*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**เป็นอิสระจากพรรคกิจประชาชน**
บางทีอาจจะเป็นเพราะตระหนักดีว่า บางภาคส่วนในสังคมกำลังเกิดความไม่พอใจพรรคกิจประชาชน ที่เป็นพรรครัฐบาลสิงคโปร์มาอย่างยาวนาน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังที่เห็นมาแล้วจากผลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อเดือนพฤษภาคม จึงปรากฏว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้ง 4 คนในคราวนี้ ต่างพยายามวางตัวเองให้เหินห่างจากคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ด้วยการเน้นย้ำความเป็นอิสระจากพรรคกิจประชาชนของพวกเขา
โทนี ตัน และ ตัน เชง บ็อก ประสบความยากลำบากมากกว่าในการพยายามพิสูจน์ความเป็นอิสระของพวกเขา เนื่องจากต่างก็เป็นสมาชิกของพรรคนี้มาอย่างยาวนาน กระนั้นในหลายๆ โอกาส พวกเขาก็พยายามพูดย้ำให้สาธารณชนรำลึกว่า พวกเขาได้เคยพูดเคยแสดงออกในทางคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายและการกระทำที่ไม่ถูกต้องของเพื่อนสมาชิกพรรคกิจประชาชน ตัน เชง บ็อก บอกว่า เขาเคยพูดคัดค้านแผนการที่จะอนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งเข้าไปเป็นสมาชิกรัฐสภา
ขณะที่ โทนี ตัน เล่าว่าในตอนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เขาได้เคยคัดค้านแผนการที่จะให้บรรดาคุณแม่ที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยตลอดจนลูกๆ ของพวกเธอ ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับพิจารณาก่อนในด้านการศึกษาและที่อยู่อาศัย, การได้ลดหย่อนภาษี, และผลประโยชน์อย่างอื่นๆ อีก ทั้งนี้หลังจากที่ได้มีการอภิปรายถกเถียงกันในรัฐสภาในเวลาต่อมา แผนการนี้จึงถูกโยนลงถังขยะในที่สุด
ทางด้าน ตัน คิน เหลียน กับ ตัน จี เซย์ แน่นอนที่ว่าพวกเขาสามารถเน้นย้ำได้อย่างง่ายดายกว่าในเรื่องความเป็นอิสระของพวกเขา ตัน คิน เหลียน นั้นไม่เคยลงแข่งขันชิงชัยในนามของพรรคการเมืองใด หรือในการเลือกตั้งใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่ ติน จี เซย์ ไม่เคยเป็นสมาชิกของพรรคกิจประชาชนเลย ตัน คิน เหลียน บอกว่าเขาต้องการที่จะเป็น “ปากเสียงของประชาชน” ไม่ว่าจะสังกัดอยู่ในพรรคหรือสมาคมการเมืองสายไหน ขณะที่ ตัน จี เซย์ ย้ำว่า เขาต้องการเป็นพลังหนึ่งในการ “ตรวจสอบและถ่วงดุล” รัฐบาลพรรคกิจประชาชน
พวกนักวิเคราะห์บอกว่า พวกเขาค่อนข้างเซอร์ไพรซ์ทีเดียวสำหรับการได้คะแนนเสียงถึง 25% ของคนหน้าใหม่ในแวดวงการเมืองอย่าง ตัน จี เซย์ ผู้ซึ่งกลายเป็นบุคคลผู้ได้รับการจับตามองอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน เมื่อมีการแนะนำเขาในฐานะผู้สมัครสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคฝ่ายค้านอย่าง พรรคประชาธิปไตยสิงคโปร์ (Singapore Democratic Party)
“เรื่องนี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากว่า ชาวสิงคโปร์ต้องการระบบการเมืองที่มีหลายพรรคหลากหลายมากขึ้น ซึ่งก็คือระบบการเมืองที่ไม่มีพรรคไหนครอบงำเหนือล้ำกว่าพรรคอื่นอย่างมากมายมหาศาล” นี่เป็นความเห็นของ รูเบน หว่อง (Reuben Wong) รองศาสตราจารย์แห่งภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore หรือ NUS) “การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยเช่นนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายๆ ประเทศเอเชียซึ่งเคยอยู่ในระบบที่มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งครอบงำเวทีมาก่อน (ตัวอย่างเช่นใน) ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ น่าที่จะเป็นรายถัดๆ ไป” เขากล่าว
