ดุสิตโพล ระบุ ไทยยังไม่พร้อมเข้าสู่การเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียนปี 2558 เหตุปัญหาการศึกษายังไม่ได่รับการแก้ไข จี้รัฐบาลให้ความสำคัญสนับสนุนอย่างจริงจัง
วันนี้ (4 ส.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากครู/อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ทั้งสิ้น 1,218 คน ระหว่างวันที่ 1-4 สิงหามที่ผ่านมา ในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไร กับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน” เพราะวันที่ 8 ส.ค.กระทรวงศึกษาธิการ จะจัดกิจกรรมวันอาเซียนขึ้นโดยสอบถามกลุ่มตัวอย่าง
สรุปผลได้ดังนี้ การรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน ในปี 2558 พบว่า ในภาพรวม ร้อยละ 49.25 รับรู้จากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ นสพ. อินเทอร์เน็ต, เคยเข้าร่วมอบรมสัมมนา, รับรู้จากในชั้นเรียน ฯลฯ ขณะที่ ร้อยละ 14.01 ไม่รู้เลย เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ไม่มีเวลา ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ติดตามข่าวสาร ฯลฯ เมื่อถามว่า สภาพการศึกษาไทยในปัจจุบันมีความพร้อมที่จะเข้าสู่การเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียนในปี 2558 มากน้อยเพียงใด พบว่า ร้อยละ 51.37 เห็นว่า ไม่ค่อยพร้อม เพราะยังมีปัญหาด้านการศึกษาหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือกำลังจะพัฒนา ปรับปรุงให้ดีขึ้น ฯลฯ ร้อยละ 20.42 ไม่พร้อม เพราะการศึกษาของไทยยังไม่มีคุณภาพหรือได้มาตรฐานเท่าที่ควร การปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ฯลฯ ขณะที่ ร้อยละ 10.69 ระบุว่า พร้อม เพราะคุณภาพการศึกษาของไทยสามารถพัฒนาสู่ความเป็นสากล และได้รับการยอมรับจากต่างชาติมากขึ้น ฯลฯ
เมื่อถามว่า ประเทศไทยควรเตรียมการรับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน ในปี 2558 อย่างมืออาชีพอย่างไร ร้อยละ 34.67 เห็นว่า รัฐบาลต้องให้ความสำคัญด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง / ถือเป็นวาระเร่งด่วน โดยกระตุ้นสถานศึกษาต่างๆ ในการเตรียมความพร้อม ร้อยละ 23.32 การฝึกอบรมพัฒนา ทักษะทางด้านต่างๆ ของบุคลากรและผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะเรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ร้อยละ 21.25 การประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยเน้นสื่อออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อกับนานาประเทศ ได้ร้อยละ 20.76 การร่วมมือจากทุกภาคส่วน นักวิชาการ หรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการขับเคลื่อนการเปิดเสรีทางการศึกษาในระดับอาเซียนให้ประสบผลสำเร็จ
วันนี้ (4 ส.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สอบถามความคิดเห็นจากครู/อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ทั้งสิ้น 1,218 คน ระหว่างวันที่ 1-4 สิงหามที่ผ่านมา ในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไร กับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน” เพราะวันที่ 8 ส.ค.กระทรวงศึกษาธิการ จะจัดกิจกรรมวันอาเซียนขึ้นโดยสอบถามกลุ่มตัวอย่าง
สรุปผลได้ดังนี้ การรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน ในปี 2558 พบว่า ในภาพรวม ร้อยละ 49.25 รับรู้จากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ นสพ. อินเทอร์เน็ต, เคยเข้าร่วมอบรมสัมมนา, รับรู้จากในชั้นเรียน ฯลฯ ขณะที่ ร้อยละ 14.01 ไม่รู้เลย เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ไม่มีเวลา ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ติดตามข่าวสาร ฯลฯ เมื่อถามว่า สภาพการศึกษาไทยในปัจจุบันมีความพร้อมที่จะเข้าสู่การเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียนในปี 2558 มากน้อยเพียงใด พบว่า ร้อยละ 51.37 เห็นว่า ไม่ค่อยพร้อม เพราะยังมีปัญหาด้านการศึกษาหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือกำลังจะพัฒนา ปรับปรุงให้ดีขึ้น ฯลฯ ร้อยละ 20.42 ไม่พร้อม เพราะการศึกษาของไทยยังไม่มีคุณภาพหรือได้มาตรฐานเท่าที่ควร การปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ฯลฯ ขณะที่ ร้อยละ 10.69 ระบุว่า พร้อม เพราะคุณภาพการศึกษาของไทยสามารถพัฒนาสู่ความเป็นสากล และได้รับการยอมรับจากต่างชาติมากขึ้น ฯลฯ
เมื่อถามว่า ประเทศไทยควรเตรียมการรับการเปิดเสรีทางการศึกษาอาเซียน ในปี 2558 อย่างมืออาชีพอย่างไร ร้อยละ 34.67 เห็นว่า รัฐบาลต้องให้ความสำคัญด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง / ถือเป็นวาระเร่งด่วน โดยกระตุ้นสถานศึกษาต่างๆ ในการเตรียมความพร้อม ร้อยละ 23.32 การฝึกอบรมพัฒนา ทักษะทางด้านต่างๆ ของบุคลากรและผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะเรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ร้อยละ 21.25 การประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยเน้นสื่อออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อกับนานาประเทศ ได้ร้อยละ 20.76 การร่วมมือจากทุกภาคส่วน นักวิชาการ หรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการขับเคลื่อนการเปิดเสรีทางการศึกษาในระดับอาเซียนให้ประสบผลสำเร็จ