ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เตรียมยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) หลังถูกโยกย้ายมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ว่า หากนายถวิลเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ ซึ่งการย้ายนายถวิลไปเป็นที่ปรึกษานายกฯนั้น นายกฯก็ยังมีงานสำคัญให้ทำอยู่ ทั้งเรื่องน้ำท่วม ยาเสพติด
ส่วนที่นายถวิล ระบุว่า ใครทำกรรมอะไรไว้ ย่อมได้รับกรรมนั้น เป็นสิ่งที่ถูกใจและสะใจตนมากๆ เพราะใครทำกรรมอะไรไว้ ต้องได้รับกรรมโดยเร็ววัน ขอย้ำว่า ถ้าใครทำกรรมชั่วมากๆ ก็ต้องรับกรรมชั่วมากๆ เช่นกัน และไม่อยากไปตอบโต้ที่นายถวิล กล่าวหาว่า ฝ่ายการเมืองลุแก่อำนาจ เพราะในสมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็มีการโยกย้ายข้าราชการหลายคนเช่นกัน ขอให้ย้อนไปดูว่า อดีตเป็นอย่างไร ตนมาแก้ไขให้ถูกต้อง ไม่ใช่แก้แค้น สิ่งที่เข้ามาทำคือ แก้ไขในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่แก้แค้น รัฐบาลชุดนี้ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งข้าราชการทุกสาขาอาชีพมาเป็นพวก รัฐบาลมีหน้าที่แก้ปัญหาปากท้องประชาชน และยาเสพติด
** ก.พ.ค.ยันไม่กดดันสอบปม"ถวิล"
นายศราวุธ เมนะเศวต ประธานคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. เปิดเผยขั้นตอนการร้องทุกข์จากการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม โดยกรณีของนายถวิล ว่าล่าสุดยังไม่มีรายงานว่านายถวิลได้ยื่นเรื่องเข้ามาแล้ว ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ ระยะหนึ่ง แต่หากยื่นเรื่องเข้ามาแล้วก็ต้องตรวจสอบว่า เข้าข่ายที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการหรือไม่ หากเข้าข่าย ก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จใน 90 วัน นับแต่วันยื่นเรื่องแต่สามารถขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
ส่วนมติของคณะกรรมการนั้น ผลจะออกมาได้ 2 อย่าง คือ หากผู้ร้อง คือนายถวิล ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ก็สามารถไปร้องศาลปกครองต่อได้ แต่หากว่าคณะกรรมการเห็นว่า คำสั่งย้ายไม่ถูกต้อง นายถวิล ก็สามารถกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิมของตนเองได้เลย
อย่างไรก็ตาม นายศราวุธ ประเมินสถานการณ์ว่า การรับเรื่องร้องทุกข์ไม่น่ามีปัญหา หากยื่นมาใน 30 วัน แต่หากให้ประเมินคำวินิจฉัย คงยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่เห็นข้อมูลต่างๆว่าถูกต้อง หรือผิดอย่างไร ส่วนการทำหน้าที่นั้นไม่รู้สึกกดดัน เพราะถือว่าปฏิบัติตามหน้าที่ และยืนยันว่ากรรมการทุกท่านเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดแน่นอน
** รองเลขาฯสมช.ดอด เข้าพบ"บิ๊กโก"
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ นายอนุสิษฐ คุณากร นายอดิศักดิ์ ตันยากุล และนายสมเกียรติ บุญชู รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้เข้าพบ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาหารือกันประมาณ 30 นาที
ทั้งนี้ภายหลังการหารือ นาย อนุสิษฐ ได้เปิดเผยว่า ตนและรองเลขาฯสมช.ทั้ง 3 คน มาเข้าพบรองนายกฯ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงเท่านั้น ไม่ได้มีการพูดคุยเพื่อหารือเกี่ยวกับกรณีการโยกย้าย นายถวิล แต่อย่างใด
** "อดิศักดิ์"นั่งรักษาการเลขาสมช.
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการยื่นหนังสือเปิดผนึก เกี่ยวกับอนาคตของสมช.ต่อ พล.ต.อ.โกวิท ด้วยหรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ไม่ใช่ ไม่ได้มีการยื่นหนังสือ ซึ่งวันนี้ได้มีการรายงานต่อรองนายกฯ เพียงว่าขณะนี้นายอดิศักดิ์ ตันยากุล รองเลขาฯสมช.เป็นผู้รักษาราชการแทนอยู่ ซึ่งอยู่ภายใต้คำสั่งเดิม และได้มาบอกถึงแผนเตรียมความพร้อม เพื่อฝึกซ้อมแผนป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ในวันที่ 14-16 ก.ย.นี้ รวมถึงเรื่องภาคใต้ที่สำคัญๆ เพราะทั้งนี้ตัวนโยบายที่จะต้องกำหนดในส่วนของความชัดเจน ใกล้จะถึงขั้นตอนที่จะต้องเสนอให้สมช. พิจารณา ถึงเรื่องการหลบหนีเข้าเมือง
เมื่อถามว่า ตำแหน่งระดับรอง ที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้น นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ไม่มี พร้อมถามกลับว่า จะมีการปรับเปลี่ยนด้วยหรือ คงไม่ เพราะถ้ามีการปรับเปลี่ยน แล้วตนจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าเปลี่ยนรองฯ ก็เปลี่ยนกันได้ทั้งหมด แล้วจะยังไงกัน แล้วระบบราชการจะอยู่แบบไหน
เมื่อถามว่าในช่วงที่มีช่องว่างในตำแหน่งเลขาฯสมช.อยู่ จะมีการดำเนินการอย่างไร นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้ก็มอบให้ นายอดิศักดิ์ ดูแลทั้งหมด และขอให้รองเลขาฯสมช.ทั้ง 3 คนช่วยกันในการทำงาน เพราะมีงานสำคัญ ที่นายถวิล ได้วางแผนไว้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางทะเล ความมั่นคงในมิติใหม่ๆ การเข้าไปร่วมในภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล และในระยะเวลาที่ต้องมีการทบทวน ถึงบทบาทของหน่วยงานทางทะเล ที่จะต้องทำหน้าที่เหล่านี้
เมื่อถามว่ารองเลขาฯสมช.ทั้ง 3 คน ได้สะท้อนถึงขวัญกำลังใจ และความรู้สึกนึกคิด ของข้าราชการสมช.ภายหลัง ที่มีการโยกย้าย นายถวิล หรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ก็มี เราก็คุยกัน และรองนายกฯ ก็ได้ให้แนวทางว่า เราเป็นข้าราชการก็ต้องทำงานให้เต็มที่ เพื่อเป็นเครื่องวัดว่า สิ่งที่เราทำเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ฉะนั้นการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม ตนคิดว่าสังคมรับรู้และเข้าใจ
**ย้ำสมช.ต้องทำตามบัญชานายกฯ
เมื่อถามว่า นายถวิล ได้ฝากอะไร ถึงรองนายกฯไว้หรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า เราเป็นข้าราชการ ไม่ว่าท่านจะฝากหรือไม่ฝากก็ตาม เราก็ทำหน้าที่อย่างนี้มาโดยตลอด ซึ่งตอนที่คุยกับนายถวิลนั้น เราก็ถือว่า ท่านเองเป็นทั้งผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานกัน มาตั้งแต่เด็กๆ ฉะนั้นวัฒนธรรมของเรา แทบไม่ต้องมาฝากฝั่งกันเลย เพราะเราทำงานได้ และทำงานเป็น ทั้งนี้ตนเชื่อว่า ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นเลขาฯสมช.เราก็ทำงานด้วยได้ทั้งนั้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราก็เป็นอย่างนั้นมาโดยตลอด
"ต่อไปขอให้เชื่อมั่นว่า สมช.เราจะไม่ไปสนับสนุน หรืออยู่ฝายใดฝ่ายหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง อย่างแน่นอน เพราะสมช.เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง เป็นข้าราชการ ทั้งนี้ต้องเรียนว่า นายกรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ท่านสั่งการอะไร เราก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเป็นการสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย"
เมื่อถามว่า รองนายกฯได้ให้ความมั่นใจหรือไม่ว่า จะไม่มีการโยกย้ายรองเลขาฯ สมช.ทั้ง 3 คนอีก นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ต้องถามรองนายกฯ แต่อย่างที่เรียนว่าท่านจะดูแลงานของเรา และดูแลคนของเราอย่างเต็มที่ เหมือนพี่เหมือนน้อง ถ้ามีอะไรก็ให้เปิดอกพูดจาคุยกัน และมีปัญหาอะไร ก็มาพบท่านได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ตนจะกลับไปเรียนกับน้องๆทุกท่าน ว่า รองนายกฯ ได้เปิดโอกาสตรงนี้ไว้ให้ ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในยุคนี้ก็ว่าได้
เมื่อถามว่า มีเจ้าหน้าที่และข้าราชการขวัญเสีย ในเรื่องนี้บ้างหรือไม่นั้น นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ก็มีเป็นธรรมดา เราพี่น้องกัน เติบโตมาด้วยกัน ก็ต้องมีขวัญเสียบ้าง
** "ปุ"อ้างกม.ให้อำนาจรัฐบาลย้ายได้
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นธรรมดาของลูกหม้อที่อยากอยู่ในหน่วยงานเดิมจนเกษียนอายุราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีเกียรติ แต่ถ้าจำเป็นต้องย้าย ถ้าไปในตำแหน่งที่ดีขึ้นคงไม่มีใครปฏิเสธ ทำให้หน่วยราชการออกกฎหมายเพื่อปกป้องตัวเอง แต่ไม่แน่ใจว่า สมช. มีกฎหมายรองรับหรือไม่ ซึ่งนายถวิลสามารถไปฟ้องศาลปกครองได้ แต่จะมีผลอย่างไรเพราะสมช. มีพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลในการแต่งตั้งโยกย้าย นอกหรือในฤดูกาล เพราะเป็นการใช้อำนาจในทางการบริหารได้
ร.ต.อ.ปุระชัย กล่าวว่า คนที่เติบโตมาจากอายุราชการ ส่วนใหญ่ก็อยากถึงจุดเติบโตสูงสุดที่นั่น โดยเฉพาะหน่วยงานตำรวจ ในอดีตให้ย้ายไปกระทรวงมหาดไทยยังไม่ยอม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกลับองค์กรตำรวจคือ เป็นหน่วยงานที่เหมือนกับก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในทะเล เพราะไม่สังกัดใคร นอกจากนายกฯ ขณะเดียวกันนายกฯ ก็ไม่มีเวลาดูแล จะมาก็เพียงแค่ประชุม ก.ตร. - ก.ต.ช. ดังนั้นตำรวจจึงเป็นหน่วยงานที่ถูกการเมืองแทรกแซงมาตลอด ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 จนกระทั่งมี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 เพื่อกำหนดให้มี ก.ต.ช. เป็นกลไกกลั่นกรองการแต่งตั้ง ผบ.ตร. รอง ผบ.ตร. และนายตำรวจระดับพล.ต.ต. ขึ้นไป แต่ก็แก้การแทรกแซงได้ไม่ 100 %
** ชี้การเมืองแทรกแซงตำรวจทุกยุค
ส่วนกรณีของ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. ทำหนังสือเสนอตัวมานั่งเลขา สมช. เป็นการสมัครใจ ซึ่งวิธีการคือ รัฐบาล “กล่อม”ให้ยอมย้าย จึงไม่ขัดกับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ที่ปกป้องการย้ายผบ.ตร.ไปนั่งในหน่วยงานอื่น
ส่วนขั้นตอนการสรรหา ผบ.ตร.คนใหม่ ก็ขึ้นอยู่กับ ก.ตช.โดย รอง ผบ.ตร. ทุกคนมีสิทธิ์เป็นแคนดิเดต แต่สิ่งสำคัญคือ การระมัดระวังไม่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์พวกพ้อง วันนี้ ผบ.ตร.จะเป็นใครก็ตาม ต้องยึดหลักความยุติธรรม ความรู้ ความสามารถ อย่าให้เป็นเหมือนในอดีต หรือเป็นพวกพ้อง และยิ่งเป็นคนนามสกุลเดียวกัน ยิ่งต้องระมัดระวังอย่างมาก
สำหรับการลงมติ ในก.ต.ช. ที่ผ่านมานั้น การเมืองสามารถเข้าไปล็อบบี้ได้หรือไม่ ร.ต.อ.ปุระชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาในส่วนกรรมการ ก.ต.ช.โดยตำแหน่ง จะโหวตในทิศทางเดียวกันกับนายกฯ จะเรียกล็อบบี้หรือไม่ผมไม่ทราบ แต่ตามปกติจะมีการพูดคุยกันก่อนนอกรอบ ในขณะที่เสียงโหวตจาก กรรมการ ก.ต.ช.ที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ไม่แน่ว่าจะโหวตในทิศทางใด
ส่วนที่นายถวิล ระบุว่า ใครทำกรรมอะไรไว้ ย่อมได้รับกรรมนั้น เป็นสิ่งที่ถูกใจและสะใจตนมากๆ เพราะใครทำกรรมอะไรไว้ ต้องได้รับกรรมโดยเร็ววัน ขอย้ำว่า ถ้าใครทำกรรมชั่วมากๆ ก็ต้องรับกรรมชั่วมากๆ เช่นกัน และไม่อยากไปตอบโต้ที่นายถวิล กล่าวหาว่า ฝ่ายการเมืองลุแก่อำนาจ เพราะในสมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็มีการโยกย้ายข้าราชการหลายคนเช่นกัน ขอให้ย้อนไปดูว่า อดีตเป็นอย่างไร ตนมาแก้ไขให้ถูกต้อง ไม่ใช่แก้แค้น สิ่งที่เข้ามาทำคือ แก้ไขในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่แก้แค้น รัฐบาลชุดนี้ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งข้าราชการทุกสาขาอาชีพมาเป็นพวก รัฐบาลมีหน้าที่แก้ปัญหาปากท้องประชาชน และยาเสพติด
** ก.พ.ค.ยันไม่กดดันสอบปม"ถวิล"
นายศราวุธ เมนะเศวต ประธานคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. เปิดเผยขั้นตอนการร้องทุกข์จากการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม โดยกรณีของนายถวิล ว่าล่าสุดยังไม่มีรายงานว่านายถวิลได้ยื่นเรื่องเข้ามาแล้ว ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ ระยะหนึ่ง แต่หากยื่นเรื่องเข้ามาแล้วก็ต้องตรวจสอบว่า เข้าข่ายที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการหรือไม่ หากเข้าข่าย ก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จใน 90 วัน นับแต่วันยื่นเรื่องแต่สามารถขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
ส่วนมติของคณะกรรมการนั้น ผลจะออกมาได้ 2 อย่าง คือ หากผู้ร้อง คือนายถวิล ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ก็สามารถไปร้องศาลปกครองต่อได้ แต่หากว่าคณะกรรมการเห็นว่า คำสั่งย้ายไม่ถูกต้อง นายถวิล ก็สามารถกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิมของตนเองได้เลย
อย่างไรก็ตาม นายศราวุธ ประเมินสถานการณ์ว่า การรับเรื่องร้องทุกข์ไม่น่ามีปัญหา หากยื่นมาใน 30 วัน แต่หากให้ประเมินคำวินิจฉัย คงยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่เห็นข้อมูลต่างๆว่าถูกต้อง หรือผิดอย่างไร ส่วนการทำหน้าที่นั้นไม่รู้สึกกดดัน เพราะถือว่าปฏิบัติตามหน้าที่ และยืนยันว่ากรรมการทุกท่านเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดแน่นอน
** รองเลขาฯสมช.ดอด เข้าพบ"บิ๊กโก"
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ นายอนุสิษฐ คุณากร นายอดิศักดิ์ ตันยากุล และนายสมเกียรติ บุญชู รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้เข้าพบ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาหารือกันประมาณ 30 นาที
ทั้งนี้ภายหลังการหารือ นาย อนุสิษฐ ได้เปิดเผยว่า ตนและรองเลขาฯสมช.ทั้ง 3 คน มาเข้าพบรองนายกฯ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงเท่านั้น ไม่ได้มีการพูดคุยเพื่อหารือเกี่ยวกับกรณีการโยกย้าย นายถวิล แต่อย่างใด
** "อดิศักดิ์"นั่งรักษาการเลขาสมช.
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการยื่นหนังสือเปิดผนึก เกี่ยวกับอนาคตของสมช.ต่อ พล.ต.อ.โกวิท ด้วยหรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ไม่ใช่ ไม่ได้มีการยื่นหนังสือ ซึ่งวันนี้ได้มีการรายงานต่อรองนายกฯ เพียงว่าขณะนี้นายอดิศักดิ์ ตันยากุล รองเลขาฯสมช.เป็นผู้รักษาราชการแทนอยู่ ซึ่งอยู่ภายใต้คำสั่งเดิม และได้มาบอกถึงแผนเตรียมความพร้อม เพื่อฝึกซ้อมแผนป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ในวันที่ 14-16 ก.ย.นี้ รวมถึงเรื่องภาคใต้ที่สำคัญๆ เพราะทั้งนี้ตัวนโยบายที่จะต้องกำหนดในส่วนของความชัดเจน ใกล้จะถึงขั้นตอนที่จะต้องเสนอให้สมช. พิจารณา ถึงเรื่องการหลบหนีเข้าเมือง
เมื่อถามว่า ตำแหน่งระดับรอง ที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้น นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ไม่มี พร้อมถามกลับว่า จะมีการปรับเปลี่ยนด้วยหรือ คงไม่ เพราะถ้ามีการปรับเปลี่ยน แล้วตนจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าเปลี่ยนรองฯ ก็เปลี่ยนกันได้ทั้งหมด แล้วจะยังไงกัน แล้วระบบราชการจะอยู่แบบไหน
เมื่อถามว่าในช่วงที่มีช่องว่างในตำแหน่งเลขาฯสมช.อยู่ จะมีการดำเนินการอย่างไร นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้ก็มอบให้ นายอดิศักดิ์ ดูแลทั้งหมด และขอให้รองเลขาฯสมช.ทั้ง 3 คนช่วยกันในการทำงาน เพราะมีงานสำคัญ ที่นายถวิล ได้วางแผนไว้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางทะเล ความมั่นคงในมิติใหม่ๆ การเข้าไปร่วมในภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล และในระยะเวลาที่ต้องมีการทบทวน ถึงบทบาทของหน่วยงานทางทะเล ที่จะต้องทำหน้าที่เหล่านี้
เมื่อถามว่ารองเลขาฯสมช.ทั้ง 3 คน ได้สะท้อนถึงขวัญกำลังใจ และความรู้สึกนึกคิด ของข้าราชการสมช.ภายหลัง ที่มีการโยกย้าย นายถวิล หรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ก็มี เราก็คุยกัน และรองนายกฯ ก็ได้ให้แนวทางว่า เราเป็นข้าราชการก็ต้องทำงานให้เต็มที่ เพื่อเป็นเครื่องวัดว่า สิ่งที่เราทำเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ฉะนั้นการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม ตนคิดว่าสังคมรับรู้และเข้าใจ
**ย้ำสมช.ต้องทำตามบัญชานายกฯ
เมื่อถามว่า นายถวิล ได้ฝากอะไร ถึงรองนายกฯไว้หรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า เราเป็นข้าราชการ ไม่ว่าท่านจะฝากหรือไม่ฝากก็ตาม เราก็ทำหน้าที่อย่างนี้มาโดยตลอด ซึ่งตอนที่คุยกับนายถวิลนั้น เราก็ถือว่า ท่านเองเป็นทั้งผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานกัน มาตั้งแต่เด็กๆ ฉะนั้นวัฒนธรรมของเรา แทบไม่ต้องมาฝากฝั่งกันเลย เพราะเราทำงานได้ และทำงานเป็น ทั้งนี้ตนเชื่อว่า ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นเลขาฯสมช.เราก็ทำงานด้วยได้ทั้งนั้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราก็เป็นอย่างนั้นมาโดยตลอด
"ต่อไปขอให้เชื่อมั่นว่า สมช.เราจะไม่ไปสนับสนุน หรืออยู่ฝายใดฝ่ายหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง อย่างแน่นอน เพราะสมช.เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง เป็นข้าราชการ ทั้งนี้ต้องเรียนว่า นายกรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ท่านสั่งการอะไร เราก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเป็นการสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย"
เมื่อถามว่า รองนายกฯได้ให้ความมั่นใจหรือไม่ว่า จะไม่มีการโยกย้ายรองเลขาฯ สมช.ทั้ง 3 คนอีก นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ต้องถามรองนายกฯ แต่อย่างที่เรียนว่าท่านจะดูแลงานของเรา และดูแลคนของเราอย่างเต็มที่ เหมือนพี่เหมือนน้อง ถ้ามีอะไรก็ให้เปิดอกพูดจาคุยกัน และมีปัญหาอะไร ก็มาพบท่านได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ตนจะกลับไปเรียนกับน้องๆทุกท่าน ว่า รองนายกฯ ได้เปิดโอกาสตรงนี้ไว้ให้ ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในยุคนี้ก็ว่าได้
เมื่อถามว่า มีเจ้าหน้าที่และข้าราชการขวัญเสีย ในเรื่องนี้บ้างหรือไม่นั้น นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ก็มีเป็นธรรมดา เราพี่น้องกัน เติบโตมาด้วยกัน ก็ต้องมีขวัญเสียบ้าง
** "ปุ"อ้างกม.ให้อำนาจรัฐบาลย้ายได้
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นธรรมดาของลูกหม้อที่อยากอยู่ในหน่วยงานเดิมจนเกษียนอายุราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีเกียรติ แต่ถ้าจำเป็นต้องย้าย ถ้าไปในตำแหน่งที่ดีขึ้นคงไม่มีใครปฏิเสธ ทำให้หน่วยราชการออกกฎหมายเพื่อปกป้องตัวเอง แต่ไม่แน่ใจว่า สมช. มีกฎหมายรองรับหรือไม่ ซึ่งนายถวิลสามารถไปฟ้องศาลปกครองได้ แต่จะมีผลอย่างไรเพราะสมช. มีพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลในการแต่งตั้งโยกย้าย นอกหรือในฤดูกาล เพราะเป็นการใช้อำนาจในทางการบริหารได้
ร.ต.อ.ปุระชัย กล่าวว่า คนที่เติบโตมาจากอายุราชการ ส่วนใหญ่ก็อยากถึงจุดเติบโตสูงสุดที่นั่น โดยเฉพาะหน่วยงานตำรวจ ในอดีตให้ย้ายไปกระทรวงมหาดไทยยังไม่ยอม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกลับองค์กรตำรวจคือ เป็นหน่วยงานที่เหมือนกับก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในทะเล เพราะไม่สังกัดใคร นอกจากนายกฯ ขณะเดียวกันนายกฯ ก็ไม่มีเวลาดูแล จะมาก็เพียงแค่ประชุม ก.ตร. - ก.ต.ช. ดังนั้นตำรวจจึงเป็นหน่วยงานที่ถูกการเมืองแทรกแซงมาตลอด ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 จนกระทั่งมี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 เพื่อกำหนดให้มี ก.ต.ช. เป็นกลไกกลั่นกรองการแต่งตั้ง ผบ.ตร. รอง ผบ.ตร. และนายตำรวจระดับพล.ต.ต. ขึ้นไป แต่ก็แก้การแทรกแซงได้ไม่ 100 %
** ชี้การเมืองแทรกแซงตำรวจทุกยุค
ส่วนกรณีของ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. ทำหนังสือเสนอตัวมานั่งเลขา สมช. เป็นการสมัครใจ ซึ่งวิธีการคือ รัฐบาล “กล่อม”ให้ยอมย้าย จึงไม่ขัดกับ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ที่ปกป้องการย้ายผบ.ตร.ไปนั่งในหน่วยงานอื่น
ส่วนขั้นตอนการสรรหา ผบ.ตร.คนใหม่ ก็ขึ้นอยู่กับ ก.ตช.โดย รอง ผบ.ตร. ทุกคนมีสิทธิ์เป็นแคนดิเดต แต่สิ่งสำคัญคือ การระมัดระวังไม่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์พวกพ้อง วันนี้ ผบ.ตร.จะเป็นใครก็ตาม ต้องยึดหลักความยุติธรรม ความรู้ ความสามารถ อย่าให้เป็นเหมือนในอดีต หรือเป็นพวกพ้อง และยิ่งเป็นคนนามสกุลเดียวกัน ยิ่งต้องระมัดระวังอย่างมาก
สำหรับการลงมติ ในก.ต.ช. ที่ผ่านมานั้น การเมืองสามารถเข้าไปล็อบบี้ได้หรือไม่ ร.ต.อ.ปุระชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาในส่วนกรรมการ ก.ต.ช.โดยตำแหน่ง จะโหวตในทิศทางเดียวกันกับนายกฯ จะเรียกล็อบบี้หรือไม่ผมไม่ทราบ แต่ตามปกติจะมีการพูดคุยกันก่อนนอกรอบ ในขณะที่เสียงโหวตจาก กรรมการ ก.ต.ช.ที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ไม่แน่ว่าจะโหวตในทิศทางใด