**เสถียรภาพมาก่อนความเปลี่ยนแปลง**
พวกนักวิเคราะห์มีความเห็นว่า จังหวะเวลาของการเลือกตั้งคราวนี้น่าจะทำให้ โทนี ตัน เป็นฝ่ายได้เปรียบ ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ไร้ความแน่นอนระลอกแล้วระลอกเล่า โดยที่สิงคโปร์เองก็กำลังอยู่บนขอบเหวของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (นิยามของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทางเทคนิค ก็คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน) หลังจากที่รายงานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบในไตรมาสสอง (เมษายน-มิถุนายน) ปีนี้ ในสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ชาวสิงคโปร์ที่เป็นพวกอนุรักษนิยม และเป็นพวกเน้นผลทางปฏิบัติไม่ยึดติดอุดมการณ์ใดๆ จึงตัดสินใจเลือกเสถียรภาพ แทนที่จะเลือกความเปลี่ยนแปลง และ โทนี ตัน ที่มีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในภาคการเงิน ก็มีภาษีเหนือกว่าเหล่าคู่แข่งของเขา
นักธุรกิจ ลี ชูน ฮง (Lee Choon Hong) เป็นคนหนึ่งที่มีความคิดในลักษณะนี้ เขาเคยออกเสียงเลือกผู้สมัครฝ่ายค้านในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม ทว่าในการเลือกตั้งตอนสิ้นเดือนสิงหคม เขา “วางเดิมพันเทให้” โทนี ตัน
“ผมเลือกคนที่เป็นมือดี ในบรรดาผู้สมัครทั้งหมดในคราวนี้ โทนี ตัน คือคนที่ดีที่สุด เขามีความรอบรู้อย่างยิ่ง และจะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ได้ เขายังมาจากฝ่ายรัฐบาลด้วย ดังนั้นเขาจึงสามารถทำงานกับนายกรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี (เวลาที่เกิดปัญหาลำบากยุ่งยากขึ้นมา)” เขาบอก
ในช่วง 2 วันก่อนการเลือกตั้ง ประชาคมทางธุรกิจได้ประกาศให้การสนับสนุนการลงแข่งขันของ โทนี ตัน ทั้งนี้ สหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ (Singapore Business Federation) ออกมาแถลงแสดงความหวังว่า ชาวสิงคโปร์จะส่งข้อความอันแข็งแรงว่า พวกเขาต้องการ “เสถียรภาพและความสมเหตุสมผลทางเศรษฐกิจ” ในเวลาไปหย่อนบัตรลงคะแนน เพราะผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของบรรดานักธุรกิจ ในเรื่องที่ว่าจะลงทุนหรือจะขยายการดำเนินงานในสิงคโปร์หรือไม่
พวกกิจการค้าปลีกของสิงคโปร์ก็แสดงการหนุนหลัง โทนี ตัน ด้วยการแถลงว่า บุคคลผู้นี้เป็นบุคคลที่ดีที่สุดในการรับประกันว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะยังคงมีเสถียรภาพ ดังนั้น “เราจึงใคร่ขอสนับสนุนให้ทุกๆ คนไปลงคะแนนให้ โทนี ตัน” แจนนี ชาน (Jannie Chan) นายกสมาคมผู้ค้าปลีกสิงคโปร์ (Singapore Retailers Association) ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิก 300 ราย บอกกับสื่อท้องถิ่น
