หลังจากกลุ่มคนเสื้อแดงได้ส่งฟอเวิร์ดเมล์ ข่มขู่น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เนื่องจากไม่พอใจที่ตั้งคำถามจนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี เดินหนี และมีการนำมวลชนไปกดดันที่สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 เพื่อให้ปลด น.ส.สมจิตต์ ออกจากการเป็นนักข่าว รวมถึงบีบให้น.ส.สมจิตต์ ถอนแจ้งความ ยกเลิกการดำเนินคดีกับน.ส.พรทิพย์ ปักษานนท์ ประธานคนเสื้อแดงเพชรบุรี ที่ออกมายอมรับเป็นผู้เผยแพร่เมล์ดังกล่าว
ล่าสุดมีความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนายสมชาย แสวงการ เป็นประธาน ได้เชิญ น.ส.สมจิตต์ เข้าร่วมประชุมกรรมาธิการฯเพื่อให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในวันที่ 8 ก.ย. เวลา 14.00 น.
นายสมชาย กล่าวว่า กรณีนี้เป็นประเด็นคุกคามสื่อมวลชน เพราะเป็นการทำหน้าที่ตามปกติในการสอบถามแหล่งข่าว ตามรธน.ที่ให้สิทธิประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสื่อมวลชนในการค้นหาความจริง อีกทั้งคำถามที่น.ส.สมจิตต์ ถามนายกฯ เป็นคำถามทั่วไปที่สังคมสงสัย ซึ่งนายกฯมีสิทธิ์ตอบหรือไม่ตอบก็ได้ และคำถามนั้นก็ไม่ได้เป็นคำถามเกินเลยกว่าที่สามัญชนทั่วไปจะสงสัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นการเอื้อประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายนายกรัฐมนตรีหรือไม่ การเลี่ยงหนีเป็นวิธีหนึ่ง แต่ต้องไม่ใช้ช่องทางส่งถึงกันเป็นสัญลักษณ์ในเชิงข่มขู่คนทำหน้าที่สื่อมวลชน การที่นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไม่ได้มีการปรามในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่หมิ่นเหม่ต่อการรู้เห็นเป็นใจให้มีการคุกคามสื่อหรือไม่
นอกจากนี้ การที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ แถลงต่อที่ประชุมสภา ในลักษณะปกป้องคนที่คุกคามสื่อว่า อ่านพจนานุกรมไม่พบว่าคำว่า "จัดให้" จะเป็นการคุกคามแต่อย่างใด จะยิ่งทำให้เกิดการคุกคามมากขึ้น เพราะแทนทึ่จะมีการปรามกลุ่มคนที่สนับสนุนตัวเอง รัฐบาลกลับไม่ทำ แต่ทำเหมือนให้ท้าย กรรมาธิการเห็นว่าน่าจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อเทียบเคียงศึกษาตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อดูว่ามีกรณีอื่นๆ ที่เกิดการคุกคามเช่นนี้หรือไม่ เพราะทราบว่านสพ.หลายฉบับ ปลดคนของตัวเองออก สถานีโทรทัศน์หลายช่องควบคุมเนื้อหารายการไม่ให้เอ่ยถึงอดีตนายกฯ ในทางลบ ซึ่งในเรื่องนี้หากพบว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด ก็อาจมีการทำเรื่องถึงประธานวุฒิสภา ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการฯ ด้วย
" ผมทราบมาว่า สถานีโทรทัศน์บางแห่ง ไม่ให้รายการที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลออกอากาศ บางสถานีของเคเบิ้ลทีวีมี การประชุมผู้จัดรายการให้งดเว้นการพูดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกฯ ในทางเสียหายด้วย" นายสมชาย กล่าว
นายสมชาย ยังตำหนิ ร.ต.อ.เฉลิม ที่ออกมาปกป้องคนเสื้อแดงว่าไม่คุกคามสื่อว่า เป็นการสรุปที่เร็วเกินไป ซึ่งก็ไม่มั่นใจว่าจะเป็นเพราะต้องการใช้คนเสื้อแดงเป็นฐานในการปกป้องอำนาจรัฐหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้เจตนารมย์ของรัฐบาลที่จะแก้ไข ไม่แก้แค้นรวมถึงการที่บอกจะส่งสัญญาณปรองดอง คงทำได้ยากขึ้น เพราะมีลักษณะแตะต้องไม่ได้ ปกป้องนายกรัฐมนตรีเหมือนไข่ในหินเกินไป เป็นปรากฏการณ์สะท้อนว่า โอกาสปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้นได้ยาก ในสังคมไทย
ด้าน น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่าได้รับหนังสือเชิญจากกรรมาธิการแล้ว และพร้อมที่จะเข้าให้ข้อมูลตามวัน และเวลาดังกล่าว ซึ่งในวันที่ 8 ก.ย. เวลา 10.00น. ตำรวจก็ได้ออกหมายเรียกให้น.ส.พรทิพย์ เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ดุสิตด้วย แต่ตนคงไม่เดินทางไปที่ สน.ดุสิต เพราะได้รับคำแนะนำจากผู้มีความรู้ด้านกฎหมายว่า เป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะต้องดำเนินการ หากน.ส.พรทิพย์ แจ้งความกลับตามที่เคยพูดไว้ ค่อยไปรับทราบข้อกล่าวหาจากทางตำรวจ
อีกเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจไม่ไป สน.ดุสิตเป็นเพราะในขณะนี้ มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงกล่าวหาว่าตนมีเจตนายั่วยุ ดังนั้นหากไปเผชิญหน้ากับน.ส.พรทิพย์ ก็จะถูกนำไปขยายผลอีก ทั้งๆ ที่การแจ้งความของตนเป็นเพียงการรักษาสิทธิตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ น.ส.พรทิพย์ หากคิดว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย ก็สามารถแจ้งความได้เช่นเดียวกัน ส่วนการถูกผิดเป็นหน้าที่ของศาลจะเป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งยังยืนยันว่าจะดำเนินคดีจนถึงที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า คำว่าจัดให้ ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า ผิดหรือไม่ ศาลจะเป็นผู้ตัดสิน เช่นเดียวกับคำพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม ที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่า ท่านได้ทำให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจต่อการดูแลความปลอดภัยให้กับคนไทยหรือยัง ผ่านเหตุการณ์นี้ โดยเห็นว่าหากคำว่า "จัดให้" มีคำว่า "ปื๊ด" นำหน้า ร.ต.อ.เฉลิม อาจจะมีความเห็นเป็นอีกอย่างหนึ่งก็ได้
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเนื่องนี้ว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงขณะนี้ นายกฯ ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะมีมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างไร เพียงแต่มอบหมายให้คนในรัฐบาลไปดูข้อเท็จจริงเท่านั้น จึงอยากเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี มีท่าทีชัดเจนว่าจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างไร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของหลักการ เป็นหลักการของสิทธิเสรีภาพ ที่พึงมีในประเทศประชาธิปไตย
" สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพที่จะตั้งคำถามที่เป็นผลประโยชน์สาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคนเป็นเจ้าของประเทศ เพราะประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะรู้ว่า ผู้นำที่บริหารประเทศชาติบ้านเมืองมีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ขณะเดียวกันนายกฯก็มีสิทธิที่จะไม่ตอบ แต่ไม่ควรแสดงออกด้วยท่าทีที่ไม่พอใจ" นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า รู้สึกเสียดายที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้มาตอบกระทู้สด เกี่ยวกับการคุกคามสื่อด้วยตนเอง ทำให้การตอบกระทู้สดเมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา กลายเป็นการปะทะคารมกันมากกว่า ที่จะปะทะกันด้วยเหตุผล และความคิดความอ่านที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เพราะถ้ามาตอบกระทู้สดเรื่องดังกล่าวด้วยตนเอง จะทำให้สังคมมีความมั่นใจต่อการทำงานของรัฐบาลมากขึ้น และน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะได้แสดงออกถึงจุดยืนต่อการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพสื่อด้วยความสง่างาม
ล่าสุดมีความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนายสมชาย แสวงการ เป็นประธาน ได้เชิญ น.ส.สมจิตต์ เข้าร่วมประชุมกรรมาธิการฯเพื่อให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในวันที่ 8 ก.ย. เวลา 14.00 น.
นายสมชาย กล่าวว่า กรณีนี้เป็นประเด็นคุกคามสื่อมวลชน เพราะเป็นการทำหน้าที่ตามปกติในการสอบถามแหล่งข่าว ตามรธน.ที่ให้สิทธิประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสื่อมวลชนในการค้นหาความจริง อีกทั้งคำถามที่น.ส.สมจิตต์ ถามนายกฯ เป็นคำถามทั่วไปที่สังคมสงสัย ซึ่งนายกฯมีสิทธิ์ตอบหรือไม่ตอบก็ได้ และคำถามนั้นก็ไม่ได้เป็นคำถามเกินเลยกว่าที่สามัญชนทั่วไปจะสงสัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นการเอื้อประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายนายกรัฐมนตรีหรือไม่ การเลี่ยงหนีเป็นวิธีหนึ่ง แต่ต้องไม่ใช้ช่องทางส่งถึงกันเป็นสัญลักษณ์ในเชิงข่มขู่คนทำหน้าที่สื่อมวลชน การที่นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไม่ได้มีการปรามในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่หมิ่นเหม่ต่อการรู้เห็นเป็นใจให้มีการคุกคามสื่อหรือไม่
นอกจากนี้ การที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ แถลงต่อที่ประชุมสภา ในลักษณะปกป้องคนที่คุกคามสื่อว่า อ่านพจนานุกรมไม่พบว่าคำว่า "จัดให้" จะเป็นการคุกคามแต่อย่างใด จะยิ่งทำให้เกิดการคุกคามมากขึ้น เพราะแทนทึ่จะมีการปรามกลุ่มคนที่สนับสนุนตัวเอง รัฐบาลกลับไม่ทำ แต่ทำเหมือนให้ท้าย กรรมาธิการเห็นว่าน่าจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อเทียบเคียงศึกษาตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อดูว่ามีกรณีอื่นๆ ที่เกิดการคุกคามเช่นนี้หรือไม่ เพราะทราบว่านสพ.หลายฉบับ ปลดคนของตัวเองออก สถานีโทรทัศน์หลายช่องควบคุมเนื้อหารายการไม่ให้เอ่ยถึงอดีตนายกฯ ในทางลบ ซึ่งในเรื่องนี้หากพบว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด ก็อาจมีการทำเรื่องถึงประธานวุฒิสภา ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการฯ ด้วย
" ผมทราบมาว่า สถานีโทรทัศน์บางแห่ง ไม่ให้รายการที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลออกอากาศ บางสถานีของเคเบิ้ลทีวีมี การประชุมผู้จัดรายการให้งดเว้นการพูดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกฯ ในทางเสียหายด้วย" นายสมชาย กล่าว
นายสมชาย ยังตำหนิ ร.ต.อ.เฉลิม ที่ออกมาปกป้องคนเสื้อแดงว่าไม่คุกคามสื่อว่า เป็นการสรุปที่เร็วเกินไป ซึ่งก็ไม่มั่นใจว่าจะเป็นเพราะต้องการใช้คนเสื้อแดงเป็นฐานในการปกป้องอำนาจรัฐหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้เจตนารมย์ของรัฐบาลที่จะแก้ไข ไม่แก้แค้นรวมถึงการที่บอกจะส่งสัญญาณปรองดอง คงทำได้ยากขึ้น เพราะมีลักษณะแตะต้องไม่ได้ ปกป้องนายกรัฐมนตรีเหมือนไข่ในหินเกินไป เป็นปรากฏการณ์สะท้อนว่า โอกาสปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้นได้ยาก ในสังคมไทย
ด้าน น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่าได้รับหนังสือเชิญจากกรรมาธิการแล้ว และพร้อมที่จะเข้าให้ข้อมูลตามวัน และเวลาดังกล่าว ซึ่งในวันที่ 8 ก.ย. เวลา 10.00น. ตำรวจก็ได้ออกหมายเรียกให้น.ส.พรทิพย์ เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ดุสิตด้วย แต่ตนคงไม่เดินทางไปที่ สน.ดุสิต เพราะได้รับคำแนะนำจากผู้มีความรู้ด้านกฎหมายว่า เป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะต้องดำเนินการ หากน.ส.พรทิพย์ แจ้งความกลับตามที่เคยพูดไว้ ค่อยไปรับทราบข้อกล่าวหาจากทางตำรวจ
อีกเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจไม่ไป สน.ดุสิตเป็นเพราะในขณะนี้ มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงกล่าวหาว่าตนมีเจตนายั่วยุ ดังนั้นหากไปเผชิญหน้ากับน.ส.พรทิพย์ ก็จะถูกนำไปขยายผลอีก ทั้งๆ ที่การแจ้งความของตนเป็นเพียงการรักษาสิทธิตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ น.ส.พรทิพย์ หากคิดว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย ก็สามารถแจ้งความได้เช่นเดียวกัน ส่วนการถูกผิดเป็นหน้าที่ของศาลจะเป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งยังยืนยันว่าจะดำเนินคดีจนถึงที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า คำว่าจัดให้ ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า ผิดหรือไม่ ศาลจะเป็นผู้ตัดสิน เช่นเดียวกับคำพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม ที่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่า ท่านได้ทำให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจต่อการดูแลความปลอดภัยให้กับคนไทยหรือยัง ผ่านเหตุการณ์นี้ โดยเห็นว่าหากคำว่า "จัดให้" มีคำว่า "ปื๊ด" นำหน้า ร.ต.อ.เฉลิม อาจจะมีความเห็นเป็นอีกอย่างหนึ่งก็ได้
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเนื่องนี้ว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงขณะนี้ นายกฯ ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะมีมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างไร เพียงแต่มอบหมายให้คนในรัฐบาลไปดูข้อเท็จจริงเท่านั้น จึงอยากเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี มีท่าทีชัดเจนว่าจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างไร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของหลักการ เป็นหลักการของสิทธิเสรีภาพ ที่พึงมีในประเทศประชาธิปไตย
" สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพที่จะตั้งคำถามที่เป็นผลประโยชน์สาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคนเป็นเจ้าของประเทศ เพราะประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะรู้ว่า ผู้นำที่บริหารประเทศชาติบ้านเมืองมีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ขณะเดียวกันนายกฯก็มีสิทธิที่จะไม่ตอบ แต่ไม่ควรแสดงออกด้วยท่าทีที่ไม่พอใจ" นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า รู้สึกเสียดายที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้มาตอบกระทู้สด เกี่ยวกับการคุกคามสื่อด้วยตนเอง ทำให้การตอบกระทู้สดเมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา กลายเป็นการปะทะคารมกันมากกว่า ที่จะปะทะกันด้วยเหตุผล และความคิดความอ่านที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เพราะถ้ามาตอบกระทู้สดเรื่องดังกล่าวด้วยตนเอง จะทำให้สังคมมีความมั่นใจต่อการทำงานของรัฐบาลมากขึ้น และน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะได้แสดงออกถึงจุดยืนต่อการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพสื่อด้วยความสง่างาม