รอยเตอร์ – ประธานธนาคารโลก โรเบิร์ต เซลลิก กล่าวในวันพุธ(14) ว่า โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่พื้นที่อันตรายในทางเศรษฐกิจครั้งใหม่แล้ว และทั้งยุโรป, ญี่ปุ่น, ตลอดจนสหรัฐฯ ล้วนจำเป็นต้องดำเนินการตัดสินใจอันยากลำบาก จะได้สามารถหลีกเลี่ยงไม่ดึงลากเอาเศรษฐกิจโลกพลอยย่ำแย่ไปกันหมด
“ถ้าหากยุโรป, ญี่ปุ่น, และสหรัฐฯ ไม่สามารถที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามความรับผิดชอบแล้ว พวกเขาก็จะไม่เพียงดึงลากพวกเขาเอง (ลงไปสู่ความย่ำแย่) เท่านั้น แต่ยังจะดึงลากเศรษฐกิจทั่วโลกอีกด้วย” เซลลิกพูดเช่นนี้ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน กรุงวอชิงตันดีซี
“พวกเขาได้ผัดวันประกันพรุ่งไม่ยอมดำเนินการตัดสินใจอันยากลำบากต่างๆ มาเนิ่นนานเกินไปแล้ว และกำลังลดทอนทางเลือกต่างๆ จนเวลานี้เหลืออยู่เพียงหนทางอันแสนเจ็บปวดไม่กี่ทางเท่านั้น” เขากล่าวในสุนทรพจน์ที่เสมือนการเกริ่นนำสำหรับการประชุมร่วมของธนาคารโลกกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ในสัปดาห์หน้า
สุนทรพจน์ที่ใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมาของเขาคราวนี้ เป็นการย้ำเน้นถึงความหวาดผวาที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่พวกผู้กำหนดนโยบายระดับโลกทั้งหลาย เกี่ยวกับวิกฤตหนี้สินภาครัฐในยุโรปที่ทำท่ารุนแรงบานปลายออกไปทุกที จนกระทั่งเวลานี้บดบังความกังวลของพวกนักลงทุนเกี่ยวกับปัญหาการคลังและการปฏิรูปเศรษฐกิจในสหรัฐฯและญี่ปุ่นไปแล้ว
เซลลิกกล่าวต่อไปว่า ก็ทำนองเดียวกับที่พวกประเทศเหล่านี้ได้เคยเรียกร้องให้จีนแสดงตนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการต่างๆ ของโลกชนิดที่มีความรับผิดชอบ พวกเขาก็จะต้องลงมือปฏิบัติการอย่างมีความรับผิดชอบ และกล้ารับมือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้านต่างๆ ของพวกเขา
เป็นที่คาดหมายกันว่าในการประชุมเวิลด์แบงก์-ไอเอ็มเอฟที่กรุงวอชิงตันสัปดาห์หน้า พวกผู้นำทางการเงินการคลังและทางด้านการพัฒนาของโลก จะให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้สินที่แก้ไม่ตกของยุโรป โดยที่ล่าสุดได้เกิดความกังวลในเรื่องที่กรีซอาจจะถึงขั้นอยู่ในสภาพผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า พวกชาติสมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ทั้ง 17 ราย จะสามารถมีความเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวในเรื่องการรับมือกับวิกฤตคราวนี้ได้หรือไม่
ประธานธนาคารโลกแจกแจงว่า พวกประเทศยุโรปกำลังต่อต้านความจริงอันยอมรับได้ยากเกี่ยวกับการที่พวกเขาต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมกัน ขณะที่ญี่ปุ่นยังคงเตะถ่วงไม่ดำเนินการปฏิรูปที่จำเป็นทั้งในทางเศรษฐกิจและทางสังคม ส่วนในสหรัฐฯนั้น ความแตกต่างกันทางการเมืองกำลังฉายเงาบดบังความพยายามในการตัดลดการขาดดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ในเวลาต่อมา เซลลิกกล่าวว่าวิกฤตของยุโรปได้มาถึงจุดที่บรรดาผู้นำทางการเมืองของยุโรปจำเป็นจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของยูโรโซนกันแล้ว แทนที่จะเอาแต่ “จัดการกับปัญหาวันต่อวันด้วยวิธีปะชุนไปเรื่อยๆ”
เขาบอกว่ามีความเชื่อมั่นว่ายูโรโซนจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ แต่ “การที่จะรักษายูโรโซนชนิดที่มีสมาชิกในปัจจุบันอยู่ครบถ้วนทั้งหมด พวกคุณจำเป็นที่จะต้องมีสหภาพการคลังซึ่งเข้มแข็งกว่าที่พวกคุณมีอยู่ในปัจจุบัน และใครบางคนก็จะต้องควักกระเป๋าสำหรับทำเรื่องนี้ขึ้นมา