พวกสหภาพที่มีความเชื่อมโยงกับขบวนการแรงงานในสิงคโปร์จำนวน 3 แห่งจากทั้งสิ้น 4 แห่ง ก็ประกาศให้การสนับสนุน โทนี ตัน โดยที่ ลิม สวี เซย์ (Lim Swee Say) เลขาธิการของสภาแรงงานแห่งชาติ (National Trades Union Congress) บอกว่า บรรดาสหภาพต้องการประธานาธิบดีที่สามารถส่งเสริมฐานะระหว่างประเทศของสิงคโปร์ให้โดดเด่น เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ พวกเขาระบุว่าพวกเขาปรารถนาผู้สมัครที่มีเกียรติประวัติอันดีในเรื่องการสนับสนุนการสร้างงาน และเป็นผู้ที่ได้แสดงให้เห็นแล้วถึงความสามารถในการทำงานอย่างสร้างสรรค์กับฝ่ายรัฐบาล
ตัว โทนี ตัน เองนั้นก็พูดสาธยายลงรายละเอียดมากมาย เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯและในยุโรป พร้อมกับเตือนครั้งแล้วครั้งเล่าเกี่ยวกับ “เมฆดำทะมึน” ที่กำลังรอคอยอยู่ตรงขอบฟ้า เขาขอให้ผู้ออกเสียงเลือกประธานาธิบดีผู้ “ผ่านการทดสอบแล้ว, เป็นที่ไว้วางใจ, และเป็นของจริง” (tested, trusted, true) เพื่อรับประกันว่าจะทำให้เกิด “ความมั่นอกมั่นใจเกี่ยวกับอนาคต” ขึ้นมาได้
ความเห็นที่ว่า การเลือกตั้งคราวนี้คือการที่สิงคโปร์เลือกเสถียรภาพมากกว่าเลือกความเปลี่ยนแปลง มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนแจ่มแจ้งมาก นั่นคือ เมื่อนำเอาคะแนนเสียงที่เลือก โทนี ตัน กับที่เลือก ตัน เชง บ็อก มารวมกัน ผลลัพธ์จะออกมาที่ 70% ทีเดียว อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ยังคงไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่า โทนี ตัน ได้รับคะแนนเสียงโดยตรงจากผู้ไปลงคะแนนเพียงจำนวนน้อย
ถึงแม้บทบาทโดยส่วนใหญ่ของประธานาธิบดีจะมีลักษณะเป็นเรื่องทางพิธีการ แต่หลังจากผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว ก็ยังมีประชาชนจำนวนมากแสดงความเป็นห่วงในเรื่องที่มี โทนี ตัน ชนะเลือกตั้งแบบเฉียดฉิว ซึ่งแสดงถึงการได้รับอาณัติที่อ่อนปวกเปียกจากประชาชน แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ สเตรทส์ไทมส์ ที่ภาครัฐเป็นเจ้าของ ก็ยังออกมากล่าวเตือนผู้อ่านว่า “(ผู้ออกเสียง) เกือบๆ สองในสามทีเดียว ปฏิเสธไม่ลงคะแนนให้เขา”
หว่อง นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย NUS อธิบายว่า การเลือกตั้งคราวนี้เป็นการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นระหว่างผู้สมัคร 4 คน จนกระทั่งหลังจากช่วงการรณรงค์หาเสียงผ่านพ้นไปแล้ว “ก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจนเลยว่า ผู้สมัครคนไหนที่จะสามารถได้คะแนนถึง 50% ของผู้ออกเสียงทั้งหมด ในระบบการแข่งขันที่เป็นแบบเลือกตั้งรอบเดียว ใครได้คะแนนมากที่สุดก็ชนะไปเลยเช่นนี้”
ทางด้านพรรคปฏิรูป (Reform Party) ที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้เสนอแนวความคิดให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งแบบชี้ขาด นั่นคือ ถ้าหากในรอบแรกไม่มีผู้สมัครคนใดได้เสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ออกเสียงทั้งหมด ก็ให้จัดการเลือกตั้งรอบสอง โดยนำเอาผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดสองคนแรกในรอบแรกมาแข่งขันกันอีกครั้ง
“ประชาชนได้พูดออกมาแล้ว และเสียงส่วนข้างมากอย่างชัดเจนได้พูดว่า พวกเขาต้องการประธานาธิบดีอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่คนที่เป็นผู้ชนะในปัจจุบัน” เคนเนธ เจยาเรตนัม (Kenneth Jeyaretnam) เลขาธิการพรรคปฏิรูป กล่าว
“ประธานาธิบดีนั้นแตกต่างจากรัฐบาล รัฐบาลต้องการเพียงแค่ให้ได้ที่นั่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งในรัฐสภาเท่านั้นเอง แต่ประธานาธิบดีควรจะต้องเป็นผู้ทำให้ชาวสิงคโปร์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่ามีความโน้มเอียงหรือทัศนะทางการเมืองอย่างไร มีความสามัคคีเป็นเอกภาพกัน การที่จะทำเช่นนี้ได้ จำเป็นที่เขาจะต้องได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ออกเสียงอย่างชัดเจน และไม่ใช่เป็นผู้ชนะด้วยความแตกต่างของคะแนนที่แทบไร้ความสำคัญเชิงสถิติ ระหว่างเขากับผู้ที่ได้อันดับรองลงมา” เจยารัตนัม แจกแจง
ในส่วนของนายกรัฐมนตรี ลีเซียนลุง เขาออกมาขอร้องให้ประชาชนในชาติมีความสามัคคีกัน หลังจากการรณรงค์หาเสียงอันเข้มข้นผ่านพ้นไปแล้ว “เวลานี้การเลือกตั้งยุติลงแล้ว เราทั้งหมดควรต้องหันหน้าเข้าหากันอีกครั้งในฐานะที่เป็นชาวสิงคโปร์ด้วยกัน เพื่อแก้ไขรับมือกับการท้าทายต่างๆ ที่สิงคโปร์ประสบอยู่ และนำพาประเทศชาติของเราให้ก้าวไปข้างหน้า” ลี บอก
สำหรับ โทนี ตัน ภายหลังผลการเลือกตั้งประกาศออกมาว่าเขาเป็นผู้ชนะ เขาก็แถลงว่าเรื่องสำคัญลำดับแรกของเขาก็คือ การทำให้ผู้ออกเสียงที่เกิดการแตกขั้วกันเนื่องจากมีทัศนะทางการเมืองที่แตกต่างกัน ได้กลับมารวมตัวเป็นเอกภาพกันใหม่
“ประธานาธิบดีคือประธานาธิบดีของชาวสิงคโปร์ทั้งมวล ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงผู้ที่ออกเสียงเลือกผมเท่านั้น” เขาบอก “ผมขอให้สัญญาว่าจะทำงานของผมอย่างดีที่สุดเพื่อชาวสิงคโปร์แต่ละคน และชาวสิงคโปร์ทุกๆ คน ไม่ว่าพวกเขาจะมีแนวคิดทางการเมืองอย่างไรก็ตามที”
เมกาวะตี วิจายา เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในสิงคโปร์ สามารถติดต่อเธอทางอีเมลได้ที่ megawati.wijaya@gmail.com
(ต่อจากตอนแรก)
**เป็นอิสระจากพรรคกิจประชาชน**
บางทีอาจจะเป็นเพราะตระหนักดีว่า บางภาคส่วนในสังคมกำลังเกิดความไม่พอใจพรรคกิจประชาชน ที่เป็นพรรครัฐบาลสิงคโปร์มาอย่างยาวนาน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังที่เห็นมาแล้วจากผลการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อเดือนพฤษภาคม จึงปรากฏว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้ง 4 คนในคราวนี้ ต่างพยายามวางตัวเองให้เหินห่างจากคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ด้วยการเน้นย้ำความเป็นอิสระจากพรรคกิจประชาชนของพวกเขา
โทนี ตัน และ ตัน เชง บ็อก ประสบความยากลำบากมากกว่าในการพยายามพิสูจน์ความเป็นอิสระของพวกเขา เนื่องจากต่างก็เป็นสมาชิกของพรรคนี้มาอย่างยาวนาน กระนั้นในหลายๆ โอกาส พวกเขาก็พยายามพูดย้ำให้สาธารณชนรำลึกว่า พวกเขาได้เคยพูดเคยแสดงออกในทางคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายและการกระทำที่ไม่ถูกต้องของเพื่อนสมาชิกพรรคกิจประชาชน ตัน เชง บ็อก บอกว่า เขาเคยพูดคัดค้านแผนการที่จะอนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งเข้าไปเป็นสมาชิกรัฐสภา
ขณะที่ โทนี ตัน เล่าว่าในตอนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เขาได้เคยคัดค้านแผนการที่จะให้บรรดาคุณแม่ที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยตลอดจนลูกๆ ของพวกเธอ ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับพิจารณาก่อนในด้านการศึกษาและที่อยู่อาศัย, การได้ลดหย่อนภาษี, และผลประโยชน์อย่างอื่นๆ อีก ทั้งนี้หลังจากที่ได้มีการอภิปรายถกเถียงกันในรัฐสภาในเวลาต่อมา แผนการนี้จึงถูกโยนลงถังขยะในที่สุด
ทางด้าน ตัน คิน เหลียน กับ ตัน จี เซย์ แน่นอนที่ว่าพวกเขาสามารถเน้นย้ำได้อย่างง่ายดายกว่าในเรื่องความเป็นอิสระของพวกเขา ตัน คิน เหลียน นั้นไม่เคยลงแข่งขันชิงชัยในนามของพรรคการเมืองใด หรือในการเลือกตั้งใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่ ติน จี เซย์ ไม่เคยเป็นสมาชิกของพรรคกิจประชาชนเลย ตัน คิน เหลียน บอกว่าเขาต้องการที่จะเป็น “ปากเสียงของประชาชน” ไม่ว่าจะสังกัดอยู่ในพรรคหรือสมาคมการเมืองสายไหน ขณะที่ ตัน จี เซย์ ย้ำว่า เขาต้องการเป็นพลังหนึ่งในการ “ตรวจสอบและถ่วงดุล” รัฐบาลพรรคกิจประชาชน
พวกนักวิเคราะห์บอกว่า พวกเขาค่อนข้างเซอร์ไพรซ์ทีเดียวสำหรับการได้คะแนนเสียงถึง 25% ของคนหน้าใหม่ในแวดวงการเมืองอย่าง ตัน จี เซย์ ผู้ซึ่งกลายเป็นบุคคลผู้ได้รับการจับตามองอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน เมื่อมีการแนะนำเขาในฐานะผู้สมัครสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคฝ่ายค้านอย่าง พรรคประชาธิปไตยสิงคโปร์ (Singapore Democratic Party)
“เรื่องนี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากว่า ชาวสิงคโปร์ต้องการระบบการเมืองที่มีหลายพรรคหลากหลายมากขึ้น ซึ่งก็คือระบบการเมืองที่ไม่มีพรรคไหนครอบงำเหนือล้ำกว่าพรรคอื่นอย่างมากมายมหาศาล” นี่เป็นความเห็นของ รูเบน หว่อง (Reuben Wong) รองศาสตราจารย์แห่งภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore หรือ NUS) “การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยเช่นนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายๆ ประเทศเอเชียซึ่งเคยอยู่ในระบบที่มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งครอบงำเวทีมาก่อน (ตัวอย่างเช่นใน) ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ น่าที่จะเป็นรายถัดๆ ไป” เขากล่าว
**เสถียรภาพมาก่อนความเปลี่ยนแปลง**
พวกนักวิเคราะห์มีความเห็นว่า จังหวะเวลาของการเลือกตั้งคราวนี้น่าจะทำให้ โทนี ตัน เป็นฝ่ายได้เปรียบ ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ไร้ความแน่นอนระลอกแล้วระลอกเล่า โดยที่สิงคโปร์เองก็กำลังอยู่บนขอบเหวของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (นิยามของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทางเทคนิค ก็คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน) หลังจากที่รายงานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบในไตรมาสสอง (เมษายน-มิถุนายน) ปีนี้ ในสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ชาวสิงคโปร์ที่เป็นพวกอนุรักษนิยม และเป็นพวกเน้นผลทางปฏิบัติไม่ยึดติดอุดมการณ์ใดๆ จึงตัดสินใจเลือกเสถียรภาพ แทนที่จะเลือกความเปลี่ยนแปลง และ โทนี ตัน ที่มีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในภาคการเงิน ก็มีภาษีเหนือกว่าเหล่าคู่แข่งของเขา
นักธุรกิจ ลี ชูน ฮง (Lee Choon Hong) เป็นคนหนึ่งที่มีความคิดในลักษณะนี้ เขาเคยออกเสียงเลือกผู้สมัครฝ่ายค้านในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม ทว่าในการเลือกตั้งตอนสิ้นเดือนสิงหคม เขา “วางเดิมพันเทให้” โทนี ตัน
