ASTVผู้จัดการรายวัน- กรมอุุตุฯเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน“ไห่ถาง”จากจีนใต้ตอนกลางเข้าเวียดก่อนเข้าลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย 27 ก.ย.นี้ เตือนทุกภาครับมือผลกระทบหนักช่วง 27-28 ก.ย.ขณะที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเตือนย้ำพายุไต้ฝุ่น "เนสาด" ในมหาสมุทรแปซิฟิกจ่อถล่มซ้ำในอีก 3-4 วันข้างหน้า นายกฯคอนเฟอเร้น สั่ง รมว.เกษตรเคลียร์ปัญหาความขัดแย้งระบายน้ำ 3 จังหวัด "สุพรรณ-นครสวรรค์-ชัยนาท" พร้อมจี้ผู้ว่าฯเร่งช่วยชาวบ้าน ขณะที่จระเข้ที่ปากน้ำโพหลุดอีกตามล่าได้แค่ 2 ส่วนอีก 10 ตัวยังลอยนวล
วานนี้ (26 ก.ย.) พายุโซนร้อน “ไห่ถาง” (Haitang) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 320 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในคืนวันที่ 26 ก.ย.จากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นลำดับและจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันที่ 27 ก.ย.นี้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้บริเวณด้านตะวันออกและตอนล่างของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีลมแรง จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ วันที่ 26 ก.ย.ในบริเวณ จ.มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล วันที่ 27-28 ก.ย.ในบริเวณ จ.นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26-29 ก.ย.นี้
**เตือนพายุจ่อเข้าอีก 2 ลูก ระวังน้ำป่า
ขณะที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ(ศภช.) ได้ประกาศเตือนให้เฝ้าระวังพายุโซนร้อน "ไห่ถาง" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนและจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนวันนี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงระหว่างวันที่ 26-28 ก.ย.นี้
นอกจากนี้ ยังมีพายุไต้ฝุ่น"เนสาด"ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์อีก 1 ลูก ก็อาจเคลื่อนตัวถึงประเทศไทยในอีก 3-4 วันข้างหน้า จึงขอให้ระมัดระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มด้วย
**หมู่บ้านจัดสรรชุมชนเมืองพิจิตรอ่วมอีก
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศไทยยังคงวิกฤตอย่างหนัก โดยเฉพาะ จ.พิจิตร มีรายงานข่าวว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ได้เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาวังทอง และเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลบ่าลงมาบรรจบกับแม่น้ำน่านที่สูงล้นตลิ่งอยู่แล้วกว่า 1 เมตรทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 30 ซม.ส่งผลให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมข้ามแนวคันกระสอบทรายที่วางกั้นน้ำเอาไว้ โดยน้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมอย่างรวดเร็วใน 4 ตำบลของ อ.เมืองพิจิตร ประกอบด้วย ต.ท่าฬ่อ ต.ป่ามะคาบ ต.ท่าหลวง และในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ซึ่งถนนถูกตัดขาดเส้นทางเข้าออกเกือบทุกจุดทุกหมู่บ้าน ประชาชนเกือบพันครัวเรือนต่างเร่งรีบขนย้ายสิ่งของสัตว์เลี้ยงหนีน้ำกันอย่างอลหม่าน
โดยเฉพาะในหมู่บ้านจัดสรรหมู่บ้านอัชฌาศัยโฮม หรือหมู่บ้านเอื้ออาทร เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองพิจิตร และหน่วยงานอื่นๆ ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือ ชาวบ้านได้เนื่องจากมีน้ำท่วมสูง จึงต้องช่วยเหลือตนเองขนสิ่งของไปไว้บนหลังคาบ้านและชั้น 2 ของบ้านอีกทั้งต้องขอกำลังทหารจากกองพันทหารช่างที่ 302 ค่ายพระบรมไตรโลกนาถ จ.พิษณุโลก นำรถบรรทุกขนาดใหญ่ 10 ตัน 2 คันและกำลังพลจำนวน 20 นายเร่งช่วยขนย้ายสิ่งของดังกล่าว
**นครสวรรค์อ่วมจระเข้หลุดจับได้แล้ว2ตัว
ทางด้านสถานการณ์น้ำใน จ.นครสวรรค์ ก็ยังวิกฤตหนักปริมาณน้ำยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบางพื้นที่ถูกน้ำขังมานานกว่า 2 เดือน ประชาชนเริ่มเดือดร้อนหนักขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ประกอบกับสถานที่ที่มีน้ำท่วมขังมานานน้ำเริ่มเน่าส่งกลิ่นเหม็น และอีกประการหนึ่งที่น่าหลวาดกลัวสำหรับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมและต้องพักอาศัยนอนอยู่บนบ้ารที่ปริ่มน้ำ คือ มีการรับแจ้งจากชาวบ้านใกล้เคียงที่มชนเกาะยมว่าพบเห็นจระเข้ขนาดใหญ่โผล่จากน้ำขึ้นมาไล่กินสุนัขที่ต้องอาศัยหลับนอนบนหลังคาบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูงจนเกือบมิดหลังคา
ต่อมาในช่วงดึกของวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา พรานล่าจระเข้นำโดยนายวรวิทย์ ตันวิสุทธิ์ อายุ 46 ปีเป็นหัวหน้าทีมล่าโดยใช้เรือท้องแบนพายไปตามป่าไผ่ที่ตั้งอยู่บริเวณชุมชนเกาะยม ต.ปากน้ำโพ อ.เมืองนครสวรรค์ และสามารถล่าได้ถึง 2 ตัวขนาด 1.80 เมตรและเกือบ 3 เมตรอีกหนึ่งตัว ส่วนตัวใหญ่ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธ์ ขนาดความยาว 4-5 เมตรอีกเกือบ 10 ตัวสามารถหลบหนีจากการล่าไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะจระเข้หลุดจากบ่อที่เคยมีคนให้อาหารเริ่มหิว ไม่ได้กินอาหารนานนับเดือนทำให้ดุและเปรียวมาก ซึ่งทางทีมล่าจะทำการออกล่าทุกคืนต่อจากนี้ไป
ทั้งนี้ นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้สั่งการไปยังนายอำเภอเมืองนครสวรรค์ ให้ปิดข่าวเรื่องจระเข้หลุดจากบ่อ ห้ามให้ประชาชนทราบโดยเด็ดขาดและให้เร่งหาทีมล่าจระเข้อย่างเร่งด่วนโดยอ้างว่ากลัวประชาชนจะแตกตื่น
**นายกฯคอนเฟอเร้นจี้เร่งช่วยชาวบ้าน
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (26 ก.ย.)ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้น เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมไปยังศูนย์สนับสนุนการอำนวยการ และการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และไปยังพื้นที่ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี อุทัยธานี และอ่างทอง โดยมีนายวิเชียร เชาวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมประชุมด้วย
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานสถานการณ์น้ำในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ว่า ยังมีฝนตกในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคใต้ และหลังจากวันที่ 27 ก.ย.ฝนจะตกในภาคตะวันออก กระจายไปยังภาคเหนือ ขณะที่กรมชลประทาน ได้รายงานสถานการณ์น้ำในภาพรวมว่าขณะนี้ยังคงทรงตัว แต่ยังคงมีพื้นที่เฝ้าระวังคือ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมา เพราะจะส่งผลไปยังลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รวมถึงกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม นายกฯได้กำชับให้ทุกหน่วยงานแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ฉับไว โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในระยะสั้น จึงอยากให้ทุกหน่วยงานทำงานบูรณาการร่วมกัน และรายงานการป้องกัน และเตรียมการป้องกันมวลน้ำที่จะไหลมาจากทางภาคเหนือลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ภายใน 1-2 วันนี้
