เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลโดยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย ได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา โดยการอ่านเอกสาร 44 หน้า แบ่งเป็น 3 ด้าน และสรุปนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก 16 ด้าน ดังที่รายละเอียดปรากฏเป็นข่าวทางสื่อเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้ว
แต่ในที่นี้จะขอนำเสนอโดยการสรุปเป็นประเด็นสำคัญในแต่ละด้านพอเป็นสังเขป ดังนี้
1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตยโดยยึดมั่นในระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. กำหนดให้มีการแก้ไข และป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง
4. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบ และนำสันติสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และนานาประเทศ
6. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
7. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาทอย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้มีหนี้เกิน 5 แสนบาท เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนสำหรับผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
8. ปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
9. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวภายใต้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย
10. ยกระดับสินค้าการเกษตร และให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยให้มีการประกันพืชผล และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
11. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเล็ก
12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยให้ปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ มิราเคิลไทยแลนด์เยียร์ และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ รักษาทุกโรค
15. จัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับบริหาร และในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี
16. เร่งรัด และผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบผ่านทางการทำประชามติ
จากนโยบายเร่งด่วน และจะดำเนินการในปีแรกโดยมิได้ระบุผลว่าจะต้องสำเร็จในปีแรกหรือไม่ จึงเท่ากับเปิดช่องหรือเปิดโอกาสแก้ตัวเมื่องานที่ดำเนินการไม่บรรลุผลไว้ล่วงหน้า และนี่เองที่อาจถือได้ว่าส่อเค้าจะมีการบิดเบือนด้วยเงื่อนเวลาในการแก้ตัว เมื่อถูกฝ่ายค้านหรือประชาชนทวงถาม
อีกประการหนึ่ง ถ้ามองในแง่ของการนำสิ่งที่พรรคเพื่อไทยได้ปราศรัยหาเสียงไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับประชานิยมสุดโต่ง จะเห็นได้ว่าบางประการ เช่น ประกันราคาข้าวเกวียนละ 15,000 บาท ไม่ปรากฏอยู่ในรายละเอียดของ 16 ข้อนี้ เป็นการพูดกว้างๆ เพียงว่าจะยกระดับราคาสินค้าเกษตร แต่ไม่ลงรายละเอียดชนิดไหน เท่าไหร่ เหมือนตอนหาเสียงที่บอกว่าราคาข้าวเกวียนละ 15,000 บาทโดยไม่มีเงื่อนไขในการประกัน เช่น ความชื้น และชนิดของพันธุ์ข้าวด้วย นี่ก็อีกประการหนึ่งซึ่งถือได้ว่าบิดเบือนไปจากที่บอกไว้ในตอนหาเสียง
แต่ประการที่เห็นว่าสำคัญ และน่าจะทำให้คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยด้วยหวังจะได้สิ่งที่พวกตนอยากได้ คือ ข้าวของถูกลง และมีรายได้เพิ่มขึ้นคงจะไม่ได้เห็นในปีนี้ ตรงกันข้ามอาจได้สิ่งที่ตรงกันข้าม คือ รายได้เพิ่มขึ้นไม่ทั่วถึง เช่น รายได้ 300 บาทมีการปรับขึ้นในบางภาคส่วน แต่ราคาสินค้าปรับขึ้นอย่างทั่วถึงอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้ออันเกิดจากต้นทุนสูงขึ้น และภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการนำเงินมาใช้ในการบริหารประเทศตามแนวประชานิยมสุดโต่งของพรรคเพื่อไทย
ถ้าทุกอย่างเกิดขึ้นจริงตามที่ได้แถลงนโยบายไว้ แน่นอนว่าหนี้ของประเทศจะต้องเพิ่มอันเนื่องมาจากการจัดเก็บรายได้ลดลงด้วยนโยบายปรับลดภาษีบางประเภท และการยกเลิกกองทุนน้ำมันทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงบางประเภทมีราคาต่ำ เพราะนำเงินมาอุดหนุน ต้องลอยตัว และทำให้ราคาเพิ่มขึ้น เช่น ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะส่งผลความเดือดร้อนโดยรวมแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อยที่เดือดร้อนอยู่แล้วจะเดือดร้อนยิ่งขึ้น
ถ้าทุกอย่างที่คาดว่าจะเกิดได้เกิดขึ้นจริง เมื่อถึงเวลานั้นคนไทยคงโทษใครไปไม่ได้ ต้องโทษตัวเองที่เลือกรัฐบาลโดยดูจากสิ่งที่คิดและคาดว่าจะได้รับเพียงอย่างเดียว โดยไม่ดูผลกระทบอันเกิดจากการให้ของรัฐว่ามีอะไรตามมา และก่อให้เกิดความเดือดร้อนแค่ไหน เพียงไรด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอให้ทุกอย่างที่คาดไว้อย่าได้เกิดขึ้นจริงๆ เพราะไม่ต้องการเห็นคนไทยโดยรวมต้องลุกขึ้นมาไล่รัฐบาลที่คนไทยส่วนหนึ่งเลือกมา ด้วยหวังจะให้มาช่วยแก้ปัญหาให้ตนเอง และพวกพ้อง แต่สุดท้ายตัวเองก็เดือดร้อนด้วย
