อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ดูรายการ ที่นี่ ตอบโจทย์ ทางช่อง THAI PBS เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีประเด็นหลักทางการศึกษา ซึ่ง ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ อดีตผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ปรึกษาด้านนโยบายการศึกษาพรรคเพื่อไทยรัฐบาลใหม่ พูดว่า มีนโยบายแจกแท็บเล็ต ให้เด็ก ป. 1 กว่าแปดแสนคนทั่วประเทศ ไม่เว้นเด็กบนเขายอดดอย ชายขอบชายแดนเพื่อความเท่าเทียมด้านการศึกษา
การสนทนาในรายการ ที่นี่ ตอบโจทย์ เพื่อหยั่งเชิงนโยบาย (วัตถุนิยม) ทางการศึกษาดังกล่าวนั้น มีเลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือกเป็นผู้ร่วมให้ความคิดเห็น ซึ่งมีท่าทีชัดเจนว่าเห็นต่างจากนโยบาย แจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป. 1 ซึ่งผู้เขียนเอง มีคำถามในใจแบบมุมมองสามัญสำนึก (Common sense) ว่า
1) มีงานวิจัยรับรองความพร้อมของ เด็ก ป. 1 ต่อการใช้แท็บเล็ต เป็นอย่างไร (ยังไม่เคยเห็น)
2) ผลกระทบที่มีต่อครู ผู้ปกครอง และโรงเรียนสำหรับเด็ก ป. 1 ที่มีต่อการใช้แท็บเล็ต เป็นอย่างไร
3) ปัญหาเรื้อรังของการศึกษา เช่น ปัญหาการรวมศูนย์บริหารไว้ที่กระทรวง ปัญหาการใช้หลักสูตรที่เหมือนกันทั้งประเทศ ปัญหาด้านการคิด ทักษะชีวิต ปัญหาการเขียนตัวหนังสือที่ไม่ค่อยเป็นตัว ปัญหาการอ่านที่ยังต้องพัฒนานิสัยให้รักการอ่าน ปัญหาเวลาของผู้ปกครองต่อลูก ปัญหาผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (0-net) ที่ยังตกต่ำกว่ามาตรฐาน (แม้แต่ สมศ. รอบ 3 ยังต้องลดเกณฑ์ ตบช.ที่ 5ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศ) ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาพฤติกรรมติดเกม ปัญหาการใช้เทคโนโลยีโดยไม่มีลิมิตและปัญหาด้านวินัยต่อตนเองของเด็ก 4) แน่ใจหรือไม่ว่า แท็บเล็ตที่จะขยายผลสู่เด็กชั้นสูงขึ้น ครอบคลุมทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดให้มีแท็บเล็ต เพื่อรักษาสภาพซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ต้องใช้จำนวนมหาศาลมากมายเท่าใด แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับแท็บเล็ต ซึ่งอาจมีการผูกขาดธุรกิจด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาที่อาจเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายนี้ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า จะมีกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการศึกษาดังกล่าวอยู่ในบัญชีรายชื่อแล้ว
สรุปสารัตถะสำคัญของทุกคำถาม ใครจะรับผิดชอบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากผลพวงของแท็บเล็ต ซึ่งผู้เขียนยังไม่เคยทราบว่า มีการสำรวจความต้องการ (Survey Need) ของเด็ก ป. 1 ของครู ผู้ปกครอง และสถานศึกษาอย่างแท้จริงหรือไม่ เพียงใด ต่อความต้องการให้มีแท็บเล็ต
หากจะพูดกันแบบจัดหนักสักหน่อย แบบตรงไปตรงมา ในเมื่อทราบว่า แท็บเล็ตยังไม่ใช่คำตอบสำหรับปัญหาการศึกษาของชาติ และสำหรับเด็ก ป. 1 ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติ เหตุใดยังคิดดึงดัน ดื้อดึง นำความไม่พร้อมทั้งผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู และระบบการศึกษา โดยนำแท็บเล็ตมายัดเยียดเพื่อทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนเรื้อรังให้กับระบบการศึกษา แทนที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นความเจริญงอกงามจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งผู้เขียนยังจดจำใจความสำคัญพระราชดำรัสของในหลวง ที่ได้ทรงพระราชทานไว้แก่ครูผู้สอนทั้งประเทศ ว่า คนเท่านั้นที่จะสอนคนให้เป็นคนดีได้ เทคโนโลยีเป็นเพียงแค่วัตถุ ไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้
ในฐานะนักการศึกษายังห่วงใยอนาคตของชาติ มีข้อสังเกตเห็นว่า ก่อนจะลงไม้ลงมือ นำอะไรไปใช้ในระบบการศึกษา ขอให้สำรวจตรวจสอบสภาพปัญหาและความต้องการแท้จริงก่อน อย่านำผักชีที่เพิ่งปลูกมาโรยหน้าการศึกษา เพราะระบบการศึกษาของชาติ ยังบอบช้ำจากการใช้หนูทดลองมาแล้วหลายครั้ง ความเจ็บปวดทั้งหมดตกอยู่กับคนทั้งชาติ อย่างที่ท่าน ประเวศ วะสี พูดว่า “การศึกษา สร้างความทุกข์ให้กับคนทั้งแผ่นดิน” และยังมีหนี้สินจากการศึกษาเป็นของแถมด้วย
แต่หากท่านภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายการศึกษา พรรคเพื่อไทย ยังยืนยันตามรายการที่ออกอากาศ ว่า “ผมไม่เชื่อว่า แท็บเล็ตจะเป็นภาระสำหรับครู ผู้ปกครอง และโรงเรียน แต่จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนสามคนเก่งเทคโนโลยีมากขึ้น” ผู้เขียนเห็นว่า หากเด็ก ป. 1 ที่ได้รับแท็บเล็ตตามนโยบายดังกล่าวมีผลข้างเคียง คงจะต้องถามหาความรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากใคร ที่บอกว่าเทคโนโลยีจะสอนให้คนเป็นคนได้มากกว่าที่จะให้คนสอนคนให้เป็นคน พัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี
สาขาวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ดูรายการ ที่นี่ ตอบโจทย์ ทางช่อง THAI PBS เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีประเด็นหลักทางการศึกษา ซึ่ง ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ อดีตผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ปรึกษาด้านนโยบายการศึกษาพรรคเพื่อไทยรัฐบาลใหม่ พูดว่า มีนโยบายแจกแท็บเล็ต ให้เด็ก ป. 1 กว่าแปดแสนคนทั่วประเทศ ไม่เว้นเด็กบนเขายอดดอย ชายขอบชายแดนเพื่อความเท่าเทียมด้านการศึกษา
การสนทนาในรายการ ที่นี่ ตอบโจทย์ เพื่อหยั่งเชิงนโยบาย (วัตถุนิยม) ทางการศึกษาดังกล่าวนั้น มีเลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือกเป็นผู้ร่วมให้ความคิดเห็น ซึ่งมีท่าทีชัดเจนว่าเห็นต่างจากนโยบาย แจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป. 1 ซึ่งผู้เขียนเอง มีคำถามในใจแบบมุมมองสามัญสำนึก (Common sense) ว่า
1) มีงานวิจัยรับรองความพร้อมของ เด็ก ป. 1 ต่อการใช้แท็บเล็ต เป็นอย่างไร (ยังไม่เคยเห็น)
2) ผลกระทบที่มีต่อครู ผู้ปกครอง และโรงเรียนสำหรับเด็ก ป. 1 ที่มีต่อการใช้แท็บเล็ต เป็นอย่างไร
3) ปัญหาเรื้อรังของการศึกษา เช่น ปัญหาการรวมศูนย์บริหารไว้ที่กระทรวง ปัญหาการใช้หลักสูตรที่เหมือนกันทั้งประเทศ ปัญหาด้านการคิด ทักษะชีวิต ปัญหาการเขียนตัวหนังสือที่ไม่ค่อยเป็นตัว ปัญหาการอ่านที่ยังต้องพัฒนานิสัยให้รักการอ่าน ปัญหาเวลาของผู้ปกครองต่อลูก ปัญหาผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (0-net) ที่ยังตกต่ำกว่ามาตรฐาน (แม้แต่ สมศ. รอบ 3 ยังต้องลดเกณฑ์ ตบช.ที่ 5ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศ) ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาพฤติกรรมติดเกม ปัญหาการใช้เทคโนโลยีโดยไม่มีลิมิตและปัญหาด้านวินัยต่อตนเองของเด็ก 4) แน่ใจหรือไม่ว่า แท็บเล็ตที่จะขยายผลสู่เด็กชั้นสูงขึ้น ครอบคลุมทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดให้มีแท็บเล็ต เพื่อรักษาสภาพซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ต้องใช้จำนวนมหาศาลมากมายเท่าใด แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับแท็บเล็ต ซึ่งอาจมีการผูกขาดธุรกิจด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาที่อาจเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายนี้ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า จะมีกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการศึกษาดังกล่าวอยู่ในบัญชีรายชื่อแล้ว
สรุปสารัตถะสำคัญของทุกคำถาม ใครจะรับผิดชอบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากผลพวงของแท็บเล็ต ซึ่งผู้เขียนยังไม่เคยทราบว่า มีการสำรวจความต้องการ (Survey Need) ของเด็ก ป. 1 ของครู ผู้ปกครอง และสถานศึกษาอย่างแท้จริงหรือไม่ เพียงใด ต่อความต้องการให้มีแท็บเล็ต
หากจะพูดกันแบบจัดหนักสักหน่อย แบบตรงไปตรงมา ในเมื่อทราบว่า แท็บเล็ตยังไม่ใช่คำตอบสำหรับปัญหาการศึกษาของชาติ และสำหรับเด็ก ป. 1 ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติ เหตุใดยังคิดดึงดัน ดื้อดึง นำความไม่พร้อมทั้งผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู และระบบการศึกษา โดยนำแท็บเล็ตมายัดเยียดเพื่อทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนเรื้อรังให้กับระบบการศึกษา แทนที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นความเจริญงอกงามจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งผู้เขียนยังจดจำใจความสำคัญพระราชดำรัสของในหลวง ที่ได้ทรงพระราชทานไว้แก่ครูผู้สอนทั้งประเทศ ว่า คนเท่านั้นที่จะสอนคนให้เป็นคนดีได้ เทคโนโลยีเป็นเพียงแค่วัตถุ ไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้
ในฐานะนักการศึกษายังห่วงใยอนาคตของชาติ มีข้อสังเกตเห็นว่า ก่อนจะลงไม้ลงมือ นำอะไรไปใช้ในระบบการศึกษา ขอให้สำรวจตรวจสอบสภาพปัญหาและความต้องการแท้จริงก่อน อย่านำผักชีที่เพิ่งปลูกมาโรยหน้าการศึกษา เพราะระบบการศึกษาของชาติ ยังบอบช้ำจากการใช้หนูทดลองมาแล้วหลายครั้ง ความเจ็บปวดทั้งหมดตกอยู่กับคนทั้งชาติ อย่างที่ท่าน ประเวศ วะสี พูดว่า “การศึกษา สร้างความทุกข์ให้กับคนทั้งแผ่นดิน” และยังมีหนี้สินจากการศึกษาเป็นของแถมด้วย
แต่หากท่านภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายการศึกษา พรรคเพื่อไทย ยังยืนยันตามรายการที่ออกอากาศ ว่า “ผมไม่เชื่อว่า แท็บเล็ตจะเป็นภาระสำหรับครู ผู้ปกครอง และโรงเรียน แต่จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนสามคนเก่งเทคโนโลยีมากขึ้น” ผู้เขียนเห็นว่า หากเด็ก ป. 1 ที่ได้รับแท็บเล็ตตามนโยบายดังกล่าวมีผลข้างเคียง คงจะต้องถามหาความรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากใคร ที่บอกว่าเทคโนโลยีจะสอนให้คนเป็นคนได้มากกว่าที่จะให้คนสอนคนให้เป็นคน พัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี