ASTVผู้จัดการรายวัน - อึ้ง! พบ “ไตรภูมิ” สมัยอยุธยาอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส นักอักษรศาสตร์คัดลอกเก็บไว้ศึกษาระบุเป็นเอกสารสำคัญระดับชาติ ล้างความเชื่อ ยุคอยุธยาไม่มีไตรภูมิ
วานนี้ (9 ก.ย.) นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร เปิดเผยว่า สวป. ได้ค้นพบเอกสารสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ โดยสันนิษฐานว่า จะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ทำการเก็บรักษาไว้ ศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการคัดลอกมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว
นายบุญเตือน กล่าวอีกง่า หนังสือไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส นับว่าเป็นเอกสารชิ้นสำคัญเพราะไม่เคยถูกค้นพบในประเทศไทย ซึ่งเนื้อหาบางส่วนต่างไปจากไตรภูมิฉบับอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอักขรวิธีต่างๆมาตรวจสอบแล้ว บ่งชี้ว่า หน้าต้นบอกชื่อหนังสือว่า ไตร่ยภูมพระมาไลย ต้นฉบับน่าจะมีอายุเก่าถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะลักษณะตัวอักษรที่บันทึกในหน้าแรกเป็นแบบที่เรียกว่า อักษรไทยย่อ นิยมใช้กันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ปรากฏในหลักฐานหนังสือต่างๆหลายฉบับ สำหรับเนื้อหาของไตรภูมิเล่มนี้แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.เรื่องไตรภูมิ 2.เรื่องพระมาไลย
สำหรับหนังสือไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับคติศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา อธิบายเรื่องไตรภูมิ คติไตรภูมิ-ไตรภพใน “คัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์” ส่วนที่มาของหนังสือไตรภูมิปรากฏครั้งแรก คือ ไตรภูมิกถา และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเรียบเรียงขึ้นในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1888 นอกจากนี้ยังมี ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้ชำระเมื่อพ.ศ.2345 ขณะที่ไตรภูมิสมัยอยุธยานั้น เพิ่งปรากฏฉบับนี้เป็นฉบับแรก
“การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักวิชาการด้านไตรภูมิ ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ โดยจะเสนอให้คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติขึ้นทำเนียบใหม่ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิด้วย” นายบุญเตือนกล่าวและว่า ทั้งนี้ได้มีการนำสำเนาเอกสารฉบับดังกล่าวมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น พร้อมจัดทำเป็นหนังสือไตรภูมิจำนวน 1,000 เล่ม เพื่อมอบให้สถาบันการศึกษา หอสมุดทั่วประเทศได้ใช้ศึกษาต่อไป รวมถึงจัดทำอีบุ๊คเพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดด้วย.
วานนี้ (9 ก.ย.) นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร เปิดเผยว่า สวป. ได้ค้นพบเอกสารสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ โดยสันนิษฐานว่า จะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ทำการเก็บรักษาไว้ ศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการคัดลอกมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว
นายบุญเตือน กล่าวอีกง่า หนังสือไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส นับว่าเป็นเอกสารชิ้นสำคัญเพราะไม่เคยถูกค้นพบในประเทศไทย ซึ่งเนื้อหาบางส่วนต่างไปจากไตรภูมิฉบับอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอักขรวิธีต่างๆมาตรวจสอบแล้ว บ่งชี้ว่า หน้าต้นบอกชื่อหนังสือว่า ไตร่ยภูมพระมาไลย ต้นฉบับน่าจะมีอายุเก่าถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะลักษณะตัวอักษรที่บันทึกในหน้าแรกเป็นแบบที่เรียกว่า อักษรไทยย่อ นิยมใช้กันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ปรากฏในหลักฐานหนังสือต่างๆหลายฉบับ สำหรับเนื้อหาของไตรภูมิเล่มนี้แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.เรื่องไตรภูมิ 2.เรื่องพระมาไลย
สำหรับหนังสือไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับคติศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา อธิบายเรื่องไตรภูมิ คติไตรภูมิ-ไตรภพใน “คัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์” ส่วนที่มาของหนังสือไตรภูมิปรากฏครั้งแรก คือ ไตรภูมิกถา และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเรียบเรียงขึ้นในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1888 นอกจากนี้ยังมี ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้ชำระเมื่อพ.ศ.2345 ขณะที่ไตรภูมิสมัยอยุธยานั้น เพิ่งปรากฏฉบับนี้เป็นฉบับแรก
“การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักวิชาการด้านไตรภูมิ ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ โดยจะเสนอให้คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติขึ้นทำเนียบใหม่ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิด้วย” นายบุญเตือนกล่าวและว่า ทั้งนี้ได้มีการนำสำเนาเอกสารฉบับดังกล่าวมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น พร้อมจัดทำเป็นหนังสือไตรภูมิจำนวน 1,000 เล่ม เพื่อมอบให้สถาบันการศึกษา หอสมุดทั่วประเทศได้ใช้ศึกษาต่อไป รวมถึงจัดทำอีบุ๊คเพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดด้วย.