คำถามข้างต้นนี้ ผมขอให้ท่านผู้อ่านที่ไม่ลำเอียงหรือลำเอียงก็ได้ตอบเอาเองตามใจชอบ
ผมเชื่อว่าผมเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายมาโดยตลอดทุกขั้นตอน มีพยานหลักฐานอันอาจพิสูจน์ได้ในศาล
1. การที่ตำรวจยกโขยงมาล้อมบ้านจับผมในวันที่ 6 กันยายน 2554 นั้นเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุและไม่จำเป็น เพราะผมได้ติดต่อและมีหนังสือถึงสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่าจะมาพบตำรวจในวันที่ 7 กันยายน มีการตอบรับประทับตราเรียบร้อยเป็นหลักฐาน
2. หมายเรียกลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ของตำรวจไม่ชอบด้วยประมวลวิอาญา มาตรา 53 (4) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา ซึ่งจำเป็นจะต้องมีผู้กล่าวโทษ ในกรณีของผมผู้กล่าวโทษที่ตำรวจอ้างคือนายพงษ์ศักดิ์ ศิริวงษ์ ผู้รับมอบอำนาจจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้โทร.มาแจ้งว่ามิได้กล่าวหาผม และนายกอปร์ศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือมายืนยัน พร้อมกับสำเนาประจำวันที่นายพงษ์ศักดิ์ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจดุสิต ดังนั้นจึงเหลือผู้กล่าวหาซึ่งเขียนว่า “กับพวก” ในกรณีการกล่าวหาบุคคลอันอาจจะทำให้ต้องโทษทางอาญา จะต้องมีผู้กล่าวหาระบุ ชื่อ ยศชั้นตำแหน่งหรือสำนักงาน จะใช้คำลอยๆ ว่า “กับพวก” หาได้ไม่
3. ข้อกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษผมทั้ง 5 ข้อตามหมายเรียกนั้นเป็นความเท็จ กล่าวเฉพาะข้อที่ 1 คือ “มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ” นั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ง่าย ควรที่พนักงานสอบสวนจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ถูกต้องถี่ถ้วนเสียก่อน ข้อเท็จจริงก็คือผมกับพล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์และทูตสุรพงษ์ ชัยนามได้ไปบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ชุมนุมซึ่งไปจับกลุ่มคอยดักนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อันนับได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ การบรรยายของวิทยากรทั้ง 3 ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงก็พากันกลับ
อนึ่งควรกล่าวไว้ด้วยว่าพล.อ.อ.เทอดศักดิ์ ไม่เห็นด้วยการชุมนุม ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองได้แนะนำ และผู้ชุมนุมรับปากว่าจะไม่ไปแต่มากลับใจภายหลัง แสดงว่าวิทยากรทั้ง 3 ไม่มีส่วนที่จะบันดาลอะไรในการชุมนุมหรือไม่ชุมนุมได้ ผมเองในฐานะนักวิชาการเคยรับเชิญไปบรรยายให้กลุ่มเสื้อแดง (เฉพาะครั้งที่ชุมนุมถูกต้องตามกฎหมาย) ฟังสามารถอ้างนายจาตุรนต์ ฉายแสง ผู้ร่วมบรรยายและนายสุชน ชาลีเครือ ผู้เชิญเป็นพยานได้
4. การส่งหมายเรียกดังกล่าวทาง ปณ.ลงทะเบียนนั้นขัดกับ ม. 55 ของป. วิอาญาที่บัญญัติว่า “การส่งหมายเรียกแก่ผู้ต้องหา จะส่งแก่บุคคลผู้อื่น ซึ่งมิใช่สามีภริยา ญาติหรือผู้ปกครองของผู้รับหมายรับแทนนั้นไม่ได้” ผมเคยได้รับหมายเรียกกรณีอื่นที่เคยใช้วิธีแบบเดียวกันนี้ เมื่อตำรวจ สน.เกาะสีชังตามใจนักการเมืองจิตใจต่ำและบริวารออกหมายเรียกให้ผมข้ามน้ำไปรายงานตัวในเวลาที่ตำรวจสะดวก แต่ผมไม่สะดวกซึ่งเป็นการขัดป. วิอาญา ม.54 เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อได้รับหมายที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวผมก็นำไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.อ.เมืองหนองคาย ภูมิลำเนาของผมซึ่งอยู่ติดกับที่ทำงานผม และแจ้งขอให้ตำรวจส่งหมายที่ถูกต้องมาใหม่ที่ สน.อ.เมืองหนองคาย แต่หมายก็ไม่เคยโผล่มาอีกเลย ครั้งนี้ผมจึงได้ชี้แจงไปยัง สตช.ให้กระทำอย่างเดียวกันและให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ที่ติดต่อผมได้สะดวกกับ สตช.ไว้ด้วย
ผมอยากจะขอร้องตำรวจ-ศาล-และนักการเมืองผู้มีบารมีขออย่าได้ลุแก่อำนาจขาดความรอบคอบนำเอากฎหมายมาใช้อย่างไม่ถูกต้องข่มเหงประชาชนดังเช่นกรณีของผมหรือคุณสุนัย มโนมัยอุดม ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ข ณะที่เป็นอธิบดีกรมส่งเสริมพิเศษถูกตำรวจถือหมายศาลจังหวัดอยุธยาดักจับ ขณะที่ลงเครื่องบินกลับจากต่างประเทศ ขอเถิด โปรดอย่าได้ทำเช่นนี้อีก ประชาชนและผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยเป็นหูเป็นตาระแวดระวังเรื่องอย่างนี้ด้วย
5. ในวันที่ 15 กันยายน 2553 ผมไปรายงานตัวต่อศาลเพื่อคัดค้านการที่ตำรวจขออนุมัติให้ศาลออกหมายจับผมและพันธมิตรฯ 45 คนฐานไม่มามอบตัวตามหมายเรียก วันนั้นศาลยกคำร้องไม่อนุมัติให้ตำรวจจับด้วยเหตุผลที่ว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ใดหลบหนี ตำรวจอาจจะทำงานบกพร่องไม่ติดตามนัดหมายให้ดีเอง แต่เมื่อศาลเปลี่ยนชุดในปลายเดือนตุลาคมตำรวจก็ดอดมาขอมาศาลอีก คราวนี้สำเร็จ ผมเห็นว่าการปฏิบัติเยี่ยงนี้ไม่ชอบมาพากล ตามหลัก due process หรือขบวนพิจารณาอันชอบธรรมในประเทศที่เจริญแล้ว กฎหมายเป็นใหญ่จะกระทำเช่นนี้หาได้ไม่ ปรากฏว่าในวันที่ 18 มกราคม 2554 ตำรวจแอบใช้หมายนี้ไปอุ้มอดีต รมว.อุตสาหกรรม ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ขณะรับประทานอาหารอยู่ร้านสุกี้เอ็มเค ลากตัวถูลู่ถูกังขึ้นท้ายรถกระบะเป็นที่โจษจันกันไปทั่ว
6. สำหรับผมเอง ในฐานะนักเรียนกฎหมาย ครูสอนวิชากฎหมาย รัฐธรรมนูญและเป็นอดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ผมจะเชื่อโดยสุจริตใจว่าหมายเรียกเดิมซึ่งศาลยกหมายจับผมนั้นหมดสภาพไปแล้ว แต่ก็ยังไม่นอนใจได้สอบถามไปยัง สตช.และนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้ดูแล สตช.อยู่เสมอ เพื่อยืนยันว่าผมจะไม่หนีและรอคอยหมายเรียกที่ถูกต้องอยู่ ขอให้ตำรวจนัดหมายหรือส่งหมายถึงผมได้โดยให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ไว้เช่นเคย และเมื่อผมจะเดินทางไปกรุงมอสโกระหว่างวันที่ 24-31 ตุลาคม 2553 ก็ได้มีหนังสือแจ้งวันเดินทางไป-กลับให้กับ สตช.และยืนยันวันเวลากลับอีกครั้งพร้อมกับสอบถามเจตนาของ สตช.และสถานะตามกฎหมายของผม และยืนยันจะให้ความร่วมมือกับตำรวจอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลง ตำรวจเสียอีกที่เป็นฝ่ายเพิกเฉยตลอดมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 6 กันยายนขึ้น สร้างความแตกตื่นไปทั่วละแวกและความตระหนกตกใจให้บุตร ภริยา หลาน และคนในบ้านผมพอดู
7. ในวันที่ 7 กันยายน ผมได้ทราบจากพนักงานสอบสวนว่าได้มีผู้สมทบหรือสมคบกันกล่าวโทษผมและผู้ชุมนุมอีก 29 คน ในนั้นมีแกนนำสำคัญของขบวนการเสื้อแดง ซึ่งในกาลต่อมามีบทบาทสำคัญในการยุยงและมีส่วนร่วมในการจลาจลและเผาบ้านเผาเมืองอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินธุรกิจ หรือแม้กระทั่งชีวิตของประเทศชาติและประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องมากมาย ต่างกับการชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่เขากล่าวหาผมและพันธมิตรฯ ราวฟ้ากับดิน บรรดาแกนนำเหล่านั้นมีชื่อดังต่อไปนี้
1. นายเหวง โตจิราการ 2. นายสันต์ หัตถีรัตน์ 3. นางสุนันทา ธรรมธีระ 4. นายธนาภัทร เรืองอำพัน 5. นายทรงชัย วิมลภัตรานนท์ 6. นายเมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ 7. นายประสิทธิ์ ค่ายกนกวงศ์ 8. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ 9. นายอาทร ทศพหล 10. นายอุดม ขันแก้ว 11. นายเรืองเดช เหลืองบริบูรณ์ 12. นายคารม พลทะกลาง
ผมไม่ถือโทษตำรวจชั้นผู้น้อยยศตั้งแต่พ.ต.อ.ลงมาที่ปฏิบัติตามผู้บังคับบัญชา แต่เหนือกว่านั้นรวมทั้งนักการเมืองผู้ใช้อำนาจกับนักกวนเมืองเสื้อแดง ควรจะได้รับการพิจารณาจากศาลตามโทษานุโทษ ฐานทำให้บุคคลอื่นเสื่อมสิทธิมนุษยชน เสียเสรีภาพ และถูกกล่าวหาเท็จอันอาจเป็นเหตุให้บุคคลต้องโทษทางอาญา
ใครต้องการเป็นทนายเอาผู้มีชื่อข้างต้นนี้เข้าคุกบ้างยกมือขึ้น
ผมเชื่อว่าผมเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายมาโดยตลอดทุกขั้นตอน มีพยานหลักฐานอันอาจพิสูจน์ได้ในศาล
1. การที่ตำรวจยกโขยงมาล้อมบ้านจับผมในวันที่ 6 กันยายน 2554 นั้นเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุและไม่จำเป็น เพราะผมได้ติดต่อและมีหนังสือถึงสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่าจะมาพบตำรวจในวันที่ 7 กันยายน มีการตอบรับประทับตราเรียบร้อยเป็นหลักฐาน
2. หมายเรียกลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ของตำรวจไม่ชอบด้วยประมวลวิอาญา มาตรา 53 (4) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา ซึ่งจำเป็นจะต้องมีผู้กล่าวโทษ ในกรณีของผมผู้กล่าวโทษที่ตำรวจอ้างคือนายพงษ์ศักดิ์ ศิริวงษ์ ผู้รับมอบอำนาจจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้โทร.มาแจ้งว่ามิได้กล่าวหาผม และนายกอปร์ศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือมายืนยัน พร้อมกับสำเนาประจำวันที่นายพงษ์ศักดิ์ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจดุสิต ดังนั้นจึงเหลือผู้กล่าวหาซึ่งเขียนว่า “กับพวก” ในกรณีการกล่าวหาบุคคลอันอาจจะทำให้ต้องโทษทางอาญา จะต้องมีผู้กล่าวหาระบุ ชื่อ ยศชั้นตำแหน่งหรือสำนักงาน จะใช้คำลอยๆ ว่า “กับพวก” หาได้ไม่
3. ข้อกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษผมทั้ง 5 ข้อตามหมายเรียกนั้นเป็นความเท็จ กล่าวเฉพาะข้อที่ 1 คือ “มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ” นั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ง่าย ควรที่พนักงานสอบสวนจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ถูกต้องถี่ถ้วนเสียก่อน ข้อเท็จจริงก็คือผมกับพล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์และทูตสุรพงษ์ ชัยนามได้ไปบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ชุมนุมซึ่งไปจับกลุ่มคอยดักนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อันนับได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ การบรรยายของวิทยากรทั้ง 3 ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงก็พากันกลับ
อนึ่งควรกล่าวไว้ด้วยว่าพล.อ.อ.เทอดศักดิ์ ไม่เห็นด้วยการชุมนุม ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองได้แนะนำ และผู้ชุมนุมรับปากว่าจะไม่ไปแต่มากลับใจภายหลัง แสดงว่าวิทยากรทั้ง 3 ไม่มีส่วนที่จะบันดาลอะไรในการชุมนุมหรือไม่ชุมนุมได้ ผมเองในฐานะนักวิชาการเคยรับเชิญไปบรรยายให้กลุ่มเสื้อแดง (เฉพาะครั้งที่ชุมนุมถูกต้องตามกฎหมาย) ฟังสามารถอ้างนายจาตุรนต์ ฉายแสง ผู้ร่วมบรรยายและนายสุชน ชาลีเครือ ผู้เชิญเป็นพยานได้
4. การส่งหมายเรียกดังกล่าวทาง ปณ.ลงทะเบียนนั้นขัดกับ ม. 55 ของป. วิอาญาที่บัญญัติว่า “การส่งหมายเรียกแก่ผู้ต้องหา จะส่งแก่บุคคลผู้อื่น ซึ่งมิใช่สามีภริยา ญาติหรือผู้ปกครองของผู้รับหมายรับแทนนั้นไม่ได้” ผมเคยได้รับหมายเรียกกรณีอื่นที่เคยใช้วิธีแบบเดียวกันนี้ เมื่อตำรวจ สน.เกาะสีชังตามใจนักการเมืองจิตใจต่ำและบริวารออกหมายเรียกให้ผมข้ามน้ำไปรายงานตัวในเวลาที่ตำรวจสะดวก แต่ผมไม่สะดวกซึ่งเป็นการขัดป. วิอาญา ม.54 เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อได้รับหมายที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวผมก็นำไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.อ.เมืองหนองคาย ภูมิลำเนาของผมซึ่งอยู่ติดกับที่ทำงานผม และแจ้งขอให้ตำรวจส่งหมายที่ถูกต้องมาใหม่ที่ สน.อ.เมืองหนองคาย แต่หมายก็ไม่เคยโผล่มาอีกเลย ครั้งนี้ผมจึงได้ชี้แจงไปยัง สตช.ให้กระทำอย่างเดียวกันและให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ที่ติดต่อผมได้สะดวกกับ สตช.ไว้ด้วย
ผมอยากจะขอร้องตำรวจ-ศาล-และนักการเมืองผู้มีบารมีขออย่าได้ลุแก่อำนาจขาดความรอบคอบนำเอากฎหมายมาใช้อย่างไม่ถูกต้องข่มเหงประชาชนดังเช่นกรณีของผมหรือคุณสุนัย มโนมัยอุดม ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ข ณะที่เป็นอธิบดีกรมส่งเสริมพิเศษถูกตำรวจถือหมายศาลจังหวัดอยุธยาดักจับ ขณะที่ลงเครื่องบินกลับจากต่างประเทศ ขอเถิด โปรดอย่าได้ทำเช่นนี้อีก ประชาชนและผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยเป็นหูเป็นตาระแวดระวังเรื่องอย่างนี้ด้วย
5. ในวันที่ 15 กันยายน 2553 ผมไปรายงานตัวต่อศาลเพื่อคัดค้านการที่ตำรวจขออนุมัติให้ศาลออกหมายจับผมและพันธมิตรฯ 45 คนฐานไม่มามอบตัวตามหมายเรียก วันนั้นศาลยกคำร้องไม่อนุมัติให้ตำรวจจับด้วยเหตุผลที่ว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ใดหลบหนี ตำรวจอาจจะทำงานบกพร่องไม่ติดตามนัดหมายให้ดีเอง แต่เมื่อศาลเปลี่ยนชุดในปลายเดือนตุลาคมตำรวจก็ดอดมาขอมาศาลอีก คราวนี้สำเร็จ ผมเห็นว่าการปฏิบัติเยี่ยงนี้ไม่ชอบมาพากล ตามหลัก due process หรือขบวนพิจารณาอันชอบธรรมในประเทศที่เจริญแล้ว กฎหมายเป็นใหญ่จะกระทำเช่นนี้หาได้ไม่ ปรากฏว่าในวันที่ 18 มกราคม 2554 ตำรวจแอบใช้หมายนี้ไปอุ้มอดีต รมว.อุตสาหกรรม ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ขณะรับประทานอาหารอยู่ร้านสุกี้เอ็มเค ลากตัวถูลู่ถูกังขึ้นท้ายรถกระบะเป็นที่โจษจันกันไปทั่ว
6. สำหรับผมเอง ในฐานะนักเรียนกฎหมาย ครูสอนวิชากฎหมาย รัฐธรรมนูญและเป็นอดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ผมจะเชื่อโดยสุจริตใจว่าหมายเรียกเดิมซึ่งศาลยกหมายจับผมนั้นหมดสภาพไปแล้ว แต่ก็ยังไม่นอนใจได้สอบถามไปยัง สตช.และนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้ดูแล สตช.อยู่เสมอ เพื่อยืนยันว่าผมจะไม่หนีและรอคอยหมายเรียกที่ถูกต้องอยู่ ขอให้ตำรวจนัดหมายหรือส่งหมายถึงผมได้โดยให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ไว้เช่นเคย และเมื่อผมจะเดินทางไปกรุงมอสโกระหว่างวันที่ 24-31 ตุลาคม 2553 ก็ได้มีหนังสือแจ้งวันเดินทางไป-กลับให้กับ สตช.และยืนยันวันเวลากลับอีกครั้งพร้อมกับสอบถามเจตนาของ สตช.และสถานะตามกฎหมายของผม และยืนยันจะให้ความร่วมมือกับตำรวจอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลง ตำรวจเสียอีกที่เป็นฝ่ายเพิกเฉยตลอดมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 6 กันยายนขึ้น สร้างความแตกตื่นไปทั่วละแวกและความตระหนกตกใจให้บุตร ภริยา หลาน และคนในบ้านผมพอดู
7. ในวันที่ 7 กันยายน ผมได้ทราบจากพนักงานสอบสวนว่าได้มีผู้สมทบหรือสมคบกันกล่าวโทษผมและผู้ชุมนุมอีก 29 คน ในนั้นมีแกนนำสำคัญของขบวนการเสื้อแดง ซึ่งในกาลต่อมามีบทบาทสำคัญในการยุยงและมีส่วนร่วมในการจลาจลและเผาบ้านเผาเมืองอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินธุรกิจ หรือแม้กระทั่งชีวิตของประเทศชาติและประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องมากมาย ต่างกับการชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่เขากล่าวหาผมและพันธมิตรฯ ราวฟ้ากับดิน บรรดาแกนนำเหล่านั้นมีชื่อดังต่อไปนี้
1. นายเหวง โตจิราการ 2. นายสันต์ หัตถีรัตน์ 3. นางสุนันทา ธรรมธีระ 4. นายธนาภัทร เรืองอำพัน 5. นายทรงชัย วิมลภัตรานนท์ 6. นายเมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ 7. นายประสิทธิ์ ค่ายกนกวงศ์ 8. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ 9. นายอาทร ทศพหล 10. นายอุดม ขันแก้ว 11. นายเรืองเดช เหลืองบริบูรณ์ 12. นายคารม พลทะกลาง
ผมไม่ถือโทษตำรวจชั้นผู้น้อยยศตั้งแต่พ.ต.อ.ลงมาที่ปฏิบัติตามผู้บังคับบัญชา แต่เหนือกว่านั้นรวมทั้งนักการเมืองผู้ใช้อำนาจกับนักกวนเมืองเสื้อแดง ควรจะได้รับการพิจารณาจากศาลตามโทษานุโทษ ฐานทำให้บุคคลอื่นเสื่อมสิทธิมนุษยชน เสียเสรีภาพ และถูกกล่าวหาเท็จอันอาจเป็นเหตุให้บุคคลต้องโทษทางอาญา
ใครต้องการเป็นทนายเอาผู้มีชื่อข้างต้นนี้เข้าคุกบ้างยกมือขึ้น