หน่วยงานภาครัฐเตรียมตบเท้าติดอาวุธสร้างแบรนด์ ผุดช่องทีวีดาวเทียม หวังใช้ประชาสัมพันธ์ผลงานและสร้างการรับรู้ “เวิล์ดเอ็นเตอร์เทนเม้นท์” สบช่อง เล็งกระโดดร่วมผลิตรายการให้อีกหลายราย ล่าสุดคว้าสิทธ์ จากท่าอากาศสุวรรณภูมิ เข้าบริหารสื่อโทรทัศน์ ในสนามบินสุวรรณภูมิ ในชื่อ สถานีโทรทัศน์ APV ตั้งเป้า 5ปี รายได้แตะ 1,000 ล้านบาท
นายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวิล์ดเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจผลิตสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 6 ช่อง และหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ เปิดเผยว่า จากทิศทางของอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีหลังจากนี้ จะเห็นได้ว่าหลายๆหน่วยงานภาครัฐเตรียมที่จะหันมาใช้สื่อเคเบิลทีวีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในลักษณะของการเปิดตัวช่องสถานีเป็นของตัวเอง
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ผลงานของหน่วยงาน รวมถึงสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ ไปยังประชาชน ซึ่งทางบริษัทเองมีความพร้อมที่จะเข้าไปร่วมประมูลในการร่วมดูแลคอนเท้นท์ให้
โดยที่ผ่านมาบริษัท ได้เข้าไปร่วมดูแลผลิตคอนเท้นท์ให้สถานีเคเบิลทีวีของหน่วยงานรัฐบ้างแล้ว คือ กระทรวงมหาดไทย 1 ช่อง ซึ่งกับช่อง มหาดไทยแชนแนล ทำมาแล้ว 2 ปี จากการดูแลคอนเท้นท์ให้ทั้งหมด 3 ช่อง ที่เหลืออีก 2 ช่อง คือ เอแบคแชนแนล และนิวส์ไลน์ ส่วนอีก 3 ช่องนั้นเป็นการลงทุนของบริษัทเอง คือ บางกอกแชนแนล, สตาร์แชนแนล และ ยิ้ม ทีวี
ล่าสุดทางบริษัทได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้บริหารสื่อโทรทัศน์ภายในท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่เดือนก.ย.54-ก.ย.58 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ APV (AIRPORT VISION) ด้ายการผลิตรายการ นำเสนอข้อมูลข่าวสารสาระความบันเทิงสู่ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการภายในสนามบินสุวรรณภูมิปีละไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคน ผ่านจอโทรทัศน์กว่า 310 จอ ภายในสนามบิน คาดว่าในปีแรกจะมีรายได้ราว 150 ล้านบาท หรือภายใน 5 ปีจะมีรายได้ร่วม 1,000 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทจะต้องแบ่งรายได้ให้กับท่าอากาศยานฯในอัตราส่วน 20% ของรายได้
ทั้งนี้มองว่าการเข้ามาบริหาร APVนั้น ในอนาคตจะเป็นรายได้หลักให้กับบริษัท หรือในปีหน้าเชื่อว่า บริษัทจะมีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท จากปีก่อนมีรายได้อยู่ที่ 500 ล้านบาท มาจากกลุ่มทีวี 80% และอีก 20% มาจากสื่อวิทยุกับสถานี 97 เอฟเอ็ม และหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
นายทูล หิรัญทรัพย์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ APV (AIRPORT VISION) กล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบรายการที่จะนำเสนอผ่าน APV นั้น จะมีอยู่ 4 กลุ่มหลัก คือ รายการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 25% รายการข่าวสารเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย รวมถึงสารคดีและบันเทิง 20% รายการดำเนินงานของบริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 30% และรายการโฆษณาทางโทรทัศน์อีก 25%
ขณะที่รายได้หลักจะมาจากสปอนเซอร์ ที่ทางสถานีฯวางไว้ 10 ราย ขณะนี้กำลังเริ่มเจรจาแล้ว 5 ราย ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งวางสัดส่วนไว้ที่เอกชน 60% และภาครัฐ 40%
อย่างไรก็ตามทางสถานีฯเตรียมงบลงทุนกว่า 500 ล้านบาท เพื่อใช้ดูแลพัฒนาและบริหาร APV โดยเตรียมเพิ่มจำนวนจอทีวีขนาดใหญ่ 300 นิ้วอีก 10 จอ ติดตั้งภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกันในครี่งปีหลังของปี2555 ทางสถานีฯจะมีการดึงสัญญาณสู่ระบบเคเบิลทีวี เพื่อให้ช่องAPV เข้าถึงกลุ่มประชาทั่วไปด้วยรวมถึงเข้าไปดูแลบริหารสื่อโทรทัศน์ในสนามบินเชียงใหม่และภูเก็ตอีกส่วนหนึ่ง โดยจะเพิ่มจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่นี้อีกแห่งละ 2 จอ
นายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวิล์ดเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจผลิตสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 6 ช่อง และหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ เปิดเผยว่า จากทิศทางของอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีหลังจากนี้ จะเห็นได้ว่าหลายๆหน่วยงานภาครัฐเตรียมที่จะหันมาใช้สื่อเคเบิลทีวีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในลักษณะของการเปิดตัวช่องสถานีเป็นของตัวเอง
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ผลงานของหน่วยงาน รวมถึงสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ ไปยังประชาชน ซึ่งทางบริษัทเองมีความพร้อมที่จะเข้าไปร่วมประมูลในการร่วมดูแลคอนเท้นท์ให้
โดยที่ผ่านมาบริษัท ได้เข้าไปร่วมดูแลผลิตคอนเท้นท์ให้สถานีเคเบิลทีวีของหน่วยงานรัฐบ้างแล้ว คือ กระทรวงมหาดไทย 1 ช่อง ซึ่งกับช่อง มหาดไทยแชนแนล ทำมาแล้ว 2 ปี จากการดูแลคอนเท้นท์ให้ทั้งหมด 3 ช่อง ที่เหลืออีก 2 ช่อง คือ เอแบคแชนแนล และนิวส์ไลน์ ส่วนอีก 3 ช่องนั้นเป็นการลงทุนของบริษัทเอง คือ บางกอกแชนแนล, สตาร์แชนแนล และ ยิ้ม ทีวี
ล่าสุดทางบริษัทได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้บริหารสื่อโทรทัศน์ภายในท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่เดือนก.ย.54-ก.ย.58 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ APV (AIRPORT VISION) ด้ายการผลิตรายการ นำเสนอข้อมูลข่าวสารสาระความบันเทิงสู่ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการภายในสนามบินสุวรรณภูมิปีละไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคน ผ่านจอโทรทัศน์กว่า 310 จอ ภายในสนามบิน คาดว่าในปีแรกจะมีรายได้ราว 150 ล้านบาท หรือภายใน 5 ปีจะมีรายได้ร่วม 1,000 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทจะต้องแบ่งรายได้ให้กับท่าอากาศยานฯในอัตราส่วน 20% ของรายได้
ทั้งนี้มองว่าการเข้ามาบริหาร APVนั้น ในอนาคตจะเป็นรายได้หลักให้กับบริษัท หรือในปีหน้าเชื่อว่า บริษัทจะมีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท จากปีก่อนมีรายได้อยู่ที่ 500 ล้านบาท มาจากกลุ่มทีวี 80% และอีก 20% มาจากสื่อวิทยุกับสถานี 97 เอฟเอ็ม และหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
นายทูล หิรัญทรัพย์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ APV (AIRPORT VISION) กล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบรายการที่จะนำเสนอผ่าน APV นั้น จะมีอยู่ 4 กลุ่มหลัก คือ รายการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 25% รายการข่าวสารเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย รวมถึงสารคดีและบันเทิง 20% รายการดำเนินงานของบริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 30% และรายการโฆษณาทางโทรทัศน์อีก 25%
ขณะที่รายได้หลักจะมาจากสปอนเซอร์ ที่ทางสถานีฯวางไว้ 10 ราย ขณะนี้กำลังเริ่มเจรจาแล้ว 5 ราย ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งวางสัดส่วนไว้ที่เอกชน 60% และภาครัฐ 40%
อย่างไรก็ตามทางสถานีฯเตรียมงบลงทุนกว่า 500 ล้านบาท เพื่อใช้ดูแลพัฒนาและบริหาร APV โดยเตรียมเพิ่มจำนวนจอทีวีขนาดใหญ่ 300 นิ้วอีก 10 จอ ติดตั้งภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกันในครี่งปีหลังของปี2555 ทางสถานีฯจะมีการดึงสัญญาณสู่ระบบเคเบิลทีวี เพื่อให้ช่องAPV เข้าถึงกลุ่มประชาทั่วไปด้วยรวมถึงเข้าไปดูแลบริหารสื่อโทรทัศน์ในสนามบินเชียงใหม่และภูเก็ตอีกส่วนหนึ่ง โดยจะเพิ่มจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่นี้อีกแห่งละ 2 จอ