ขสมก.ลดค่าโดยสาร 50 สตางค์ รถ ปอ. 1 บาท มีผลวันนี้ ปธ.บอร์ดยันเช่าเอ็นจีวี 4,000 คันเหมาะสม หากลดเหลือ 3,500 คัน อาจไม่ครอบคลุมเส้นทางและหมุนรถใช้ไม่ทัน เผยลดค่าตั๋วสูญรายได้เดือนละ 22 ล้าน เปิดใจไขก๊อกประธานบอร์ด ขสมก.-แอร์พอร์ตลิ้งค์และ ร.ฟ.ท.มีผล 15 ก.ย.เปิดทางการเมืองตั้งคนใหม่ ด้านสรรพสามิตโอดอุ้มภาษีน้ำมันกระทบคาดการณ์รายได้ เหตุขยายเวลาภาษีน้ำมันดีเซลเดือนต่อเดือน
นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดได้พิจารณาเห็นชอบการปรับลดค่าโดยสารรถ ขสมก.ลงภายหลังราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2554
รถปรับอากาศ(ยูโร ทู) ลด 1 บาท จาก 12-24 บาท เหลือ 11-23 บาท รถปรับอากาศ(ครีม-น้ำเงิน)จาก 11-19 บาทเหลือ 10-18 บาท รถธรรมดา (ครีม-แดง) ลด 50 สตางค์ จาก 7 บาทเหลือ 6.50 บาท รถครีม-ขาว จาก 8 บาท เหลือ 7.50 บาท ซึ่งการปรับลดครั้งนี้ ทำให้รายได้ของ ขสมก.ลดลง 22 ล้านบาทต่อเดือน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันที่ลดลง 26 ล้านบาทต่อเดือนแล้ว ยังมีส่วนต่างอีก 4 ล้านบาทต่อเดือน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ในภาพรวม
ทั้งนี้ จากการประเมินผลกระทบราคาน้ำมันพบว่า ราคาน้ำมันทุก 2 บาท/ลิตร จะต้องมีการปรับอัตราค่าโดยสารรถปรับอากาศ 1 บาท และรถธรรมดา 40 สตางค์ จึงจะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งการปรับราคาน้ำมันดีเซลลง 3 บาท/ลิตรครั้งนี้ ขสมก.ปรับลดค่าโดยสารลงมาเพียง 1 บาท และ 50 สตางค์ จึงเท่ากับว่ายังมีส่วนต่างจากการให้บริการอยู่ส่วนรถร่วมบริการเอกชนจะลดค่าโดยสารด้วยหรือไม่ เป็นสิทธิ์ของเอกชน เนื่องจากอัตราที่เอกชนจัดเก็บนั้นยังอยู่ในกรอบโครงสร้างที่ตกลงกันไว้ และการปรับลดค่าโดยสารครั้งนี้ก็เพียงชั่วคราวตามนโยบายของรัฐบาลเรื่องราคาน้ำมัน
***ยันเช่าเมล์NGV 4,000 คันดีสุด
โดยภายหลังการประชุมวานนี้ (31 ส.ค.) กรณีที่พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ขสมก.ปรับลดการจัดหารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นเชื้อเพลิง (NGV) จำนวน 4,000 คันเหลือ 3,500 คันนั้น เห็นว่า การจัดหารถใหม่ของ ขสมก.นั้นไม่จำเป็นต้องศึกษาใหม่แล้วเนื่องจากข้อสรุปเดิมมีความชัดเจนผ่านการกลั่นกรองของคณะทำงาน,บอร์ดขสมก. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลังแล้ว โดยเห็นว่า จำนวน 4,000 คันเหมาะสมเนื่องจากครอบคลุมการเดินรถ 155 เส้นทาง และวิธีการเช่ามีข้อดีและคุ้มค่า เพราะไม่เป็นภาระและรับประกันว่าจะมีรถบริการ 4,000 คันในสภาพดีทุกวัน
ส่วนแนวคิดที่จะให้ประกอบรถภายในประเทศ ต้องดูว่าขีดความสามารถในการประกอบรถภายในประเทศมีเพียงพอหรือไม่ ต้องดูเวลาที่ใช้ในการผลิต กับความต้องการใช้รถว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ขณะที่แผนของ 4,000 คัน จะจัดหาครบภายใน 2 ปี เก็บค่าโดยสาร 30 บาทขึ้นได้ทั้งวัน เปรียบเทียบกับปัจจุบันถ้าใช้บริการรถปรับอากาศมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80 บาทต่อวัน รถร้อนเฉลี่ย 40-50 บาทต่อวัน ถึงวันนี้คนกทม.เสียโอกาสในการใช้บริการมา 2 ปีแล้ว หากยังไม่เร่งเดินหน้าก็ยิ่งเสียโอกาสต่อไปอีก นอกจากนี้ การที่ขสมก.ปรับไปใช้เอ็นจีวีทั้งหมดจะลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลง 1 ใน 3 หรือจาก 3,000 บาทต่อวันต่อคัน เหลือ 1,400 บาทต่อวันต่อคัน ส่วนต่าง 2,000 บาท
“โครงการเช่า เอ็นจีวี 4,000 คันมีความชัดเจนแล้วรัฐบาลหยิบมาใช้ได้เลย แต่หากจะปรับเหลือ 3,500 คันก็ไม่แปลก แต่ต้องดูว่าจะบริการได้ครอบคลุม 155 เส้นทางหรือไม่ และจะสามารถหมุนเวียนการใช้รถได้หรือไม่ "
ด้านนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ปัจจุบัน ขสมก.ขาดทุนเฉลี่ยประมาณ 400 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการสะสมมาตั้งแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบันมียอดขาดทุนสะสมกว่า 70,000 ล้านบาท โดยน้ำมันเป็นต้นทุนถึง 30% หรือประมาณ 250 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่หากปรับเป็นเอ็นจีวีต้นทุนจะลดเหลือ 80-90 ล้านบาทต่อเดือน โดยปัจจุบันมีรถประมาณ 3,500 คัน แบ่งเป็นรถที่อยู่ในสภาพชำรุด 600 คัน สภาพเก่า 2,000 คันดังนั้น จึงมีการทำแผนฟื้นฟู และจัดหารถเอ็นจีวี 4,000 คัน เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งจะมีระบบ E-Ticket และลดจำนวนพนักงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินพบว่า การใช้รถเอ็นจีวี 4,000 คัน จะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ 13 ล้านบาทต่อวันหรือ 5,022 ล้านบาทต่อปี
***รถร่วมยืนราคาเดิมชดเชยลงทุนเปลี่ยนNGV
นายโอภาส กล่าวว่า ได้หารือกับสมาคมผู้ประกอบการรถร่วมเอกชนและมินิบัสแล้วเรื่องการปรับลดค่าโดยสาร ซึ่งเอกชนขอคงการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันต่อไป ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในการชดเชยกรณีที่เอกชนต้องลงทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากน้ำมันดีเซลเป็นก๊าซเอ็นจีวี ตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งจะไม่เปลี่ยนอัตราค่าโดยสารเป็นเวลา 5 ปีโดยขณะนี้เอกชนใช้รถเอ็นจีวีเกือบ 100% แล้ว นอกจากนี้ยังมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มจากนโยบายเพิ่มค่าแรง 300 บาทของรัฐบาลอีกด้วย
“รถขสมก.ใช้น้ำมันเป็นหลัก ประมาณ 95% ใช้เอ็นจีวีเพียง 5% หรือประมาณ 100 คันเท่านั้น จึงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันมากกว่าเอกชน ส่วนการชดเชยรายได้จากรถเมล์ฟรีนั้น กระทรวงการคลังจะคำนวณจากต้นทุนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ค่าโดยสารใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ยังต้องใช้ตั๋วราคาเดิมไปก่อนจนถึงวันที่ 6 ก.ย.เนื่องจากจัดพิมพ์ไม่ทัน และจะใช้ตั๋วราคาเดียวกับค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย.”นายโอภาสกล่าว
***”ชัยรัตน์”ลาออก 3 บอร์ดเปิดทางการเมือง
นายชัยรัตน์ กล่าวว่า ได้แจ้งลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ด ขสมก. ประธานบอร์ด บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) และกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต่อ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งกำกับดูแล ขสมก.และนายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รมช.คมนาคมซึ่งกำกับดูแลแอร์พอร์ตลิ้งค์แล้ว โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 15ก.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งในส่วนของขสมก.นั้น บอร์ดที่เหลืออีก 7 คนก็จะลาออกด้วย
ทั้งนี้ การลาออกดังกล่าวเป็นมารยาท เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล บอร์ดรัฐวิสาหกิจก็ต้องลาออก เพื่อเปิดทางให้รมต.ที่กำกับดูแลพิจารณาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารงาน โดยที่ให้มีผล วันที่ 15 ก.ย.เพราะไม้ต้องการให้ถูกข้อครหาว่าทิ้งงาน หากในระหว่างนี้ทางกระทรวงคมนาคมต้องการจะให้ไปชี้แจงข้อมูล หรือให้หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ก็จะได้ดำเนินการให้เรียบร้อย
***สรรพสามิตโอดภาษีน้ำมันป่วนรายได้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า วันที่ 1 กันยายนจะหารือกับนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเพื่อสรุปตัวเลขการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในปี 2555 อีกครั้งหนึ่ง เพราะการขยายเวลาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในอัตรา 0.005 บาทต่อลิตรออกไปอีก 1 เดือนจากที่จะครบกำหนดในวันที่ 30 กันยายน ทำให้คาดการณ์รายได้ลำบาก เพราะยังไม่ชัดเจนด้วยว่า จะขยายออกไปต่อเนื่องอีกหรือไม่ เพราะภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันถือเป็นรายได้หลักของกรมสรรพสามิตและเป็นตัวแปรที่สำคัญ หากรัฐบาลต้องการให้การจัดเก็บภาษีดีเซลาสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการดูแลราคาน้ำมันในระบบ ก็คาดว่าน่าจะต่ออายุไปถึง 6 เดือน หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้รายได้ของกรมสรรพสามิตหายไป 5.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บรายได้ปี 2555 ไม่ถึง 4.50 แสนล้านบาท ตามประมาณการที่วางไว้ เพราะเป็นการคิดบนฐานภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลกลับมาที่ 5.30 บาทต่อลิตรเหมือนเดิม และในปีงบประมาณ 2554 คาดว่าจะจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 3.94 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ 3.87 แสนล้านบาท แต่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงจัดทำงบกลางปีที่ 4.25 แสนล้านบาท
“ภาษีน้ำมันจะเป็นตัวแปรที่สำคัญ หากยังไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การประมาณการรายได้ทั้งปีลำบากขึ้น ซึ่งก็ต้องมาคุยกันในสมมุติฐานต่างๆที่เป็นนโยบายรัฐบาล สิ่งที่กรมสรรพสามิตทำได้ในขณะนี้คือการประสานกับกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)อย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามการใช้พลังงานให้สอดคล้องกับตลาดโลกว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เพื่อนำมากำหนดนโยบายต่อไป”
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การผ่อนคลายกฎเกณฑ์และขั้นตอนปฏิบัติต่างๆให้กับผู้ผลิตแอธานอลที่นำมาใช้ในการผลิตแก๊สโซฮอลล์และได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล เนื่องจากปัจจุบันมีกำลังการผลิตเอธานอลทั้งสิ้น 500 ล้านลิตรต่อปี แต่นำมาใช้การผลิตเป็นเชื่อเพลิงถึง 450 ล้านลิตร และส่งออกเพียง 50 ล้านลิตรเท่านั้น จึงต้องหาช่องทางให้สามารถนำกำลังการผลิตส่วนเกินส่งออกได้มากขึ้น แต่ก็ต้องดูไม่ให้เอธานอลขาดตลาด จนกระทบต่อความมั่นคงของอาหารด้วย.