“ผมเลือกคนที่เป็นมือดี ในบรรดาผู้สมัครทั้งหมดในคราวนี้ โทนี ตัน คือคนที่ดีที่สุด เขามีความรอบรู้อย่างยิ่ง และจะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ได้ เขายังมาจากฝ่ายรัฐบาลด้วย ดังนั้นเขาจึงสามารถทำงานกับนายกรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี (เวลาที่เกิดปัญหาลำบากยุ่งยากขึ้นมา)” เขาบอก
ในช่วง 2 วันก่อนการเลือกตั้ง ประชาคมทางธุรกิจได้ประกาศให้การสนับสนุนการลงแข่งขันของ โทนี ตัน ทั้งนี้ สหพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ (Singapore Business Federation) ออกมาแถลงแสดงความหวังว่า ชาวสิงคโปร์จะส่งข้อความอันแข็งแรงว่า พวกเขาต้องการ “เสถียรภาพและความสมเหตุสมผลทางเศรษฐกิจ” ในเวลาไปหย่อนบัตรลงคะแนน เพราะผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของบรรดานักธุรกิจ ในเรื่องที่ว่าจะลงทุนหรือจะขยายการดำเนินงานในสิงคโปร์หรือไม่
พวกกิจการค้าปลีกของสิงคโปร์ก็แสดงการหนุนหลัง โทนี ตัน ด้วยการแถลงว่า บุคคลผู้นี้เป็นบุคคลที่ดีที่สุดในการรับประกันว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะยังคงมีเสถียรภาพ ดังนั้น “เราจึงใคร่ขอสนับสนุนให้ทุกๆ คนไปลงคะแนนให้ โทนี ตัน” แจนนี ชาน (Jannie Chan) นายกสมาคมผู้ค้าปลีกสิงคโปร์ (Singapore Retailers Association) ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิก 300 ราย บอกกับสื่อท้องถิ่น
พวกสหภาพที่มีความเชื่อมโยงกับขบวนการแรงงานในสิงคโปร์จำนวน 3 แห่งจากทั้งสิ้น 4 แห่ง ก็ประกาศให้การสนับสนุน โทนี ตัน โดยที่ ลิม สวี เซย์ (Lim Swee Say) เลขาธิการของสภาแรงงานแห่งชาติ (National Trades Union Congress) บอกว่า บรรดาสหภาพต้องการประธานาธิบดีที่สามารถส่งเสริมฐานะระหว่างประเทศของสิงคโปร์ให้โดดเด่น เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ พวกเขาระบุว่าพวกเขาปรารถนาผู้สมัครที่มีเกียรติประวัติอันดีในเรื่องการสนับสนุนการสร้างงาน และเป็นผู้ที่ได้แสดงให้เห็นแล้วถึงความสามารถในการทำงานอย่างสร้างสรรค์กับฝ่ายรัฐบาล
ตัว โทนี ตัน เองนั้นก็พูดสาธยายลงรายละเอียดมากมาย เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯและในยุโรป พร้อมกับเตือนครั้งแล้วครั้งเล่าเกี่ยวกับ “เมฆดำทะมึน” ที่กำลังรอคอยอยู่ตรงขอบฟ้า เขาขอให้ผู้ออกเสียงเลือกประธานาธิบดีผู้ “ผ่านการทดสอบแล้ว, เป็นที่ไว้วางใจ, และเป็นของจริง” (tested, trusted, true) เพื่อรับประกันว่าจะทำให้เกิด “ความมั่นอกมั่นใจเกี่ยวกับอนาคต” ขึ้นมาได้
ความเห็นที่ว่า การเลือกตั้งคราวนี้คือการที่สิงคโปร์เลือกเสถียรภาพมากกว่าเลือกความเปลี่ยนแปลง มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนแจ่มแจ้งมาก นั่นคือ เมื่อนำเอาคะแนนเสียงที่เลือก โทนี ตัน กับที่เลือก ตัน เชง บ็อก มารวมกัน ผลลัพธ์จะออกมาที่ 70% ทีเดียว อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ยังคงไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่า โทนี ตัน ได้รับคะแนนเสียงโดยตรงจากผู้ไปลงคะแนนเพียงจำนวนน้อย
ถึงแม้บทบาทโดยส่วนใหญ่ของประธานาธิบดีจะมีลักษณะเป็นเรื่องทางพิธีการ แต่หลังจากผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว ก็ยังมีประชาชนจำนวนมากแสดงความเป็นห่วงในเรื่องที่มี โทนี ตัน ชนะเลือกตั้งแบบเฉียดฉิว ซึ่งแสดงถึงการได้รับอาณัติที่อ่อนปวกเปียกจากประชาชน แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ สเตรทส์ไทมส์ ที่ภาครัฐเป็นเจ้าของ ก็ยังออกมากล่าวเตือนผู้อ่านว่า “(ผู้ออกเสียง) เกือบๆ สองในสามทีเดียว ปฏิเสธไม่ลงคะแนนให้เขา”
