ASTVผู้จัดการรายวัน - “เชลล์”กระอักนโยบายรัฐยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ฉุดยอดขายแก๊สโซฮอล์ 95 วูบ 20% ประกาศหันกลับมาจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 อีกครั้งหลังเลิกขายเบนซินมากว่า 3ปี วางแผนขายเบนซิน 91 จำนวน 260 ปั๊มภายใน 1เดือน โดยบางปั๊มยกเลิกขายแก๊สโซฮอล์ 95 เผยหากรั้นไม่ปรับนโยบายตลาดใหม่เชื่อยอดขายวูบ 4% ด้าน สนพ.เผยลดเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯทำยอดใช้เบนซินพุ่ง 19% แต่ภาพรวมเบนซินยังลดลง5% ส่วนยอดการใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส.ค.นำเข้าแอลพีจี 1.5 แสนตัน ภาคอุตสาหกรรมลดใช้แอลพีจีเล็กน้อย
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลยกเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับเบนซิน 95 ,91 และดีเซล เป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน 91เท่ากับแก๊สโซฮอล์ 95 ทำให้ปริมาณการขายแก๊สโซฮอล์ 95 ของเชลล์ลดลงในชั่วระยะเวลาอันสั้นถึง 20%ทำให้บริษัทฯต้องปรับแผนการตลาดใหม่โดยนำเบนซิน 91 สูตรประหยัดกลับมาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันเชลล์อีกครั้งหลังจากยกเลิกการขายเบนซินไปกว่า 3ปีแล้วก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณถังน้ำมันใต้ดินในสถานีบริการน้ำมันทำให้เชลล์สามารถขายน้ำมันเบนซิน 91 ผ่านปั๊มน้ำมันเชลล์ได้เพียง 260 แห่งจากทั้งสิ้น 560 แห่งทั่วประเทศ โดยบางปั๊มของเชลล์สามารถขายเบนซิน 91 เพิ่มเข้าไปได้อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ แต่บางปั๊มมีข้อจำกัดถังใต้ดินทำให้ต้องยกเลิกการขายแก๊สโซฮอล์ 95 แทน
“ขณะนี้มีปั๊มน้ำมันเชลล์ที่ขายเบนซิน 91 สูตรประหยัดแล้ว 2-3 สถานีเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา และจะทยอยขายให้ครบตามเป้าหมาย 260 สถานีภายในเวลา 1 เดือน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของเชลล์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 12%กว่า”
ที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลมีการยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯดังกล่าวข้างต้น ทำให้ยอดขายแก๊สโซฮอล์ 91 เพิ่มขึ้น 19% เนื่องจากราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ถูกกว่าเบนซิน 91 ลิตรละ 3 บาท แต่ยอดขายแก๊สโซฮอล์ลดลง 20% หากเชลล์ยังยืนกรานที่จะขายแก๊สโซฮอล์ 91,95 เหมือนเดิมจะมีผลทำให้ปริมาณการขายและยอดขายน้ำมันเชลล์ลดลง 4%จากปีก่อนต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ว่ายอดขายน้ำมันเชลล์ปีนี้จะโตขึ้น 2%เท่ากับการเติบโตของตลาดน้ำมันในประเทศ
นอกจากนี้ บริษัทฯไม่สามารถอยู่นิ่งๆเพื่อรอการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐได้แม้ว่าที่ผ่านมาจะระบุว่าการยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเป็นมาตรการระยะสั้น 6 เดือน แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนแง่เวลาที่แน่นอน อีกทั้งผู้บริโภคจำนวนมากได้เรียกร้องให้เชลล์ขายเบนซิน 91 ทำให้บริษัทไม่สามารถปฏิเสธกระแสเรียกร้องของลูกค้าได้
นางพิศวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในเมื่อเชลล์ตัดสินใจกลับมาขายเบนซิน 91 อีกครั้งแม้ว่านโยบายบริษัทฯยังส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนก็ตาม แต่หากรัฐมีการยกเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของแก๊สโซฮอล์ 95 ที่ยังจัดเก็บอยู่เพียงผลิตภัณฑ์เดียวในขณะนี้ คือ 1.40 บาท/ลิตร ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ต่ำกว่าเบนซิน 91 ที่ลิตรละ 1.40 บาทก็จะเป็นสิ่งที่ดีช่วยผู้ประกอบการเอทานอลในประเทศแต่ทั้งนี้ เชลล์ยืนยันที่จะขายเบนซิน 91 ต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะมีการประกาศยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 91 แม้ว่าปัจจุบันค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน 91 จะแคบลงก็ตาม
*** ส.ค.ยอดใช้เบนซินพุ่ง 19%
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) กล่าวถึงสถานการณ์พลังงานส.ค.2554ว่า หลังจากที่รัฐบาลปรับลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของเบนซิน 95 , 91 และดีเซลลง 3-8 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้น 4% มาอยู่ที่วันละ 20.5 ล้านลิตร โดยยอดการใช้น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 19% จาก 7.2 ล้านลิตรต่อวัน มาอยู่ที่ 8.6 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนยอดการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เดือนส.ค.ลดลง 6% มาอยู่ที่วันละ 11.2 ล้านลิตรจากเดิมอยู่ที่วันละ 11.8 ล้านลิตร และยอดการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.4% มาอยู่ที่วันละ 49.3 ล้านลิตร
“หลังปรับลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯทำให้ยอดการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดใช้แก๊สโซฮอล์ลดลง แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น เพราะพอมีการปรับลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯแก๊สโซฮอล์ด้วยก็ทำให้ยอดการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นกลับมาอยู่ที่ระดับวันละ 12.04 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนเบนซินก็ลดลงมาอยู่ที่วันละ 10 ล้านลิตรจากเดิมที่มีเคยสูงถึง 15 ล้านลิตรต่อวัน ”นายวีระพล กล่าว
ส่วนยอดการใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้นจาก 1.2% จาก 1.82 หมื่นตันต่อวัน มาอยู่ที่ 1.83 หมื่นตัน/วัน เป็นผลจากการใช้ในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 5.6%อยู่ที่ 7.7 พันตันต่อวัน ภาคขนส่ง 2.9 พันตันต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีลดลง 3.4% และ 2.8% ตามลำดับ สาเหตุที่การใช้แอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเนื่องจากรัฐประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกแอลพีจีไตรมาสละ 3 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งในเดือนส.ค.นี้ มีการนำเข้าแอลพีจี 1.59 แสนตัน โดยกองทุนฯ จ่ายชดเชยอยู่ประมาณ 2.8 พันล้านบาท ส่วนเดือนก.ย.นี้คาดว่าจะมีการนำเข้าแอลพีจีประมาณ 1.4 แสนตัน ซึ่งล่าสุดมีการนำเข้าแอลพีจีมาแล้ว 1.1 แสนตัน
“ยอดการใช้แอลพีจีภาคอุตสาหกรรมเฉพาะเดือนส.ค.อยู่ที่วันละ 1,886 ตัน ลดลงจากเดือนก่อน 3.4% เนื่องจากมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาทต่อกิโลกรัม แต่ตัวเลขที่ลดลงก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่ากลุ่มนี้มีการหนีไปใช้ก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนแทน หรือสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ถังขนาดใหญ่(ถังเบ้าท์)หรือไม่โดยผู้ประกอบการอาจจะรอฟังคำตัดสินศาลปกครองที่ขอคุ้มครองให้มีการชะลอการปรับขึ้นราคาแอลพีจีสำหรับภาคอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้หากศาลฯไม่มีคำสั่งก็จะมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจีอีก 3 บาทต่อกิโลกรัมในเดือนต.ค. ”นายวีระพลกล่าว
สำหรับ ภาพรวมการใช้น้ำมัน 8 เดือนแรกของปีนี้( ม.ค.-ส.ค.2554)ยอดการใช้น้ำมันเบนซินอยู่ที่วันละ 7.9 ล้านลิตร ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5% จากระดับวันละ 8.3 ล้านลิตร ยอดการใช้แก๊สโซฮอล์อยู่ที่วันละ 12.5 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 5%ที่อยู่วันละ 11.9 ล้านลิตร ดีเซลอยู่ที่วันละ 51.6 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 4% จากระดับวันละ 49.9 ล้านลิตร ส่วนยอดการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)อยู่ที่วันละ 6,500 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 35% ที่ระดับ 4,800 ตัน
