ถามว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีมติครม.แต่งตั้งนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 3 วรรค 2 ที่กำหนดว่า การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม แล้วรู้สึกอย่างไร
คำตอบของผมคือ สะใจครับ เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ศาลจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากระบอบทักษิณ หลังจากที่ปล่อยให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ตระหนักต่อภัยของระบอบทักษิณออกมาต่อสู้กับระบอบทักษิณอย่างโดดเดี่ยว
ดูเหมือนว่า ตามแถลงการณ์ที่คุณอุกฤษแถลงออกมา คณะกรรมการของคุณอุกฤษจะมุ่งเน้นไปที่คนนอกศาล โดยระบุว่าจะมาจากนักวิชาการทางกฎหมาย และนักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ คณบดี และอดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกนั้นจะเชิญนักกฎหมายอาวุโสที่ไม่มีตำแหน่งทางการเมือง มีตำแหน่งทางวิชาการในระดับศาสตราจารย์ มาร่วมเป็นคณะกรรมการ และจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามจำนวนที่สมควร และตามความจำเป็นจากอาจารย์ทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก
ครม.ให้เหตุผลในการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ไว้ด้วยว่า เพื่อเป็นหลักประกันการมีกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมการใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม สุจริต ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้บุคคลมีเสรีภาพและความเสมอภาค ตลอดจนได้รับความยุติธรรมจากระบบกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่เลือกปฏิบัติที่เกิดจากอคติต่างๆ ของผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ อันนำไปสู่ความสงบสุขเรียบร้อย มีความเป็นธรรม และพึงปรารถนา
วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการชุดนี้จึงน่าจะมุ่งเน้นไปที่การทำงานขององค์กรตุลาการมากกว่าองค์กรอื่น
ต้องยอมรับว่า ตลอด 2-3 ปีมานี้การเคลื่อนไหวหลักของคนเสื้อแดงทั้งนักวิชาการเสื้อแดงในนามของกลุ่มนิติราษฎร์ และตัวทักษิณเองมุ่งที่จะวิจารณ์ไปที่ความยุติธรรมของตุลาการหรือศาลเป็นหลัก
ขณะเดียวกันในสายตาของสาธารณชนทั่วไป หลายปีที่ผ่านมาการใช้อำนาจของศาลก็ถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรมและเกิดความคลางแคลงอยู่บ่อยครั้ง เพียงแต่ว่า หลายคนไม่กล้าที่จะเปิดปากพูดวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลเพราะเห็นว่าศาลนั้นทำงานภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และหวั่นเกรงต่อข้อหาหมิ่นศาล
แม้ว่าศาลจะมีระบบการตรวจสอบการทำงานกันเองของศาลตามหลักการในความเป็นอิสระของศาล แต่หลักการนี้ก็ปิดกั้นความโปร่งใสที่สาธารณชนจะสดับและคนทั่วไปจะเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะหวั่นเกรงต่อบารมีและอำนาจที่ตุลาการมีอยู่
พูดง่ายๆ ก็คือว่า หลักการความเป็นอิสระของศาลนี้เอง ที่กลายเป็นเกราะกำบังป้องกันการตรวจสอบจากภายนอก
ในขณะเดียวกันศาลก็เป็นปุถุชน มีสังคม มีภววิสัย อัตวิสัยเป็นของตัวเอง
ดังเช่นคดีของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ถูกผู้พิพากษาชื่อ อุดม มั่งมีดี ตัดสินให้จำคุก 2 ปีไม่รอลงอาญาในคดีหมิ่นประมาท ภูมิธรรม เวชยชัย หลังจากนั้นไม่นานอุดม มั่งมีดี ก็ไปปรากฏตัวบนเวทีคนเสื้อแดง
หรือเมื่อไม่กี่วันก่อนแม้ผมจะไม่ติดใจกับคำพิพากษา แต่ผมได้ยินคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาแล้วได้แต่อมยิ้ม ศาลท่านบอกว่า น.ส.ฝ้าย มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าหากจะเทียบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยสูงถึง 170 เซนติเมตร สัดส่วน 36-26-35 ประกอบกับ น.ส.ฝ้าย ยังเบิกความยอมรับว่า ไม่เคยบอกอายุให้จำเลยทราบ จนกระทั่ง น.ส.ฝ้ายตั้งครรภ์ จึงส่งข้อความมาบอกอายุ เพื่อให้จำเลยรับผิดชอบ ไม่เช่นนั้นจะให้มารดาเอาเรื่อง จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยนี้น่าหวั่นไหวไม่น้อยกับสาวๆ ที่อายุไม่ถึง 18 ปี แต่มีสัดส่วนที่อวบอั๋น
หรือคดีของคุณหญิงพจมาน และคุณบรรณพจน์ ดามาพงศ์ที่ว่า เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน อีกทั้งเคยฝากเงินสนับสนุนมูลนิธิไทยคมจำนวนมากมาโดยตลอด จึงเป็นเหตุให้บรรเทาโทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี
ผมไม่ได้หมายความว่า การตรวจสอบองค์กรตุลาการควรจะต้องทำได้ง่ายเหมือนองค์กรอื่น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นมันจะทำลายความเป็นอิสระของศาลเท่าที่ควรจะเป็นไปด้วย แน่นอนว่าศาลจะต้องไม่ถูกรบกวนการทำงานหรือแทรกแซงได้ง่าย แต่ผมคิดว่า ควรจะทำอย่างไรให้กระบวนการตรวจสอบการทำงานของตุลาการที่มีอยู่แล้วสามารถเชื่อมโยงกับสังคมได้มากขึ้น ไม่มีความเคลือบแคลง โปร่งใสขึ้น
เพราะผมคิดว่าความยุติธรรมอย่างไร้ความเคลือบแคลงต่างหากที่เป็นเกราะกำบังของศาลมากกว่าความอิสระของศาลด้วยซ้ำไป
บางคดีเมื่อเราได้ฟังคำพิพากษา ศาลอ่านมาตอนต้นๆ เราคิดด้วยสามัญสำนึกว่าที่ฟังมาทั้งหมดแนวโน้มจะเป็นอย่างไร จำเลยนั่งฟังไปหน้าซีดเผือด แต่ผลลัพธ์พลิกผันไปอีกด้าน บางครั้งแม้แต่คนที่เป็นนักกฎหมายฟังแล้วก็งง ส่วนประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักกฎหมายก็ไม่ต้องพูดถึง
ต้องยอมรับว่า ความไม่เชื่อมั่นต่ออำนาจตุลาการนั้น ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นจากการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งคำถามเรื่อง 2 มาตรฐานในเรื่องประเด็นที่เกี่ยวพันกับการเมืองอย่างที่ฝ่ายทักษิณและคนเสื้อแดงกล่าวหาเท่านั้น แต่สังคมยังเกิดคำถามกับคดีอื่นๆจำนวนมากด้วย
แต่สำหรับทักษิณและคนเสื้อแดงแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์กระบวนยุติธรรมในส่วนของตุลาการนั้นเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ถึงวันนี้ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณก็ยังพูดต่อสาธารณะว่าทักษิณไม่ผิด แต่ศาลก็ปล่อยให้ข้อกล่าวหานี้พูดกันอย่างเปิดเผย ไม่รู้ร้อนรู้หนาวแม้แต่น้อย
ทั้งที่ความจริงแล้วองค์กรตุลาการควรจะตระหนักต่อข้อกล่าวหาของทักษิณมานานแล้ว เพราะทักษิณและวงศ์วานได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลอย่างโจ่งแจ้งเสมอมาว่าไม่เป็นธรรมมี 2 มาตรฐาน และผมเคยตั้งคำถามว่า ทำไมศาลจึงนิ่งเฉยต่อข้อกล่าวหาของทักษิณว่า กลั่นแกล้งเขาให้ได้รับโทษ เพราะถ้าคนธรรมดาพูดเช่นนั้นก็จะถูกอำนาจของศาลเล่นงานอย่างแน่นอน
ผมคิดว่าศาลเองก็รู้ว่าการนิ่งเฉยเท่ากับการยอมรับว่าข้อกล่าวหาของทักษิณเป็นความจริง เพราะไม่เช่นนั้นศาลจะต้องออกมาแสดงจุดยืนว่า การพิพากษาคดีของทักษิณนั้นตั้งมั่นอยู่บนหลักความยุติธรรม และต้องตระหนักว่า การนิ่งเฉยของศาลไม่ได้บั่นทอนเพียงองค์กรตุลาการแต่บั่นทอนประเทศด้วย เพราะทักษิณได้พูดถึงความไม่ยุติธรรมของศาลต่อนานาชาติซึ่งเท่ากับการประจานประเทศไทยนั่นเอง
ความยุติธรรมที่ไม่น่าเชื่อมั่นนั้นจึงบั่นทอนประเทศไปในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
สถานภาพของคณะกรรมการที่รัฐบาลชุดนี้ตั้งขึ้นนำโดยคุณอุกฤษนั้นมีจุดยืนเพื่อสะสางภารกิจของระบอบทักษิณอย่างไม่ต้องสงสัย
คณะกรรมการชุดของคุณอุกฤษตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรค 2 แต่เป้าหมายที่แท้จริงของระบอบทักษิณอยู่ที่วรรค 1 ที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนี้
วันนี้ทั้งอำนาจทางรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีอยู่ในมือของระบอบทักษิณหมดแล้ว แน่นอนว่า ทักษิณแคลงใจต่อคำพิพากษาอย่างที่เขาพูดเสมอมา แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือ พวกเขามองว่าศาลเป็นอำนาจเดียวที่ทำให้อธิปไตยยังไม่เป็นของปวงชนชาวไทย
คำตอบของผมคือ สะใจครับ เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ศาลจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากระบอบทักษิณ หลังจากที่ปล่อยให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ตระหนักต่อภัยของระบอบทักษิณออกมาต่อสู้กับระบอบทักษิณอย่างโดดเดี่ยว
ดูเหมือนว่า ตามแถลงการณ์ที่คุณอุกฤษแถลงออกมา คณะกรรมการของคุณอุกฤษจะมุ่งเน้นไปที่คนนอกศาล โดยระบุว่าจะมาจากนักวิชาการทางกฎหมาย และนักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ คณบดี และอดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกนั้นจะเชิญนักกฎหมายอาวุโสที่ไม่มีตำแหน่งทางการเมือง มีตำแหน่งทางวิชาการในระดับศาสตราจารย์ มาร่วมเป็นคณะกรรมการ และจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามจำนวนที่สมควร และตามความจำเป็นจากอาจารย์ทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก
ครม.ให้เหตุผลในการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ไว้ด้วยว่า เพื่อเป็นหลักประกันการมีกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมการใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม สุจริต ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้บุคคลมีเสรีภาพและความเสมอภาค ตลอดจนได้รับความยุติธรรมจากระบบกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่เลือกปฏิบัติที่เกิดจากอคติต่างๆ ของผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ อันนำไปสู่ความสงบสุขเรียบร้อย มีความเป็นธรรม และพึงปรารถนา
วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการชุดนี้จึงน่าจะมุ่งเน้นไปที่การทำงานขององค์กรตุลาการมากกว่าองค์กรอื่น
ต้องยอมรับว่า ตลอด 2-3 ปีมานี้การเคลื่อนไหวหลักของคนเสื้อแดงทั้งนักวิชาการเสื้อแดงในนามของกลุ่มนิติราษฎร์ และตัวทักษิณเองมุ่งที่จะวิจารณ์ไปที่ความยุติธรรมของตุลาการหรือศาลเป็นหลัก
ขณะเดียวกันในสายตาของสาธารณชนทั่วไป หลายปีที่ผ่านมาการใช้อำนาจของศาลก็ถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรมและเกิดความคลางแคลงอยู่บ่อยครั้ง เพียงแต่ว่า หลายคนไม่กล้าที่จะเปิดปากพูดวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลเพราะเห็นว่าศาลนั้นทำงานภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และหวั่นเกรงต่อข้อหาหมิ่นศาล
แม้ว่าศาลจะมีระบบการตรวจสอบการทำงานกันเองของศาลตามหลักการในความเป็นอิสระของศาล แต่หลักการนี้ก็ปิดกั้นความโปร่งใสที่สาธารณชนจะสดับและคนทั่วไปจะเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะหวั่นเกรงต่อบารมีและอำนาจที่ตุลาการมีอยู่
พูดง่ายๆ ก็คือว่า หลักการความเป็นอิสระของศาลนี้เอง ที่กลายเป็นเกราะกำบังป้องกันการตรวจสอบจากภายนอก
ในขณะเดียวกันศาลก็เป็นปุถุชน มีสังคม มีภววิสัย อัตวิสัยเป็นของตัวเอง
ดังเช่นคดีของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ถูกผู้พิพากษาชื่อ อุดม มั่งมีดี ตัดสินให้จำคุก 2 ปีไม่รอลงอาญาในคดีหมิ่นประมาท ภูมิธรรม เวชยชัย หลังจากนั้นไม่นานอุดม มั่งมีดี ก็ไปปรากฏตัวบนเวทีคนเสื้อแดง
หรือเมื่อไม่กี่วันก่อนแม้ผมจะไม่ติดใจกับคำพิพากษา แต่ผมได้ยินคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาแล้วได้แต่อมยิ้ม ศาลท่านบอกว่า น.ส.ฝ้าย มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าหากจะเทียบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยสูงถึง 170 เซนติเมตร สัดส่วน 36-26-35 ประกอบกับ น.ส.ฝ้าย ยังเบิกความยอมรับว่า ไม่เคยบอกอายุให้จำเลยทราบ จนกระทั่ง น.ส.ฝ้ายตั้งครรภ์ จึงส่งข้อความมาบอกอายุ เพื่อให้จำเลยรับผิดชอบ ไม่เช่นนั้นจะให้มารดาเอาเรื่อง จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยนี้น่าหวั่นไหวไม่น้อยกับสาวๆ ที่อายุไม่ถึง 18 ปี แต่มีสัดส่วนที่อวบอั๋น
หรือคดีของคุณหญิงพจมาน และคุณบรรณพจน์ ดามาพงศ์ที่ว่า เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน อีกทั้งเคยฝากเงินสนับสนุนมูลนิธิไทยคมจำนวนมากมาโดยตลอด จึงเป็นเหตุให้บรรเทาโทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี
ผมไม่ได้หมายความว่า การตรวจสอบองค์กรตุลาการควรจะต้องทำได้ง่ายเหมือนองค์กรอื่น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นมันจะทำลายความเป็นอิสระของศาลเท่าที่ควรจะเป็นไปด้วย แน่นอนว่าศาลจะต้องไม่ถูกรบกวนการทำงานหรือแทรกแซงได้ง่าย แต่ผมคิดว่า ควรจะทำอย่างไรให้กระบวนการตรวจสอบการทำงานของตุลาการที่มีอยู่แล้วสามารถเชื่อมโยงกับสังคมได้มากขึ้น ไม่มีความเคลือบแคลง โปร่งใสขึ้น
