ศูนย์ข่าวภูมิภาค - สุโขทัยยังอ่วมชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ผู้ว่าฯประชุมด่วนหาทางช่วยเหลือ สั่ง นอภ.ศรีสำโรงตั้งคณะกรรมการสอบ ผญบ.หาข้อเท็จจริงฐานปฏิเสธรับความช่วยเหลือจนชาวบ้านเดือดร้อนหนัก "แม่ฮ่องสอน"เตรียมหาพื้นที่แห่งใหม่รองรับชาวบ้านห้วยโผ หลังพบรอยแยกภูเขาอยู่ติดหมู่บ้าน "ตาก"น้ำที่ท่วมขังมากว่า 5 วันเริ่มส่งกลิ่นเหม็น ผู้ว่าฯสั่งเร่งสูบออก อีสานหลายจังหวัดอ่วม น้ำโขงทะลักท่วม รร.มัธยมฯโขงเจียมจมบาดาล สั่งปิดเรียนไม่มีกำหนด สธ.เผย 17 วันป่วยกว่า 15,000 รายเสียชีวิต 26 ศพ
วานนี้ (10 ส.ค.)ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสุโขทัย นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยคณะนายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดประชุมเร่งด่วนเพื่อกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ทั้ง 9 อำเภอ 61 ตำบล 397 หมู่บ้าน
นายจักริน กล่าวว่า ขณะนี้มีราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 56,000 คนและมีนาข้าวเสียหายอย่างสิ้นเชิงแล้วกว่า 130,000 ไร่ รวมทั้งมีโค-กระบือและเป็ด รวมกว่า 100,000 ตัว ได้รับผลกระทบหนัก ไม่มีที่จะเลี้ยง เพราะพื้นที่ถูกน้ำท่วมและกระแสน้ำไหลแรง
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม รวมทั้งความเดือดร้อนของชาวบ้านเพื่อจะได้เร่งหาทางช่วยเหลือ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้นต่อไป
พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้นายโกศล วิทยาสุวรรณพร นายอำเภอศรีสำโรง ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.วังทอง อ.ศรีสำโรง หลังก่อนหน้านี้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ได้ปฏิเสธการช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชน โดยบอกว่า ไม่ต้องการ เพราะมีคนมาช่วยเยอะแล้ว ทั้งๆ ที่ชาวบ้านกำลังเดือดร้อนอย่างหนักและยังไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือ จนชาวบ้านมาร้องเรียนกับผู้สื่อข่าวและได้ต่อว่าผู้นำชุมชนของตนเองอย่างมาก
**แม่ฮ่องสอนหาพื้นที่รองรับชาวบ้านห้วยโผ
ด้านนายชลอศักดิ์ มากชู ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวถึงกรณีที่พบรอยแยกของภูเขาที่บ้านห้วยโผ หมู่ 6 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียงว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแล้วว่าเป็นการทรุดตัวของภูเขามีความลึก 1.50 ซม.ยาวประมาณ 200 เมตร อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านห้วยโผ ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง ภูเขาที่มีรอยแยกตัวดังกล่าวนั้นมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันประมาณ 80 องศา อยู่ด้านหลังของหมู่บ้านห้วยโผ ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 300 เมตร สภาพภูเขาเป็นดินทรายโอกาสที่จะทรุดตัวทะลายลงมาพื้นล่างเมื่อได้รับน้ำฝนมีความเป็นไปได้สูงมาก
นายชลอศักดิ์ กล่าวว่า ภูเขาที่พบรอยแยกอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติแม่ยวมฝั่งขวา พื้นที่เดิมเป็นป่าสักและถูกบุกรุกทำไร่ข้าวโพดจากชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้น การฟื้นฟูโดยเร่งด่วนจะต้องนำหญ้าแฝกเข้ามาปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายและปลูกต้นไม้ที่มีรากเหนี่ยวยึดหน้าดินในการป้องกันการพังทลาย ขณะเดียวกัน จะต้องสำรวจหาพื้นที่แห่งใหม่ที่เหมาะสมให้ราษฎรได้ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่เพื่อทดแทนพื้นทีเดิมด้วย
"ล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้สั่งให้หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฯ เข้าไปในพื้นที่เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับเหตุการณ์ดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว"
**น้ำท่วมตากเร่มเน่าเหม็นผู้ว่าฯสั่งเร่งสูบทิ้ง
ที่ จ.ตาก หลังจากแม่น้ำวังล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก มานานกว่า 5 วันขณะนี้ระดับน้ำลดลงเกือบปกติ ชาวบ้านต่างย้ายสิ่งของเข้าบ้านอีกครั้ง ในขณะที่เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่เนื่องจากตลิ่งแนวกันน้ำมีระดับสูงกว่า โดยน้ำเริ่มส่งกลิ่นเหม็นเพราะมีวัชพืชเน่าจำนวนมาก ต้นกล้วยไข่จำนวนมากแช่น้ำนานหลายวันทำให้บางส่วนใบเหลืองล้มตายบ้างแล้ว ส่วนนาข้าวและไร่ข้าวโพดก็ได้รับความเสียหายจำนวนมาก
กรณีดังกล่าวนายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตากได้สั่งระดมเครื่องสูบน้ำจากชลประทานตาก อบจ.ตาก และ อบต.ในพื้นที่เข้าไปสูบน้ำที่ท่วมขังเพื่อช่วยเหลือพืชผลทางการเกษตรที่แช่ในน้ำ รวมทั้งสูบน้ำเน่าออกจากพื้นที่ด้วย ในขณะที่โรงเรียนบ้านยางโองวิทยา ต.แม่สลิด ขณะนี้ยังปิดเนื่องจากบางส่วนถูกน้ำท่วมเสียหาย คาดว่า จะเปิดเรียนได้ในวันจันทร์ที่จะถึง
นายสามารถ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วม อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก เริ่มคลี่คลายจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้วโดยระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจเบื้องต้นมีพื้นที่ได้รับความเสียหายกว่า 2 หมื่นไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 2,000 ครัวเรือน
**รร.มัธยมโขงเจียมสั่งปิดจนกว่าน้ำโขงลด
ส่วนสถานการณ์น้ำโขงวานนี้ได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่หลายในจังหวัดทางภาคอีสานแล้ว โดยเฉพาะที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้ล้นตลิ่งไหลทะลักเข้าท่วมอาคารเรียนโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 669 คนทางโรงเรียนต้องสั่งปิดการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค.เป็นต้นไปจนกว่าระดับน้ำจะลดลง
นายเกษมสันต์ มณีภาค ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค.น้ำเริ่มไหลเข้ามาภายในโรงเรียน แต่ยังคงทำการเรียนการสอนได้ แต่พอเช้าวานนี้ น้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีฝนตกลงมาในพื้นที่ตลอดทั้งคืน ประกอบกับมีน้ำโขงหนุนทำให้น้ำระบายลงสู่แม่น้ำโขงไม่ได้ จึงเอ่อล้นไหลเข้าท่วมห้องเรียนชั้นล่างทั้งหมด จึงสั่งหยุดเรียนเพื่อให้ครูและเจ้าหน้าที่ช่วยกันขนย้ายสิ่งของขึ้นมาอยู่ในที่สูง
"เบื้องต้นให้หยุดเรียนไปจนถึงปลายสัปดาห์นี้ หากสัปดาห์หน้าน้ำยังไม่ลดลง ก็อาจต้องปิดการเรียนการสอนต่อ และจะทำการเปิดสอนชดเชยหลังน้ำกลับสู่ภาวะปกติแล้ว"
**สกลนครอ่วม16อำเภอ-เสียชีวิตแล้ว
ด้านนางวิตยา ประสงค์วัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เผยว่า ยอดความเสียหายของ จ.สกลนคร ที่ได้รับจากพายุโซนร้อนนกเตน ล่าสุดได้ประกาศเขตภัยพิบัติไปแล้ว 16 อำเภอ อีก 2 อำเภอคือ อ.เต่างอย และ อ.นิคมน้ำอูน กำลังออกสำรวจสภาพพื้นที่ เพื่อรายงานว่าประสบภัยพิบัติหรือไม่
ส่วนความเสียหายเท่าที่ได้รับรายงานเบื้องต้นมีราษฏรได้รับความเดือดร้อน 40,000 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 206 ,172 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย อยู่ในพื้นที่ อ.วาริชภูมิ และ อ.ส่องดาว โดยทั้ง 2 เสียชีวิตขณะออกไปหาปลาแล้วเกิดน้ำท่วมประสบอุบัติเหตุจากกระแสน้ำไหลแรงจมน้ำเสียชีวิตทั้ง 2 ศพ
**เผยเครียดจัดต้องตามดูแลพิเศษ52ราย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในรอบ 17 วันหลังน้ำท่วมกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งทางเรือและทางรถยนต์ออกให้บริการผู้ประสบภัยจำนวน 120 ทีมมีผู้เจ็บป่วยกว่า 15,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด โรคผิวหนัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 12 ราย อยู่ที่ จ.แม่ฮ่องสอนทั้งหมด มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 26 รายใน 8 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ สุโขทัย สกลนคร อุดรธานี เพชรบูรณ์ นครพนม แม่ฮ่องสอน และแพร่
ส่วนการดูแลด้านจิตใจกรมสุขภาพจิตได้ร่วมกับสำนักงานสาธรณสุขจังหวัดประเมินปัญหาสุขภาพจิตผู้ประสบภัยใน อ.เมืองลำพูน อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย และที่ ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย รวมทั้งหมด 748 รายพบมีความเครียดสูง 51 ราย ซึมเศร้า 99 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22 รายทั้งหมดนี้ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษรวม 52 รายเพื่อป้องกันฆ่าตัวตาย
วานนี้ (10 ส.ค.)ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสุโขทัย นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยคณะนายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดประชุมเร่งด่วนเพื่อกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ทั้ง 9 อำเภอ 61 ตำบล 397 หมู่บ้าน
นายจักริน กล่าวว่า ขณะนี้มีราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 56,000 คนและมีนาข้าวเสียหายอย่างสิ้นเชิงแล้วกว่า 130,000 ไร่ รวมทั้งมีโค-กระบือและเป็ด รวมกว่า 100,000 ตัว ได้รับผลกระทบหนัก ไม่มีที่จะเลี้ยง เพราะพื้นที่ถูกน้ำท่วมและกระแสน้ำไหลแรง
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม รวมทั้งความเดือดร้อนของชาวบ้านเพื่อจะได้เร่งหาทางช่วยเหลือ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้นต่อไป
พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้นายโกศล วิทยาสุวรรณพร นายอำเภอศรีสำโรง ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.วังทอง อ.ศรีสำโรง หลังก่อนหน้านี้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ได้ปฏิเสธการช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชน โดยบอกว่า ไม่ต้องการ เพราะมีคนมาช่วยเยอะแล้ว ทั้งๆ ที่ชาวบ้านกำลังเดือดร้อนอย่างหนักและยังไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือ จนชาวบ้านมาร้องเรียนกับผู้สื่อข่าวและได้ต่อว่าผู้นำชุมชนของตนเองอย่างมาก
**แม่ฮ่องสอนหาพื้นที่รองรับชาวบ้านห้วยโผ
ด้านนายชลอศักดิ์ มากชู ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวถึงกรณีที่พบรอยแยกของภูเขาที่บ้านห้วยโผ หมู่ 6 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียงว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแล้วว่าเป็นการทรุดตัวของภูเขามีความลึก 1.50 ซม.ยาวประมาณ 200 เมตร อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านห้วยโผ ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง ภูเขาที่มีรอยแยกตัวดังกล่าวนั้นมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันประมาณ 80 องศา อยู่ด้านหลังของหมู่บ้านห้วยโผ ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 300 เมตร สภาพภูเขาเป็นดินทรายโอกาสที่จะทรุดตัวทะลายลงมาพื้นล่างเมื่อได้รับน้ำฝนมีความเป็นไปได้สูงมาก
นายชลอศักดิ์ กล่าวว่า ภูเขาที่พบรอยแยกอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติแม่ยวมฝั่งขวา พื้นที่เดิมเป็นป่าสักและถูกบุกรุกทำไร่ข้าวโพดจากชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้น การฟื้นฟูโดยเร่งด่วนจะต้องนำหญ้าแฝกเข้ามาปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายและปลูกต้นไม้ที่มีรากเหนี่ยวยึดหน้าดินในการป้องกันการพังทลาย ขณะเดียวกัน จะต้องสำรวจหาพื้นที่แห่งใหม่ที่เหมาะสมให้ราษฎรได้ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่เพื่อทดแทนพื้นทีเดิมด้วย
"ล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้สั่งให้หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฯ เข้าไปในพื้นที่เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับเหตุการณ์ดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว"
**น้ำท่วมตากเร่มเน่าเหม็นผู้ว่าฯสั่งเร่งสูบทิ้ง
ที่ จ.ตาก หลังจากแม่น้ำวังล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก มานานกว่า 5 วันขณะนี้ระดับน้ำลดลงเกือบปกติ ชาวบ้านต่างย้ายสิ่งของเข้าบ้านอีกครั้ง ในขณะที่เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่เนื่องจากตลิ่งแนวกันน้ำมีระดับสูงกว่า โดยน้ำเริ่มส่งกลิ่นเหม็นเพราะมีวัชพืชเน่าจำนวนมาก ต้นกล้วยไข่จำนวนมากแช่น้ำนานหลายวันทำให้บางส่วนใบเหลืองล้มตายบ้างแล้ว ส่วนนาข้าวและไร่ข้าวโพดก็ได้รับความเสียหายจำนวนมาก
กรณีดังกล่าวนายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตากได้สั่งระดมเครื่องสูบน้ำจากชลประทานตาก อบจ.ตาก และ อบต.ในพื้นที่เข้าไปสูบน้ำที่ท่วมขังเพื่อช่วยเหลือพืชผลทางการเกษตรที่แช่ในน้ำ รวมทั้งสูบน้ำเน่าออกจากพื้นที่ด้วย ในขณะที่โรงเรียนบ้านยางโองวิทยา ต.แม่สลิด ขณะนี้ยังปิดเนื่องจากบางส่วนถูกน้ำท่วมเสียหาย คาดว่า จะเปิดเรียนได้ในวันจันทร์ที่จะถึง
นายสามารถ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วม อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก เริ่มคลี่คลายจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้วโดยระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจเบื้องต้นมีพื้นที่ได้รับความเสียหายกว่า 2 หมื่นไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 2,000 ครัวเรือน
**รร.มัธยมโขงเจียมสั่งปิดจนกว่าน้ำโขงลด
ส่วนสถานการณ์น้ำโขงวานนี้ได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่หลายในจังหวัดทางภาคอีสานแล้ว โดยเฉพาะที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้ล้นตลิ่งไหลทะลักเข้าท่วมอาคารเรียนโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 669 คนทางโรงเรียนต้องสั่งปิดการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค.เป็นต้นไปจนกว่าระดับน้ำจะลดลง
นายเกษมสันต์ มณีภาค ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค.น้ำเริ่มไหลเข้ามาภายในโรงเรียน แต่ยังคงทำการเรียนการสอนได้ แต่พอเช้าวานนี้ น้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีฝนตกลงมาในพื้นที่ตลอดทั้งคืน ประกอบกับมีน้ำโขงหนุนทำให้น้ำระบายลงสู่แม่น้ำโขงไม่ได้ จึงเอ่อล้นไหลเข้าท่วมห้องเรียนชั้นล่างทั้งหมด จึงสั่งหยุดเรียนเพื่อให้ครูและเจ้าหน้าที่ช่วยกันขนย้ายสิ่งของขึ้นมาอยู่ในที่สูง
"เบื้องต้นให้หยุดเรียนไปจนถึงปลายสัปดาห์นี้ หากสัปดาห์หน้าน้ำยังไม่ลดลง ก็อาจต้องปิดการเรียนการสอนต่อ และจะทำการเปิดสอนชดเชยหลังน้ำกลับสู่ภาวะปกติแล้ว"
**สกลนครอ่วม16อำเภอ-เสียชีวิตแล้ว
ด้านนางวิตยา ประสงค์วัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เผยว่า ยอดความเสียหายของ จ.สกลนคร ที่ได้รับจากพายุโซนร้อนนกเตน ล่าสุดได้ประกาศเขตภัยพิบัติไปแล้ว 16 อำเภอ อีก 2 อำเภอคือ อ.เต่างอย และ อ.นิคมน้ำอูน กำลังออกสำรวจสภาพพื้นที่ เพื่อรายงานว่าประสบภัยพิบัติหรือไม่
ส่วนความเสียหายเท่าที่ได้รับรายงานเบื้องต้นมีราษฏรได้รับความเดือดร้อน 40,000 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 206 ,172 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย อยู่ในพื้นที่ อ.วาริชภูมิ และ อ.ส่องดาว โดยทั้ง 2 เสียชีวิตขณะออกไปหาปลาแล้วเกิดน้ำท่วมประสบอุบัติเหตุจากกระแสน้ำไหลแรงจมน้ำเสียชีวิตทั้ง 2 ศพ
**เผยเครียดจัดต้องตามดูแลพิเศษ52ราย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในรอบ 17 วันหลังน้ำท่วมกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งทางเรือและทางรถยนต์ออกให้บริการผู้ประสบภัยจำนวน 120 ทีมมีผู้เจ็บป่วยกว่า 15,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด โรคผิวหนัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 12 ราย อยู่ที่ จ.แม่ฮ่องสอนทั้งหมด มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 26 รายใน 8 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ สุโขทัย สกลนคร อุดรธานี เพชรบูรณ์ นครพนม แม่ฮ่องสอน และแพร่
ส่วนการดูแลด้านจิตใจกรมสุขภาพจิตได้ร่วมกับสำนักงานสาธรณสุขจังหวัดประเมินปัญหาสุขภาพจิตผู้ประสบภัยใน อ.เมืองลำพูน อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย และที่ ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย รวมทั้งหมด 748 รายพบมีความเครียดสูง 51 ราย ซึมเศร้า 99 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22 รายทั้งหมดนี้ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษรวม 52 รายเพื่อป้องกันฆ่าตัวตาย