ส่วนยอดการใช้แอลพีจี 8เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่เดือนละ 5.43 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.5% ที่อยู่เดือนละ 4.44 แสนตัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วนทั้งภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 10% ภาคขนส่งเพิ่มขึ้น 37% ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น 52% มีเพียงภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1%เท่านั้น โดยตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 17 ก.ย.2554 มีการนำเข้าก๊าซแอลพีจีรวม 1.1 ล้านตันกองทุนน้ำมันฯจ่ายชดเชยรวม 22,000 ล้าน
*** ชดเชยผู้ค้ากว่า 3,800 ล้านบาท
นายวีระพล กล่าวถึงผลการตรวจวัดปริมาณน้ำมันคงเหลือในปั๊มน้ำมันและคลังน้ำมันทั่วประเทศหลังจากการที่รัฐบาลประกาศปรับลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 26 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่าการตรวจวัดปริมาณ เบื้องต้นสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศมี น้ำมันเบนซิน 91 คงเหลือประมาณ 38.41 ล้านลิตร น้ำมันเบนซิน 95 มีปริมาณคงเหลือประมาณ 1.71 ล้านลิตร น้ำมันดีเซล 129.65 ล้านลิตร รวมจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชดเชยประมาณ 650 ล้านบาท สำหรับการตรวจวัดปริมาณน้ำมันคงเหลือของผู้ค้าน้ำมัน ทั้ง 17 แห่งพบว่า น้ำมันเบนซิน 91 มีปริมาณคงเหลือประมาณ 108.89 ล้านลิตร น้ำมันเบนซิน 95 คงเหลือ 5.37 ล้านลิตร และกลุ่มน้ำมันดีเซลคงเหลือ 814.49 ล้าน ลิตร ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชดเชยประมาณ 3,100 ล้านบาท โดยหากรวมจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชดเชยแก่ผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ เป็นเงินประมาณ 3,800 ล้านบาท
ซึ่งขั้นตอนการการจ่ายเงินชดเชยนั้น ทางกรมฯจะแจ้งยอดน้ำมันคงเหลือให้ผู้ประกอบการตรวจเช็คตัวเลขอีกครั้ง ก่อนที่จะดำเนินการทยอยจ่ายเงินชดเชย คาดว่าภายใน 3 เดือนจะสามารถจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประกบอการได้ทั้งหมด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้พบว่า มีผู้ประกอบการหลายรายในต่างจังหวัดแจ้งยอดคงเหลือน้ำมันเบนซิน 95 สูงกว่าปริมาณถังเก็บน้ำมันเบนซิน 95ที่กรมฯมีข้อมูลอยู่ คงต้องตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนที่จะมีการจ่ายเงินชดเชย
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลยกเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับเบนซิน 95 ,91 และดีเซล เป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน 91เท่ากับแก๊สโซฮอล์ 95 ทำให้ปริมาณการขายแก๊สโซฮอล์ 95 ของเชลล์ลดลงในชั่วระยะเวลาอันสั้นถึง 20%ทำให้บริษัทฯต้องปรับแผนการตลาดใหม่โดยนำเบนซิน 91 สูตรประหยัดกลับมาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันเชลล์อีกครั้งหลังจากยกเลิกการขายเบนซินไปกว่า 3ปีแล้วก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณถังน้ำมันใต้ดินในสถานีบริการน้ำมันทำให้เชลล์สามารถขายน้ำมันเบนซิน 91 ผ่านปั๊มน้ำมันเชลล์ได้เพียง 260 แห่งจากทั้งสิ้น 560 แห่งทั่วประเทศ โดยบางปั๊มของเชลล์สามารถขายเบนซิน 91 เพิ่มเข้าไปได้อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ แต่บางปั๊มมีข้อจำกัดถังใต้ดินทำให้ต้องยกเลิกการขายแก๊สโซฮอล์ 95 แทน
“ขณะนี้มีปั๊มน้ำมันเชลล์ที่ขายเบนซิน 91 สูตรประหยัดแล้ว 2-3 สถานีเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา และจะทยอยขายให้ครบตามเป้าหมาย 260 สถานีภายในเวลา 1 เดือน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของเชลล์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 12%กว่า”
