ค้านทวง “ไตรภูมิอยุธยา” ที่ฝรั่งเศส กลับไทย ระบุ ฝรั่งมีระบบรักษาดีกว่าไทย “ศ.ดร.ปรีดี” เผย พบเอกสารโบราณไทยกว่า 100 รายการในต่างประเทศ เสนอ วธ.ตั้ง กก.คัดลอกเอกสารโบราณกลับมาศึกษา
สืบเนื่องมาจาก นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร ออกมาเปิดเผย ว่า ศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ค้นพบเอกสารชิ้นสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ โดยสันนิษฐานว่า จะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้ดำเนินการคัดลอกสำนักมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้ สวป.รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบนั้น
ศ.ดร.ปรีดี ในฐานะผู้ค้นพบหนังสือไตรภูมิ ชื่อ “ไตร่ยภูมพระมาไลย” เปิดเผยว่า ตนได้หารือกับ นายบุญเตือน เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้และศึกษารายละเอียดในการเผยแพร่หนังสือไตรภูมิฉบับดังกล่าว ในเบื้องต้นอาจจะจัดเสวนาวิชาการ เพื่อเชิญนักวิชาการมาช่วยศึกษา ทั้งนี้ มีหลายฝ่ายสอบถามความเห็นตนว่าสมควรหรือไม่ ถ้าประเทศไทยจะขอไตรภูมิฉบับดังกล่าวกลับมายังประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าไม่เห็นด้วยกับการทวงคืน เพราะฝรั่งเศสก็ไม่ได้ขโมย หรือว่าลักลอบนำออกไป และได้นำออกไปตั้งแต่อดีต ซึ่งยุคนั้นทุกคนมีสิทธิ์นำออกไปได้ เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทย ดังนั้นการทวงคืนคงจะยุ่งยากและซับซ้อน จึงมองว่าการทำสำเนามาศึกษาน่าเพียงพอ
ศ.ดร.ปรีดี กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าไม่ควรนำกลับมายังประเทศไทย เพราะทางฝรั่งเศสดูแลรักษาเอกสารดังกล่าวอย่างดี มีระบบการเก็บและดูแลรักษาดีเยี่ยม ที่สำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาได้ตลอด เมื่อเปรียบเทียบกับไทย ซึ่งระบบเก็บรักษายังไม่ดีพอ รวมทั้งระบบการค้นคว้าและศึกษายังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้น มองว่า ควรเก็บไว้ที่เดิมดีแล้ว แต่อยากเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ตั้งคณะกรรมการและจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินการคัดลอก หรือว่าทำสำเนาเอกสารโบราณที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติในประเทศต่างๆ จากข้อมูลพบว่าในปัจจุบันเอกสารโบราณ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์กว่า 100 รายการ โดยกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้ง อังกฤษ เยอรมนี สเปน อิตาลี โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ โดยเอกสารโบราณต่างๆ มีทั้งที่ค้นพบในประเทศไทยและไม่มีต้นฉบับในประเทศ
“เหตุผลที่เสนอทำสำเนาเอกสารโบราณในต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาศึกษานั้น จะดูว่าเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ ตรงกับหลักฐานที่ปรากฏในประเทศไทยหรือไม่ ยกตัวอย่างที่ฝรั่งเศส พบว่า มีหนังสือ จินดามณี และวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ ดังนั้น หากทำสำเนาเอกสารต่างๆ มาได้นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เพราะอาจจะพบหลักฐานและข้อมูลใหม่ที่ไม่ปรากฏในประเทศไทยก็เป็นได้” ศ.ดร.ปรีดี กล่าวทิ้งท้าย
สืบเนื่องมาจาก นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร ออกมาเปิดเผย ว่า ศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ค้นพบเอกสารชิ้นสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ โดยสันนิษฐานว่า จะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้ดำเนินการคัดลอกสำนักมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้ สวป.รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบนั้น
ศ.ดร.ปรีดี ในฐานะผู้ค้นพบหนังสือไตรภูมิ ชื่อ “ไตร่ยภูมพระมาไลย” เปิดเผยว่า ตนได้หารือกับ นายบุญเตือน เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้และศึกษารายละเอียดในการเผยแพร่หนังสือไตรภูมิฉบับดังกล่าว ในเบื้องต้นอาจจะจัดเสวนาวิชาการ เพื่อเชิญนักวิชาการมาช่วยศึกษา ทั้งนี้ มีหลายฝ่ายสอบถามความเห็นตนว่าสมควรหรือไม่ ถ้าประเทศไทยจะขอไตรภูมิฉบับดังกล่าวกลับมายังประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าไม่เห็นด้วยกับการทวงคืน เพราะฝรั่งเศสก็ไม่ได้ขโมย หรือว่าลักลอบนำออกไป และได้นำออกไปตั้งแต่อดีต ซึ่งยุคนั้นทุกคนมีสิทธิ์นำออกไปได้ เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทย ดังนั้นการทวงคืนคงจะยุ่งยากและซับซ้อน จึงมองว่าการทำสำเนามาศึกษาน่าเพียงพอ
ศ.ดร.ปรีดี กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าไม่ควรนำกลับมายังประเทศไทย เพราะทางฝรั่งเศสดูแลรักษาเอกสารดังกล่าวอย่างดี มีระบบการเก็บและดูแลรักษาดีเยี่ยม ที่สำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาได้ตลอด เมื่อเปรียบเทียบกับไทย ซึ่งระบบเก็บรักษายังไม่ดีพอ รวมทั้งระบบการค้นคว้าและศึกษายังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้น มองว่า ควรเก็บไว้ที่เดิมดีแล้ว แต่อยากเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ตั้งคณะกรรมการและจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินการคัดลอก หรือว่าทำสำเนาเอกสารโบราณที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติในประเทศต่างๆ จากข้อมูลพบว่าในปัจจุบันเอกสารโบราณ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์กว่า 100 รายการ โดยกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้ง อังกฤษ เยอรมนี สเปน อิตาลี โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ โดยเอกสารโบราณต่างๆ มีทั้งที่ค้นพบในประเทศไทยและไม่มีต้นฉบับในประเทศ
“เหตุผลที่เสนอทำสำเนาเอกสารโบราณในต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาศึกษานั้น จะดูว่าเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ ตรงกับหลักฐานที่ปรากฏในประเทศไทยหรือไม่ ยกตัวอย่างที่ฝรั่งเศส พบว่า มีหนังสือ จินดามณี และวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ ดังนั้น หากทำสำเนาเอกสารต่างๆ มาได้นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เพราะอาจจะพบหลักฐานและข้อมูลใหม่ที่ไม่ปรากฏในประเทศไทยก็เป็นได้” ศ.ดร.ปรีดี กล่าวทิ้งท้าย