ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ปู โชว์ขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นทำได้จริง แต่ไร้ความชัดเจน ล่าสุดไม่ใช่ขึ้นเงินเดือน แต่ให้ปรับค่าครองชีพให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ ทหารกองประจำการ มีรายได้รวมเดือนละ 1.5 หมื่นบาทแทน เริ่ม 1 ม.ค.ปีหน้า พร้อมให้ก.พ.ปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบทุกปีจนฐานเงินเดือนอยู่ที่ 1.5 หมื่นบาท ส่วนกระทรวงแรงงานลั่นค่าจ้าง 300 บาทต้องเริ่มเหมือนกัน เตรียมบีบไตรภาคีโหวตรับ
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (20ก.ย.) ว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีอัตราเงินเดือน หรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวปรับเพิ่มขึ้น เมื่อรวมแล้วจะมีรายได้เดือนละ 15,000 บาท ขณะที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือน หรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมแล้วมีรายได้เดือนละ 9,000 บาท ซึ่งในส่วนนี้ ได้รวมทหารกองประจำการ ซึ่งได้รับเงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 8,610 บาท ให้ปรับขึ้นเป็น 9,000 บาทด้วย
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 เป็นต้นไป โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มในครั้งนี้ จำนวน 649,323 อัตรา ใช้งบประมาณในการดำเนินการจากเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ซึ่งเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 18,864 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ครม.ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กลับไปทบทวนตัวเลขเกี่ยวกับการปรับขึ้นรายได้ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่ได้รับเงินเดือนในอัตราระหว่าง 15,500-20,000 บาท และกรณีผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการที่ปรับขึ้นเงินในครั้งนี้ ซึ่งอาจจะใช้ในรูปแบบการให้ค่าวิชาการเพิ่มเติมก็ได้ และยังให้ก.พ. พิจารณาการปรับโครงสร้างอัตราบัญชีเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบทุกปี เป็นเวลา 4 ปี จนกว่าฐานเงินเดือนจะอยู่ที่ 15,000 บาท เพื่อนำเสนอให้ครม. พิจารณาเห็นชอบต่อไป
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ครม.ได้ตีกลับข้อเสนอเงินเดือน15,000 บาท โดยอ้างว่ายังไม่ชัดเจนและเป็นห่วงส่วนต่างเงินเดือนของคนทำงานมาก่อนและคนจบป.โท ป.เอก ทำให้มีการปรับเปลี่ยนจากปรับเงินเดือนมาเป็นปรับเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวให้บุคลากรภาครัฐแทน เพื่อทำให้คนรู้ว่านโยบายที่ประกาศไว้ทำได้จริง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปรับเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท ไม่ใช่เป็นการทบทวน แต่เป็นหลักการที่คณะทำงานของกระทรวงการคลังเป็นผู้เสนอ เนื่องจากตนเป็นห่วง อยากให้ดูผลกระทบด้วย เพื่อให้ดูแลส่วนของราชการให้ครอบคลุม ไม่ใช่เฉพาะผู้จบปริญญาตรี โดยคงจะไปทบทวนในละเอียดอีกครั้ง ยืนยันว่าไม่ได้มีการตีกลับแต่อย่างใด เป็นเพียงการให้เสนอเพิ่มเติมในประเด็นที่มีข้อกังวลใจมากกว่า
เมื่อถามว่า ข้อกังวลใจของนายกฯ ในเรื่องนี้ คืออะไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นในส่วนของสายวิชาชีพที่เราไม่ได้พูดถึง อย่างผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวช. , ปวส. คงต้องไปดูโครงสร้างรวมด้วย เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เพราะนโยบายนี้เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ จึงต้องให้ทุกหน่วยงานพิจารณาอย่างครอบคลุม
เมื่อถามว่า แต่นโยบายปริญญาตรี 15,000 บาท ไม่ได้พูดถึงผู้จบการศึกษาระดับ ปวช.-ปวส. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นการช่วยเหลือเพิ่มเติม ตัวนโยบายยังคงอยู่
**ลั่นปรับค่าจ้าง 300 บาท 1 ม.ค.55**
น.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ได้วันละ 300 บาทตามนโยบายรัฐบาลว่า จะเร่งดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ โดยจะให้บังคับใช้ภายในวันที่ 1 ม.ค.2555 ซึ่งระยะเวลา 2 เดือนในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. จะเป็นช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เข้าชี้แจงถึงผลกระทบเพื่อร่วมกันหามาตรการช่วยเหลือ เพื่อเป็นการสำรวจผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริงและสกัดผู้ประกอบการที่แอบอ้างเพื่อเข้ารับความช่วยเหลือทั้งที่ไม่ได้รับความเดือดร้อน
ทั้งนี้ ได้สั่งการไปยังแรงงานจังหวัดทุกแห่งไปทำความเข้าใจกับคณะอนุกรรมการค่าจ้างทั่วประเทศในเรื่องความจำเป็นในปรับขึ้นค่าจ้างและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลที่จะส่งตรงไปถึงผู้ประกอบการ โดยเฉพาะมาตรการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีหน้า ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว หากสถานประกอบการใดมีต้นทุนแรงงาน 15% การลดภาษีนิติบุคคล 7% จะช่วยชดเชยส่วนต่างจากการปรับขึ้นค่าจ้างได้โดยไม่ได้รับผลกระทบ และยังมีมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลเตรียมช่วยเหลือ เช่น การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ การพัฒนาฝีมือแรงงานของสถานประกอบการซึ่งได้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี 2 เท่าตามพ.ร.บ.พัฒนาฝีมือแรงงานพ.ศ.2545
"การพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของคณะกรรมการไตรภาคี อาจจะมีปัญหาในการเคาะตัวเลขสุดท้าย แต่เมื่อเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างให้ได้ 300 บาทต่อวัน ก็จำเป็นต้องหาข้อยุติโดยใช้วิธีการโหวตลงคะแนน แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่เคยทำมาก่อนก็ตาม"น.พ.สมเกียรติกล่าว
**เอกชนค้านหักคอโหวตขึ้นค่าแรง**
นายฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่อยากให้ใช้วิธีโหวตหักคอขึ้นค่าจ้างในระบบไตรภาคี แม้ว่าตามกฎหมายจะสามารถทำได้ก็ตาม เพราะไม่ส่งผลต่อดีต่อภาพรวมของธุรกิจ โดยเอกชนอยากให้ภาครัฐพิจารณาด้วยความรอบคอบ และขอให้มีความชัดเจนในเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และจะต้องมีแผนในการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานให้ชัดเจน เพราะในกลุ่มผู้ประกอบการเองก็มีทั้งผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และไม่เดือดร้อน
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (20ก.ย.) ว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีอัตราเงินเดือน หรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวปรับเพิ่มขึ้น เมื่อรวมแล้วจะมีรายได้เดือนละ 15,000 บาท ขณะที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือน หรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมแล้วมีรายได้เดือนละ 9,000 บาท ซึ่งในส่วนนี้ ได้รวมทหารกองประจำการ ซึ่งได้รับเงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 8,610 บาท ให้ปรับขึ้นเป็น 9,000 บาทด้วย
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 เป็นต้นไป โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มในครั้งนี้ จำนวน 649,323 อัตรา ใช้งบประมาณในการดำเนินการจากเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ซึ่งเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 18,864 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ครม.ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กลับไปทบทวนตัวเลขเกี่ยวกับการปรับขึ้นรายได้ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่ได้รับเงินเดือนในอัตราระหว่าง 15,500-20,000 บาท และกรณีผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการที่ปรับขึ้นเงินในครั้งนี้ ซึ่งอาจจะใช้ในรูปแบบการให้ค่าวิชาการเพิ่มเติมก็ได้ และยังให้ก.พ. พิจารณาการปรับโครงสร้างอัตราบัญชีเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบทุกปี เป็นเวลา 4 ปี จนกว่าฐานเงินเดือนจะอยู่ที่ 15,000 บาท เพื่อนำเสนอให้ครม. พิจารณาเห็นชอบต่อไป
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ครม.ได้ตีกลับข้อเสนอเงินเดือน15,000 บาท โดยอ้างว่ายังไม่ชัดเจนและเป็นห่วงส่วนต่างเงินเดือนของคนทำงานมาก่อนและคนจบป.โท ป.เอก ทำให้มีการปรับเปลี่ยนจากปรับเงินเดือนมาเป็นปรับเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวให้บุคลากรภาครัฐแทน เพื่อทำให้คนรู้ว่านโยบายที่ประกาศไว้ทำได้จริง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปรับเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท ไม่ใช่เป็นการทบทวน แต่เป็นหลักการที่คณะทำงานของกระทรวงการคลังเป็นผู้เสนอ เนื่องจากตนเป็นห่วง อยากให้ดูผลกระทบด้วย เพื่อให้ดูแลส่วนของราชการให้ครอบคลุม ไม่ใช่เฉพาะผู้จบปริญญาตรี โดยคงจะไปทบทวนในละเอียดอีกครั้ง ยืนยันว่าไม่ได้มีการตีกลับแต่อย่างใด เป็นเพียงการให้เสนอเพิ่มเติมในประเด็นที่มีข้อกังวลใจมากกว่า
เมื่อถามว่า ข้อกังวลใจของนายกฯ ในเรื่องนี้ คืออะไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นในส่วนของสายวิชาชีพที่เราไม่ได้พูดถึง อย่างผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวช. , ปวส. คงต้องไปดูโครงสร้างรวมด้วย เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เพราะนโยบายนี้เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ จึงต้องให้ทุกหน่วยงานพิจารณาอย่างครอบคลุม
เมื่อถามว่า แต่นโยบายปริญญาตรี 15,000 บาท ไม่ได้พูดถึงผู้จบการศึกษาระดับ ปวช.-ปวส. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นการช่วยเหลือเพิ่มเติม ตัวนโยบายยังคงอยู่
**ลั่นปรับค่าจ้าง 300 บาท 1 ม.ค.55**
น.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ได้วันละ 300 บาทตามนโยบายรัฐบาลว่า จะเร่งดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ โดยจะให้บังคับใช้ภายในวันที่ 1 ม.ค.2555 ซึ่งระยะเวลา 2 เดือนในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. จะเป็นช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เข้าชี้แจงถึงผลกระทบเพื่อร่วมกันหามาตรการช่วยเหลือ เพื่อเป็นการสำรวจผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริงและสกัดผู้ประกอบการที่แอบอ้างเพื่อเข้ารับความช่วยเหลือทั้งที่ไม่ได้รับความเดือดร้อน
ทั้งนี้ ได้สั่งการไปยังแรงงานจังหวัดทุกแห่งไปทำความเข้าใจกับคณะอนุกรรมการค่าจ้างทั่วประเทศในเรื่องความจำเป็นในปรับขึ้นค่าจ้างและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลที่จะส่งตรงไปถึงผู้ประกอบการ โดยเฉพาะมาตรการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีหน้า ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว หากสถานประกอบการใดมีต้นทุนแรงงาน 15% การลดภาษีนิติบุคคล 7% จะช่วยชดเชยส่วนต่างจากการปรับขึ้นค่าจ้างได้โดยไม่ได้รับผลกระทบ และยังมีมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลเตรียมช่วยเหลือ เช่น การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ การพัฒนาฝีมือแรงงานของสถานประกอบการซึ่งได้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี 2 เท่าตามพ.ร.บ.พัฒนาฝีมือแรงงานพ.ศ.2545
"การพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของคณะกรรมการไตรภาคี อาจจะมีปัญหาในการเคาะตัวเลขสุดท้าย แต่เมื่อเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างให้ได้ 300 บาทต่อวัน ก็จำเป็นต้องหาข้อยุติโดยใช้วิธีการโหวตลงคะแนน แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่เคยทำมาก่อนก็ตาม"น.พ.สมเกียรติกล่าว
**เอกชนค้านหักคอโหวตขึ้นค่าแรง**
นายฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่อยากให้ใช้วิธีโหวตหักคอขึ้นค่าจ้างในระบบไตรภาคี แม้ว่าตามกฎหมายจะสามารถทำได้ก็ตาม เพราะไม่ส่งผลต่อดีต่อภาพรวมของธุรกิจ โดยเอกชนอยากให้ภาครัฐพิจารณาด้วยความรอบคอบ และขอให้มีความชัดเจนในเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และจะต้องมีแผนในการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานให้ชัดเจน เพราะในกลุ่มผู้ประกอบการเองก็มีทั้งผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และไม่เดือดร้อน