ที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลมีการยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯดังกล่าวข้างต้น ทำให้ยอดขายแก๊สโซฮอล์ 91 เพิ่มขึ้น 19% เนื่องจากราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ถูกกว่าเบนซิน 91 ลิตรละ 3 บาท แต่ยอดขายแก๊สโซฮอล์ลดลง 20% หากเชลล์ยังยืนกรานที่จะขายแก๊สโซฮอล์ 91,95 เหมือนเดิมจะมีผลทำให้ปริมาณการขายและยอดขายน้ำมันเชลล์ลดลง 4%จากปีก่อนต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ว่ายอดขายน้ำมันเชลล์ปีนี้จะโตขึ้น 2%เท่ากับการเติบโตของตลาดน้ำมันในประเทศ
นอกจากนี้ บริษัทฯไม่สามารถอยู่นิ่งๆเพื่อรอการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐได้แม้ว่าที่ผ่านมาจะระบุว่าการยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเป็นมาตรการระยะสั้น 6 เดือน แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนแง่เวลาที่แน่นอน อีกทั้งผู้บริโภคจำนวนมากได้เรียกร้องให้เชลล์ขายเบนซิน 91 ทำให้บริษัทไม่สามารถปฏิเสธกระแสเรียกร้องของลูกค้าได้
นางพิศวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในเมื่อเชลล์ตัดสินใจกลับมาขายเบนซิน 91 อีกครั้งแม้ว่านโยบายบริษัทฯยังส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนก็ตาม แต่หากรัฐมีการยกเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของแก๊สโซฮอล์ 95 ที่ยังจัดเก็บอยู่เพียงผลิตภัณฑ์เดียวในขณะนี้ คือ 1.40 บาท/ลิตร ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ต่ำกว่าเบนซิน 91 ที่ลิตรละ 1.40 บาทก็จะเป็นสิ่งที่ดีช่วยผู้ประกอบการเอทานอลในประเทศแต่ทั้งนี้ เชลล์ยืนยันที่จะขายเบนซิน 91 ต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะมีการประกาศยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 91 แม้ว่าปัจจุบันค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน 91 จะแคบลงก็ตาม
*** ส.ค.ยอดใช้เบนซินพุ่ง 19%
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) กล่าวถึงสถานการณ์พลังงานส.ค.2554ว่า หลังจากที่รัฐบาลปรับลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของเบนซิน 95 , 91 และดีเซลลง 3-8 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้น 4% มาอยู่ที่วันละ 20.5 ล้านลิตร โดยยอดการใช้น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 19% จาก 7.2 ล้านลิตรต่อวัน มาอยู่ที่ 8.6 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนยอดการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เดือนส.ค.ลดลง 6% มาอยู่ที่วันละ 11.2 ล้านลิตรจากเดิมอยู่ที่วันละ 11.8 ล้านลิตร และยอดการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.4% มาอยู่ที่วันละ 49.3 ล้านลิตร
“หลังปรับลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯทำให้ยอดการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดใช้แก๊สโซฮอล์ลดลง แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น เพราะพอมีการปรับลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯแก๊สโซฮอล์ด้วยก็ทำให้ยอดการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นกลับมาอยู่ที่ระดับวันละ 12.04 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนเบนซินก็ลดลงมาอยู่ที่วันละ 10 ล้านลิตรจากเดิมที่มีเคยสูงถึง 15 ล้านลิตรต่อวัน ”นายวีระพล กล่าว
ส่วนยอดการใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้นจาก 1.2% จาก 1.82 หมื่นตันต่อวัน มาอยู่ที่ 1.83 หมื่นตัน/วัน เป็นผลจากการใช้ในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 5.6%อยู่ที่ 7.7 พันตันต่อวัน ภาคขนส่ง 2.9 พันตันต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีลดลง 3.4% และ 2.8% ตามลำดับ สาเหตุที่การใช้แอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเนื่องจากรัฐประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกแอลพีจีไตรมาสละ 3 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งในเดือนส.ค.นี้ มีการนำเข้าแอลพีจี 1.59 แสนตัน โดยกองทุนฯ จ่ายชดเชยอยู่ประมาณ 2.8 พันล้านบาท ส่วนเดือนก.ย.นี้คาดว่าจะมีการนำเข้าแอลพีจีประมาณ 1.4 แสนตัน ซึ่งล่าสุดมีการนำเข้าแอลพีจีมาแล้ว 1.1 แสนตัน
