ศูนย์ข่าวภูเก็ต - วางภูเก็ตเป็น “เกาะแห่งการสร้างสรรค์” หรือ “Creative Island” เข้าประกวดโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โชว์ความโดดเด่นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่คนรุ่นใหม่กับความพร้อม 5 ด้านทั้งวัฒนธรรม บุคลากรเชิงสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชน บริการอุตสาหกรรม
นายกฤษฎา ตันสกุล อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ในฐานะคณะทำงานโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ว่า ภายหลังจากที่คณะทำงานโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้ระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดร่างภูเก็ตเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเข้าประกวดการโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ทางกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการให้จังหวัดต่างๆส่งเข้าประกวดนั้น
ล่าสุดทางคณะทำงานโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมพิจารณาร่างต้นแบบเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามที่กรมทรัยพย์สินทางปัญญากำหนดเรียบร้อยแล้ว เพื่อจัดส่งให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พิจารณาต่อไป
นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มว่า จังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพและเอกลักษณ์ของเมืองชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยว มีจุดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ ในฐานะเป็นเป็นเกาะ รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม ในอดีตเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแร่ดีบุก มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั้ง ในและต่างประเทศ
สำหรับจุดเด่นของเมืองที่นำเสนอ คือ “เกาะแห่งการสร้างสรรค์” หรือ “Creative Island” เป็นเกาะแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงมาจาก บรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นจนสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยว ภายใต้ความพร้อม 5 มิติ ได้แก่ วัฒนธรรม บุคลากรเชิงสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชน บริการอุตสาหกรรม
สำหรับวัตถุประสงค์โครงการดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนสู่เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และร่วมกันผลักดันเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยความคาดหวังต่อความสำเร็จของเมือง ชุมชนต้นแบบ และแนวทางที่จะถ่ายทอดความรู้สู่เมือง ชุมชนอื่นๆ หากได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อย่างแรกภูเก็ตจะเป็น Mini Gobal Villaage ที่มีชุมชนหลากหลายมาพำนักและทำให้คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์ด้วย ซึ่งชุมชนจะได้รับการพัฒนา มีการจัดระเบียบผังเมืองที่ดีขึ้น รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นได้รับการสืบทอดวัฒนธรรมและร่วมกันรงณรงค์ ให้เกิดจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด
ทั้งนี้ ระบบการบริหารจัดการและการวางแผน โดยมีวิสัยทัศน์ ภูเก็ตเกาะแห่งการสร้างสรรค์เพื่อสวรรค์ของนักท่องเที่ยวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการสร้างความแตกต่าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา สร้างบุคคลต้นแบบ
รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนงานของเมืองชุมชนต้นแบบ เป็นการเชื่อมโยงวัฒนธรรมทั้ง 3 อำเภอเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้นักท่องเที่ยวสามารถไปสู่จุดอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ ซึ่งการสร้างพื้นที่สำหรับบุคลากรที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ ให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อร่วมผลิตผลงานเชิงสร้างสรรค์
ขณะเดียวกันเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตกระจายรายได้สู่ชุมชนผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถกระจายรายได้สู่ชุมชนและในท้องถิ่น รวมถึงจัดให้มีศูนย์สารสนเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมเรือ
นายกฤษฎา ตันสกุล อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ในฐานะคณะทำงานโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ว่า ภายหลังจากที่คณะทำงานโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้ระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดร่างภูเก็ตเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเข้าประกวดการโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ทางกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการให้จังหวัดต่างๆส่งเข้าประกวดนั้น
ล่าสุดทางคณะทำงานโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมพิจารณาร่างต้นแบบเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามที่กรมทรัยพย์สินทางปัญญากำหนดเรียบร้อยแล้ว เพื่อจัดส่งให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พิจารณาต่อไป
นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มว่า จังหวัดภูเก็ตมีศักยภาพและเอกลักษณ์ของเมืองชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยว มีจุดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ ในฐานะเป็นเป็นเกาะ รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม ในอดีตเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแร่ดีบุก มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั้ง ในและต่างประเทศ
สำหรับจุดเด่นของเมืองที่นำเสนอ คือ “เกาะแห่งการสร้างสรรค์” หรือ “Creative Island” เป็นเกาะแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงมาจาก บรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นจนสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยว ภายใต้ความพร้อม 5 มิติ ได้แก่ วัฒนธรรม บุคลากรเชิงสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชน บริการอุตสาหกรรม
สำหรับวัตถุประสงค์โครงการดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนสู่เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และร่วมกันผลักดันเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยความคาดหวังต่อความสำเร็จของเมือง ชุมชนต้นแบบ และแนวทางที่จะถ่ายทอดความรู้สู่เมือง ชุมชนอื่นๆ หากได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อย่างแรกภูเก็ตจะเป็น Mini Gobal Villaage ที่มีชุมชนหลากหลายมาพำนักและทำให้คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์ด้วย ซึ่งชุมชนจะได้รับการพัฒนา มีการจัดระเบียบผังเมืองที่ดีขึ้น รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นได้รับการสืบทอดวัฒนธรรมและร่วมกันรงณรงค์ ให้เกิดจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด
ทั้งนี้ ระบบการบริหารจัดการและการวางแผน โดยมีวิสัยทัศน์ ภูเก็ตเกาะแห่งการสร้างสรรค์เพื่อสวรรค์ของนักท่องเที่ยวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการสร้างความแตกต่าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา สร้างบุคคลต้นแบบ
รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนงานของเมืองชุมชนต้นแบบ เป็นการเชื่อมโยงวัฒนธรรมทั้ง 3 อำเภอเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้นักท่องเที่ยวสามารถไปสู่จุดอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ ซึ่งการสร้างพื้นที่สำหรับบุคลากรที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ ให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อร่วมผลิตผลงานเชิงสร้างสรรค์
ขณะเดียวกันเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตกระจายรายได้สู่ชุมชนผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถกระจายรายได้สู่ชุมชนและในท้องถิ่น รวมถึงจัดให้มีศูนย์สารสนเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมเรือ