากที่ไปเข้ารายงานตัวกับตำรวจสันติบาลที่จังหวัดสงขลาในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ยุคของพล.ต.อ. เผ่า จึงเป็นยุคที่ได้สร้างบาดแผลในประวัติศาสตร์ให้ชาติไทย และความยิ่งใหญ่ของรัฐตำรวจไทยนี้ดูได้จากโครงสร้างตำรวจที่มีแผนแม่บทเหมือนกับกองทัพโดยมีตำรวจม้า ตำรวจรถถัง ตำรวจน้ำ ตำรวจพลร่ม ตำรวจป่าไม้ ตำรวจรถไฟ ทั้งยังมีการแบ่งชั้นการปกครองโดยคนที่ใกล้ชิดที่มีฝีมือในการจัดการได้ตามสั่ง รวมถึงการเป็นมือสังหารจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่าอัศวินแหวนเพชร ระบบให้แหวนนี้ได้มีการสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบมีลำดับชั้น โดยเริ่มต้นที่การมอบแหวนอัศวินให้นักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษาทุกๆ คนในแต่ละปี
ภายใต้รัฐตำรวจนี้ได้สร้างฐานะความร่ำรวยให้ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อยู่ในอันดับที่ 9 ใน 10 ของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของนิตยสารต่างประเทศ (www.oknation.net) แต่บั้นปลายชีวิตของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเสียชีวิตที่นั่น
เมื่อมาถึงยุคทักษิณ การเมืองไทยน่าจะไปได้ไกลกว่านี้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2544-2549 กลับติดกับดักวิธีคิดแบบรัฐตำรวจ วิถีทางการจัดการแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ว่ากับนักหนังสือพิมพ์ นักกิจกรรมเพื่อสังคม นักวิชาการที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับความไม่ถูกต้อง ฯลฯ ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณอาจมีพวก แต่ก็ได้สร้างศัตรูไปทั่วสารทิศ และในยุคนี้ตำรวจก็ได้สยายปีกไปอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น
พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย เป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พ.ต.อ.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เป็นเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ต่อมาได้รับยศ พล.ต.ต. และเห็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในองค์กรอิสระอย่าง พล.ต.ท.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธานสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ และพล.ต.ต.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ เป็นกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ เป็นผู้อำนวยการกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่ง กองสลากกินแบ่งรัฐบาลนี้เป็นแหล่งเงินที่สำคัญที่ถูกนำมาใช้สำหรับการปฏิวัติรัฐประหาร มาตั้งแต่ยุคจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นอกจากนี้ยังแต่งตั้งนายตำรวจเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจที่สำคัญอีกหลายแห่ง
การวางฐานอำนาจของพ.ต.ท.ทักษิณ แม้ว่าแข็งแรงเพียงใด แต่แค่ผงบังตาของอำนาจก็ต้องระเห็จไปอยู่ต่างประเทศ และยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยอาศัยเงิน การจัดตั้งคนและที่สำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณ มีกลยุทธ์ร่วมกับใครก็ได้ที่ให้ได้อำนาจมาเพื่อการฟื้นสถานะที่สมบูรณ์แบบบูรณาการ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจที่มาถึงนายกรัฐมนตรีโคลนนิ่ง “ยิ่งลักษณ์”
ยุคยิ่งลักษณ์ พ.ศ. 2554 ในช่วงเดือนเดียวก็มีการโยกย้าย แต่งตั้ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เป็นเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็นเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย (อธิบดีกรมราชทัณฑ์) และแต่งตั้งพล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ กลับมาเป็นกรรมการกองสลากกินแบ่งรัฐบาล
การแต่งตั้งข้ารัฐบาลข้างต้นของนายกรัฐมนตรีโคลนนิ่งยิ่งลักษณ์ จะเห็นได้ว่ายังคงเป็นเกมทางการเมืองที่ต้องรักษาอำนาจและเสริมสร้างกำลังที่สะท้อนให้เห็นความเป็นรัฐตำรวจ จึงทำให้อดห่วงใยบ้านเมืองไม่ได้ อย่างความผิดพลาดของรัฐบาลทักษิณที่ยกเลิก ศอ.บต.ให้ตำรวจมีอำนาจเพียงฝ่ายเดียว มีการฆ่าสายข่าวของทางทหาร ทำให้สถานการณ์ในภาคใต้เลวลงเรื่อยๆ วันนี้ก็ปูนบำเหน็จให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นซี 11 ขึ้นเป็นผู้ดูแลศอ.บต. ถ้าเกิดความเสียหายกว่าเก่า ใครจะรับผิดชอบ นอกจากนี้ผู้ได้รับการปูนบำเหน็จครั้งนี้บางคนยังถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสอบสวนและตั้งข้อกล่าวหาว่าทุจริตในหน้าที่ จึงสะท้อนให้เห็นว่ารัฐไทยในยุคยิ่งลักษณ์ก็ไม่ต่างไปจากรัฐตำรวจไม่ว่าที่ไหนๆ ในโลกที่เป็นเครื่องมือของบรรดาเผด็จการ ที่มีไว้เพื่อรักษาอำนาจและเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้พวกพ้อง ซึ่งทำให้สังคมไทยไปสู่ยุคมืด สู่ทางตันหรือสู่การเผชิญหน้าที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ส่วนคนไทยจะทำอย่างไรนั้น ผู้เขียนใคร่ขอสรุปสั้นๆ ว่า
เมืองไทยวันนี้ คนไทยวันนี้จึงต้องยึดมั่นคำพระว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” หรือ “รวมกันเราอยู่ แยกกันชาติล่ม” ด้วยประการฉะนี้