แต่ในที่นี้จะขอนำเสนอโดยการสรุปเป็นประเด็นสำคัญในแต่ละด้านพอเป็นสังเขป ดังนี้
1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตยโดยยึดมั่นในระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. กำหนดให้มีการแก้ไข และป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง
4. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบ และนำสันติสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
5. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และนานาประเทศ
6. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
7. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาทอย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้มีหนี้เกิน 5 แสนบาท เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนสำหรับผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
8. ปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
9. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวภายใต้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย
10. ยกระดับสินค้าการเกษตร และให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน โดยให้มีการประกันพืชผล และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
11. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเล็ก
12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยให้ปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ มิราเคิลไทยแลนด์เยียร์ และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ รักษาทุกโรค
15. จัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับบริหาร และในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี
16. เร่งรัด และผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบผ่านทางการทำประชามติ
จากนโยบายเร่งด่วน และจะดำเนินการในปีแรกโดยมิได้ระบุผลว่าจะต้องสำเร็จในปีแรกหรือไม่ จึงเท่ากับเปิดช่องหรือเปิดโอกาสแก้ตัวเมื่องานที่ดำเนินการไม่บรรลุผลไว้ล่วงหน้า และนี่เองที่อาจถือได้ว่าส่อเค้าจะมีการบิดเบือนด้วยเงื่อนเวลาในการแก้ตัว เมื่อถูกฝ่ายค้านหรือประชาชนทวงถาม
อีกประการหนึ่ง ถ้ามองในแง่ของการนำสิ่งที่พรรคเพื่อไทยได้ปราศรัยหาเสียงไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับประชานิยมสุดโต่ง จะเห็นได้ว่าบางประการ เช่น ประกันราคาข้าวเกวียนละ 15,000 บาท ไม่ปรากฏอยู่ในรายละเอียดของ 16 ข้อนี้ เป็นการพูดกว้างๆ เพียงว่าจะยกระดับราคาสินค้าเกษตร แต่ไม่ลงรายละเอียดชนิดไหน เท่าไหร่ เหมือนตอนหาเสียงที่บอกว่าราคาข้าวเกวียนละ 15,000 บาทโดยไม่มีเงื่อนไขในการประกัน เช่น ความชื้น และชนิดของพันธุ์ข้าวด้วย นี่ก็อีกประการหนึ่งซึ่งถือได้ว่าบิดเบือนไปจากที่บอกไว้ในตอนหาเสียง
แต่ประการที่เห็นว่าสำคัญ และน่าจะทำให้คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยด้วยหวังจะได้สิ่งที่พวกตนอยากได้ คือ ข้าวของถูกลง และมีรายได้เพิ่มขึ้นคงจะไม่ได้เห็นในปีนี้ ตรงกันข้ามอาจได้สิ่งที่ตรงกันข้าม คือ รายได้เพิ่มขึ้นไม่ทั่วถึง เช่น รายได้ 300 บาทมีการปรับขึ้นในบางภาคส่วน แต่ราคาสินค้าปรับขึ้นอย่างทั่วถึงอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้ออันเกิดจากต้นทุนสูงขึ้น และภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการนำเงินมาใช้ในการบริหารประเทศตามแนวประชานิยมสุดโต่งของพรรคเพื่อไทย
ถ้าทุกอย่างเกิดขึ้นจริงตามที่ได้แถลงนโยบายไว้ แน่นอนว่าหนี้ของประเทศจะต้องเพิ่มอันเนื่องมาจากการจัดเก็บรายได้ลดลงด้วยนโยบายปรับลดภาษีบางประเภท และการยกเลิกกองทุนน้ำมันทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงบางประเภทมีราคาต่ำ เพราะนำเงินมาอุดหนุน ต้องลอยตัว และทำให้ราคาเพิ่มขึ้น เช่น ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะส่งผลความเดือดร้อนโดยรวมแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อยที่เดือดร้อนอยู่แล้วจะเดือดร้อนยิ่งขึ้น
ถ้าทุกอย่างที่คาดว่าจะเกิดได้เกิดขึ้นจริง เมื่อถึงเวลานั้นคนไทยคงโทษใครไปไม่ได้ ต้องโทษตัวเองที่เลือกรัฐบาลโดยดูจากสิ่งที่คิดและคาดว่าจะได้รับเพียงอย่างเดียว โดยไม่ดูผลกระทบอันเกิดจากการให้ของรัฐว่ามีอะไรตามมา และก่อให้เกิดความเดือดร้อนแค่ไหน เพียงไรด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอให้ทุกอย่างที่คาดไว้อย่าได้เกิดขึ้นจริงๆ เพราะไม่ต้องการเห็นคนไทยโดยรวมต้องลุกขึ้นมาไล่รัฐบาลที่คนไทยส่วนหนึ่งเลือกมา ด้วยหวังจะให้มาช่วยแก้ปัญหาให้ตนเอง และพวกพ้อง แต่สุดท้ายตัวเองก็เดือดร้อนด้วย