**กำชับเสนอแผนแก้ระยะยาวงบฯ4หมื่นล.
ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ตามโมเดล 2 R 2 P ขณะนี้ทุกจังหวัดได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาป้องกันน้ำท่วมในระยะยาวมายังคณะกรรมการการบูรณาการแผนงานบริหารจัดการน้ำ โดยคาดว่าจะใช้วงเงินงบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะให้คณะกรรมการชุดดังกล่าว พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของแต่ละโครงการ พร้อมเน้นย้ำว่า แต่ละโครงการต้องมีการบูรณาการอย่างรวดเร็ว และฉับไว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังอีกว่า เป็นการประชุมร่วมกับผู้ว่าฯอ่างทอง อุบลราชธานี และอุทัยธานี เนื่องจากยังมีปัญหาในเรื่องข้อระเบียบต่างๆ และรายละเอียดอีกเล็กน้อย รวมถึงการขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมที่ได้มีการสั่งการให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการประสานงานเรียบร้อยแล้ว
ส่วนเรื่องของระเบียบการเบิกจ่ายแต่ละจังหวัด กระทรวงการคลัง ได้เข้ามาดูแล้วเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นรายจังหวัด และตนได้มีการกำชับในเรื่องของโมเดล 2 R 2 P เพื่อให้เกิดการทำงาน แต่ละส่วนอย่างชัดเจน เนื่องจากต้องปรับวิธีการทำงานแต่ละกระทรวง มาเป็นการทำงานในการหาผู้ที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ได้ฝากที่ประชุมจัดความรับผิดชอบให้ชัดเจนขึ้น
**สั่ง"ธีระ"เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า ทำไมชาวบ้านยังคงร้องเรียนว่าการช่วยเหลือยังไปไม่ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตนได้ย้ำเพิ่มเติม อย่างบางข่าวเท่าที่สำรวจพื้นที่พบว่า ประชาชนต้องการได้รับการช่วยเหลือนอกเหนือระเบียบของรัฐ ซึ่งรัฐบาลค่อยรับปัญหามาแก้ไข อย่างการแก้ไขปัญหาหนึ่ง เราก็พยายามแก้ไขปัญหาอื่นให้ครอบคลุมไปด้วย
ส่วนที่ชาวบ้านที่มีพื้นที่ติดกันเกิดความขัดแย้งกันนั้นก็ได้มีการย้ำไปยังพื้นที่แล้ว ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่าน ที่ช่วยรายงานข้อมูลข่าวสารประชาชน ตนก็ได้ติดตามลงไปแก้ไข และได้สั่งการให้ผู้ว่าฯลงไปทำงานร่วมนายอำเภอ ปลัดจังหวัด ให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการลงไปในพื้นที่ให้มากขึ้น ได้มีการย้ำไปเรียบร้อยแล้ว
ส่วนปัญหาความขัดแย้งระหว่าง จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ และ จ.สุพรรณบุรี ในการระบายน้ำนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในรายละเอียดได้สั่งการให้นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไปตรวจสอบแล้ว
**ติงผู้ว่าฯอย่าเพิ่งเรียกร้องเอางบฯ
ด้านนายวิม รุ่งวัฒนะจินดา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า เช้าวันที่ 26 ก.ย.นี้ นายกรัฐมนตรี ได้วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ว่าฯอ่างทอง อุทัยธานี และ อุบลราชธานี โดยนายกฯ ติงผู้ว่าฯอย่าเพิ่งเรียกร้องงบแก้ไขปัญหาปีหน้า แต่ให้เร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน เพราะผลการสำรวจระบุว่า ยังมีชาวบ้านบางพื้นที่ไม่เข้าถึงการช่วยเหลือ
ทั้งนี้ นายกฯได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ 27 ก.ย.นี้เพื่อกำหนดตัวผู้รับผิดชอบตามมาตรการ 2 P 2 R จำนวน 4 คนรับผิดชอบคนละด้าน เพราะที่ผ่านมาพบว่าหลายคนทำงานซ้ำซ้อนกัน ก่อนเสนอให้นายกฯ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ โดยนายกฯจะนัดผู้เกี่ยวข้องประชุมอีกครั้ง 28 ก.ย.นี้
นอกจากนี้ นายกฯได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่างานด้าน Recovery(ฟื้นฟู)มีความสำคัญ หากกรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า ในภาคใดจะไม่มีฝนตก ก็ให้เร่งดำเนินการฟื้นฟูให้คืนสู่สภาพปกติทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้น้ำลดหมดทั้งประเทศ ถึงจะดำเนินการ
**เตือนประชาชนระวัง "โรคตาแดง"
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.)กล่าวถึงการประชุมวอร์รูมน้ำท่วม สธ.ว่า ในช่วงที่สถานการณ์น้ำท่วมกระทบในหลายพื้นที่นั้น ทาง สธ.มีความเป็นห่วงสุขภาพประชาชนหลายด้าน ทั้งเรื่องการจมน้ำ อันตรายจากไฟฟ้าดูด สัตว์มีพิษน้ำกัดเท้า และแผลเปื่อยติดเชื้อ นอกจากนี้อาจจะมีการระบาดของโรคตาแดงด้วย เพราะโรคตาแดงมักจะมากับน้ำที่สกปรก โดยเชื้อจะติดตามง่ามนิ้วและเข้าสู่ตาโดยการขยี้ อาจทำให้เกิดโรคตาแดงได้ง่าย ซึ่งอาการจะมีลักษณะตาขาวแดงเรื่อๆ มีน้ำตาไหล และมีขี้ตามาก กว่าปกติ จึงอยากให้ประชาชนระวังสุขภาพด้วย ทั้งนี้จากการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 2,926 ครั้ง มีผู้มารับบริการทั้งหมด 368,432 ราย และจากการเฝ้าระวังโรคที่มักจะมากับน้ำท่วม พบผู้ป่วยโรคตาแดง 1,746 ใน 3 จังหวัดที่พบมากที่สุด คือ พิษณุโลก นครสวรรค์ และมหาสารคาม
**คนไทยเครียดสูงพุ่งกว่า 1 พันราย
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัด สธ.ในฐานะประธานการประชุมวอร์รูม กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ มีพื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉินจำนวน 57 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 28 จังหวัด โดยโรค 5 อันดับแรกได้แก่ น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง และโรคเครียด โดยจำนวนผู้ประสบภัยน้ำท่วมซึ่งได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตสะสมรวม 49,650 ราย พบมีความเครียดสูง 1,451 ราย มีภาวะซึมเศร้า 3,161 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 375 รายและต้องติดตามดูแลพิเศษ 530 ราย สำหรับสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบยังคงเดิม คือ จำนวน 240 แห่ง อย่างไรก็ตามในเรื่องการเยียวยานั้น สธ.ก็ยังคงใช้แผนเดิมคือ ออกบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
วานนี้ (26 ก.ย.) พายุโซนร้อน “ไห่ถาง” (Haitang) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 320 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในคืนวันที่ 26 ก.ย.จากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นลำดับและจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันที่ 27 ก.ย.นี้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้บริเวณด้านตะวันออกและตอนล่างของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีลมแรง จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ วันที่ 26 ก.ย.ในบริเวณ จ.มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล วันที่ 27-28 ก.ย.ในบริเวณ จ.นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26-29 ก.ย.นี้
**เตือนพายุจ่อเข้าอีก 2 ลูก ระวังน้ำป่า
ขณะที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ(ศภช.) ได้ประกาศเตือนให้เฝ้าระวังพายุโซนร้อน "ไห่ถาง" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนและจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนวันนี้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงระหว่างวันที่ 26-28 ก.ย.นี้
นอกจากนี้ ยังมีพายุไต้ฝุ่น"เนสาด"ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์อีก 1 ลูก ก็อาจเคลื่อนตัวถึงประเทศไทยในอีก 3-4 วันข้างหน้า จึงขอให้ระมัดระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มด้วย
**หมู่บ้านจัดสรรชุมชนเมืองพิจิตรอ่วมอีก
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศไทยยังคงวิกฤตอย่างหนัก โดยเฉพาะ จ.พิจิตร มีรายงานข่าวว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ได้เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาวังทอง และเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลบ่าลงมาบรรจบกับแม่น้ำน่านที่สูงล้นตลิ่งอยู่แล้วกว่า 1 เมตรทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 30 ซม.ส่งผลให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมข้ามแนวคันกระสอบทรายที่วางกั้นน้ำเอาไว้ โดยน้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมอย่างรวดเร็วใน 4 ตำบลของ อ.เมืองพิจิตร ประกอบด้วย ต.ท่าฬ่อ ต.ป่ามะคาบ ต.ท่าหลวง และในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ซึ่งถนนถูกตัดขาดเส้นทางเข้าออกเกือบทุกจุดทุกหมู่บ้าน ประชาชนเกือบพันครัวเรือนต่างเร่งรีบขนย้ายสิ่งของสัตว์เลี้ยงหนีน้ำกันอย่างอลหม่าน
โดยเฉพาะในหมู่บ้านจัดสรรหมู่บ้านอัชฌาศัยโฮม หรือหมู่บ้านเอื้ออาทร เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองพิจิตร และหน่วยงานอื่นๆ ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือ ชาวบ้านได้เนื่องจากมีน้ำท่วมสูง จึงต้องช่วยเหลือตนเองขนสิ่งของไปไว้บนหลังคาบ้านและชั้น 2 ของบ้านอีกทั้งต้องขอกำลังทหารจากกองพันทหารช่างที่ 302 ค่ายพระบรมไตรโลกนาถ จ.พิษณุโลก นำรถบรรทุกขนาดใหญ่ 10 ตัน 2 คันและกำลังพลจำนวน 20 นายเร่งช่วยขนย้ายสิ่งของดังกล่าว
**นครสวรรค์อ่วมจระเข้หลุดจับได้แล้ว2ตัว
ทางด้านสถานการณ์น้ำใน จ.นครสวรรค์ ก็ยังวิกฤตหนักปริมาณน้ำยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบางพื้นที่ถูกน้ำขังมานานกว่า 2 เดือน ประชาชนเริ่มเดือดร้อนหนักขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ประกอบกับสถานที่ที่มีน้ำท่วมขังมานานน้ำเริ่มเน่าส่งกลิ่นเหม็น และอีกประการหนึ่งที่น่าหลวาดกลัวสำหรับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมและต้องพักอาศัยนอนอยู่บนบ้ารที่ปริ่มน้ำ คือ มีการรับแจ้งจากชาวบ้านใกล้เคียงที่มชนเกาะยมว่าพบเห็นจระเข้ขนาดใหญ่โผล่จากน้ำขึ้นมาไล่กินสุนัขที่ต้องอาศัยหลับนอนบนหลังคาบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูงจนเกือบมิดหลังคา
ต่อมาในช่วงดึกของวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา พรานล่าจระเข้นำโดยนายวรวิทย์ ตันวิสุทธิ์ อายุ 46 ปีเป็นหัวหน้าทีมล่าโดยใช้เรือท้องแบนพายไปตามป่าไผ่ที่ตั้งอยู่บริเวณชุมชนเกาะยม ต.ปากน้ำโพ อ.เมืองนครสวรรค์ และสามารถล่าได้ถึง 2 ตัวขนาด 1.80 เมตรและเกือบ 3 เมตรอีกหนึ่งตัว ส่วนตัวใหญ่ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธ์ ขนาดความยาว 4-5 เมตรอีกเกือบ 10 ตัวสามารถหลบหนีจากการล่าไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะจระเข้หลุดจากบ่อที่เคยมีคนให้อาหารเริ่มหิว ไม่ได้กินอาหารนานนับเดือนทำให้ดุและเปรียวมาก ซึ่งทางทีมล่าจะทำการออกล่าทุกคืนต่อจากนี้ไป
ทั้งนี้ นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้สั่งการไปยังนายอำเภอเมืองนครสวรรค์ ให้ปิดข่าวเรื่องจระเข้หลุดจากบ่อ ห้ามให้ประชาชนทราบโดยเด็ดขาดและให้เร่งหาทีมล่าจระเข้อย่างเร่งด่วนโดยอ้างว่ากลัวประชาชนจะแตกตื่น
**นายกฯคอนเฟอเร้นจี้เร่งช่วยชาวบ้าน
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (26 ก.ย.)ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้น เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมไปยังศูนย์สนับสนุนการอำนวยการ และการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และไปยังพื้นที่ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี อุทัยธานี และอ่างทอง โดยมีนายวิเชียร เชาวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมประชุมด้วย
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานสถานการณ์น้ำในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ว่า ยังมีฝนตกในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคใต้ และหลังจากวันที่ 27 ก.ย.ฝนจะตกในภาคตะวันออก กระจายไปยังภาคเหนือ ขณะที่กรมชลประทาน ได้รายงานสถานการณ์น้ำในภาพรวมว่าขณะนี้ยังคงทรงตัว แต่ยังคงมีพื้นที่เฝ้าระวังคือ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมา เพราะจะส่งผลไปยังลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รวมถึงกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม นายกฯได้กำชับให้ทุกหน่วยงานแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ฉับไว โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในระยะสั้น จึงอยากให้ทุกหน่วยงานทำงานบูรณาการร่วมกัน และรายงานการป้องกัน และเตรียมการป้องกันมวลน้ำที่จะไหลมาจากทางภาคเหนือลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ภายใน 1-2 วันนี้
**กำชับเสนอแผนแก้ระยะยาวงบฯ4หมื่นล.
ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ตามโมเดล 2 R 2 P ขณะนี้ทุกจังหวัดได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาป้องกันน้ำท่วมในระยะยาวมายังคณะกรรมการการบูรณาการแผนงานบริหารจัดการน้ำ โดยคาดว่าจะใช้วงเงินงบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะให้คณะกรรมการชุดดังกล่าว พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของแต่ละโครงการ พร้อมเน้นย้ำว่า แต่ละโครงการต้องมีการบูรณาการอย่างรวดเร็ว และฉับไว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังอีกว่า เป็นการประชุมร่วมกับผู้ว่าฯอ่างทอง อุบลราชธานี และอุทัยธานี เนื่องจากยังมีปัญหาในเรื่องข้อระเบียบต่างๆ และรายละเอียดอีกเล็กน้อย รวมถึงการขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมที่ได้มีการสั่งการให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการประสานงานเรียบร้อยแล้ว
ส่วนเรื่องของระเบียบการเบิกจ่ายแต่ละจังหวัด กระทรวงการคลัง ได้เข้ามาดูแล้วเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นรายจังหวัด และตนได้มีการกำชับในเรื่องของโมเดล 2 R 2 P เพื่อให้เกิดการทำงาน แต่ละส่วนอย่างชัดเจน เนื่องจากต้องปรับวิธีการทำงานแต่ละกระทรวง มาเป็นการทำงานในการหาผู้ที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ได้ฝากที่ประชุมจัดความรับผิดชอบให้ชัดเจนขึ้น
**สั่ง"ธีระ"เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า ทำไมชาวบ้านยังคงร้องเรียนว่าการช่วยเหลือยังไปไม่ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตนได้ย้ำเพิ่มเติม อย่างบางข่าวเท่าที่สำรวจพื้นที่พบว่า ประชาชนต้องการได้รับการช่วยเหลือนอกเหนือระเบียบของรัฐ ซึ่งรัฐบาลค่อยรับปัญหามาแก้ไข อย่างการแก้ไขปัญหาหนึ่ง เราก็พยายามแก้ไขปัญหาอื่นให้ครอบคลุมไปด้วย
ส่วนที่ชาวบ้านที่มีพื้นที่ติดกันเกิดความขัดแย้งกันนั้นก็ได้มีการย้ำไปยังพื้นที่แล้ว ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่าน ที่ช่วยรายงานข้อมูลข่าวสารประชาชน ตนก็ได้ติดตามลงไปแก้ไข และได้สั่งการให้ผู้ว่าฯลงไปทำงานร่วมนายอำเภอ ปลัดจังหวัด ให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการลงไปในพื้นที่ให้มากขึ้น ได้มีการย้ำไปเรียบร้อยแล้ว
ส่วนปัญหาความขัดแย้งระหว่าง จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ และ จ.สุพรรณบุรี ในการระบายน้ำนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในรายละเอียดได้สั่งการให้นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไปตรวจสอบแล้ว
**ติงผู้ว่าฯอย่าเพิ่งเรียกร้องเอางบฯ
ด้านนายวิม รุ่งวัฒนะจินดา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า เช้าวันที่ 26 ก.ย.นี้ นายกรัฐมนตรี ได้วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ว่าฯอ่างทอง อุทัยธานี และ อุบลราชธานี โดยนายกฯ ติงผู้ว่าฯอย่าเพิ่งเรียกร้องงบแก้ไขปัญหาปีหน้า แต่ให้เร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน เพราะผลการสำรวจระบุว่า ยังมีชาวบ้านบางพื้นที่ไม่เข้าถึงการช่วยเหลือ
ทั้งนี้ นายกฯได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ 27 ก.ย.นี้เพื่อกำหนดตัวผู้รับผิดชอบตามมาตรการ 2 P 2 R จำนวน 4 คนรับผิดชอบคนละด้าน เพราะที่ผ่านมาพบว่าหลายคนทำงานซ้ำซ้อนกัน ก่อนเสนอให้นายกฯ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ โดยนายกฯจะนัดผู้เกี่ยวข้องประชุมอีกครั้ง 28 ก.ย.นี้
นอกจากนี้ นายกฯได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่างานด้าน Recovery(ฟื้นฟู)มีความสำคัญ หากกรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า ในภาคใดจะไม่มีฝนตก ก็ให้เร่งดำเนินการฟื้นฟูให้คืนสู่สภาพปกติทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้น้ำลดหมดทั้งประเทศ ถึงจะดำเนินการ
**เตือนประชาชนระวัง "โรคตาแดง"
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.)กล่าวถึงการประชุมวอร์รูมน้ำท่วม สธ.ว่า ในช่วงที่สถานการณ์น้ำท่วมกระทบในหลายพื้นที่นั้น ทาง สธ.มีความเป็นห่วงสุขภาพประชาชนหลายด้าน ทั้งเรื่องการจมน้ำ อันตรายจากไฟฟ้าดูด สัตว์มีพิษน้ำกัดเท้า และแผลเปื่อยติดเชื้อ นอกจากนี้อาจจะมีการระบาดของโรคตาแดงด้วย เพราะโรคตาแดงมักจะมากับน้ำที่สกปรก โดยเชื้อจะติดตามง่ามนิ้วและเข้าสู่ตาโดยการขยี้ อาจทำให้เกิดโรคตาแดงได้ง่าย ซึ่งอาการจะมีลักษณะตาขาวแดงเรื่อๆ มีน้ำตาไหล และมีขี้ตามาก กว่าปกติ จึงอยากให้ประชาชนระวังสุขภาพด้วย ทั้งนี้จากการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 2,926 ครั้ง มีผู้มารับบริการทั้งหมด 368,432 ราย และจากการเฝ้าระวังโรคที่มักจะมากับน้ำท่วม พบผู้ป่วยโรคตาแดง 1,746 ใน 3 จังหวัดที่พบมากที่สุด คือ พิษณุโลก นครสวรรค์ และมหาสารคาม
**คนไทยเครียดสูงพุ่งกว่า 1 พันราย
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัด สธ.ในฐานะประธานการประชุมวอร์รูม กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ มีพื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉินจำนวน 57 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 28 จังหวัด โดยโรค 5 อันดับแรกได้แก่ น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง และโรคเครียด โดยจำนวนผู้ประสบภัยน้ำท่วมซึ่งได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตสะสมรวม 49,650 ราย พบมีความเครียดสูง 1,451 ราย มีภาวะซึมเศร้า 3,161 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 375 รายและต้องติดตามดูแลพิเศษ 530 ราย สำหรับสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบยังคงเดิม คือ จำนวน 240 แห่ง อย่างไรก็ตามในเรื่องการเยียวยานั้น สธ.ก็ยังคงใช้แผนเดิมคือ ออกบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง