ASTVผู้จัดการรายวัน – ล้อหมุน "ออมสิน – ธ.ก.ส." เดินหน้าสนองนโยบาย "ปู 1" ปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้านคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด “เลอศักดิ์” ฟุ้งมีสภาพคล่องปล่อยกู้ร่วมโครงการจำนำข้าว พร้อมจ่ายชดเชยน้ำท่วมครอบครัวละ 5 พันบาท ส่วน ธ.ก.ส.ดีเดย์เปิดตัวบัตรเครดิต 7 ต.ค.คิดดอกเบี้ย 7% ส่วนเกินระยะปลอดดอกเบี้ยรัฐบาลพร้อมรับภาระ
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่าธนาคารได้ส่งเงื่อนไขการให้เงินกู้แก่รัฐบาลเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการจัดสรรเงินให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวนทั้งสิ้น 79,255 หมู่ล้านหรือ 79,255 ล้านบาท โดยธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 6 เดือนเฉลี่ย 4 แบงก์ใหญ่ +1.99% ต่อปี แต่ยังไม่ได้รับคำตอบจากกระทรวงการคลังจะตกลงตามเงื่อนไขด้งกล่าวหรือไม่ และจะทยอยชำระเงินคืนอย่างไร
“ออมสินพร้อมจัดสรรเงินดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลแต่เงินส่วนใหญ่มีต้นทุนเพราะเป็นเงินฝากของประชาชนรายย่อย จึงเสนอดอกเบี้ยระดับดังกล่าว ซึ่งเงินที่รัฐบาลสัญญาจะให้กองทุนละ 1 ล้านบาทนั้นถือเป็นเงินให้เปล่าดังนั้นรัฐบาลต้องรับภาระดอกเบี้ยแทนกองทุนและต้องเป็นผู้กู้เงินจากออมสินเพราะกองทุนหมู่บ้านไม่สามารถกู้เงินเองได้ ซึ่งธนาคารก็จะไม่มีความเสี่ยงด้วย ” นายเลอศักดิ์กล่าว
สำหรับสภาพคล่องของธนาคารนั้นไม่มีปัญหาสามารถรองรับมาตรการดังกล่าวได้ทั้งเกือบ 8 หมื่นล้านบาท โดยขณะนี้ออมสินมีสภาพคล่องส่วนเกิน 1.4 แสนล้านบาท มีเงินฝากล่าสุดสิ้นเดือนส.ค. เกือบ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งจากการที่กฎหมายคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ทำให้รายใหญ่หันมาฝากเงินกับธนาคารมากขึ้น โดยพบว่ามีเงินฝากเข้ามาเฉลี่ยเดือนละ 2.5 - 3 หมื่นล้านบาท
***พร้อมให้ ธ.ก.ส.กู้จำนำข้าว
นายเลอศักดิ์ยังกล่าวถึงการสนับสนุนเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าวของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ที่อาจมีการใช้เงินกู้ร่วมของแบงก์รัฐอื่นรวมทั้งออมสินด้วยว่า ธนาคารมีความพร้อมปล่อยกู้ร่วมเหมือนก่อนหน้านี้ก็เคยปล่อยกู้ให้ธ.ก.ส.ไป 4 หมื่นล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 1 ปี+ 0.98% ซึ่ง ซึ่งครั้งนี้อัตราอกเบี้ยก็อาจเท่ากับที่ปล่อยกู้ให้รัฐใช้ในกองทุนหมู่บ้าน ส่วนจำนวนเงินนั้นรอการประสานจากกระทรวงการคลังอีกครั้ง แต่หากจะให้ออมสินปล่อยกู้ทั้ง 3 แสนล้านบาทนั้นก็เป็นไปได้เพราะเข้าว่าการใช้เงินจะมีการทยอยเบิกจ่ายออกไป ไม่ได้ใช้ครั้งเดียวเต็มจำนวน
***เดินหน้าจ่ายชดเชยน้ำท่วม 5 พันบาท
ธนาคารยังมีหน้าที่สำคัญในการจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมรายละ 5 พันบาทแทนรัฐบาลไปก่อนด้วย ขณะนี้จัดสรรเงินไปแล้วกว่า 5 หมื่นรายในส่วนของภาคเหนือตอนบน จากจำนวนที่จัดส่งรายชื่อมา 1.1 แสนราย หรือครึ่งหนึ่ง โดยคาดว่าภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้จะจ่ายเงินได้ทั้งหมด และน่าจะมีรายชื่อทยอยส่งเข้ามาอีก จากภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางที่ยังมีปัญหาน้ำท่วมขังอย่างหนัก โดยหากสำนักป้องกันสาธารณะภัยส่งรายชื่อเข้ามาธนาคารจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบภัยโดยเร็ว
