ปัจจุบันประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบได้เองประมาณ 30% ของการใช้ส่วนที่เหลือยังต้องนำเข้าอยู่ หากนับเฉพาะปริมาณก๊าซธรรมชาติประเทศไทยสามารถผลิตได้ติดลำดับต้นของโลกก๊าซที่ผลิดได้เองหากนำมาเข้าโรงแยกก๊าซจะสามารถผลิตก๊าซเหลวธรรมชาติเหลว (แอลพีจีหรือก๊าซในครัวเรือน) ได้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ
แต่จนกระทั่งปัจจุบันโครงสร้างการกำหนดราคาพลังงานทั้งน้ำมันก๊าซของไทยก็ยังคงเหมือนกับเมื่อ 30 ปีก่อนที่ไม่สามารถขุดหาพลังงานใช้ได้เองโครงสร้างราคาคำนวณเป็นต้นทุนยิบย่อยในทุกขั้นตอนของกิจการผูกขาดบริษัทแม่ก็กำไร บริษัทลูกที่ซัพพลายให้ก็กำไร ขนส่งก็กำไรในทุกขั้นตอนทำให้กลุ่มปตท.เติบโตสร้างกำไรยอดแสนล้านบาทหลังจากแปรรูปไม่กี่ปี
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้ชี้ประเด็นความบิดเบี้ยวของโครงสร้างต้นทุนและการกำหนดราคาพลังงานไทย ว่า ในการคำนวณราคาน้ำมันที่อ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์บวกค่าโสหุ้ยในการส่งน้ำมันสำเร็จรูป+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง+ค่าปรับปรุงคุณภาพจากมาตรฐานสิงคโปร์มาเป็นมาตรฐานไทย+ค่าประกันภัยการขนส่งจากสิงคโปร์มาประเทศไทยซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะน้ำมันจากประเทศไทยเข้าโรงกลั่นไทยโดยตรงเหตุไฉนจึงมีการเพิ่มต้นทุนค่าประกันภัยขนส่งค่าขนส่งระยะทางไกลและค่าปรับปรุงคุณภาพเข้าไปด้วย
จริงอยู่น้ำมันดิบที่นำเข้าต้องบวกต้นทุนเหล่านี้เข้าไป แต่น้ำมันดิบที่ขุดได้ในอ่าวไทยที่เหลือ 30% ของที่ใช้ในแต่ละปีซึ่งเป็นของในบ้านเราแท้ ๆ ควรจะมาช่วยแบ่งเบาราคานำเข้าได้แต่เหตุใดปตท.ยังคงบวกต้นทุนเหล่านี้เข้าไปให้คนไทยแบกรับ !!?
คำบรรยายฟ้องระบุว่า โรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ในประเทศไทยและการผลิตก็เป็นไปตามมาตรฐานของไทยอยู่แล้ว อีกทั้งประเทศไทยก็มิได้พึ่งวัตถุดิบจากต่างประเทศทั้งหมดทำให้ต้นทุนการผลิตที่แท้จริงถูกกว่าราคาการนำเข้าทั้งหมด แต่การประกาศราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์บวกโสหุ้ยอื่นๆ ทำให้ประชาชนผู้บริโภคต้องรับภาระราคาน้ำมันสูงกว่าปกติถึงลิตรละ 2บาท
คำนวณจากเลขกลม ๆ ประชาชนไทยใช้น้ำมันประมาณปีละ 40,000 ล้านลิตร เฉพาะกำไรจากการกำหนดโครงสร้างราคาอ้างอิงสิงคโปร์ทำให้ปตท.ได้กำไรส่วนเกินจากการสร้างกลไกตลาดเทียมถึงปีละ 80,000 ล้านบาท เงินจำนวนนี้นำไปแบ่งให้กับผู้ถือหุ้น และสามารถนำไปปั่นราคาในตลาดหุ้นต่อได้อีก การกระทำเหล่านี้ถือว่าเป็นการบิดเบือนกลไกราคา ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี เป็นราคาที่กำหนดโดยปตท.ที่จ้องเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาศัยเทคนิคคำนวณต้นทุนที่ไม่มีอยู่จริงจึงมิใช่ราคาที่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค
การอ้างอิงราคาโรงกลั่นสิงคโปร์นอกจากจะเอาเปรียบคนไทยแล้วในทางกลับกันเมื่อประเทศไทยส่งออกน้ำมันกลับใช้ราคาต่ำกว่าที่ขายให้กับคนไทยในประเทศ โดยใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ลบออกด้วยค่าโสหุ้ยในการขนส่ง ค่าสูญเสียในการขนส่ง ค่าประกันภัยและค่าปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้เท่ากับราคาที่สิงคโปร์ ดังนั้นราคาน้ำมันสำเร็จรูปผู้บริโภคคนไทยจะต้องจ่าย จึงเท่ากับ 2 เท่าของค่าโสหุ้ยในการขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากการสร้างกลไกตลาดเทียมของปตท.และกำไรส่วนเกินเหล่านี้ตกแก่บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) โดยผู้ถือหุ้นเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากกำไรส่วนเกินดังกล่าว บนภาระของประชาชนไทยที่แบกรับอยู่
นอกจากกรณีการกำหนดราคาอ้างอิงสิงคโปร์ที่ใช้เทคนิคเอาของราคาของนอกมาสวมของในบ้านแล้วประเด็นคล้ายคลึงกันคือเทคนิคควักเงินจากประชาชนไปอุ้มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของตนเอง
ปตท.ผู้ประกอบการรายเดียวในกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยควบคุมตั้งแต่ธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โรงแยกก๊าซธรรมชาติจนถึงการค้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลพีจี) และก๊าซเอ็นจีวี โดยก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ของภาคประชาชนทั้งภาคครัวเรือนและยานยนต์ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการในเครือปตท. นำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ประเทศไทยยังต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีปีละกว่า 400,000 ตัน
เล่ห์กลการเอาเปรียบประชาชนของบริษัทมหาชนและขบวนการช่วยเหลือเกิดจากก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงกว่าที่ผลิตภายในประเทศ ปตท.จึงขอให้รัฐชดเชยค่าก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าโดยเอาเงินชดเชยนั้นจากจากกองทุนน้ำมันที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำมันและผู้ใช้น้ำมันเป็นผู้รับภาระ
ซึ่งเท่ากับว่าปตท.ร่วมมือกับรัฐบังคับให้ประชาชนทั่วไปควักเงินของตัวเองไปชดเชยแอลพีจีให้กับโรงงานเปโตเคมีและภาคอุตสาหกรรม เอาเปรียบเช่นนี้มายาวนานเพิ่งจะมายกเลิกหลังการเลือกตั้ง 2554 ผ่านไปอย่างไรก็ตามความเสียหายทั้งหลายที่ประชาชนสูญเสียไปจากการแอบเอาเงินกองทุนของประชาชนไปอุ้มภาคอุตสาหกรรมก็ยังไม่มีใครทวงถามให้
นอกจากกรณีแอลพีจี ปตท.ยังเป็นผู้ค้าก๊าซเอ็นจีวีแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ปตท.ผูกขาดกำหนดราคารับซื้อก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมในประเทศ ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก 40-60 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำมาขายแก่ผู้บริโภคไทย
ฟังเผิน ๆ เหมือนจะดีเพราะก๊าซธรรมชาติของไทยสมควรให้บริษัทคนไทยผูกขาดดีกว่าบริษัทต่างชาติ แต่การณ์กลับเป็นว่าบริษัทคนไทยก็หวังจะฟันคนไทยเต็มคราบไม่มีลดหย่อนผ่อนฟัน เพราะปตท. อยากจะขายก๊าซเหล่านี้ในราคาตลาดโลก(เพราะมันกำไรสูงสุดในนามของตลาดเสรี) ปตท.พยายามขออนุญาตรัฐให้อนุมัติให้ขายได้ตามราคาตลาดโลก เมื่อรัฐยังไม่อนุมัติปตท.ก็ขอเงินชดเชยจากเงินกองทุนน้ำมัน(ซึ่งเอามาจากประชาชนผู้ใช้น้ำมัน) นี่เป็นการใช้เงินกองทุนน้ำมันผิดวัตถุประสงค์ เพราะเงินกองทุนน้ำมันเป็นเงินของผู้ใช้น้ำมันเพื่อที่จะรักษาระดับราคาน้ำมันมิให้ผันผวน แต่ที่สุดคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานก็ยังอนุมัติให้นำเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยให้กับปตท.ตามที่ขอมา ทั้งๆที่เป็นเงินของประชาชนมิใช่เงินของรัฐแต่ประการใด
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินระบุในบรรยายคำฟ้องส่วนนี้ว่า การยินยอมให้บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ผูกขาดการค้าส่งก๊าซเอ็นจีวีแต่ผู้เดียว เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 85(5) “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยกำกับให้มีการประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด ตัดตอนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและคุ้มครองผู้บริโภค” ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญของรัฐและเจ้าพนักงานของรัฐ การอนุญาตให้บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ค้าส่งก๊าซเอ็นจีวีแต่ผู้เดียวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ
แต่จนกระทั่งปัจจุบันโครงสร้างการกำหนดราคาพลังงานทั้งน้ำมันก๊าซของไทยก็ยังคงเหมือนกับเมื่อ 30 ปีก่อนที่ไม่สามารถขุดหาพลังงานใช้ได้เองโครงสร้างราคาคำนวณเป็นต้นทุนยิบย่อยในทุกขั้นตอนของกิจการผูกขาดบริษัทแม่ก็กำไร บริษัทลูกที่ซัพพลายให้ก็กำไร ขนส่งก็กำไรในทุกขั้นตอนทำให้กลุ่มปตท.เติบโตสร้างกำไรยอดแสนล้านบาทหลังจากแปรรูปไม่กี่ปี
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้ชี้ประเด็นความบิดเบี้ยวของโครงสร้างต้นทุนและการกำหนดราคาพลังงานไทย ว่า ในการคำนวณราคาน้ำมันที่อ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์บวกค่าโสหุ้ยในการส่งน้ำมันสำเร็จรูป+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง+ค่าปรับปรุงคุณภาพจากมาตรฐานสิงคโปร์มาเป็นมาตรฐานไทย+ค่าประกันภัยการขนส่งจากสิงคโปร์มาประเทศไทยซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะน้ำมันจากประเทศไทยเข้าโรงกลั่นไทยโดยตรงเหตุไฉนจึงมีการเพิ่มต้นทุนค่าประกันภัยขนส่งค่าขนส่งระยะทางไกลและค่าปรับปรุงคุณภาพเข้าไปด้วย
จริงอยู่น้ำมันดิบที่นำเข้าต้องบวกต้นทุนเหล่านี้เข้าไป แต่น้ำมันดิบที่ขุดได้ในอ่าวไทยที่เหลือ 30% ของที่ใช้ในแต่ละปีซึ่งเป็นของในบ้านเราแท้ ๆ ควรจะมาช่วยแบ่งเบาราคานำเข้าได้แต่เหตุใดปตท.ยังคงบวกต้นทุนเหล่านี้เข้าไปให้คนไทยแบกรับ !!?
คำบรรยายฟ้องระบุว่า โรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ในประเทศไทยและการผลิตก็เป็นไปตามมาตรฐานของไทยอยู่แล้ว อีกทั้งประเทศไทยก็มิได้พึ่งวัตถุดิบจากต่างประเทศทั้งหมดทำให้ต้นทุนการผลิตที่แท้จริงถูกกว่าราคาการนำเข้าทั้งหมด แต่การประกาศราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์บวกโสหุ้ยอื่นๆ ทำให้ประชาชนผู้บริโภคต้องรับภาระราคาน้ำมันสูงกว่าปกติถึงลิตรละ 2บาท
คำนวณจากเลขกลม ๆ ประชาชนไทยใช้น้ำมันประมาณปีละ 40,000 ล้านลิตร เฉพาะกำไรจากการกำหนดโครงสร้างราคาอ้างอิงสิงคโปร์ทำให้ปตท.ได้กำไรส่วนเกินจากการสร้างกลไกตลาดเทียมถึงปีละ 80,000 ล้านบาท เงินจำนวนนี้นำไปแบ่งให้กับผู้ถือหุ้น และสามารถนำไปปั่นราคาในตลาดหุ้นต่อได้อีก การกระทำเหล่านี้ถือว่าเป็นการบิดเบือนกลไกราคา ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี เป็นราคาที่กำหนดโดยปตท.ที่จ้องเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาศัยเทคนิคคำนวณต้นทุนที่ไม่มีอยู่จริงจึงมิใช่ราคาที่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค
การอ้างอิงราคาโรงกลั่นสิงคโปร์นอกจากจะเอาเปรียบคนไทยแล้วในทางกลับกันเมื่อประเทศไทยส่งออกน้ำมันกลับใช้ราคาต่ำกว่าที่ขายให้กับคนไทยในประเทศ โดยใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ลบออกด้วยค่าโสหุ้ยในการขนส่ง ค่าสูญเสียในการขนส่ง ค่าประกันภัยและค่าปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้เท่ากับราคาที่สิงคโปร์ ดังนั้นราคาน้ำมันสำเร็จรูปผู้บริโภคคนไทยจะต้องจ่าย จึงเท่ากับ 2 เท่าของค่าโสหุ้ยในการขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากการสร้างกลไกตลาดเทียมของปตท.และกำไรส่วนเกินเหล่านี้ตกแก่บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) โดยผู้ถือหุ้นเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากกำไรส่วนเกินดังกล่าว บนภาระของประชาชนไทยที่แบกรับอยู่
นอกจากกรณีการกำหนดราคาอ้างอิงสิงคโปร์ที่ใช้เทคนิคเอาของราคาของนอกมาสวมของในบ้านแล้วประเด็นคล้ายคลึงกันคือเทคนิคควักเงินจากประชาชนไปอุ้มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของตนเอง
ปตท.ผู้ประกอบการรายเดียวในกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยควบคุมตั้งแต่ธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โรงแยกก๊าซธรรมชาติจนถึงการค้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลพีจี) และก๊าซเอ็นจีวี โดยก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ของภาคประชาชนทั้งภาคครัวเรือนและยานยนต์ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการในเครือปตท. นำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ประเทศไทยยังต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีปีละกว่า 400,000 ตัน
เล่ห์กลการเอาเปรียบประชาชนของบริษัทมหาชนและขบวนการช่วยเหลือเกิดจากก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงกว่าที่ผลิตภายในประเทศ ปตท.จึงขอให้รัฐชดเชยค่าก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าโดยเอาเงินชดเชยนั้นจากจากกองทุนน้ำมันที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำมันและผู้ใช้น้ำมันเป็นผู้รับภาระ
ซึ่งเท่ากับว่าปตท.ร่วมมือกับรัฐบังคับให้ประชาชนทั่วไปควักเงินของตัวเองไปชดเชยแอลพีจีให้กับโรงงานเปโตเคมีและภาคอุตสาหกรรม เอาเปรียบเช่นนี้มายาวนานเพิ่งจะมายกเลิกหลังการเลือกตั้ง 2554 ผ่านไปอย่างไรก็ตามความเสียหายทั้งหลายที่ประชาชนสูญเสียไปจากการแอบเอาเงินกองทุนของประชาชนไปอุ้มภาคอุตสาหกรรมก็ยังไม่มีใครทวงถามให้
นอกจากกรณีแอลพีจี ปตท.ยังเป็นผู้ค้าก๊าซเอ็นจีวีแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ปตท.ผูกขาดกำหนดราคารับซื้อก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมในประเทศ ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก 40-60 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำมาขายแก่ผู้บริโภคไทย
ฟังเผิน ๆ เหมือนจะดีเพราะก๊าซธรรมชาติของไทยสมควรให้บริษัทคนไทยผูกขาดดีกว่าบริษัทต่างชาติ แต่การณ์กลับเป็นว่าบริษัทคนไทยก็หวังจะฟันคนไทยเต็มคราบไม่มีลดหย่อนผ่อนฟัน เพราะปตท. อยากจะขายก๊าซเหล่านี้ในราคาตลาดโลก(เพราะมันกำไรสูงสุดในนามของตลาดเสรี) ปตท.พยายามขออนุญาตรัฐให้อนุมัติให้ขายได้ตามราคาตลาดโลก เมื่อรัฐยังไม่อนุมัติปตท.ก็ขอเงินชดเชยจากเงินกองทุนน้ำมัน(ซึ่งเอามาจากประชาชนผู้ใช้น้ำมัน) นี่เป็นการใช้เงินกองทุนน้ำมันผิดวัตถุประสงค์ เพราะเงินกองทุนน้ำมันเป็นเงินของผู้ใช้น้ำมันเพื่อที่จะรักษาระดับราคาน้ำมันมิให้ผันผวน แต่ที่สุดคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานก็ยังอนุมัติให้นำเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยให้กับปตท.ตามที่ขอมา ทั้งๆที่เป็นเงินของประชาชนมิใช่เงินของรัฐแต่ประการใด
มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินระบุในบรรยายคำฟ้องส่วนนี้ว่า การยินยอมให้บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ผูกขาดการค้าส่งก๊าซเอ็นจีวีแต่ผู้เดียว เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 85(5) “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยกำกับให้มีการประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด ตัดตอนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและคุ้มครองผู้บริโภค” ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญของรัฐและเจ้าพนักงานของรัฐ การอนุญาตให้บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ค้าส่งก๊าซเอ็นจีวีแต่ผู้เดียวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