นายพงษ์ภาณุกล่าวถึงนโยบายการลดภาษีรถยนต์คันแรกว่า ได้หารือร่วมกับสรรพากรและมีข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว โดยจะเสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมช.คลัง ในวันที่ 1 กันยายนนี้ ก่อนจะประกาศออกมาเป็นนโยบายรัฐบาล หลักการน่าจะเป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้ใน 1 ปีเท่านั้น และเชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่สามาระกระตุ้นรายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนภาษีน้ำมันได้ เพราะเป็นอัตราภาษีน้อย โดยรถยนต์อีโคคาร์เก็บเพียง3% และรถกะบะเก็บในอัตรา 17%.
นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดได้พิจารณาเห็นชอบการปรับลดค่าโดยสารรถ ขสมก.ลงภายหลังราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2554
รถปรับอากาศ(ยูโร ทู) ลด 1 บาท จาก 12-24 บาท เหลือ 11-23 บาท รถปรับอากาศ(ครีม-น้ำเงิน)จาก 11-19 บาทเหลือ 10-18 บาท รถธรรมดา (ครีม-แดง) ลด 50 สตางค์ จาก 7 บาทเหลือ 6.50 บาท รถครีม-ขาว จาก 8 บาท เหลือ 7.50 บาท ซึ่งการปรับลดครั้งนี้ ทำให้รายได้ของ ขสมก.ลดลง 22 ล้านบาทต่อเดือน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันที่ลดลง 26 ล้านบาทต่อเดือนแล้ว ยังมีส่วนต่างอีก 4 ล้านบาทต่อเดือน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ในภาพรวม
ทั้งนี้ จากการประเมินผลกระทบราคาน้ำมันพบว่า ราคาน้ำมันทุก 2 บาท/ลิตร จะต้องมีการปรับอัตราค่าโดยสารรถปรับอากาศ 1 บาท และรถธรรมดา 40 สตางค์ จึงจะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งการปรับราคาน้ำมันดีเซลลง 3 บาท/ลิตรครั้งนี้ ขสมก.ปรับลดค่าโดยสารลงมาเพียง 1 บาท และ 50 สตางค์ จึงเท่ากับว่ายังมีส่วนต่างจากการให้บริการอยู่ส่วนรถร่วมบริการเอกชนจะลดค่าโดยสารด้วยหรือไม่ เป็นสิทธิ์ของเอกชน เนื่องจากอัตราที่เอกชนจัดเก็บนั้นยังอยู่ในกรอบโครงสร้างที่ตกลงกันไว้ และการปรับลดค่าโดยสารครั้งนี้ก็เพียงชั่วคราวตามนโยบายของรัฐบาลเรื่องราคาน้ำมัน
***ยันเช่าเมล์NGV 4,000 คันดีสุด
โดยภายหลังการประชุมวานนี้ (31 ส.ค.) กรณีที่พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ขสมก.ปรับลดการจัดหารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นเชื้อเพลิง (NGV) จำนวน 4,000 คันเหลือ 3,500 คันนั้น เห็นว่า การจัดหารถใหม่ของ ขสมก.นั้นไม่จำเป็นต้องศึกษาใหม่แล้วเนื่องจากข้อสรุปเดิมมีความชัดเจนผ่านการกลั่นกรองของคณะทำงาน,บอร์ดขสมก. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลังแล้ว โดยเห็นว่า จำนวน 4,000 คันเหมาะสมเนื่องจากครอบคลุมการเดินรถ 155 เส้นทาง และวิธีการเช่ามีข้อดีและคุ้มค่า เพราะไม่เป็นภาระและรับประกันว่าจะมีรถบริการ 4,000 คันในสภาพดีทุกวัน
ส่วนแนวคิดที่จะให้ประกอบรถภายในประเทศ ต้องดูว่าขีดความสามารถในการประกอบรถภายในประเทศมีเพียงพอหรือไม่ ต้องดูเวลาที่ใช้ในการผลิต กับความต้องการใช้รถว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ขณะที่แผนของ 4,000 คัน จะจัดหาครบภายใน 2 ปี เก็บค่าโดยสาร 30 บาทขึ้นได้ทั้งวัน เปรียบเทียบกับปัจจุบันถ้าใช้บริการรถปรับอากาศมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80 บาทต่อวัน รถร้อนเฉลี่ย 40-50 บาทต่อวัน ถึงวันนี้คนกทม.เสียโอกาสในการใช้บริการมา 2 ปีแล้ว หากยังไม่เร่งเดินหน้าก็ยิ่งเสียโอกาสต่อไปอีก นอกจากนี้ การที่ขสมก.ปรับไปใช้เอ็นจีวีทั้งหมดจะลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลง 1 ใน 3 หรือจาก 3,000 บาทต่อวันต่อคัน เหลือ 1,400 บาทต่อวันต่อคัน ส่วนต่าง 2,000 บาท
