ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวภูมิภาค-ครม.หว่าน 8,174 ล้านบาท เกทับบลัพแหลกรัฐบาล "มาร์ค" เพิ่มเงินช่วยเหลือทั้งข้าว พืชไร ประมง ปศุสัตว์ พร้อมมอบก ชภอ. คุมเงิน หวั่นทุจริต ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดยังวิกฤต ทั้งจันทบุรี สุโขทัย และพังงา
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (30 ส.ค.)ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ อัตรา และขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2554 เป็นกรณีพิเศษ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2554 เฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านพืชกับกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านประมงกับกรมประมง และด้านปศุสัตว์กับกรมปศุสัตว์
สำหรับอัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีพิเศษแต่ละด้าน ในกรอบวงเงินการช่วยเหลือรวม 8,174.5458 ล้านบาทโดยแบ่งเป็น 1.ด้านพืช คิดเป็นเงิน 7,741.8994 ล้านบาท แยกเป็นในส่วนของข้าวที่ปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือจากเดิมอัตราไร่ละ 606 บาท เป็นอัตราไร่ละ 2,222 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ 3,150 บาท พืชสวนและอื่นๆ อัตราไร่ละ 5,098 บาท กรณีเสียหายสิ้นเชิงช่วยเหลือเกษตรกรในอัตราร้อยละ 55 ของต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยต่อไร่ ปี 2554 และช่วยเหลือตามพื้นที่ที่เสียหายจริงร้อยละ 100 กรณีพืชสวนและอื่นๆ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต แต่ไม่ตาย และยังอยู่ในสภาพฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้ให้ช่วยเหลืออัตราไร่ละ 2,549 บาท กรณีพื้นที่การเกษตรถูกดินทับถม ได้รับความเสียหายให้ช่วยเหลืออัตราไร่ละ 7,000 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่
ในด้านประมง คิดเป็นเงิน 331.4864 ล้านบาท แยกเป็นในส่วนของปลาทุกชนิด อัตราไร่ละ 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง ปู หอย อัตราไร่ละ 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชัง บ่อซีเมนต์ อื่นๆ อัตราตารางเมตรละ 315 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร ทั้งนี้ การช่วยเหลือตามอัตราและเกณฑ์ข้างต้น ในกรณีพื้นที่ซึ่งได้รับความเสียหายที่เกินจากเกณฑ์การช่วยเหลือ ให้ได้รับความช่วยเหลืออีกครึ่งหนึ่งของพื้นที่ส่วนที่เกินนั้น
ส่วนด้านปศุสัตว์ คิดเป็นเงิน 101.1600 ล้านบาท ช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปี 2552 ในกรณีได้รับความเสียหายที่เกินจากการช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อย ให้ได้รับความช่วยเหลืออีกครึ่งหนึ่งของความเสียหายส่วนที่เกินนั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรเป็นไปอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ถูกต้อง จึงเห็นควรให้คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (กชภอ.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบความเสียหายด้านการเกษตรระดับหมู่บ้าน ที่มีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกรรมการ ทำหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ตามแบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (แบบ กษ 01) รวมทั้งจัดทำเวทีประชาคม เพื่อตรวจสอบข้อมูลความเสียหายนั้น และรายงานให้ กชภอ. พิจารณาต่อไป
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดยังไม่มีคลี่คลาย ขณะที่บางพื้นที่กลับมีแนวโน้มท่วมหนักมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่ จ.จันทบุรี จากฝนที่ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาสระบาปไหลเข้าท่วมบ้านเรือน และสวนผลไม้เป็นพื้นที่วงกว้าง และทำให้ 2 อำเภอ คือ อ.ขลุง และ อ.มะขาม
ส่วนที่ จ.สุโขทัย น้ำป่าที่ไหลหลากจากแนวเทือกเขาแม่คำมุ้งในพื้นที่ ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นแนวเทือกเขาเชื่อมต่อระหว่าง จ.สุโขทัยและอุตรดิตถ์ ได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ หมู่ที่ 3,4,11,14 ของ ต.บ้านตึก และหมู่ที่ 1 ต.ดงคู่ อ.ศรีสัชนาลัย จนทำให้กระแสน้ำที่รุนแรงซัดถนนสายบ้านตึก-ป่างิ้ว ขาดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ รวมทั้งกระแสน้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏรบางส่วนมีชาวบ้านได้รับผลกระทบเบื้องต้นถึง 200 ครัวเรือน พื้นที่นาข้าว สวนส้ม ไร่ลางสาดและลองกอง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ อีกทั้งโรงเรียนบ้านตึก ต้องหยุดการเรียนการสอน ขณะเดียวกันยังมีสิ่งสาธารณูปโภคทั้งท่อประปาหมู่บ้านและถนนในหมู่บ้านบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยทางอำเภอศรีสัชนาลัย ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วนแล้ว
นายจินติศักดิ์ แสงเมือง นายก อบต.ไกรนอก พร้อมนายขุนตาล เขจร ปลัดอำเภอกงไกรลาศ และคณะ ได้ลงเรือท้องแบนนำข้าวสารกับน้ำดื่มออกแจกช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่บ้านหนองโนน หมู่ 8 ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ ซึ่งเป็นพื้นที่ถูกตัดขาดจากภายนอกมีชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก 39 ครัวเรือน โดยหมู่บ้านหนองโนน ซึ่งอยู่ติดกับ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ถูกน้ำท่วมขังมานาน 3 เดือนแล้วชาวบ้านกว่า 120 คนเดือดร้อนหนัก ทั้งอาหาร ไฟฟ้า น้ำประปาไม่มีใช้ ส่วนถนนปากทางเข้าหมู่บ้านก็ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตรทำให้ชาวบ้านหลายครอบครัวต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัยรวมทั้งนำสัตว์เลี้ยงไปด้วย
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอของ จ.พังงา ประกอบด้วย อ.ตะกั่วป่า อ.คุระบุรี และ อ.กะปง ขณะนี้น้ำเริ่มคลี่คลายบ้างแล้ว โดยระดับน้ำเริ่มลดระดับลงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ฝนได้หยุดตก ยกเว้นในพื้นที่ อ.ตะกั่วป่า ที่แม้ว่าระดับน้ำจะลดระดับลง แต่เนื่องจากพื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำทำให้น้ำยังคงท่วมขังสูงประมาณ 1 เมตร โดยเฉพาะที่บริเวณเขตเทศบาลตลาดเก่าระดับสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านกว่า 1,000 ครัวเรือนต้องขึ้นไปอาศัยอยู่บนชั้น 2 ของบ้านเพื่อรอความช่วยเหลือ ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นได้เร่งระดมกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว โดยเฉพาะการนำอาหารและเครื่องบริโภคเข้าไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (30 ส.ค.)ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ อัตรา และขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2554 เป็นกรณีพิเศษ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2554 เฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านพืชกับกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านประมงกับกรมประมง และด้านปศุสัตว์กับกรมปศุสัตว์
สำหรับอัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีพิเศษแต่ละด้าน ในกรอบวงเงินการช่วยเหลือรวม 8,174.5458 ล้านบาทโดยแบ่งเป็น 1.ด้านพืช คิดเป็นเงิน 7,741.8994 ล้านบาท แยกเป็นในส่วนของข้าวที่ปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือจากเดิมอัตราไร่ละ 606 บาท เป็นอัตราไร่ละ 2,222 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ 3,150 บาท พืชสวนและอื่นๆ อัตราไร่ละ 5,098 บาท กรณีเสียหายสิ้นเชิงช่วยเหลือเกษตรกรในอัตราร้อยละ 55 ของต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยต่อไร่ ปี 2554 และช่วยเหลือตามพื้นที่ที่เสียหายจริงร้อยละ 100 กรณีพืชสวนและอื่นๆ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต แต่ไม่ตาย และยังอยู่ในสภาพฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้ให้ช่วยเหลืออัตราไร่ละ 2,549 บาท กรณีพื้นที่การเกษตรถูกดินทับถม ได้รับความเสียหายให้ช่วยเหลืออัตราไร่ละ 7,000 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่
ในด้านประมง คิดเป็นเงิน 331.4864 ล้านบาท แยกเป็นในส่วนของปลาทุกชนิด อัตราไร่ละ 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง ปู หอย อัตราไร่ละ 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชัง บ่อซีเมนต์ อื่นๆ อัตราตารางเมตรละ 315 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร ทั้งนี้ การช่วยเหลือตามอัตราและเกณฑ์ข้างต้น ในกรณีพื้นที่ซึ่งได้รับความเสียหายที่เกินจากเกณฑ์การช่วยเหลือ ให้ได้รับความช่วยเหลืออีกครึ่งหนึ่งของพื้นที่ส่วนที่เกินนั้น
ส่วนด้านปศุสัตว์ คิดเป็นเงิน 101.1600 ล้านบาท ช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปี 2552 ในกรณีได้รับความเสียหายที่เกินจากการช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อย ให้ได้รับความช่วยเหลืออีกครึ่งหนึ่งของความเสียหายส่วนที่เกินนั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรเป็นไปอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ถูกต้อง จึงเห็นควรให้คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (กชภอ.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบความเสียหายด้านการเกษตรระดับหมู่บ้าน ที่มีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกรรมการ ทำหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ตามแบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (แบบ กษ 01) รวมทั้งจัดทำเวทีประชาคม เพื่อตรวจสอบข้อมูลความเสียหายนั้น และรายงานให้ กชภอ. พิจารณาต่อไป
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดยังไม่มีคลี่คลาย ขณะที่บางพื้นที่กลับมีแนวโน้มท่วมหนักมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่ จ.จันทบุรี จากฝนที่ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาสระบาปไหลเข้าท่วมบ้านเรือน และสวนผลไม้เป็นพื้นที่วงกว้าง และทำให้ 2 อำเภอ คือ อ.ขลุง และ อ.มะขาม
ส่วนที่ จ.สุโขทัย น้ำป่าที่ไหลหลากจากแนวเทือกเขาแม่คำมุ้งในพื้นที่ ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นแนวเทือกเขาเชื่อมต่อระหว่าง จ.สุโขทัยและอุตรดิตถ์ ได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ หมู่ที่ 3,4,11,14 ของ ต.บ้านตึก และหมู่ที่ 1 ต.ดงคู่ อ.ศรีสัชนาลัย จนทำให้กระแสน้ำที่รุนแรงซัดถนนสายบ้านตึก-ป่างิ้ว ขาดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ รวมทั้งกระแสน้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏรบางส่วนมีชาวบ้านได้รับผลกระทบเบื้องต้นถึง 200 ครัวเรือน พื้นที่นาข้าว สวนส้ม ไร่ลางสาดและลองกอง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ อีกทั้งโรงเรียนบ้านตึก ต้องหยุดการเรียนการสอน ขณะเดียวกันยังมีสิ่งสาธารณูปโภคทั้งท่อประปาหมู่บ้านและถนนในหมู่บ้านบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยทางอำเภอศรีสัชนาลัย ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วนแล้ว
นายจินติศักดิ์ แสงเมือง นายก อบต.ไกรนอก พร้อมนายขุนตาล เขจร ปลัดอำเภอกงไกรลาศ และคณะ ได้ลงเรือท้องแบนนำข้าวสารกับน้ำดื่มออกแจกช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่บ้านหนองโนน หมู่ 8 ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ ซึ่งเป็นพื้นที่ถูกตัดขาดจากภายนอกมีชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก 39 ครัวเรือน โดยหมู่บ้านหนองโนน ซึ่งอยู่ติดกับ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ถูกน้ำท่วมขังมานาน 3 เดือนแล้วชาวบ้านกว่า 120 คนเดือดร้อนหนัก ทั้งอาหาร ไฟฟ้า น้ำประปาไม่มีใช้ ส่วนถนนปากทางเข้าหมู่บ้านก็ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตรทำให้ชาวบ้านหลายครอบครัวต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัยรวมทั้งนำสัตว์เลี้ยงไปด้วย
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอของ จ.พังงา ประกอบด้วย อ.ตะกั่วป่า อ.คุระบุรี และ อ.กะปง ขณะนี้น้ำเริ่มคลี่คลายบ้างแล้ว โดยระดับน้ำเริ่มลดระดับลงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ฝนได้หยุดตก ยกเว้นในพื้นที่ อ.ตะกั่วป่า ที่แม้ว่าระดับน้ำจะลดระดับลง แต่เนื่องจากพื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำทำให้น้ำยังคงท่วมขังสูงประมาณ 1 เมตร โดยเฉพาะที่บริเวณเขตเทศบาลตลาดเก่าระดับสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านกว่า 1,000 ครัวเรือนต้องขึ้นไปอาศัยอยู่บนชั้น 2 ของบ้านเพื่อรอความช่วยเหลือ ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นได้เร่งระดมกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว โดยเฉพาะการนำอาหารและเครื่องบริโภคเข้าไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน