ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตดึงจุดเด่น 5 มิติ กำหนดเป็นเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Creative Island” สอดรับยุทธศาสตร์การเป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก
นายภูมิกิตต์ รักษ์แต่งาม คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์จังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าประกวดโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จังหวัดภูเก็ตจึงได้ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน และได้มอบหมายให้ตนพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำร่างภูเก็ตเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
จากการหารือร่วมของคณะทำงานได้ข้อสรุป ว่า เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูเก็ตนั้น จะเป็น “Creative Island” เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดภูเก็ต ที่ต้องการให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และเป็นเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกับนวตกรรมใหม่ สร้างความโดดเด่น และพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ภายใต้ 5 มิติ ดังนี้
ทางวัฒนธรรม (Culture) ซึ่งจังหวัดภูเก็ตมีรูปแบบวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เช่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่น บริเวณถนนถลาง สถาปัตยกรรมเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ พิพิธภัณฑ์ถลาง เป็นต้น โดยวัฒนธรรมเหล่านี้สามารถที่จะเชื่อมโยงทั้ง 3 อำเภอเข้าด้วยกัน และจะทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ภูเก็ตได้นานขึ้น
บุคคลต้นแบบ (People) หมายถึงบุคคลในท้องถิ่น ที่มีวิถีทางความคิดไม่อยู่ในกรอบหรือวิธีการที่เคยปฎิบัติกันมา แต่มีความคิดสร้างสรรค์ในแนวทางที่แตกต่าง โดยการหาคนต้นแบบมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ได้เห็นและได้พัฒนาฝีมือต่อ ด้วยการสร้างพื้นที่ให้คนที่มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันหรือชื่นชอบในสิ่งเดียวกันได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสร้างสรรค์งานขึ้นมา เช่น เวทีของนักแต่งเพลง เวทีทางด้านวัฒนธรรม เกษตรกร และหมอแผนโบราณ เป็นต้น
สินค้าและบริการ (Product) ผลิตภัณฑ์และบริการในจังหวัดภูเก็ต ที่มีการผลิตโดยมีรูปแบบการพัฒนาที่สร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงานให้คนในท้องถิ่น เช่น การนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ไม่มีราคามาเพิ่มมูลค่าโดยการผลิตเป็นน้ำมะม่วงหิมพานต์ “แคชชูวี่” การนำผ้าปาเต๊ะมาปักลูกปัดสี เป็นต้น
วิสาหกิจชุมชน ด้วยการนำสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นภูเก็ตมารวมตัวกัน เช่น ร้านพรทิพย์ ชอฟต์แวร์พารค์ ธารธาราสปา และภูเก็ตแฟนตาซี เป็นต้น และมิติทางอุตสาหกรรม มุ่งไปที่อุตสาหกรรมยอชต์มารีนา ที่จะทำอย่างไรให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางในการออกแบบเรือยอชต์ มีการสอนการออกแบบเรือยอชต์ในภูเก็ต ทำให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางเรือยอชต์และมารีนา เพื่อเกื้อหนุนการท่องเที่ยว พร้อมทั้งดึงให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเรือยอช์ทอยู่ในภูเก็ตนานที่สุด และเกิดการจับจ่ายสูงสุดเช่นกัน
พร้อมทั้งทำอย่างไรให้เกิดอุตสาหกรรมถ่ายภาพยนตร์เกิดขึ้นในภูเก็ต ด้วยการสนับสนุนให้ภูเก็ตเป็นสถานที่ถ่ายภาพยนตร์ โฆษณา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภูเก็ตไปทั่วโลก โดยการถ่ายทำภาพยนตร์และโฆษณามีทั้ง 4 มิติรวมอยู่ด้วย ซึ่งนี้จะเป็นการประชาสัมพันธ์ภูเก็ตในทุกมิติ
นายภูมิกิตต์ รักษ์แต่งาม คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์จังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าประกวดโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จังหวัดภูเก็ตจึงได้ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน และได้มอบหมายให้ตนพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำร่างภูเก็ตเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
จากการหารือร่วมของคณะทำงานได้ข้อสรุป ว่า เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูเก็ตนั้น จะเป็น “Creative Island” เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดภูเก็ต ที่ต้องการให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และเป็นเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกับนวตกรรมใหม่ สร้างความโดดเด่น และพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ภายใต้ 5 มิติ ดังนี้
ทางวัฒนธรรม (Culture) ซึ่งจังหวัดภูเก็ตมีรูปแบบวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เช่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่น บริเวณถนนถลาง สถาปัตยกรรมเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ พิพิธภัณฑ์ถลาง เป็นต้น โดยวัฒนธรรมเหล่านี้สามารถที่จะเชื่อมโยงทั้ง 3 อำเภอเข้าด้วยกัน และจะทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ภูเก็ตได้นานขึ้น
บุคคลต้นแบบ (People) หมายถึงบุคคลในท้องถิ่น ที่มีวิถีทางความคิดไม่อยู่ในกรอบหรือวิธีการที่เคยปฎิบัติกันมา แต่มีความคิดสร้างสรรค์ในแนวทางที่แตกต่าง โดยการหาคนต้นแบบมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ได้เห็นและได้พัฒนาฝีมือต่อ ด้วยการสร้างพื้นที่ให้คนที่มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันหรือชื่นชอบในสิ่งเดียวกันได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสร้างสรรค์งานขึ้นมา เช่น เวทีของนักแต่งเพลง เวทีทางด้านวัฒนธรรม เกษตรกร และหมอแผนโบราณ เป็นต้น
สินค้าและบริการ (Product) ผลิตภัณฑ์และบริการในจังหวัดภูเก็ต ที่มีการผลิตโดยมีรูปแบบการพัฒนาที่สร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงานให้คนในท้องถิ่น เช่น การนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ไม่มีราคามาเพิ่มมูลค่าโดยการผลิตเป็นน้ำมะม่วงหิมพานต์ “แคชชูวี่” การนำผ้าปาเต๊ะมาปักลูกปัดสี เป็นต้น
วิสาหกิจชุมชน ด้วยการนำสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นภูเก็ตมารวมตัวกัน เช่น ร้านพรทิพย์ ชอฟต์แวร์พารค์ ธารธาราสปา และภูเก็ตแฟนตาซี เป็นต้น และมิติทางอุตสาหกรรม มุ่งไปที่อุตสาหกรรมยอชต์มารีนา ที่จะทำอย่างไรให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางในการออกแบบเรือยอชต์ มีการสอนการออกแบบเรือยอชต์ในภูเก็ต ทำให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางเรือยอชต์และมารีนา เพื่อเกื้อหนุนการท่องเที่ยว พร้อมทั้งดึงให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเรือยอช์ทอยู่ในภูเก็ตนานที่สุด และเกิดการจับจ่ายสูงสุดเช่นกัน
พร้อมทั้งทำอย่างไรให้เกิดอุตสาหกรรมถ่ายภาพยนตร์เกิดขึ้นในภูเก็ต ด้วยการสนับสนุนให้ภูเก็ตเป็นสถานที่ถ่ายภาพยนตร์ โฆษณา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภูเก็ตไปทั่วโลก โดยการถ่ายทำภาพยนตร์และโฆษณามีทั้ง 4 มิติรวมอยู่ด้วย ซึ่งนี้จะเป็นการประชาสัมพันธ์ภูเก็ตในทุกมิติ