“ถ้าพวกคุณไม่มีเจตนารมณ์ที่จะทำสหภาพการคลังดังกล่าวนี้ขึ้นมาแล้ว ผมก็ไม่คิดว่าพวกคุณสามารถรักษาโครงสร้างในปัจจุบันเอาไว้ได้” เซลลิกกล่าวในการให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ซีเอ็นบีซี
“ถ้าหากยุโรป, ญี่ปุ่น, และสหรัฐฯ ไม่สามารถที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามความรับผิดชอบแล้ว พวกเขาก็จะไม่เพียงดึงลากพวกเขาเอง (ลงไปสู่ความย่ำแย่) เท่านั้น แต่ยังจะดึงลากเศรษฐกิจทั่วโลกอีกด้วย” เซลลิกพูดเช่นนี้ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน กรุงวอชิงตันดีซี
“พวกเขาได้ผัดวันประกันพรุ่งไม่ยอมดำเนินการตัดสินใจอันยากลำบากต่างๆ มาเนิ่นนานเกินไปแล้ว และกำลังลดทอนทางเลือกต่างๆ จนเวลานี้เหลืออยู่เพียงหนทางอันแสนเจ็บปวดไม่กี่ทางเท่านั้น” เขากล่าวในสุนทรพจน์ที่เสมือนการเกริ่นนำสำหรับการประชุมร่วมของธนาคารโลกกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ในสัปดาห์หน้า
สุนทรพจน์ที่ใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมาของเขาคราวนี้ เป็นการย้ำเน้นถึงความหวาดผวาที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่พวกผู้กำหนดนโยบายระดับโลกทั้งหลาย เกี่ยวกับวิกฤตหนี้สินภาครัฐในยุโรปที่ทำท่ารุนแรงบานปลายออกไปทุกที จนกระทั่งเวลานี้บดบังความกังวลของพวกนักลงทุนเกี่ยวกับปัญหาการคลังและการปฏิรูปเศรษฐกิจในสหรัฐฯและญี่ปุ่นไปแล้ว
เซลลิกกล่าวต่อไปว่า ก็ทำนองเดียวกับที่พวกประเทศเหล่านี้ได้เคยเรียกร้องให้จีนแสดงตนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการต่างๆ ของโลกชนิดที่มีความรับผิดชอบ พวกเขาก็จะต้องลงมือปฏิบัติการอย่างมีความรับผิดชอบ และกล้ารับมือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้านต่างๆ ของพวกเขา
เป็นที่คาดหมายกันว่าในการประชุมเวิลด์แบงก์-ไอเอ็มเอฟที่กรุงวอชิงตันสัปดาห์หน้า พวกผู้นำทางการเงินการคลังและทางด้านการพัฒนาของโลก จะให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้สินที่แก้ไม่ตกของยุโรป โดยที่ล่าสุดได้เกิดความกังวลในเรื่องที่กรีซอาจจะถึงขั้นอยู่ในสภาพผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า พวกชาติสมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ทั้ง 17 ราย จะสามารถมีความเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวในเรื่องการรับมือกับวิกฤตคราวนี้ได้หรือไม่
ประธานธนาคารโลกแจกแจงว่า พวกประเทศยุโรปกำลังต่อต้านความจริงอันยอมรับได้ยากเกี่ยวกับการที่พวกเขาต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมกัน ขณะที่ญี่ปุ่นยังคงเตะถ่วงไม่ดำเนินการปฏิรูปที่จำเป็นทั้งในทางเศรษฐกิจและทางสังคม ส่วนในสหรัฐฯนั้น ความแตกต่างกันทางการเมืองกำลังฉายเงาบดบังความพยายามในการตัดลดการขาดดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ในเวลาต่อมา เซลลิกกล่าวว่าวิกฤตของยุโรปได้มาถึงจุดที่บรรดาผู้นำทางการเมืองของยุโรปจำเป็นจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของยูโรโซนกันแล้ว แทนที่จะเอาแต่ “จัดการกับปัญหาวันต่อวันด้วยวิธีปะชุนไปเรื่อยๆ”
เขาบอกว่ามีความเชื่อมั่นว่ายูโรโซนจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ แต่ “การที่จะรักษายูโรโซนชนิดที่มีสมาชิกในปัจจุบันอยู่ครบถ้วนทั้งหมด พวกคุณจำเป็นที่จะต้องมีสหภาพการคลังซึ่งเข้มแข็งกว่าที่พวกคุณมีอยู่ในปัจจุบัน และใครบางคนก็จะต้องควักกระเป๋าสำหรับทำเรื่องนี้ขึ้นมา
“ถ้าพวกคุณไม่มีเจตนารมณ์ที่จะทำสหภาพการคลังดังกล่าวนี้ขึ้นมาแล้ว ผมก็ไม่คิดว่าพวกคุณสามารถรักษาโครงสร้างในปัจจุบันเอาไว้ได้” เซลลิกกล่าวในการให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ซีเอ็นบีซี