เพราะผมคิดว่าความยุติธรรมอย่างไร้ความเคลือบแคลงต่างหากที่เป็นเกราะกำบังของศาลมากกว่าความอิสระของศาลด้วยซ้ำไป
บางคดีเมื่อเราได้ฟังคำพิพากษา ศาลอ่านมาตอนต้นๆ เราคิดด้วยสามัญสำนึกว่าที่ฟังมาทั้งหมดแนวโน้มจะเป็นอย่างไร จำเลยนั่งฟังไปหน้าซีดเผือด แต่ผลลัพธ์พลิกผันไปอีกด้าน บางครั้งแม้แต่คนที่เป็นนักกฎหมายฟังแล้วก็งง ส่วนประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักกฎหมายก็ไม่ต้องพูดถึง
ต้องยอมรับว่า ความไม่เชื่อมั่นต่ออำนาจตุลาการนั้น ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นจากการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งคำถามเรื่อง 2 มาตรฐานในเรื่องประเด็นที่เกี่ยวพันกับการเมืองอย่างที่ฝ่ายทักษิณและคนเสื้อแดงกล่าวหาเท่านั้น แต่สังคมยังเกิดคำถามกับคดีอื่นๆจำนวนมากด้วย
แต่สำหรับทักษิณและคนเสื้อแดงแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์กระบวนยุติธรรมในส่วนของตุลาการนั้นเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ถึงวันนี้ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณก็ยังพูดต่อสาธารณะว่าทักษิณไม่ผิด แต่ศาลก็ปล่อยให้ข้อกล่าวหานี้พูดกันอย่างเปิดเผย ไม่รู้ร้อนรู้หนาวแม้แต่น้อย
ทั้งที่ความจริงแล้วองค์กรตุลาการควรจะตระหนักต่อข้อกล่าวหาของทักษิณมานานแล้ว เพราะทักษิณและวงศ์วานได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลอย่างโจ่งแจ้งเสมอมาว่าไม่เป็นธรรมมี 2 มาตรฐาน และผมเคยตั้งคำถามว่า ทำไมศาลจึงนิ่งเฉยต่อข้อกล่าวหาของทักษิณว่า กลั่นแกล้งเขาให้ได้รับโทษ เพราะถ้าคนธรรมดาพูดเช่นนั้นก็จะถูกอำนาจของศาลเล่นงานอย่างแน่นอน
ผมคิดว่าศาลเองก็รู้ว่าการนิ่งเฉยเท่ากับการยอมรับว่าข้อกล่าวหาของทักษิณเป็นความจริง เพราะไม่เช่นนั้นศาลจะต้องออกมาแสดงจุดยืนว่า การพิพากษาคดีของทักษิณนั้นตั้งมั่นอยู่บนหลักความยุติธรรม และต้องตระหนักว่า การนิ่งเฉยของศาลไม่ได้บั่นทอนเพียงองค์กรตุลาการแต่บั่นทอนประเทศด้วย เพราะทักษิณได้พูดถึงความไม่ยุติธรรมของศาลต่อนานาชาติซึ่งเท่ากับการประจานประเทศไทยนั่นเอง
ความยุติธรรมที่ไม่น่าเชื่อมั่นนั้นจึงบั่นทอนประเทศไปในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
สถานภาพของคณะกรรมการที่รัฐบาลชุดนี้ตั้งขึ้นนำโดยคุณอุกฤษนั้นมีจุดยืนเพื่อสะสางภารกิจของระบอบทักษิณอย่างไม่ต้องสงสัย
คณะกรรมการชุดของคุณอุกฤษตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรค 2 แต่เป้าหมายที่แท้จริงของระบอบทักษิณอยู่ที่วรรค 1 ที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนี้
วันนี้ทั้งอำนาจทางรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีอยู่ในมือของระบอบทักษิณหมดแล้ว แน่นอนว่า ทักษิณแคลงใจต่อคำพิพากษาอย่างที่เขาพูดเสมอมา แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือ พวกเขามองว่าศาลเป็นอำนาจเดียวที่ทำให้อธิปไตยยังไม่เป็นของปวงชนชาวไทย