หว่อง นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย NUS อธิบายว่า การเลือกตั้งคราวนี้เป็นการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นระหว่างผู้สมัคร 4 คน จนกระทั่งหลังจากช่วงการรณรงค์หาเสียงผ่านพ้นไปแล้ว “ก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจนเลยว่า ผู้สมัครคนไหนที่จะสามารถได้คะแนนถึง 50% ของผู้ออกเสียงทั้งหมด ในระบบการแข่งขันที่เป็นแบบเลือกตั้งรอบเดียว ใครได้คะแนนมากที่สุดก็ชนะไปเลยเช่นนี้”
ทางด้านพรรคปฏิรูป (Reform Party) ที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้เสนอแนวความคิดให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งแบบชี้ขาด นั่นคือ ถ้าหากในรอบแรกไม่มีผู้สมัครคนใดได้เสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ออกเสียงทั้งหมด ก็ให้จัดการเลือกตั้งรอบสอง โดยนำเอาผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดสองคนแรกในรอบแรกมาแข่งขันกันอีกครั้ง
“ประชาชนได้พูดออกมาแล้ว และเสียงส่วนข้างมากอย่างชัดเจนได้พูดว่า พวกเขาต้องการประธานาธิบดีอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่คนที่เป็นผู้ชนะในปัจจุบัน” เคนเนธ เจยาเรตนัม (Kenneth Jeyaretnam) เลขาธิการพรรคปฏิรูป กล่าว
“ประธานาธิบดีนั้นแตกต่างจากรัฐบาล รัฐบาลต้องการเพียงแค่ให้ได้ที่นั่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งในรัฐสภาเท่านั้นเอง แต่ประธานาธิบดีควรจะต้องเป็นผู้ทำให้ชาวสิงคโปร์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่ามีความโน้มเอียงหรือทัศนะทางการเมืองอย่างไร มีความสามัคคีเป็นเอกภาพกัน การที่จะทำเช่นนี้ได้ จำเป็นที่เขาจะต้องได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ออกเสียงอย่างชัดเจน และไม่ใช่เป็นผู้ชนะด้วยความแตกต่างของคะแนนที่แทบไร้ความสำคัญเชิงสถิติ ระหว่างเขากับผู้ที่ได้อันดับรองลงมา” เจยารัตนัม แจกแจง
ในส่วนของนายกรัฐมนตรี ลีเซียนลุง เขาออกมาขอร้องให้ประชาชนในชาติมีความสามัคคีกัน หลังจากการรณรงค์หาเสียงอันเข้มข้นผ่านพ้นไปแล้ว “เวลานี้การเลือกตั้งยุติลงแล้ว เราทั้งหมดควรต้องหันหน้าเข้าหากันอีกครั้งในฐานะที่เป็นชาวสิงคโปร์ด้วยกัน เพื่อแก้ไขรับมือกับการท้าทายต่างๆ ที่สิงคโปร์ประสบอยู่ และนำพาประเทศชาติของเราให้ก้าวไปข้างหน้า” ลี บอก
สำหรับ โทนี ตัน ภายหลังผลการเลือกตั้งประกาศออกมาว่าเขาเป็นผู้ชนะ เขาก็แถลงว่าเรื่องสำคัญลำดับแรกของเขาก็คือ การทำให้ผู้ออกเสียงที่เกิดการแตกขั้วกันเนื่องจากมีทัศนะทางการเมืองที่แตกต่างกัน ได้กลับมารวมตัวเป็นเอกภาพกันใหม่
“ประธานาธิบดีคือประธานาธิบดีของชาวสิงคโปร์ทั้งมวล ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงผู้ที่ออกเสียงเลือกผมเท่านั้น” เขาบอก “ผมขอให้สัญญาว่าจะทำงานของผมอย่างดีที่สุดเพื่อชาวสิงคโปร์แต่ละคน และชาวสิงคโปร์ทุกๆ คน ไม่ว่าพวกเขาจะมีแนวคิดทางการเมืองอย่างไรก็ตามที”
เมกาวะตี วิจายา เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในสิงคโปร์ สามารถติดต่อเธอทางอีเมลได้ที่ megawati.wijaya@gmail.com