กรมศิลป์ ดัน พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ ป้องกันเอกสารสูญหาย ระบุ ผ่านไป 10 ปีมีคุณค่าด้านการศึกษา-ประวัติศาสตร์
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้\เตรียมรายงานความคืบหน้าการพัฒนาและการขอปรับแก้กฎหมายในส่วนของกรมศิลปากรต่อ นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ สำหรับกฎหมายที่ต้องเร่งดำเนินการ อาทิ ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.. ร่าง พ.ร.บ.หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ.. ร่าง พ.ร.บ.อนุสาวรีย์แห่งชาติ พ.ศ.. และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ.. รวมทั้งร่างพ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ..
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เพื่อรองรับหน้าที่ด้านจดหมายเหตุ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการคุ้มครองป้องกันเอกสารที่สำคัญไม่ให้ถูกนำออกนอกราชอาณาจักร การซื้อขายสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญปัจจุบันเกิดปัญหาว่าหน่วยงานราชการ และผู้ถือครองเอกสารจดหมายเหตุไม่ยอมส่งเอกสารจดหมายเหตุ และเอกสารที่คุณค่าทางประวัติศาสตร์มาให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษา ดังนั้น หากร่าง พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ ประกาศใช้จะเป็นกฎหมายและเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีความคล่องตัวมากขึ้น และมีอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนเรื่องจัดเก็บเอกสารสำคัญของชาติ
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดไว้ว่าเอกสารที่ต้องส่งมอบให้สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ มีลักษณะ ดังนี้ มีคุณค่าตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และมีคุณค่าเพื่อการศึกษา ค้นคว้าหรือการวิจัย โดยประเภทเอกสารที่ต้องส่งมอบนั้น กรมศิลปากร จะจัดทำเป็นคู่มือแจกให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อทำการประเมินคุณค่าและจัดทำเป็นทะเบียนเพื่อนำมาส่งมอบ
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีข้อกำหนด ห้ามมิให้ส่งหรือนำเอกสารจดหมายเหตุออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร และห้ามซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่ายเอกสารจดหมายเหตุด้วย เพราะปัจจุบันมีการนำเอกสารจดหมายเหตุออกนอกประเทศอยู่ และมีการทำลายเอกสารสำคัญ หลายคนอาจจะมองว่าเอกสารเหล่านี้ไม่น่ามีประโยชน์ แต่อย่าลืมว่าถ้าเวลาผ่านไป 10 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี เอกสารเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและหลักฐานประวัติศาสตร์ชาติ
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้\เตรียมรายงานความคืบหน้าการพัฒนาและการขอปรับแก้กฎหมายในส่วนของกรมศิลปากรต่อ นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ สำหรับกฎหมายที่ต้องเร่งดำเนินการ อาทิ ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.. ร่าง พ.ร.บ.หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ.. ร่าง พ.ร.บ.อนุสาวรีย์แห่งชาติ พ.ศ.. และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ.. รวมทั้งร่างพ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ..
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เพื่อรองรับหน้าที่ด้านจดหมายเหตุ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการคุ้มครองป้องกันเอกสารที่สำคัญไม่ให้ถูกนำออกนอกราชอาณาจักร การซื้อขายสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญปัจจุบันเกิดปัญหาว่าหน่วยงานราชการ และผู้ถือครองเอกสารจดหมายเหตุไม่ยอมส่งเอกสารจดหมายเหตุ และเอกสารที่คุณค่าทางประวัติศาสตร์มาให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษา ดังนั้น หากร่าง พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ ประกาศใช้จะเป็นกฎหมายและเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีความคล่องตัวมากขึ้น และมีอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนเรื่องจัดเก็บเอกสารสำคัญของชาติ
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดไว้ว่าเอกสารที่ต้องส่งมอบให้สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ มีลักษณะ ดังนี้ มีคุณค่าตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และมีคุณค่าเพื่อการศึกษา ค้นคว้าหรือการวิจัย โดยประเภทเอกสารที่ต้องส่งมอบนั้น กรมศิลปากร จะจัดทำเป็นคู่มือแจกให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อทำการประเมินคุณค่าและจัดทำเป็นทะเบียนเพื่อนำมาส่งมอบ
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีข้อกำหนด ห้ามมิให้ส่งหรือนำเอกสารจดหมายเหตุออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร และห้ามซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่ายเอกสารจดหมายเหตุด้วย เพราะปัจจุบันมีการนำเอกสารจดหมายเหตุออกนอกประเทศอยู่ และมีการทำลายเอกสารสำคัญ หลายคนอาจจะมองว่าเอกสารเหล่านี้ไม่น่ามีประโยชน์ แต่อย่าลืมว่าถ้าเวลาผ่านไป 10 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี เอกสารเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและหลักฐานประวัติศาสตร์ชาติ