“โครงการเช่า เอ็นจีวี 4,000 คันมีความชัดเจนแล้วรัฐบาลหยิบมาใช้ได้เลย แต่หากจะปรับเหลือ 3,500 คันก็ไม่แปลก แต่ต้องดูว่าจะบริการได้ครอบคลุม 155 เส้นทางหรือไม่ และจะสามารถหมุนเวียนการใช้รถได้หรือไม่ "
ด้านนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ปัจจุบัน ขสมก.ขาดทุนเฉลี่ยประมาณ 400 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นการสะสมมาตั้งแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบันมียอดขาดทุนสะสมกว่า 70,000 ล้านบาท โดยน้ำมันเป็นต้นทุนถึง 30% หรือประมาณ 250 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่หากปรับเป็นเอ็นจีวีต้นทุนจะลดเหลือ 80-90 ล้านบาทต่อเดือน โดยปัจจุบันมีรถประมาณ 3,500 คัน แบ่งเป็นรถที่อยู่ในสภาพชำรุด 600 คัน สภาพเก่า 2,000 คันดังนั้น จึงมีการทำแผนฟื้นฟู และจัดหารถเอ็นจีวี 4,000 คัน เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งจะมีระบบ E-Ticket และลดจำนวนพนักงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินพบว่า การใช้รถเอ็นจีวี 4,000 คัน จะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ 13 ล้านบาทต่อวันหรือ 5,022 ล้านบาทต่อปี
***รถร่วมยืนราคาเดิมชดเชยลงทุนเปลี่ยนNGV
นายโอภาส กล่าวว่า ได้หารือกับสมาคมผู้ประกอบการรถร่วมเอกชนและมินิบัสแล้วเรื่องการปรับลดค่าโดยสาร ซึ่งเอกชนขอคงการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันต่อไป ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในการชดเชยกรณีที่เอกชนต้องลงทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากน้ำมันดีเซลเป็นก๊าซเอ็นจีวี ตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งจะไม่เปลี่ยนอัตราค่าโดยสารเป็นเวลา 5 ปีโดยขณะนี้เอกชนใช้รถเอ็นจีวีเกือบ 100% แล้ว นอกจากนี้ยังมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มจากนโยบายเพิ่มค่าแรง 300 บาทของรัฐบาลอีกด้วย
“รถขสมก.ใช้น้ำมันเป็นหลัก ประมาณ 95% ใช้เอ็นจีวีเพียง 5% หรือประมาณ 100 คันเท่านั้น จึงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันมากกว่าเอกชน ส่วนการชดเชยรายได้จากรถเมล์ฟรีนั้น กระทรวงการคลังจะคำนวณจากต้นทุนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม ค่าโดยสารใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ยังต้องใช้ตั๋วราคาเดิมไปก่อนจนถึงวันที่ 6 ก.ย.เนื่องจากจัดพิมพ์ไม่ทัน และจะใช้ตั๋วราคาเดียวกับค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย.”นายโอภาสกล่าว
***”ชัยรัตน์”ลาออก 3 บอร์ดเปิดทางการเมือง
นายชัยรัตน์ กล่าวว่า ได้แจ้งลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ด ขสมก. ประธานบอร์ด บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) และกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต่อ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งกำกับดูแล ขสมก.และนายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รมช.คมนาคมซึ่งกำกับดูแลแอร์พอร์ตลิ้งค์แล้ว โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 15ก.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งในส่วนของขสมก.นั้น บอร์ดที่เหลืออีก 7 คนก็จะลาออกด้วย
ทั้งนี้ การลาออกดังกล่าวเป็นมารยาท เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล บอร์ดรัฐวิสาหกิจก็ต้องลาออก เพื่อเปิดทางให้รมต.ที่กำกับดูแลพิจารณาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารงาน โดยที่ให้มีผล วันที่ 15 ก.ย.เพราะไม้ต้องการให้ถูกข้อครหาว่าทิ้งงาน หากในระหว่างนี้ทางกระทรวงคมนาคมต้องการจะให้ไปชี้แจงข้อมูล หรือให้หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ก็จะได้ดำเนินการให้เรียบร้อย
***สรรพสามิตโอดภาษีน้ำมันป่วนรายได้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า วันที่ 1 กันยายนจะหารือกับนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเพื่อสรุปตัวเลขการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในปี 2555 อีกครั้งหนึ่ง เพราะการขยายเวลาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในอัตรา 0.005 บาทต่อลิตรออกไปอีก 1 เดือนจากที่จะครบกำหนดในวันที่ 30 กันยายน ทำให้คาดการณ์รายได้ลำบาก เพราะยังไม่ชัดเจนด้วยว่า จะขยายออกไปต่อเนื่องอีกหรือไม่ เพราะภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันถือเป็นรายได้หลักของกรมสรรพสามิตและเป็นตัวแปรที่สำคัญ หากรัฐบาลต้องการให้การจัดเก็บภาษีดีเซลาสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการดูแลราคาน้ำมันในระบบ ก็คาดว่าน่าจะต่ออายุไปถึง 6 เดือน หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้รายได้ของกรมสรรพสามิตหายไป 5.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บรายได้ปี 2555 ไม่ถึง 4.50 แสนล้านบาท ตามประมาณการที่วางไว้ เพราะเป็นการคิดบนฐานภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลกลับมาที่ 5.30 บาทต่อลิตรเหมือนเดิม และในปีงบประมาณ 2554 คาดว่าจะจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 3.94 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ 3.87 แสนล้านบาท แต่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงจัดทำงบกลางปีที่ 4.25 แสนล้านบาท
“ภาษีน้ำมันจะเป็นตัวแปรที่สำคัญ หากยังไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การประมาณการรายได้ทั้งปีลำบากขึ้น ซึ่งก็ต้องมาคุยกันในสมมุติฐานต่างๆที่เป็นนโยบายรัฐบาล สิ่งที่กรมสรรพสามิตทำได้ในขณะนี้คือการประสานกับกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)อย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามการใช้พลังงานให้สอดคล้องกับตลาดโลกว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เพื่อนำมากำหนดนโยบายต่อไป”
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การผ่อนคลายกฎเกณฑ์และขั้นตอนปฏิบัติต่างๆให้กับผู้ผลิตแอธานอลที่นำมาใช้ในการผลิตแก๊สโซฮอลล์และได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล เนื่องจากปัจจุบันมีกำลังการผลิตเอธานอลทั้งสิ้น 500 ล้านลิตรต่อปี แต่นำมาใช้การผลิตเป็นเชื่อเพลิงถึง 450 ล้านลิตร และส่งออกเพียง 50 ล้านลิตรเท่านั้น จึงต้องหาช่องทางให้สามารถนำกำลังการผลิตส่วนเกินส่งออกได้มากขึ้น แต่ก็ต้องดูไม่ให้เอธานอลขาดตลาด จนกระทบต่อความมั่นคงของอาหารด้วย.
นายพงษ์ภาณุกล่าวถึงนโยบายการลดภาษีรถยนต์คันแรกว่า ได้หารือร่วมกับสรรพากรและมีข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว โดยจะเสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมช.คลัง ในวันที่ 1 กันยายนนี้ ก่อนจะประกาศออกมาเป็นนโยบายรัฐบาล หลักการน่าจะเป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้ใน 1 ปีเท่านั้น และเชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่สามาระกระตุ้นรายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนภาษีน้ำมันได้ เพราะเป็นอัตราภาษีน้อย โดยรถยนต์อีโคคาร์เก็บเพียง3% และรถกะบะเก็บในอัตรา 17%.