***ธ.ก.ส.เปิดตัวจำนำ-บัตรเครดิต 7ต.ค.
นายอรุณ เลิศวิไลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.จะเปิดตัวโครงการรับจำนำข้าวนาปีและบัตรสินเชื่อเกษตรกรหรือบัตรเครดิตเกษตรกรพร้อมกันในวันที่ 7 ตุลาคม 54 นี้ โดยในวันเปิดตัวโครงการรับจำนำข้าวจะให้เกษตรกรยื่นสมัครบัตรเครดิตให้กับเกษตรกรทุกราย แต่จะได้รับบัตรและใช้ได้จริงในเดือนพฤศจิกายน 54 เนื่องจากธ.ก.ส.อยู่ระหว่างวางระบบปฏิบัติการยังมาสามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที
เบื้องต้นธ.ก.ส.จะให้บัตรเครดิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนำร่องจำนวน 5 บันราย ใน 5 จังหวัดประกอบไปด้วย เชียงใหม่ อยุธยา สระบุรี นครราชสีมาและอุดรธานี และเริ่มดำเนินการกับเกษตรกรที่เป็นชาวนาก่อนส่วนชาวไร่และชาวสวนจะดำเนินการในระยะต่อไป
บัตรเครดิตเกษตรกรจะมีระยะปลอดดอกเบี้ยเป็นเวลา 30 วัน โดยตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไปจนถึงวันที่คบสัญญาเงินกู้รัฐบาลจะรับภาระจ่ายดอกเบี้ยในส่วนนี้ให้ในอัตรา 7% ต่อปี หากเกินระยะเวลาตากกำหนดไปแล้วเกษตรกรจะเป็นผู้รับผิดชอบดอกเบี้ยและส่วนต่างเงินค่าปรับในอัตรา 13% ต่อปี ซึ่งแม้ว่าจะรวมค่าปรับไปแล้วแต่ก็ยังถือว่าถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากผู้ถือบัตรเครดิต.
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่าธนาคารได้ส่งเงื่อนไขการให้เงินกู้แก่รัฐบาลเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการจัดสรรเงินให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวนทั้งสิ้น 79,255 หมู่ล้านหรือ 79,255 ล้านบาท โดยธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 6 เดือนเฉลี่ย 4 แบงก์ใหญ่ +1.99% ต่อปี แต่ยังไม่ได้รับคำตอบจากกระทรวงการคลังจะตกลงตามเงื่อนไขด้งกล่าวหรือไม่ และจะทยอยชำระเงินคืนอย่างไร
“ออมสินพร้อมจัดสรรเงินดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลแต่เงินส่วนใหญ่มีต้นทุนเพราะเป็นเงินฝากของประชาชนรายย่อย จึงเสนอดอกเบี้ยระดับดังกล่าว ซึ่งเงินที่รัฐบาลสัญญาจะให้กองทุนละ 1 ล้านบาทนั้นถือเป็นเงินให้เปล่าดังนั้นรัฐบาลต้องรับภาระดอกเบี้ยแทนกองทุนและต้องเป็นผู้กู้เงินจากออมสินเพราะกองทุนหมู่บ้านไม่สามารถกู้เงินเองได้ ซึ่งธนาคารก็จะไม่มีความเสี่ยงด้วย ” นายเลอศักดิ์กล่าว
สำหรับสภาพคล่องของธนาคารนั้นไม่มีปัญหาสามารถรองรับมาตรการดังกล่าวได้ทั้งเกือบ 8 หมื่นล้านบาท โดยขณะนี้ออมสินมีสภาพคล่องส่วนเกิน 1.4 แสนล้านบาท มีเงินฝากล่าสุดสิ้นเดือนส.ค. เกือบ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งจากการที่กฎหมายคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ทำให้รายใหญ่หันมาฝากเงินกับธนาคารมากขึ้น โดยพบว่ามีเงินฝากเข้ามาเฉลี่ยเดือนละ 2.5 - 3 หมื่นล้านบาท
***พร้อมให้ ธ.ก.ส.กู้จำนำข้าว
นายเลอศักดิ์ยังกล่าวถึงการสนับสนุนเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าวของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ที่อาจมีการใช้เงินกู้ร่วมของแบงก์รัฐอื่นรวมทั้งออมสินด้วยว่า ธนาคารมีความพร้อมปล่อยกู้ร่วมเหมือนก่อนหน้านี้ก็เคยปล่อยกู้ให้ธ.ก.ส.ไป 4 หมื่นล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 1 ปี+ 0.98% ซึ่ง ซึ่งครั้งนี้อัตราอกเบี้ยก็อาจเท่ากับที่ปล่อยกู้ให้รัฐใช้ในกองทุนหมู่บ้าน ส่วนจำนวนเงินนั้นรอการประสานจากกระทรวงการคลังอีกครั้ง แต่หากจะให้ออมสินปล่อยกู้ทั้ง 3 แสนล้านบาทนั้นก็เป็นไปได้เพราะเข้าว่าการใช้เงินจะมีการทยอยเบิกจ่ายออกไป ไม่ได้ใช้ครั้งเดียวเต็มจำนวน
***เดินหน้าจ่ายชดเชยน้ำท่วม 5 พันบาท
ธนาคารยังมีหน้าที่สำคัญในการจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมรายละ 5 พันบาทแทนรัฐบาลไปก่อนด้วย ขณะนี้จัดสรรเงินไปแล้วกว่า 5 หมื่นรายในส่วนของภาคเหนือตอนบน จากจำนวนที่จัดส่งรายชื่อมา 1.1 แสนราย หรือครึ่งหนึ่ง โดยคาดว่าภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้จะจ่ายเงินได้ทั้งหมด และน่าจะมีรายชื่อทยอยส่งเข้ามาอีก จากภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางที่ยังมีปัญหาน้ำท่วมขังอย่างหนัก โดยหากสำนักป้องกันสาธารณะภัยส่งรายชื่อเข้ามาธนาคารจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบภัยโดยเร็ว
***ธ.ก.ส.เปิดตัวจำนำ-บัตรเครดิต 7ต.ค.
นายอรุณ เลิศวิไลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.จะเปิดตัวโครงการรับจำนำข้าวนาปีและบัตรสินเชื่อเกษตรกรหรือบัตรเครดิตเกษตรกรพร้อมกันในวันที่ 7 ตุลาคม 54 นี้ โดยในวันเปิดตัวโครงการรับจำนำข้าวจะให้เกษตรกรยื่นสมัครบัตรเครดิตให้กับเกษตรกรทุกราย แต่จะได้รับบัตรและใช้ได้จริงในเดือนพฤศจิกายน 54 เนื่องจากธ.ก.ส.อยู่ระหว่างวางระบบปฏิบัติการยังมาสามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที
เบื้องต้นธ.ก.ส.จะให้บัตรเครดิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนำร่องจำนวน 5 บันราย ใน 5 จังหวัดประกอบไปด้วย เชียงใหม่ อยุธยา สระบุรี นครราชสีมาและอุดรธานี และเริ่มดำเนินการกับเกษตรกรที่เป็นชาวนาก่อนส่วนชาวไร่และชาวสวนจะดำเนินการในระยะต่อไป
บัตรเครดิตเกษตรกรจะมีระยะปลอดดอกเบี้ยเป็นเวลา 30 วัน โดยตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไปจนถึงวันที่คบสัญญาเงินกู้รัฐบาลจะรับภาระจ่ายดอกเบี้ยในส่วนนี้ให้ในอัตรา 7% ต่อปี หากเกินระยะเวลาตากกำหนดไปแล้วเกษตรกรจะเป็นผู้รับผิดชอบดอกเบี้ยและส่วนต่างเงินค่าปรับในอัตรา 13% ต่อปี ซึ่งแม้ว่าจะรวมค่าปรับไปแล้วแต่ก็ยังถือว่าถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากผู้ถือบัตรเครดิต.