“ยอดการใช้แอลพีจีภาคอุตสาหกรรมเฉพาะเดือนส.ค.อยู่ที่วันละ 1,886 ตัน ลดลงจากเดือนก่อน 3.4% เนื่องจากมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมไตรมาสละ 3 บาทต่อกิโลกรัม แต่ตัวเลขที่ลดลงก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่ากลุ่มนี้มีการหนีไปใช้ก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนแทน หรือสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ถังขนาดใหญ่(ถังเบ้าท์)หรือไม่โดยผู้ประกอบการอาจจะรอฟังคำตัดสินศาลปกครองที่ขอคุ้มครองให้มีการชะลอการปรับขึ้นราคาแอลพีจีสำหรับภาคอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้หากศาลฯไม่มีคำสั่งก็จะมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจีอีก 3 บาทต่อกิโลกรัมในเดือนต.ค. ”นายวีระพลกล่าว
สำหรับ ภาพรวมการใช้น้ำมัน 8 เดือนแรกของปีนี้( ม.ค.-ส.ค.2554)ยอดการใช้น้ำมันเบนซินอยู่ที่วันละ 7.9 ล้านลิตร ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5% จากระดับวันละ 8.3 ล้านลิตร ยอดการใช้แก๊สโซฮอล์อยู่ที่วันละ 12.5 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 5%ที่อยู่วันละ 11.9 ล้านลิตร ดีเซลอยู่ที่วันละ 51.6 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 4% จากระดับวันละ 49.9 ล้านลิตร ส่วนยอดการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)อยู่ที่วันละ 6,500 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 35% ที่ระดับ 4,800 ตัน
ส่วนยอดการใช้แอลพีจี 8เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่เดือนละ 5.43 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.5% ที่อยู่เดือนละ 4.44 แสนตัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วนทั้งภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 10% ภาคขนส่งเพิ่มขึ้น 37% ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น 52% มีเพียงภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1%เท่านั้น โดยตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 17 ก.ย.2554 มีการนำเข้าก๊าซแอลพีจีรวม 1.1 ล้านตันกองทุนน้ำมันฯจ่ายชดเชยรวม 22,000 ล้าน
*** ชดเชยผู้ค้ากว่า 3,800 ล้านบาท
นายวีระพล กล่าวถึงผลการตรวจวัดปริมาณน้ำมันคงเหลือในปั๊มน้ำมันและคลังน้ำมันทั่วประเทศหลังจากการที่รัฐบาลประกาศปรับลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 26 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่าการตรวจวัดปริมาณ เบื้องต้นสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศมี น้ำมันเบนซิน 91 คงเหลือประมาณ 38.41 ล้านลิตร น้ำมันเบนซิน 95 มีปริมาณคงเหลือประมาณ 1.71 ล้านลิตร น้ำมันดีเซล 129.65 ล้านลิตร รวมจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชดเชยประมาณ 650 ล้านบาท สำหรับการตรวจวัดปริมาณน้ำมันคงเหลือของผู้ค้าน้ำมัน ทั้ง 17 แห่งพบว่า น้ำมันเบนซิน 91 มีปริมาณคงเหลือประมาณ 108.89 ล้านลิตร น้ำมันเบนซิน 95 คงเหลือ 5.37 ล้านลิตร และกลุ่มน้ำมันดีเซลคงเหลือ 814.49 ล้าน ลิตร ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชดเชยประมาณ 3,100 ล้านบาท โดยหากรวมจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชดเชยแก่ผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ เป็นเงินประมาณ 3,800 ล้านบาท
ซึ่งขั้นตอนการการจ่ายเงินชดเชยนั้น ทางกรมฯจะแจ้งยอดน้ำมันคงเหลือให้ผู้ประกอบการตรวจเช็คตัวเลขอีกครั้ง ก่อนที่จะดำเนินการทยอยจ่ายเงินชดเชย คาดว่าภายใน 3 เดือนจะสามารถจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประกบอการได้ทั้งหมด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้พบว่า มีผู้ประกอบการหลายรายในต่างจังหวัดแจ้งยอดคงเหลือน้ำมันเบนซิน 95 สูงกว่าปริมาณถังเก็บน้ำมันเบนซิน 95ที่กรมฯมีข้อมูลอยู่ คงต้องตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนที่จะมีการจ่ายเงินชดเชย